กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชรฯ ทรงเปิดสถานีโทรมาตรอัตโนมัติฯ เตือนภัยนํ้าท่วมป่าต้นนํ้า #ศาสตร์เกษตรดินปุ๋ย

#SootinClaimon.Com : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์แนวหน้า

https://www.naewna.com/lady/508349

กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชรฯ ทรงเปิดสถานีโทรมาตรอัตโนมัติฯ เตือนภัยนํ้าท่วมป่าต้นนํ้า

กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชรฯ ทรงเปิดสถานีโทรมาตรอัตโนมัติฯ เตือนภัยนํ้าท่วมป่าต้นนํ้า

วันพฤหัสบดี ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2563, 06.00 น.

กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชรฯ ทรงเปิดสถานีโทรมาตรอัตโนมัติฯ เตือนภัยนํ้าท่วมป่าต้นนํ้า มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยากฯ สานต่อพระดำริ ร่วมกับ 7 ภาคีเครือข่าย

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภานเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ประธานกรรมการมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยากสภากาชาดไทย เสด็จไปทรงเปิดสถานีโทรมาตรอัตโนมัติฯ พร้อมทอดพระเนตรการเฝ้าระวังป้องกันอุทกภัย ณ ศูนย์สาธิตการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝก ด่านป่าไม้ที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่ โดยมี ศาสตราจารย์พิเศษ สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รองประธานกรรมการที่ปรึกษา และประธานกรรมการบริหารมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย พร้อมด้วยคณะกรรมการมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยากสภากาชาดไทย ผู้บริหารระดับสูงของส่วนราชการจากส่วนกลางและจังหวัดเชียงใหม่ผู้บริหารระดับสูงของเครือข่ายของมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย และประชาชน เฝ้าฯรับเสด็จ

ในการนี้ ศาสตราจารย์พิเศษ สุรเกียรติ์เสถียรไทย รองประธานกรรมการที่ปรึกษา และประธานกรรมการบริหารมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ)ยามยาก สภากาชาดไทย ได้กราบทูลถวายรายงานความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของการติดตั้งสถานีโทรมาตรอัตโนมัติฯ ในพื้นที่ป่าต้นน้ำ ของมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยากสภากาชาดไทย โดยสังเขปความว่า สืบเนื่องจากพระนโยบายในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภานเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา องค์ประธานกรรมการมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยากสภากาชาดไทย ที่ทรงมีพระดำริให้มูลนิธิฯ ดำเนินกิจกรรมการเฝ้าระวังภัยเพื่อบรรเทาผลกระทบจากน้ำท่วม โดยมูลนิธิได้ดำเนินโครงการนำร่องติดตั้งสถานีโทรมาตรอัตโนมัติฯ 14 จุด ในพื้นที่ที่ประสบปัญหาอุทกภัยบ่อยครั้งที่จังหวัดน่านและจังหวัดสกลนคร ร่วมกับ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) ในฐานะเครือข่ายของมูลนิธิฯ และให้จัดตั้งเครือข่ายเตือนภัยชุมชนเพื่อนพึ่งภาฯ ขึ้น เพื่ออบรมราษฎรอาสาสมัครในชุมชนที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัย ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ข้อมูลสารสนเทศทรัพยากรน้ำเพื่อการเฝ้าระวังภัย การเตือนภัย และการบริหารจัดการน้ำในระดับชุมชน ซึ่งจากการดำเนินโครงการนำร่องที่ผ่านมาประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่ง

จึงทรงมีพระดำริให้มูลนิธิฯ ขยายผลการดำเนินโครงการนำร่องการติดตั้งสถานีโทรมาตรอัตโนมัติฯ ในพื้นที่ป่าต้นน้ำดังกล่าวให้ครอบคลุมทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ มูลนิธิฯ จึงได้ประสานงานกับสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ /กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช /กรมป่าไม้ / กรมการปกครอง /กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น / การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค / และสถาบันสารสนเทศ ทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) ให้เข้ามาร่วมเป็นเครือข่ายของมูลนิธิฯ ในการดำเนินโครงการติดตั้งสถานีโทรมาตรอัตโนมัติฯ ในพื้นที่ป่าต้นน้ำทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ จำนวน 510 สถานี เพื่อให้เกิดการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของรัฐส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ทั้งในมิติด้านกฎหมาย งบประมาณ การบริหารจัดการ การใช้ประโยชน์ และการสร้างความร่วมมือกับชุมชนในพื้นที่ เพื่อการเฝ้าระวังป้องกันภัยพิบัติ การบริหารจัดการน้ำในชุมชนและการป้องกันความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน จากภัยพิบัติอย่างยั่งยืน

การติดตั้งสถานีโทรมาตรอัตโนมัติฯ ในพื้นที่ภาคเหนือครั้งนี้ นับเป็นครั้งแรกที่มูลนิธิฯได้ร่วมกับเครือข่ายดำเนินการติดตั้งสถานีโทรมาตรอัตโนมัติฯ ในพื้นที่ป่าต้นน้ำ และได้ดำเนินการติดตั้งสถานีโทรมาตรอัตโนมัติฯ ไปแล้วจำนวนทั้งสิ้น 80 สถานี ครอบคลุมพื้นที่ 11 จังหวัด โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการติดตั้งจาก บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)

จากนั้น สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภานเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา เสด็จไปทรงกดปุ่มเปิดแพรคลุมป้ายสถานีโทรมาตรอัตโนมัติฯพร้อมทอดพระเนตรการเฝ้าระวังป้องกันอุทกภัย รวมทั้งนิทรรศการการพัฒนาและการรณรงค์การใช้หญ้าแฝก ที่บริเวณแปลงสาธิตเพื่อประโยชน์ต่อการสร้างความชุ่มชื่นต่อพื้นดินและเพื่อลดการพังทลายของหน้าดินทั้งในพื้นที่สูงและพื้นที่ราบ ทั้งยังใช้ประโยชน์ในงานหัตถกรรมเสริมเพิ่มรายได้ โดยมีการจัดจัดตั้งกลุ่มแม่บ้านงานหัตถกรรม โดยนำหญ้าแฝกมาทำเป็นตะกร้า กระเป๋า กล่องใส่สิ่งของอเนกประสงค์ และตุ๊กตา อันเป็นการสืบสานพระราชปณิธานในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ต่อมาเสด็จฯทอดพระเนตรนิทรรศการโครงการติดตั้งสถานีโทรมาตรอัตโนมัติฯ ในพื้นที่ป่าต้นน้ำทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ จำนวน 510 สถานี โดยภาคเหนือได้ก่อสร้างเสร็จสิ้นแล้วจำนวน 80 แห่งกระจายในพื้นที่ 11 จังหวัด คือ แม่ฮ่องสอนเชียงราย พะเยา เชียงใหม่ ลำพูน แพร่ น่านตาก สุโขทัย กำแพงเพชร และอุทัยธานีโอกาสนี้ ทรงปล่อยปลายท้องถิ่นจำนวน 7 ชนิด อาทิ ปลาพลวงหิน ปลาเลียหิน ปลาซิวควายแถบดำ ปลาซิวเจ็ดสี และปลาจาด ในแหล่งน้ำธรรมชาติเพื่อสร้างความสมบรูณ์ต่อระบบนิเวศด้วย

ศาสตราจารย์พิเศษ สุรเกียรติ์ เสถียรไทยรองประธานกรรมการที่ปรึกษา และประธานกรรมการบริหารมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า งานบรรเทาทุกข์ภัยพิบัติมีมากขึ้นเมื่อเทียบจากอดีต พื้นที่เสี่ยงจะท่วมซ้ำซาก การเรียนรู้จากประสบการณ์ในอดีต เฝ้าระวังภัย จะลดความสูญเสีย ซึ่งสถานีโทรมาตรอัตโนมัติฯทำหน้าที่เป็นตัววัดข้อมูลสภาพอากาศ ปริมาณน้ำฝน ระดับน้ำ และส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่าย 4G ไปยังเซิร์ฟเวอร์ของ สสน. เพื่อประมวลผลข้อมูล จากนั้นจะส่งข้อมูลปริมาณน้ำฝนผ่านข้อความสั้นหรือเอสเอ็มเอส ไปยังเครือข่ายชุมชน และแอพพลิเคชั่น thaiwater ซึ่งเป็นระบบคลังข้อมูลน้ำและภูมิอากาศระดับประเทศ ระดับจังหวัดหากปริมาณน้ำฝนมีระดับสูงกว่าปกติจะส่งสัญญาณเตือนภัยไปยังวิทยุสื่อสารของเครือข่ายชุมชนมูลนิธิฯ ทั่วประเทศ เพื่อเตรียมพร้อมป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายจากอุทกภัย หรือเสียหายให้น้อยที่สุด ตามแผนจะดำเนินการสำรวจติดตั้งให้ครบ 510 สถานีภายใน 1 ปีครึ่ง

นอกจากโครงการติดตั้งสถานีโทรมาตรอัตโนมัติฯเพื่อตรวจวัดข้อมูลภูมิอากาศ ปริมาณน้ำฝน และระดับน้ำในพื้นที่ป่าต้นน้ำแล้ว มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ยังร่วมกับ 4 มหาวิทยาลัยจาก 4 ภาค คือมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ภาคเหนือ) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ภาคใต้) และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (กรุงเทพฯ) ระดมสมองเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจระดับชุมชนจากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19

“สถานการณ์โรคระบาดโควิด-19ดังกล่าว ได้ทำให้การทำธุรกรรมออนไลน์ มีความสำคัญเพิ่มขึ้น จะทำอย่างไรให้คนแต่ละภาครู้ว่าภาคอื่นๆ มีสินค้าอะไรขายบ้าง โดยทางสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังที่มีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน(Carnegie Mellon University) สหรัฐอเมริกา ที่มีชื่อเสียงด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) กำลังอยู่ระหว่างพัฒนาระบบสั่งการด้วยเสียง เพื่อให้ผู้ที่ไม่ถนัดในการกดแป้นพิมพ์สามารถซื้อ-ขายสินค้าทางออนไลน์ทำได้อย่างสะดวกสบายขึ้น

เหตุผลที่ทำแบบนี้เพราะอะไร หนึ่ง มาจากเรื่องวิกฤติการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19ที่ทำให้เศรษฐกิจเรามีปัญหา เราก็จำเป็นต้องช่วยพี่น้องประชาชน เหตุผลที่สองซึ่งจริงๆ สำคัญกว่าคือ พื้นที่ชุมชนเหล่านี้ก็คือพื้นที่ที่น้ำท่วมซ้ำซากนั่นเอง เพราะฉะนั้นการที่เราจะพัฒนาอย่างยั่งยืน และช่วยเหลือฟื้นฟูอย่างยั่งยืนในพื้นที่เหล่านี้อยู่แล้ว เราก็รีบทำเสียตอนนี้เลย ตั้งแต่น้ำยังไม่ท่วม เพราะสถิติ 10-20 ปีที่ผ่านมา พื้นที่ชุมชนเหล่านี้ก็น้ำท่วมซ้ำซากอยู่แล้ว ฉะนั้นเราก็ช่วยได้ทั้ง 2 ประเด็นเลยคือ ฟื้นฟูอย่างยั่งยืนจากน้ำท่วม และจากผลกระทบโควิด-19 ด้วย” ศาสตราจารย์พิเศษ สุรเกียรติ์เสถียรไทย กล่าวในที่สุด

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s