“ดุสิตโพล” เผยประชาชนให้คะแนนฝ่ายค้านชนะรัฐบาลในศึกซักฟอก #SootinClaimon.Com

#SootinClaimon.Com : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์คมชัดลึก

https://www.komchadluek.net/news/politic/459042

“ดุสิตโพล” เผยประชาชนให้คะแนนฝ่ายค้านชนะรัฐบาลในศึกซักฟอก

"ดุสิตโพล" เผยประชาชนให้คะแนนฝ่ายค้านชนะรัฐบาลในศึกซักฟอก

21 กุมภาพันธ์ 2564 – 16:45 น.

“ดุสิตโพล”ชี้ ศึกซักฟอกประชาชนให้คะแนนฝ่ายค้านชนะรัฐบาล ระบุมีเนื้อหาการอภิปรายที่น่าสนใจ เชื่อการเมืองไทยยังไม่เหมือนไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง

เมื่อวันที่ 21 ก.พ. 2564 สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศเฉพาะผู้ที่สนใจติดตามการอภิปรายไม่ไว้วางใจ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,712 คน  ระหว่างวันที่ 17- 20 กุมภาพันธ์ 2564 พบว่า ส่วนใหญ่ติดตามผ่านทางสื่อโซเชียลมีเดียมากที่สุด ร้อยละ 43.81  มองจุดเด่นของการอภิปราย คือ ภาพรวมการซักฟอกของฝ่ายค้าน ร้อยละ 52.64 จุดด้อย คือ การประท้วงบ่อย ทำให้เสียเวลา ร้อยละ 71.26 โดยหลังการอภิปรายเสร็จสิ้นคาดว่าการเมืองไทยจะเหมือนเดิม ร้อยละ 55.40 และไม่เชื่อมั่นต่อรัฐบาล ร้อยละ 43.25

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
“สวนดุสิตโพล”เปิดผลสำรวจ 10 ความสุขในช่วงโควิด-19 ระบาด

ภาพรวมให้คะแนนฝ่ายค้าน 6.90 คะแนน ให้คะแนนฝ่ายรัฐบาล 5.01 คะแนนการอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งที่ 2 ของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ประชาชนให้คะแนนฝ่ายค้านมากกว่าฝ่ายรัฐบาล เพราะเห็นว่าภาพรวมทำงานได้ดี มีเนื้อหาน่าสนใจ เตรียมข้อมูลเชิงลึกมาอภิปรายให้เห็นภาพ โดยมองว่าหลังจบอภิปรายครั้งนี้สถานการณ์การเมืองไทยก็น่าจะยังเหมือนเดิม และที่สำคัญประชาชนนั้นรู้สึก “ไม่เชื่อมั่น” ต่อรัฐบาล ถึงแม้ในสภา  10 รัฐมนตรีจะได้รับการไว้วางใจก็ตาม

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดังนภสร ณ ป้อมเพชร หลักสูตรรัฐศาสตร์ โรงเรียนกฎหมายและการเมือง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กล่าวว่า การอภิปรายไม่ไว้วางใจ คือ มาตรการหรือเครื่องมืออย่างหนึ่งในการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ การตัดสินใจ รวมไปถึงความโปร่งใสของรัฐบาล ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญที่จะแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของฝ่ายนิติบัญญัติในการคานอำนาจ ของรัฐบาล และยังเป็นการขับเคลื่อนกลไกทางการเมืองให้เป็นไปตามแนวทางในระบอบประชาธิปไตย 

ทั้งนี้ความสำคัญของการอภิปรายไม่ไว้วางใจมีมากกว่าการมองเพียง “ผลโหวต” เนื่องจาก ผลนั้นอาจเกิดจากวิถีทางการเมือง เช่น การที่รัฐบาลมีฐานเสียงมากกว่า ฝ่ายค้านมีหลักฐานไม่เพียงพอ หรือด้วยเหตุอื่นใดก็ตาม หากแต่ “การอภิปรายไม่ไว้วางใจ” มีความสำคัญในการที่จะสามารถเป็นต้นแบบของวัฒนธรรมการเมืองที่ดี นั่นคือ การทำหน้าที่ในการใช้อำนาจของประชาชนในการอภิปรายและชี้แจงด้วยวุฒิภาวะของผู้นำทางการเมือง

“การนำประเด็นที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนอย่างแท้จริง มาอภิปราย การใช้หลักฐานข้อมูลที่ถูกต้องเชื่อถือได้ การเชื่อมต่อการตรวจสอบกับภาคประชาชน เหล่านี้จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะก่อให้เกิดกลไกในการสร้างความเป็นประชาธิปไตยให้แก่สังคมไทยอย่างแท้จริง”

"ดุสิตโพล" เผยประชาชนให้คะแนนฝ่ายค้านชนะรัฐบาลในศึกซักฟอก

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s