#SootinClaimon.Com : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์แนวหน้า
https://www.naewna.com/local/554417

‘เทคนิคพิจิตร’คิดค้นต่อยอด ประดิษฐ์กล่องชุดแรงดันบวก-ลบ ป้องกันโควิด
วันจันทร์ ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564, 10.51 น.
วิทยาลัยเทคนิคพิจิตร ประดิษฐ์กล่องควบคุมแรงดันบวกและแรงดันลบแบบเคลื่อนที่ป้องกันไวรัสโควิด-19 โดยมีประสิทธิภาพกรองอากาศให้สำหรับผู้ป่วยและแพทย์ ซึ่งนำเอาวัสดุในประเทศดัดแปลง มีราคาต้นทุนการผลิตเพียง 4-5 พันบาท
22 กุมภาพันธ์ 2564 ที่วิทยาลัยเทคนิคพิจิตร อาจารย์และนักศึกษาแผนกวิชาช่างไฟฟ้า ต่อยอดคิดค้นประดิษฐ์ ชุดกล่องควบคุมแรงดันบวกให้กับทีมแพทย์พยาบาลและกล่องควบคุมแรงดันลบ สำหรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อ ป้องกันไวรัสโควิด ในสถานบริการทางการแพทย์ ซึ่งดัดแปลง จากวัสดุภายในประเทศ ทั้งหน้ากากดำน้ำ และ อุปกรณ์ตกปลา มาดัดแปลง ทำชุดกล่องควบคุมแรงดัน แบบเคลื่อนที่แทนการใช้เตียงผู้ป่วยแรงดันลบ
.jpg)
นายสมศักดิ์ หมอแสง อาจารย์แผนกวิชาช่างไฟฟ้า กล่าวว่า “ กล่องควบคุมแรงดันบวก และ แรงดันลบ แบบเคลื่อนที่ ป้องกันไวรัสโควิด ทางวิทยาลัยเทคนิคพิจิตร อาจารย์ และนักศึกษาแผนกวิชาช่างไฟฟ้า ต่อยอดคิดค้นประดิษฐ์ จากกล่องต้นแบบ ของโรงพยาบาลนวมินทร์ มาทำการต่อยอด โดยเพิ่มวัสดุอุปกรณ์ที่ง่ายต่อการพกพา เคลื่อนที่ เพื่อเติมหลอดแสง UV-C และกรองอากาศ ผ่านชุดคอนโทรล ปรับแรงดันด้วยมือ เพื่อความสะดวกกับทางคณะแพทย์
.jpg)
โดยชุดกล่องความดันลบ (สีแดง) เป็นชุดกล่องที่ออกแบบมาสำหรับผู้ป่วยฯ ซึ่งทำหน้าที่ นำสารคัดหลั่งไม่ว่าจะเป็นจากการไอ จามและหายใจของผู้ป่วยนั้น ดูดมาภายในกล่อง โดยผ่านหน้ากากดำน้ำ ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ และทำการฆ่าเชื้อด้วยแสง UV-C ที่มีความเข้มแสงตามค่ามาตรฐานที่ทางการแพทย์ยอมรับ จากนั้น นำไปผ่านชุดกรองเชื้อไวรัสแบบไฟฟ้าสถิต ที่สามารถกรองเชื้อไวรัสได้ถึง 99.99 เปอร์เซ็นต์ พร้อมชุดกรองอากาศ แล้วจึงปล่อยออกสู่อากาศภายนอก
(1).jpg)
ส่วนชุดกล่องความดันบวก (สีเหลือง) ได้ออกแบบมาเพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์ได้สวมใส่ เพื่อเข้าทำการรักษาผู้ป่วยโรคติดต่อทางระบบหายใจ (covid-19) ซึ่งทำหน้าที่นำอากาศที่อยู่ ภายนอก หรือพื้นที่อากาศเปิด มาผ่านชุดกรองแบบไฟฟ้าสถิต ที่สามารถกรองเชื้อไวรัสได้ถึง 99.99 เปอร์เซ็นต์แล้วส่งอากาศที่ผ่านการฆ่าเชื้อไวรัสแล้วเข้ามาในหน้ากากที่สวมอยู่กับชุด PE ที่ทางการแพทย์สวมใส่ เพื่อให้แพทย์ผู้สวมใส่มีอากาศที่ปราศจากเชื้อไวรัสและสามารถทำการเข้ารักษาผู้ป่วย ที่สันนิษฐานว่ามีหรือติดเชื้อไวรัสโควิค-19
การประดิษฐ์กล่องควบคุมแรงดันบวก และ แรงดันลบ ซึ่งทางโรงพยาบาลพิจิตร ได้สนับสนุน ในการประดิษฐ์และ เป็นที่ยอมรับของทางการแพทย์และมีความสะดวกต่อการทำงานในห้องปฎิบัติการและการนำผู้ป่วยออกมาทำการรักษา ส่วนราคาการประดิษฐ์กล่องควบคุมแรงดันอยู่ที่ชุดละ 4000-5000 บาท ซึ่งถือว่าเป็นราคาที่ถูกว่าท้องตลาด
สำหรับกล่องแรงดันบวกและแรงดันลบ ซึ่งทางวิทยาลัยเทคนิคพิจิตรได้ทำการประดิษฐ์และส่งมอบให้กับโรงพยาบาลพิจิตร จำนวน 26 ชุด รวมถึง ทางคณะครูจากวิทยาลัยสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร มาเรียนรู้ต่อยอดเพื่อทำการผลิตให้กับทางคณะแพทย์ในพื้นที่ต่อไป



