#SootinClaimon.Com : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : ข่าวเกษตรรุ่น 23

Emmeral KU 23
55st Anniversary 2506-2561
ฉบับเดือน พฤษภาคม 2561 ฉบับ วันแรงงานแห่งชาติ(1 พค.)วันพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ(14พค.) วันวิสาขบูชา(29 พค.)








สวัสดีครับเพื่อนๆทุกคน
ไม่ได้เจอะเจอ 2 เดือนคิดถึงจังเล้ย……. กลับมาแล้วครับหลังจากหายหน้าหายตาไปเกือบสองเดือน โดยไปลอยเท้งเต้งในทะเลแถบอเมริกาใต้(อาร์เจนติน่า อุรุกวัย ชิลี เปรู คอสตาริกา เม็กซิโก) 30 วันและทางบกอีกกว่า 20วัน ที่ บราซิล Los Angelis และLas Vegas กลับมาต้องปรับตัวขนานใหญ่ ทั้งห้องนอน เสื้อผ้า โดยเฉพาะ computer ต้องมาคลำหาโปรแกรมต่างๆใหม่หมด การเดินทางส่วนใหญ่จะสื่อสารติดต่อกับใครๆไม่สะดวกเพราะ 1 เวลาที่แตกต่างกันที่เมืองไทยกลางวันที่โน่นก็จะเป็นกลางคืนเวลาต่างกันบางแห่งมากกว่า 12 ชม. 2.เปิดมือถือไม่ค่อยได้เพราะในเรือต้องซื้อเวลา WiFi ซึ่งแพงมากและสัญญาณอ่อน เวลาขึ้นบกต้องไปอาศัย WiFi ของศูนย์การค้า ร้านอาหารหรือร้านกาแฟ แต่ก็พยายามติดตามข่าวคราวของเพื่อนๆตลอดเวลารวมทั้งการเสียชีวิตของเพื่อน **เสถียร ** ด้วยก็ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวของเพื่อน เถียรด้วย และตลอดการเดินทางก็มีเรื่องที่เป็นกังวลอยู่เรื่องหนึ่งคือเรื่องที่ได้รับมอบหมายให้เป็นประธานด้านการประชาสัมพันธ์งานฉลองครบรอบ 55 ปีของ เกษตรรุ่นที่ 23 ซึ่งกำหนดให้มีงานที่อาคารสถาบันค้นคว้าและพัฒนาอาหารชั้น 3 เหนือห้องอาหาร สหโภชน์ ในวันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน 2561ขอให้เพื่อนๆจดลงสมุดบันทึกไว้สำหรับงานนี้ส่วนการนัดอื่นๆขอให้ยกเลิกหรือเลื่อนออกไปก่อน และขอให้เพื่อนๆนำครอบครัวไม่ว่า พ่อ แม่ พี่ น้อง ลูกๆหลานๆมากันให้มากๆนะครับงานนี้เขาเก็บเงินสมาชิกในรุ่นคนละ 500 บาท(คู่สมรสรุ่น 23ต้องจ่าย 1,000 บาท) ส่วนผู้ติดตามฟรีหมด กำหนดการคร่าวๆมีดังนี้
1.เริ่มต้น ทำบุญเลี้ยงพระ 9 รูป ถวายผ้าไตร ภัตตาหาร ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้เพื่อนๆที่เสียชีวิต(ถ้าใครรู้ว่ามีเพื่อนที่เสียชีวิตแล้วยังตกสำรวจขอให้แจ้งรุ่นรู้ด้วยครับ)
2.บรรเลงดนตรีไทยนำโดย อ.ชาญ มงคล ซึ่งอาจรวบรวมนักดนตรีนักร้องดนตรีไทยมาร่วมด้วย เช่น ดร.อภิชาติ(ตี๋) ** สาคร**
3.บรรเลงและร้องเพลงสากลนำโดยอดีตนักดนตรีวง KU.Band นำโดยอดีตหัวหน้าวง KU Band **ประสาน การพาณิชย์ ** มือ คีย์บอร์ดและ Trumpet** สุรพล(ช้าง) แซ็ก-คาลิแนต **สมพร(เหียง) เบส ** และมีนักดนตรีสมทบฝีมือเยี่ยมเช่น ** Rachum บุญชุม ** และ **Choob – Richard –บุญชุบ ** ส่วนนักร้องรุ่นเราแทบจะเป็นนักร้องกันเกือบทุกคนไม่นับอดีตนักร้องวง KU Band เช่น ** ปัทมา ** วรรณรัตน์ –แต๋ว ** วรรณา – แพะ ** ที่มี Trainer เป็นมือเบสวง เคยูแบนด์ **กาญจนา อิ๋ง ** และมีนักร้องสมทบมากความสามารถคือ ** ดร.ศรัณย์ ** ที่ร้องเพลงได้ทุกรูปแบบไม่ว่าจะเพลงลูกทุ่ง ลูกกรุง เพลงวัยรุ่น เพลง Country (เมื่อวันที่ 23 เมย.ยังร้องนำเพลง ออเจ้า –บุพเพสัณนิวาติ) **วัลภา อิรีชัยวงศ์ **นักร้องชนะเลิศร้องเพลงวงสุนทราภรณ์
4.วง Kara OK นำโดย DJ.มือเยี่ยม ** ไพศาล ** และทั้งงานจะมี **บรรลุ ** เป็น Conductor ตลอดงาน
5.การแสดงสุดอลังการโดยทีมงาน(ตอนนี้ขอปกปิดไว้ก่อนกลัวความลับจะรั่วไหล จะเอามาแสดงให้ตื่นตาตื่นใจในวันงานเอง)
6.ตัด Cake วันเกิดคนเกิดเดือนมิย. กิจกรรมสันทนาการ การสัมภาษย์ ถ่ายภาพ(หมู่เป็นคณะ) ฯลฯ
7.แจกของชำร่วย (อันนี้ผมเสนอเอง เพราะรุ่นเราเป็นเจ้าของกิจการหลายอย่างอาจนำผลิตภัณฑ์หรือหนังสือที่เขียนมาแจกหรือจับสลากในงาน)
** ใคร่ขอเชิญให้เพื่อนๆเสนอรูปแบบ ขั้นตอนของงาน การแสดงไปยังคณะทำงานคณะต่างๆดังนี้ครับ
คณะทำงานฝ่ายสถานที่และอาคาร
1สายพิน มณีพันธ์ (ปธ) 2.พึงพิศ ดุลยพัชร์ 3.แววไว เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา 4.มาลัยวรรณ อารยะสกุล 5.วรรณรัตน์ โททอง 6.ดาราวรรณ วุฒาพิทักษ์
2.คณะทำงานฝ่ายพิธีการ บัญเทิงและการแสดง
1.วรรณรัตน์ โททอง (ปธ.) 2.พึงพิศ ดุลยพัชร์ 3.สงคราม ธรรมมิญช์ 4.ศรัณย์ วรรธนัจฉริยา 5.บรรลุ วุฒิกร 6. อุดล พร้อมจรรยากุล 7. ปรีดี ดอนสกุล 8. วรรณา ตันหัน 9. แววไว เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา 10.ประสาน การพาณิชย์ 11.บุญชุบ บุญทวี 12. บุญชุม เปียแดง 13.ชาญชัย ยาวุฒิ 14ไพศาล หาญพานิช (12-14)ฝ่ายแสง เสียงและถ่ายภาพ
3.คณะทำงานฝ่ายประชาสัมพันธ์
1.วันชัย จันทร์ฉาย (ปธ) 2.ชาญชัย ยาวุฒิ 3.นิตยา เลาหจินดา 4. วสันต์ บุญเกิด 5.ดาราวรรณ วุฒาพิทักษ์ 6.พิทยา หิรัญบูรณะ 7.ไพโรจน์ พันธุ์ภักดี 8.ลาวัลย์ เบญจศีล 9.เสียง กฤษณีไพบูลย์ 10.มังกร สมสุด 11.สุทัศน์ เจริญขวัญ 12.เล็ก สุวรรณธาดา 13.อุดล พร้อมจรรยากุล (ลข)
เมื่อวันที่ 23 เมย.2561** ดร.เวท** บุคคลที่หาตัวยากในอดีต แต่ปัจจุบันหาตัวได้ง่ายได้มาร่วมสังสรรค์และมาชัชวนให้เพื่อนๆลงไปเที่ยวปักษ์ใต้โดยทีมหาดใหญ่ ที่มี ดร.เวท ** ดร.เสียง ** ดร.โสภณ ** จะรับเป็นทีมต้อนรับขับสู้ก็เลยมีความคิดว่าจะย้ายที่สังสรรค์ลงใต้สักครั้งหลังงานฉลอง 55 ปีของรุ่นผ่านพ้นไปก่อน ประจวบกับตอนนี้จ.สตูลเพิ่งได้รับการรับรองจาก UNESCO ให้จ.สตูลเป็นแหล่ง GEOPARK ของโลกไป หมาดๆมานี้เองจึงเป็นสถานที่แปลกและใหม่สำหรับคนไทยและชาวต่างชาติ จึงขอนำเรื่องราวของ SATUN GEOPARK มาเสนอให้เพื่อนได้ยินดีกับจ.สตูลมาณ ที่นี้
จากผืนทะเล 500 ล้านปี สู่ขุนคีรียิ่งใหญ่ ผูกพันวิถีชีวิต ผู้คน”
เกี่ยวกับอุทยานธรณีสตูล “อุทยานธรณี”(Geopark) คือ พื้นที่ที่มีความสำคัญและโดดเด่นทางธรณีวิทยา ธรรมชาติวิทยา และวัฒนธรรม มีเรื่องราวที่เชื่อมโยงคุณค่าของผืนแผ่นดินกับวิถีชีวิตชุมชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ซึ่งมีการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน โดยการอนุรักษ์ การถ่ายทอดความรู้ และการพัฒนาอย่างยั่งยืน “อุทยานธรณีสตูล” (Satun Geopark) ตั้งอยู่ทางภาคใต้ของประเทศไทย ครอบคลุม 2 อำเภอของจังหวัดสตูล คือ ทุ่งหว้า มะนัง ละงู และอำเภอเมือง ลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาหินปูน มีเกาะน้อยใหญ่ และชายหาดที่สวยงาม นักท่องเที่ยวสามารถสัมผัสกับธรรมชาติอันบริสุทธิ์ ความรุ่มรวยทางประวัติศาสตร์ และวิถีชีวิตผู้คนที่ผูกพันกับพื้นที่แห่งนี้ ผืนดินแห่งนี้ เป็นบันทึกหลักฐานของโลกใต้ทะเลเมื่อ 500 ล้านปีก่อน ที่อุดมไปด้วยสิ่งมีชีวิตยุคเก่า เกิดเป็นแหล่งสร้างออกซิเจนให้กับโลกในช่วงเวลานั้น ต่อมามีการยกตัวของเปลือกโลกก่อเกิดเป็นเทือกเขา และถ้ำ ซึ่งได้กลายเป็นบ้านหลังแรกของมนุษย์โบราณ ปัจจุบันผู้คนก็ยังดำรงชีวิตโดยใช้ประโยชน์จากทรัพยากรของแผ่นดินนี้อยู่ และก่อเกิดเป็นวัฒนธรรมประเพณีที่มีเอกลักษณ์ ด้วยความโดดเด่นทางธรณีวิทยา ภูมิประเทศและธรรมชาติของอุทยานธรณีสตูล ก่อให้เกิดกิจกรรมการท่องเที่ยวทางธรรมชาติหลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยวแนวผจญภัย เช่น ล่องแก่ง ดำน้ำ เที่ยวถ้ำ การท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจที่น้ำตก ชายหาด รวมถึงเลือกซื้อของฝากผลิตภัณฑ์ชุมชน และสัมผัสวัฒนธรรมท้องถิ่นที่หลากหลาย
แนวทางในการจัดตั้งเป็นอุทยานธรณีโลก
๑. อุทยานธรณีโลกของยูเนสโก (UNESCO Globat Geoparks) เป็นโครงการด้านการอนุรักษ์มรดกทางธรณีวิทยา โบราณคดี นิเวศวิทยา และวัฒนธรรม ขององค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโก (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization : UNESCO) อุทยานธรณีโลกเป็นขอบเขตพื้นที่ที่ประกอบด้วยแหล่งที่มีคุณค่าด้านธรณีวิทยา โบราณคดี นิเวศวิทยา และวัฒนธรรม มีการบริหารจัดการแบบองค์รวมระหว่างการอนุรักษ์ การให้ความรู้ การศึกษาวิจัย และการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ส่งเสริมและเปิดโอกาสให้ชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการตั้งแต่เริ่มต้นกระบวนการ เชื่อมโยงความสำคัญของมรดกทางธรณีวิทยาผ่านการท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยา ปัจจุบันทั่วโลกมีอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก จำนวนทั้งสิ้น 120 แห่ง ใน 33 ประเทศ โดยภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
มีอุทยานธรณีธรณีโลกของยูเนสโกแล้ว จำนวน 4 แห่ง ใน 3 ประเทศ ประกอบด้วย ประเทศสหพันธรัฐมาเลเซีย 1 แห่ง สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม 1 แห่ง และสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ๒ แห่ง
๒. จังหวัดสตูลได้ดำเนินการตามแนวทางของกรมทรัพยากรธรณีในการจัดตั้งอุทยานธรณีตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นมา โดยกำหนดพื้นที่อุทยานธรณี ตั้งหน่วยงานบริหารจัดการ จัดทำแผนบริหารจัดการ และดำเนินการตามแผนฯ โดยได้ประกาศจัดตั้งอุทยานธรณีสตูล (Satun Geopark) เมื่อวันที่๑๔สิงหาคม๒๕๕๗ ๓. ประโยชน์ของการเป็นสมาชิกของอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก : เป็นการส่งเสริมให้เกิดการอนุรักษ์ผ่านการท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยาซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ของการอนุรักษ์และการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ทำให้ประเทศไทยเป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติเพิ่มมากขึ้นทั้งในด้านคุณค่าของแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ และด้านการท่องเที่ยวซึ่งจะดึงดูดนักท่องเที่ยวนำรายได้สู่ชุมชนท้องถิ่นและประเทศ ประชากรในพื้นที่มีงานทำ มีรายได้และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ประชากรในพื้นที่เกิดจิตสำนึกในการอนุรักษ์และหวงแหน ส่งผลให้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีคุณค่าได้รับการปกป้องคุ้มครองอย่างยั่งยืน เกิดเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางธรณีวิทยาอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งศึกษา วิจัย ของนักวิชาการทั้งในและต่างประเทศอีกด้วย
ครม.เห็นชอบ เสนอ “อุทยานธรณีสตูล” เป็นสมาชิกอุทยานธรณีโลก
วันที่ 8 พ.ย. 2559 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบเสนอให้อุทยานธรณีสตูลเป็นสมาชิกอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก (UNESCO Globat Geoparks) ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ ดังนี้
1.เห็นชอบให้เสนออุทยานธรณีสตูลเป็นสมาชิกอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก (UNESCO Globat Geoparks)
2. มอบหมายให้คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) กระทรวงศึกษาธิการ ดำเนินการเสนออุทยานธรณีสูตลเป็นสมาชิกธรณีโลกของยูเนสโกต่อสำนักเลขาธิการยูเนสโก ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รายงานว่า อุทยานธรณีโลกของยูเนสโก เป็นโครงการด้านการอนุรักษ์มรดกทางธรณีวิทยา โบราณคดี นิเวศวิทยา และวัฒนธรรม ขององค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก (UNESCO) อุทยานธรณีโลกเป็นขอบเขตพื้นที่ที่ประกอบด้วยแหล่งที่มีคุณค่าด้านธรณีวิทยา โบราณคดี นิเวศวิทยา และวัฒนธรรม มีการบริหารจัดการแบบองค์รวมระหว่างการอนุรักษ์ การให้ความรู้ การศึกษาวิจัย และการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ส่งเสริมและเปิดโอกาสให้ชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการตั้งแต่เริ่มต้นกระบวนการเชื่อมโยงความสำคัญของมรดกทางธรณีวิทยาผ่านการท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยา ปัจจุบันทั่วโลกมีอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก จำนวนทั้งสิ้น 120 แห่ง ใน 33 ประเทศ โดยภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีอุทยานธรณีธรณีโลกของยูเนสโกแล้ว จำนวน 4 แห่ง ใน 3 ประเทศ ประกอบด้วย ประเทศสหพันธรัฐมาเลเซีย 1 แห่ง สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม 1 แห่ง และสาธารณรัฐอินโดนีเซีย 2 แห่ง อุทยานธรณีสตูล (Satun Geopark) ได้รับการประกาศเป็นอุทยานธรณีระดับประเทศในเดือนพฤศจิกายน ปี 2559 อุทยานธรณี สตูลครอบคลุมพื้นที่ 2,597.21 ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นที่ที่มีความโดดด่นทางธรณีวิทยาระดับสากลและได้รับการบริหารจัดการโดยใช้กรอบแนวคิดการอนุรักษ์ธรณีวิทยา การให้ความรู้ และการพัฒนาอย่างยั่งยืน อุทยานธรณีสตูลอาศัยมรดกทางธรณี เป็นสื่อกลางเชื่อมโยงมรดกทางธรรมชาติ มรดกทางวัฒธรรม และวิถีชิวิต เพื่อสร้างความเข้าใจและความตระหนักถึงคุณค่าความสำคัญของแผ่นดินที่เราอาศัยอยู่
อย่าลืมเดือนนี้รามีนัดกันที่ห้องอาหาร สหโภชน์ วันพุธที่ 23 พฤษภาคม 2561 นะครับ
วันชัย จันทร์ฉาย รายงาน