‘ตรีนุช’ยัน1 พ.ย.นี้พร้อมเปิดเทอม โรงเรียนกว่า 1.2 หมื่นแห่ง ขอสอนแบบ on-site #SootinClaimon.Com

#SootinClaimon.Com : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์แนวหน้า

https://www.naewna.com/local/611975

'ตรีนุช'ยัน1 พ.ย.นี้พร้อมเปิดเทอม โรงเรียนกว่า 1.2 หมื่นแห่ง ขอสอนแบบ on-site

วันพฤหัสบดี ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2564, 14.56 น.

“ตรีนุช” “นพ.โอภาส” แถลงความพร้อมเปิดเรียน 1 พ.ย.นี้  ขณะที่ สพฐ.แจ้ง โรงเรียน 1.2 พันแห่งพร้อมเปิดเรียนแบบออนไซต์ 

วันที่ 28 ตุลาคม 2564 ที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงของ ศธ., นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค และ นพ.สราวุฒิ บุญสุข รองอธิบดีกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข ร่วมแถลง ”ความพร้อมเปิดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ของสถานศึกษาสังกัด ศธ.ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564” นี้ โดยนางสาวตรีนุช กล่าวว่า ขณะนี้ได้มีการออกประกาศ ศธ. เรื่อง หลักเกณฑ์การเปิดโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษา ตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 34 ) เพื่อกำกับดูแลและเพิ่มความเชื่อมั่นให้แก่นักเรียน ครู และประชาชนทั่วไป ว่า โรงเรียนและสถาบันการศึกษา สามารถดำเนินกิจกรรมได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ตามแนวการเปิดภาคเรียนที่ 2/2546 ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (โควิด-19)

รมว.ศธ.กล่าวต่อว่า ประกาศ ศธ.ฉบับนี้ได้กำหนดหลักเกณฑ์การเปิดโรงเรียนหรือสถานศึกษา เงื่อนไขของมาตรการ แนวปฏิบัติ แผนเผชิญเหตุ และรายละเอียดต่าง ๆระบุไว้อย่างชัดเจน โดยมีสาระสำคัญ 5 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1. เงื่อนไขหลักของมาตรการ Sandbox Safety Zone in School รองรับการเปิดภาคการศึกษาที่ 2/2564 โดยจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษาแบบ on site จำแนกตามเขตพื้นที่การแพร่ระบาดของ โรคโควิด-19  ส่วนที่ 2. เงื่อนไขข้อกำหนดของ 6 มาตรการหลัก (DMHT-RC), 6 มาตรการเสริม (SSET-CQ) และแนวทาง 7 มาตรการเข้มสำหรับสถานศึกษา (ประเภทไป-กลับ) ส่วนที่ 3.หลักเกณฑ์การพิจารณาสำหรับการใช้อาคารหรือสถานที่เพื่อจัดการเรียนการสอน การสอบ การฝึกอบรม หรือการทำกิจกรรมใด ๆ ของโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษา ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุด (สีแดง) หรือ พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (สีแดงเข้ม) ส่วนที่ 4. มาตรการตามแผนเผชิญเหตุตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ของสถานศึกษา และ ส่วนที่ 5.หลักเกณฑ์การพิจารณาสำหรับการใช้อาคารหรือสถานที่ของโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษา เพื่อการสอบ การฝึกอบรม หรือ การทำกิจกรรมใด ๆที่มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก

“ในการเปิดเรียนแบบ on-site โรงเรียน หรือ สถานศึกษาต้องผ่านการประเมินความพร้อมผ่าน Thai Stop Covid Plus (TSC+) และรายงานการติดตามการประเมินผลผ่าน MOECOVID โดยถือปฏิบัติอย่างเข้มข้น ต่อเนื่อง, ครูและบุคลากร ในพื้นที่ควบคุมสูงสุด (สีแดง) หรือ พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (สีแดงเข้ม) ต้องได้รับการฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม ตั้งแต่ร้อยละ 85 ขึ้นไป สำหรับครูและบุคลากรในพื้นที่อื่น ๆต้องได้รับวัคซีนเข็มที่ 1 ตั้งแต่ร้อยละ 85 ขึ้นไป ส่วนนักเรียนไม่มีกำหนด แต่ ศธ.ได้รณรงค์ทำความเข้าใจให้นักเรียนเข้ารับการฉีดวัคซีนมากที่สุด เพื่อความปลอดภัยของนักเรียนและผู้ปกครองเอง” รมว.ศธ.กล่าวและว่า      

ขณะนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำรวจจำนวนโรงเรียน ว่า ในภาคเรียนที่ 2/2564 นี้จะใช้รูปแบบใด โดยพบว่ามีทั้งขอเปิดแบบ on-site 100% หรือ on-site ส่วนใหญ่ รวมกว่า 12,000 โรงเรียน มีบางแห่งขอใช้รูปแบบผสมผสาน และมีบางพื้นที่ที่คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด ยังไม่ให้เปิดแบบ on-site ในวันที่ 1พ.ย.นี้ แต่ให้เลื่อนไปเปิดวันที่ 15 พ.ย.2564 แทน อย่างไรก็ตาม โรงเรียนจะปิดเทอม 2/2564 พร้อมกันในวันที่ 1 เม.ย.2565 นี้ สำหรับสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.) ทั้งของรัฐและเอกชน รวมทั้งสิ้น 869 แห่ง ตอบแบบสอบถามมา 832 แห่ง พบว่า ส่วนใหญ่ 531 แห่ง ขอใช้รูปแบบผสมผสานคือมีทั้ง On-site และ On-line รองลงมา 192 แห่ง ขอใช้รูปแบบ On-line 100 % และ จำนวน 109 แห่ง ขอใช้ แบบ On-site 100%

นางสาวตรีนุช กล่าวด้วยว่า ระหว่างภาคการศึกษาโรงเรียนหรือสถานศึกษา สามารถจัดการเรียนการสอน ได้ทั้งรูปแบบ On-site หรือ Online หรือ แบบผสมผสาน (Hybrid) ,นักเรียน ครู และบุคลากร ทุกคนต้องประเมิน Thai Save Thai (TST) ตามเกณฑ์จำแนกตามเขตพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดจะมีการสุ่มตรวจคัดกรองหาเชื้อด้วย ATK ทั้งนักเรียน ครู และบุคลากร เพื่อเฝ้าระวัง  มีการปฏิบัติตามมาตรการสุขอนามัยส่วนบุคคลอย่างเข้มข้น ทำกิจกรรมร่วมกันในรูปแบบ Small Bubble ให้หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมข้ามกลุ่มกัน และจัดนักเรียนในห้องเรียนขนาดปกติ ไม่เกิน 25 คน หรือ จัดให้เว้นระยะห่างระหว่างนักเรียนในห้องเรียนไม่น้อยกว่า 1.5 เมตร  ตลอดจนมีสถานที่แยกกักตัวในโรงเรียน หรือ พื้นที่แยกกักชั่วคราว  รวมไปถึงมีแผนเผชิญเหตุสำหรับรองรับการดูแลรักษาเบื้องต้นกรณีนักเรียน ครู หรือบุคลากรในสถานศึกษากรณีมีการติดเชื้อโควิด-19 หรือ ผลตรวจคัดกรองหาเชื้อเป็นบวก โดยมีการซักซ้อมอย่างเคร่งครัด และ ควบคุมดูแลการเดินทางกรณีมีการเข้าและออกสถานศึกษาอย่างเข้มข้น โดยหลีกเลี่ยงการเข้าไปสัมผัสในพื้นที่ต่าง ๆตลอดเส้นทางการเดินทาง ทั้งนี้ มาตรการและแนวทางต่าง ๆจะปรับตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค ขึ้นกับคณะกรรมการควบคุมโรคจังหวัด หรือ คณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครกำหนด

ทั้งนี้ สำหรับ 6 มาตรการหลัก (DMHT-RC) ประกอบด้วย 1.Distancing เว้นระยะห่าง  2. Mask wearing สวมหน้ากาก  3. Hand washing ล้างมือ  4. Testing คัดกรองวัดไข้  5. Reducing ลดการแออัด และ 6.Cleaning ทำความสะอาด  ส่วน 6 มาตรการเสริม (SSET-CQ) อย่างเข้มข้น คือ 1. Self-care ดูแลตนเอง  2. Spoon ใช้ช้อนกลางส่วนตัว 3. Eating กินอาหารปรุงสุกใหม่ 4. Track ลงทะเบียนเข้าออกโรงเรียน 5. Check สำรวจตรวจสอบ และ 6.Quarantine กักกันตัวเอง

“ประเทศไทยของเราได้เผชิญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (โควิด-19) และได้เรียนรู้มาตลอดระยะเวลากว่า 18 เดือน ศธ.เองมีความตระหนักและมีความห่วงใยเด็กเยาวชนจึงมีขบวนการจัดการเรียนการสอนในท่ามกลางสถานการณ์โควิดเพื่อไม่ให้เยาวชนขาดโอกาสในการเรียนรู้ จึงได้สร้างขบวนการเรียนรู้ที่มีความยืดหยุ่นใน 5 รูปบบ คือ  On Site การเรียนที่โรงเรียน, On Air เรียนผ่านระบบมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ DLTV,  On Line ครูสอนผ่านระบบอิเลคทรอนิค, On Demand  เรียนผ่านระบบแอปพลิเคชั่น และ On Hand เรียนผ่านเอกสารใบงานอยู่ที่บ้าน ทั้งนี้ เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และการเรียนรู้ที่มีความแตกต่างกัน ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาได้ค้นพบว่า การเรียนรู้ที่ดีที่สุดคือการที่เด็กได้กลับมาสู้ห้องเรียนเพื่อเด็กได้มีการเรียนรู้ในทุก ๆด้าน มีปฏิสัมพันธ์กับครูและเพื่อน ๆ ส่วนการเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ช่วยให้เด็กเรียนรู้ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในส่วนนี้ศธ.ตระหนักดี และรัฐบาลโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีความห่วงใย จึงได้เร่งรัดเรื่องการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ซึ่งเป็นวัคซีนที่กรมอนามัยโลก(WHO)รับรองนำมาฉีดให้กับนักเรียนที่อายุ 12-18 ปี ซึ่งศธ.มีนักเรียนในสังกัดอยู่จำนวนกว่า 5 ล้านคน ผู้ปกครองแสดงความประสงฆ์ให้นักเรียนฉีดวัคซีน 3.8 ล้านคน โดยศธ.ได้รับความร่วมมือจากกระทรวงสาธารณสุขนำวัคซีนไปฉีดให้นักเรียนทั่วประเทศแล้วตั้งแต่วันที่ 4 ต.ค.ที่ผ่านมา ขณะนี้นักเรียน 3.8 ล้านคน ได้รับการฉีดวัคซีนไปแล้วกว่า 2.5 ล้านคน” รมว.ศธ. กล่าวและว่า 

นอกจากนี้ ศธ.และนายกรัฐมนตรี ได้เร่งรัดการฉีดวัคซีนครูให้ได้มากที่สุด ซึ่งครูมีจำนวนกว่า 5 แสนคน ขณะนี้ได้รับการฉีดวัคซีนเข็มแรกไปแล้วกว่า 85% ส่วนที่ยังไม่ได้ฉีดอีก 15% หรือแสนกว่าคน ก็ได้มอบหมายให้ปลัดศธ. ไปดำเนินการให้ข้อมูลและเร่งรัดให้ได้รับการฉีดวัคซีนให้ครบ เพื่อให้มีภูมิป้องกัน ดังนั้น ในวันที่ 1 พ.ย.นี้ โรงเรียนทั่วประเทศจะทยอยเปิดเรียนพร้อมกัน แต่อยู่ที่สภาพพื้นที่ของโรงเรียนที่มีทั้งภาคเอกชนและรัฐบาล สภาพขนาดของโรงเรียน และสภาสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน ดังนั้น การปฏิบัติตามมาตรการของทางกระทรวงสาธารณสุขมีความจำเป็นมาก ซึ่งวัคซีนเป็นเพียงส่วนหนึ่ง แต่ส่ิงที่สำคัญคือมาตรการในการป้องกัน

ด้าน นพ.โอภาส กล่าวว่า ตามนโยบายของรัฐบาลที่จะเปิดประเทศในวันที่ 1 พ.ย.นี้จะไม่มีประโยน์เลยถ้าเปิดประเทศให้นักท่องเทียว นักธุรกิจ และให้คนไทยเดินทางไปมาได้ โดยที่เราไม่เปิดโรงเรียน เพราะโรงเรียนเป็นหัวใจสำคัญของประเทศไทย เด็กนักเรียน ครอบครัว ชุมชนจะต้องมีความปลอดภัย ดังนั้น หากประเทศไทยสามารถเปิดโรงเรียนได้จะเป็นสัญลักสำคัญยิ่งกว่าการเปิดประเทศ

“เปิดเรียนมีการติดเชื้อแน่ ๆ แต่ที่ผ่านมาไม่เคยระบาดไปชุมชน และติดแล้วสามารถควบคุมได้ และเด็กถ้าติดจะไม่รุนแรง และในปี 2565 รัฐบาลสั่งวัคซีนแสตร้าไว้แล้ว 60 ล้านโดส  สาวนที่มีคำถามว่า ถ้าเปิดโรงเรียน เปิดประเทศ ความเสี่ยงจะมีไหม การจะให้ตัวเลขผู้ติดเชื้อเป็นสูญ ก็คงต้องปิดทุกอย่าง  เพื่อลดจำนวนผู้คนติดเชื้อให้ได้มากที่สุด  แต่ถามว่าปิดทุกอย่างแล้วคุ้มไหม ซึ่งขณะนี้ทั่วโลกคิดเหมือนกันคือไม่คุ้ม สังเหตุได้ว่าหลังจากที่รัฐบาลไทยประกาศนโยบายเปิดประเทศในวันที่ 1 พ.ย. ก็มีหลายประเทศในอาเซียนและยุโรปประกาศเปิดประเทศตามไทยแล้ว  แสดงว่านานาชาติประเทศทั่วโลก เห็นพร้องต้องกัน ว่าในระยะต่อไปเราจะต้องอยู่กับเชื้อโควิด-19ให้ได้ เพราะเราคงไม่สามารถกำจัดโรคนี้ให้หมดไปทั่วโลคได้ เพราะฉะนั้น ทำอย่างไร ให้เราอยู่กับเชื้อโควิด-19 ให้ได้มากที่สุด ทำอย่างไรให้เด็ก ๆของเรามีความรู้มีความสามารถในการป้องกันตัว ซึ่งจากวีดิทัศน์ที่ศธ.จัดมานำเสนอดีมาก สามารถนำไปเป็นตัวอย่างให้กับนานาชาติใช้ได้   

อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวต่อว่า วัคซีนเป็นกลไกที่ทำให้เราสามารถมีชีวิตอยู่กับเชื้อโควิด-19 และเป็นที่ยอมรับว่าวัคซีนดีมีประสิทธิภาพในการป้องกันการป่วยหนักและการเสียชีวิตได้ดีมาก ซึ่งจากข้อมูลผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่ไม่ได้ฉีดวัคซีน  เพราะฉะนั้น นักเรียนถ้าได้ฉีดวัคซีนถึงแม้จะได้รับเชื้อโอกาสที่จะป่วยหนักหรือเสียชีวิตมีน้อยมาก หรือไม่มีเลย และลดการติดเชื้อได้ และที่สำคัญถ้ามีการระบาดเกิดขึ้น มาตการที่ ศธ.ได้ดำเนินการร่วมกับ สธ.จะสามารถลดการระบาดในชุมชนได้ เพราะเด็กที่ฉีกแล้วเขาจะบอกพ่อแม่ผู้ปกครองให้ฉีดวัคซีน เพราะมีประโยชน์อย่างมาก จึงขอให้ผู้ปกครองมั่นใจในการเตรียมการของศธ.และสธ.ซึ่งขณะนี้ สธ.ได้กระจ่ายจัดสงวัคซีนจำนวน 6 ล้านโดส ลงไปในพื้นที่ทั่วประเทศแล้วเพื่อระดมฉีดให้กับนักเรียนที่สมัครใจฉีด ซึ่งขณะนี้พบว่าเด็กทยอยขอฉีดเพิ่มขึ้นเลื่อยๆ ส่วนที่มีผู้ปกครองกังวลใจเรื่องผลข้างเคียงโดยเฉพาะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสพนั้น ขอชี้แจ้งว่า สามารถเกิดขึ้นได้ แต่เกิดน้อยและหายได้ และจากข้อมูลใหม่ เด็กที่ติดเชื้อดูภายนอกเหมือนไม่มีอาการ แต่อวัยวะภายในมีการอักเสพและจะส่งผลระยะยาว  ดังนั้น ทางกุมารแพทย์เห็นพร้องกันว่าควรสนับสนุนให้เด็กได้ฉีดวัคซีนทั้งเด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชาย และหลังฉีดภายใน 7 วันไม่ควรออกกำลังกาย 

นพ.สราวุฒิ บุญสุข รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า จากที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ศธ.และ สธ.ก็ได้ความร่วมมือกันเพื่อให้นักเรียนสามารถไปเรียนได้ ส่วนพื้นที่สีแดง และสีแดงเข้ม ส่วนใหญ่จะให้เปิดโรงเรียน และมีมาตรการแซนด์บ็อกซ์ ใน 86 โรงเรียน โดยมี 6 มาตรการหลัก และ 7 มาตรการเข้ม สำหรับสถานศึกษา โดยในโรงเรียนต้องจัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม และโรงเรียนต้องประเมินตนเองผ่าน TSC+ ดังนั้น โรงเรียนที่จะเปิดเรียนในวันที่ 1 พ.ย.จะต้องประเมินตนเองผ่านแพทฟอร์มนี้ และมีคณะกรรมการที่มากจาก ศธ. สธ. และคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด ร่วมกกำกับติดตามและเฝ้าระวังในพื้นที่เสี่ยงและพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาด รวมถึงมีมาตรการเตรียมความพร้อมในโรงเรียน ซึ่งนอกจากครูและนักเรียรได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว บุคลากรภายในโรงเรียน เช่น แม่ครัว แม่บ้าน จะต้องปฏิบัติตามมาตรการอย่างเข้มข้นด้วย และ

Leave a comment