แหวกฟ้าหาฝัน : เยือนมิวเซียมเครื่องแก้วที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป

#SootinClaimon.Com : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์แนวหน้า

https://www.naewna.com/lady/704234

แหวกฟ้าหาฝัน : เยือนมิวเซียมเครื่องแก้วที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป

แหวกฟ้าหาฝัน : เยือนมิวเซียมเครื่องแก้วที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป

วันอาทิตย์ ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2566, 06.00 น.

นักท่องเที่ยวที่มาเยือน Passau สถานที่ท่องเที่ยวหนึ่งที่ต้องมาเยือนให้ได้ ไม่เช่นนั้นถือว่าพลาดโอกาสทองในชีวิตนั่นคือ Glass Museumทั้งนี้ เพราะมิวเซียมแห่งนี้เป็นมิวเซียมที่เก็บสะสมผลงานศิลปะเครื่องแก้วของยุโรปที่ใหญ่ที่สุดในโลก อีกทั้งยังเป็นมิวเซียมที่ได้รับการลงทะเบียนให้เป็นสมบัติของเยอรมนีที่มีคุณค่าทางด้านวัฒนธรรมด้วย มิวเซียมที่ตั้งอยู่บนนถนนSchrottgasse ใกล้กับศาลาว่าการเมืองณ ตำแหน่งเมืองเก่านี้มีทางเชื่อมกับโรงแรมWilder Mann

มิวเซียมที่ก่อตั้งโดย Georg Hoeltl เจ้าของโรงแรม Wilder Mann และผู้ประกอบการธุรกิจที่สำคัญประจำเมือง Passau นี้มีขนาดใหญ่มากครอบคลุมถึง 5 ชั้นในอาคาร 4 หลังซึ่งเชื่อมต่อกันโดยชั้นบนสุดเป็นชั้นแรกของการจัดแสดงมีพื้นที่มากเท่ากับสนามบอล มิวเซียมที่มีของสะสมมากถึง 3 หมื่นชิ้น และจัดแสดงไว้มากถึง 13,000 ชิ้นนี้ เป็นมิวเซียมที่จัดแสดงเครื่องแก้ว Bohemia จาก Bohemia และ Silesiaที่ใหญ่ที่สุดในโลก Silesia มีความสำคัญตรงที่เป็นแหล่งซิลิก้า โปแตส และหินปูนซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในการทำแก้ว แก้วโบฮีเมียเป็นแก้วที่มีความหลากหลายสไตล์โดยมีการแกะสลัก และเคลือบสีสดใส นอกจากนี้ที่นี่ยังเป็นแหล่งสะสมเครื่องแก้วของ Johann Loetz ผู้ผลิตแก้วโบฮีเมียที่มีความสดใสและเป็นคู่แข่งที่สำคัญของบริษัท Louis Comfort Tiffany บริษัทผลิตเครื่องแก้วที่สำคัญของอเมริกันอีกต่างหากด้วย

นักท่องเที่ยวที่มีโอกาสมาเยือนมิวเซียมที่ได้ชื่อว่าเป็นมิวเซียมเครื่องแก้วที่สวยที่สุดและใหญ่ที่สุดในยุโรปซึ่งถูกออกแบบโดย Friedrich Durrenmatt แห่งนี้จะมีโอกาสได้ชื่นชมกับเครื่องแก้วจากยุคต่างๆ โดยเรียงลำดับตามเวลาตั้งแต่ยุคบาโรค (1590-1750) ยุค Empire(1650-1820) ยุค Biedermeier หรือยุคกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ยุคคลาสสิก ยุคประวัติศาสตร์(1850-1895) และงานของ Johann Loetz (1880-1940) นอกจากนี้ ยังมีงานแนว Art Deco,งานของ Ludwig Moser& Sons รวมทั้งงานแนวModern Art อีกต่างหากด้วย ยิ่งกว่านั้นในมิวเซียมที่มีอยู่มากถึง 25 ห้อง ที่สะสมเครื่องแก้วระหว่างปี 1650-1960 นั้น นักท่องเที่ยวยังจะได้เสพงานแนว Art Nouveau ซึ่งเป็นยุคทองของเครื่องแก้วอย่างเต็มอิ่ม ร่วมกับงานแจกันของ Hofstotter ที่จัดแสดงใน Paris Exposition ในปี 1900 ด้วย นักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบงานเครื่องแก้วและของสวยงามที่มีเวลาและได้มีโอกาสพินิจพิจารณาของสวยงามที่จัดแสดงในมิวเซียมแห่งนี้อย่างเต็มที่ย่อมอิ่มอกอิ่มใจชนิดเรียกได้ว่าออกจากมิวเซียมไปไม่ต้องกินข้าวได้เลยทีเดียว

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s