#SootinClaimon.Com : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์แนวหน้า
https://www.naewna.com/likesara/706235

‘กระบอกตั๋ว’ตอบโจทย์‘รถเมล์เมืองไทย’ เพจดังไขข้อข้องใจ..ไฉนใช้ระบบอื่นแล้วไม่เวิร์ค
วันจันทร์ ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2566, 21.29 น.
วันที่ 23 มกราคม 2566 เพจเฟซบุ๊ก “Bangkok Buses-รถเมล์กรุงเทพ” เผยแพร่บทความ “กระบอก…ยังไงก็ฆ่าไม่ตาย” เนื้อหาดังนี้
กระบอก…คือชีวิตคนรถเมล์
กระบอก…คือเครื่องมือทำมาหากิน
กระบอก คือเครื่องมืออุปกรณ์การจัดเก็บค่าโดยสารบนยานพาหนะต่างๆมาทุกยุคทุกสมัย ที่บรรพบุรุษคนโบราณได้คิดมาเสร็จสรรพทั้งทอนทั้งฉีกตั๋วทั้งเหรียญทอน เบ็ดเสร็จในกระบอกเดียว ไล่มาตั้งแต่ รถราง เรือโดยสาร รถไฟ มาจนกระทั่งบนรถเมล์ก็ยังใช้เก็บค่าโดยสารกับผู้โดยสารอยู่จนกระทั่งถึงทุกวันนี้
เป็นระบบที่คลาสสิคสามารถเก็บค่าโดยสารได้ตั้งแต่ รถเมล์ฟรี 0บาท จนไปถึง หลักร้อย หลักพัน หลักหมื่นต่อวันได้ แค่ผลิตตั๋วราคานั้นๆใส่กระบอก เตรียมเหรียญทอนจบ แค่นี้ก็พร้อมให้บริการชำระค่าโดยสารได้ทันที
สำหรับวงการรถเมล์ ประเภทชำระที่ไม่รอดมีตั้งแต่
แคชบ้อกซ์ขึ้นหลังลงหน้าก็ไม่รอด
>หยอดฝาเบียร์ ขึ้นผิดประตู ไม่มีทอน ที่กั้นพัง
แคชบ้อกซ์ขึ้นหน้าลงหลังก็ไม่รอด
>กว่าจะขึ้นได้ทีละคนรถติดยาวเหยียดไม่มีบัสเลน
แตะบัตรระบบไม่เสถียรก็ไม่รอด
>คำนวนช้า สัญญาณพัง ปริ้นท์ตั๋วช้า แบตหมด
ทำไมถึงไม่รอด ดูกายภาพเมือง วินัยการจราจรซะก่อน
ถ้าจะทำสิ่งที่ไม่รอดให้มันรอดเนี่ยต้องมีตั้งแต่
บัสเลน(หาว่าแดกเลนรถส่วนตัวอีก)
ช่องจอดป้ายรถเมล์(ก็ไม่พ้นแท้กซี่เสียบอยู่ดี)
ระบบต้องเสถียรมากพอในทุกวัน(ระบบล่มอยู่ดี)
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้โดยสาร(ต้องทำเป็นสิบๆปี)
ระบบกระบอก เป็นระบบค่านิยมที่ปลูกฝังพฤติกรรมผู้โดยสารคนไทยมาช้านานกว่าครึ่งศตวรรษ ด้วยการขึ้นไปนั่งก่อนแล้วจ่ายทีหลังทำให้การจราจรที่คับคั่งในกทม.ใช้เวลาเพียงไม่นานก็สามารถออกรถจากป้ายได้ ประกอบกับมีพนักงานเก็บสตางค์เป็นทั้งเก็บค่าโดยสาร ดูแลผู้โดยสารบนรถและลงรถ เบ็ดเสร็จในรถคันเดียว
คิดจะเปลี่ยนพฤติกรรมผู้โดยสาร…บอกเลยว่ายาก
อาจจะต้องใช้เวลานานมากเป็นสิบปีกว่าจะเปลี่ยนได้
บางคนบอกต่างประเทศทำไมทำได้…..
เข้าใจว่าอยากจะเปลี่ยนแต่อย่าลืมว่าที่นี่คือไทยแลนด์
กระบอกก็เลยผ่านมาทุกยุคทุกสมัย ไม่ตายง่ายๆหรอก