มจธ. ต่อยอดเชิงพาณิชย์ งานวิจัย 3D print ทางการแพทย์ ‘วัสดุทดแทนกระดูก’

#SootinClaimon.Com : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์แนวหน้า

https://www.naewna.com/local/708151

มจธ. ต่อยอดเชิงพาณิชย์ งานวิจัย 3D print  ทางการแพทย์ ‘วัสดุทดแทนกระดูก’

มจธ. ต่อยอดเชิงพาณิชย์ งานวิจัย 3D print ทางการแพทย์ ‘วัสดุทดแทนกระดูก’

วันพฤหัสบดี ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566, 06.00 น.

ผศ.ดร.พชรพิชญ์ พรหมอุปถัมภ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) เปิดเผยว่า ได้นำองค์ความรู้ทางด้านเครื่องกลและเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ ที่สามารถขึ้นรูปทรงที่มีความซับซ้อนได้ มาศึกษาวิจัย “วัสดุทดแทนกระดูก” โดยออกแบบและขึ้นรูป พัฒนาขึ้นเป็น “วัสดุทดแทนกระดูกประเภทมีรูพรุนเฉพาะ” สำหรับผู้ป่วยที่ต้องการปลูกถ่ายกระดูกบริเวณขากรรไกรและใบหน้า ซึ่งจะช่วยให้การผ่าตัดมีประสิทธิภาพ สะดวก แม่นยำ และรวดเร็วมากขึ้น โดยเฉพาะการผ่าตัดศัลยกรรมกราม ขากรรไกร และใบหน้า โดยต้นปี 2565 ที่ผ่านมา ได้ร่วมมือกับคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำผลงานไปใช้ในการผ่าตัดผู้ป่วย พบว่าสามารถใช้งานได้ดีและมีประสิทธิภาพ ทำให้มีความต้องการเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีผู้ป่วยขากรรไกรใบหน้าในประเทศไทยที่รอการผ่าตัด มีอยู่จำนวนมากอย่างน้อยปีละ 3,000-5,000 รายจึงนำมาสู่การจัดตั้ง บริษัท ออสซีโอแล็บส์ จำกัด ขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม 2565 เพื่อต่อยอดและขยายผลในเชิงธุรกิจ ในฐานะเป็นบริษัท Spin-off ของ มจธ. และเพื่อรองรับกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นต่อไปในอนาคต

ดร.วิกรม อาฮูยา CEO และ Co-Founder บริษัท ออสซีโอแล็บส์ จำกัด (OsseoLabs) กล่าวว่า ตนเองอยู่ในธุรกิจสตาร์ทอัพ และทำงานร่วมกับผศ.ดร.พชรพิชญ์ มานาน จึงอยากผลักดันงานของนักวิจัยไทยที่มีศักยภาพในระดับสากลให้ต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ และผลงานวิจัย “วัสดุทดแทนกระดูกประเภทมีรูพรุนเฉพาะ” นี้ บริษัทมีความมั่นใจว่าจะเป็นประโยชน์ทางการแพทย์อย่างมาก หากมีการผลิตขายในเชิงพาณิชย์ และเชื่อว่าจะสามารถทำการรักษาผู้ป่วยได้เพิ่มขึ้นกว่าพันรายต่อปี นอกจากยังมีแผนที่จะขยายไปต่างประเทศโดยเน้นที่สหรัฐอเมริกา โดยจะมีการระดมทุน การสร้างการรับรู้ การจัดหาสถานที่ผลิตที่ได้มาตรฐาน ISO ภายใน 6 เดือน และเร่งดำเนินการขึ้นทะเบียน อย. เพื่อให้สามารถผลิตเชิงพาณิชย์ต่อไป โดยขณะนี้การดำเนินงานผลิตต้องขออนุญาตเป็นรายๆ ไป

ทั้งนี้ บริษัท ออสซีโอแล็บส์ จำกัด (OsseoLabs)ล่าสุด ได้เข้าร่วมการแข่งขัน Startup Pitching for Smart Hospital 2022 เมื่อเดือนตุลาคม 2565ที่ผ่านมา ภายใต้โจทย์ “Convergent Technology for Emerging Smart Healthcare” เพื่อนำเสนอผลงานนวัตกรรมสำหรับการวินิจฉัยและการมีส่วนร่วมของผู้ป่วย การวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับการบริการ กระบวนการลดขั้นตอนการทำงานเพื่อประสิทธิภาพที่ดีขึ้น การตรวจติดตามสุขภาพเชิงรุกอย่างต่อเนื่อง และการดูแลสุขภาพอย่างยั่งยืน โดยผลงานการวางแผนผ่าตัดด้วยระบบคอมพิวเตอร์เพื่อผลลัพธ์ที่แม่นยำ Virtual surgical planning for highly precise surgery และวัสดุทดแทนกระดูกประเภทมีรูพรุนเฉพาะ Osseo-enhanced TPMS™ porous implants ของบริษัท ออสซีโอแล็บส์ ติด 1 ใน 5 ทีมสุดท้าย ใน 5 สาขาและได้รับรางวัลขวัญใจมหาชน (Popular vote) พร้อมทุนสนับสนุนมูลค่า 50,000 บาท จากบริษัทกรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน)

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s