บราซิลเตรียมจมเรือบรรทุกเครื่องบิน นักอนุรักษ์โวยเป็นขยะหนัก 30,000 ตัน

#SootinClaimon.Com : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

https://www.thairath.co.th/news/foreign/2619821

บราซิลเตรียมจมเรือบรรทุกเครื่องบิน นักอนุรักษ์โวยเป็นขยะหนัก 30,000 ตัน

3 ก.พ. 2566 05:21 น.

บราซิลเตรียมจมเรือบรรทุกเครื่องบิน นักอนุรักษ์โวยเป็นขยะหนัก 30,000 ตัน

บราซิลวางแผนจมเรือบรรทุกเครื่องบินเก่าลงมหาสมุทรแอตแลนติก ท่ามกลางเสียงต่อต้านจากนักอนุรักษ์ที่ระบุว่า ภายในเรือหนัก 30,000 ตันลำนี้เต็มไปด้วยวัสดุมีพิษ

กองทัพเรือกับกระทรวงกลาโหมของประเทศบราซิล ออกแถลงการณ์เมื่อ 2 ก.พ. 2566 ว่า พวกเขาจะจมเรือบรรทุกเครื่องบิน ‘เซา เปาโล’ ลงก้นทะเลด้วยการเจาะรูใต้ท้องเรือ หลังประสบความล่มเหลวในการหาท่าเรือที่จะยอมให้เรือลำนี้ไปจอด ทำให้มันถูกลากไปทั่วมหาสมุทรแอตแลนติกตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา

“จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นและความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากการลากจูงเรือลำนี้ กอปรกับความจริงที่ว่าการลอยตัวของลำเรือเสื่อมถอยลงเรื่อยๆ และหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่มันจะจมลงไปเองโดยไม่อาจควบคุม จังไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากกำจัดมันด้วยการจมเรือภายใต้แผนการและการควบคุม” แถลงการณ์ระบุ

เรื่องดังกล่าวเรียกร้องประณามจากนักสิ่งแวดล้อมทันที โดยระบุว่า เรือบรรทุกน้ำมันลำนี้บรรทุก แร่ใยหิน, โลหะหนัก และวัตถุมีพิษอย่างอื่นเป็นจำนวนมาก ซึ่งอาจรั่วไหลสู่น้ำทะเลและก่อมลพิษต่อห่วงโซ่อาหารของสัตว์น้ำ

นายจิม พัคเกตต์ ผู้อำนวยการเครือข่าย ‘Basel Action Network’ (BAN) กล่าวหากองทัพเรือบราซิลว่า ปล่อยปละละเลยอย่างร้ายแรง “หากพวกเขาเดินหน้าทิ้งเรือที่มีพิษสูงมากนี้สู่ธรรมชาติของมหาสมุทรแอตแลนติก พวกเขาจะละเมิดข้อกำหนดของสนธิสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยสิ่งแวดล้อมถึง 3 ฉบับ”

นายพัคเกตต์ยังเรียกร้องถึงนาย ลูอิซ อินญาซิโอ ลูลา ดา ซิลวา ประธานาธิบดีบราซิล ซึ่งเพิ่งรับตำแหน่งเมื่อเดือนก่อนและให้คำมั่นว่าจะย้อนคืนการทำลายสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มขึ้นในยุคของอดีตประธานาธิบดี ชาอีร์ โบลโซนาโร ให้หยุดแผนการอันตรายนี้ในทันที

ด้าน โรแบง เด บัวส์ (Robin des Bois) องค์กรพิทักษ์สิ่งแวดล้อมในฝรั่งเศส เรียกเรือบรรทุกเครื่องบิน เซา เปาโล ว่าเป็น พัสดุพิษหนัก 30,000 ตัน

ทั้งนี้ เรือบรรทุกเครื่องบินลำนี้มีชื่อเดิมว่า ‘ฟอช’ (Foch) ถูกสร้างขึ้นที่ฝรั่งเศสเมื่อปี 2498 ประจำการในกองทัพฝรั่งเศสครั้งแรกเมื่อ 18 ก.ค. 2506 มันเคยมีส่วนร่วมในการทดสอบนิวเคลียร์ครั้งแรกในมหาสมุทรแปซิฟิกช่วงยุคปี 60 และถูกส่งไปประจำการยังประเทศต่างๆ ในแอฟริกา, ตะวันออกกลาง และยูโกสลาเวียในอดีตด้วย ก่อนจะถูกปลดประจำการเมื่อ 15 พ.ย. ปี 2543

ในปีเดียวกัน บราซิลซื้อต่อไปในราคา 12 ล้านดออลลาร์สหรัฐฯ และเปลี่ยนชื่อเป็น เซา เปาโล อย่างไรก็ตาม เกิดเหตุไฟไหม้ครั้งใหญ่ขึ้นในปี 2548 ส่งผลให้เรือลำนี้เสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็ว จนไม่สามารถใช้งานต่อได้ในปี 2560 และถูกปลดประจำการในเดือน พ.ย. 2561

เมื่อปีก่อน ทางการบราซิลให้อำนาจบริษัท Sok Denizcilik ของตุรกีในการแยกชิ้นส่วนเรือลำนี้เพื่อนำเศษเหล็กมาใช้ แต่ในเดือนสิงหาคมปีเดียวกัน หน่วยงานสิ่งแวดล้อมของตุรกีตัดสินใจขัดขวางแผนดังกล่าว ก่อนที่เรือลำนี้จะถูกเข้าสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

บราซิลต้องลากเรือเซา เปาโล กลับมาแต่กลับไม่มีท่าเรือใดยอมให้เข้าจอด อ้างเรื่องความเสี่ยงสูงต่อสภาพแวดล้อม ทำให้กองทัพเรือต้องลากเรือลำนี้ไปยังน่านน้ำห่างจากชายฝั่งบราซิล 350 กม. ในจุดที่มีความลึก 5,000 ม. โดยระบุว่าเป็นพื้นที่ที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับปฏิบัติการจมเรือแล้ว แต่กองทัพไม่เปิดเผยว่าจะเริ่มจมเรือเมื่อใด

ที่มา : cna

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s