รถไฟไทยเชื่อมโยงผู้คน เสริมสร้างเศรษฐกิจและความเจริญ

#SootinClaimon.Com : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์แนวหน้า

https://www.naewna.com/lady/711898

รถไฟไทยเชื่อมโยงผู้คน เสริมสร้างเศรษฐกิจและความเจริญ

รถไฟไทยเชื่อมโยงผู้คน เสริมสร้างเศรษฐกิจและความเจริญ

วันเสาร์ ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566, 06.02 น.

รถไฟไม่ได้ทำหน้าที่เพียงพาคนจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง แต่ยังช่วยกระจายความเจริญทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมได้อย่างเป็นรูปธรรม (นิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย)ฉะเชิงเทรายังเป็นเมืองที่เราสามารถพัฒนาให้เจริญเติบโตควบคู่ไปกับการรักษาสภาพแวดล้อมให้ดีได้ สามารถทำให้มีการพัฒนาแบบสมดุลและยั่งยืน เป็นเมืองน่าอยู่ (ศ.ดร.กิตติพงษ์ กิติยารักษ์ ประธานมูลนิธิฉะเชิงเทราเพื่อการพัฒนา)

ไลฟ์ วาไรตี สัปดาห์นี้ ดร.เฉลิมชัย ยอดมาลัย ชวนคุณนั่งรถไฟจากหัวลำโพงไปเที่ยวชมเมืองฉะเชิงเทรา และสนทนากับนายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย และ ศ.ดร.กิตติพงษ์ กิติยารักษ์ประธานมูลนิธิฉะเชิงเทราเพื่อการพัฒนาในประเด็นการพัฒนาเมืองด้วยการใช้รถไฟเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งเพื่อช่วยพัฒนา

นิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟฯ 

l เรียนถามท่านผู้ว่าการฯ ถึงวัตถุประสงค์หลักของการร่วมพัฒนาฉะเชิงเทราโดยใช้รถไฟเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งเพื่อการพัฒนาครับ

คุณนิรุฒ : กิจการรถไฟไทยมีอายุถึง 125 ปีแล้ว โดยมีกำเนิดมาจากพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์ให้เกิดความเจริญแก่บ้านเมือง อำนวยความสะดวกสบายให้ประชาชนในการเดินทางและการขนส่งค้าขายสินค้า เมื่อรถไฟไปถึงที่ไหน ความเจริญก็จะบังเกิด ณ ที่แห่งนั้น การรถไฟของไทยเจริญขึ้นมาเรื่อยๆ พร้อมๆ กับพันธกิจสำคัญคือสร้างความเจริญให้กับประเทศชาติ หน้าที่ของรถไฟคือนำผู้คน สินค้าจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง พร้อมๆ กับนำความเจริญไปให้พื้นที่ด้วย

แม้ในวันที่ประเทศมีถนนหนทางและมีรถยนต์มากขึ้น แต่รถไฟก็ยังคงอยู่คู่กับสังคมไทยเสมอมา ด้วยปณิธานแรงกล้าคือสร้างความเจริญให้ประเทศชาติ ทำให้เศรษฐกิจของประเทศเจริญรุ่งเรือง การรถไฟของไทยต้องอยู่คู่กับประเทศไทยตลอดไป นอกจากการพาคนและสินค้าจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งแล้ว การรถไฟยังมีพันธกิจสำคัญคือช่วยเปิดประสบการณ์การเดินทางท่องเที่ยวให้ผู้คน ประเด็นนี้เองที่ทำให้การรถไฟจัดเดินรถเพื่อการท่องเที่ยวและสันทนาการ ซึ่งเราทำมาเป็นประจำ ครั้นมาในช่วงนี้ เราได้รถไฟคิฮะ 183 มาจากญี่ปุ่น เมื่อเรานำมาซ่อมบำรุงให้ใช้การได้ดีเหมาะสมกับสภาพรางรถไฟของเมืองไทยก็ปรากฏว่ารถไฟคิฮะ 183 ได้รับความนิยมมากทั้งจากชาวไทยและต่างชาติ เราได้ทดลองเดินรถไฟจากกรุงเทพฯ ไปฉะเชิงเทรา

โดยเชิญผู้มีเกียรติและสื่อมวลชนไปทดลองนั่ง ปรากฏว่าได้รับความนิยมสูง มีเสียงตอบรับอย่างดีมาก หลายๆ ท้องที่เรียกร้องให้รถไฟคิฮะ 183 แล่นไปให้บริการในพื้นที่ของตน นั่นแสดงว่าสังคมไทยยังให้การต้อนรับรถไฟเป็นอย่างดี และเป็นไปตามปรัชญาของเราคือ รถไฟคู่ชุมชน สร้างความเจริญเติบโตทั้งด้านสังคมและเศรษฐกิจให้ชุมชน เมื่อเราได้หารือกับภาคส่วนต่างๆ แล้ว ก็จึงเริ่มโครงการแล่นรถไฟคิฮะ 183 ไปยังฉะเชิงเทรา ตามแบบฉะเชิงเทราโมเดล เนื่องจากมีระยะทางห่างกันไม่ไกลมากนัก และฉะเชิงเทรามีความพร้อมด้านพื้นที่การท่องเที่ยว และยังมีสินค้าการเกษตรไว้ต้อนรับนักท่องเที่ยวอีกด้วย

เมื่อชุมชนมีความพร้อม การรถไฟก็จึงตัดสินใจทดลองโครงการนี้เป็นที่แรก เท่าที่เราทราบคือคนจำนวนมากนิยมไปกราบไหว้นมัสการหลวงพ่อโสธรกันเป็นประจำ บางคนก็นั่งรถไฟไปบางคนก็ใช้รถยนต์ส่วนตัว และใช้รถประจำทางแต่เมื่อเราเปิดประสบการณ์ใหม่ด้วยการนำรถไฟจากญี่ปุ่นมาให้บริการ ก็ได้รับความสนใจอย่างล้นหลาม มีเสียงเรียกร้องให้เปิดแล่นรถไฟให้ถี่กว่าเดิม แต่เราก็ต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมในการเปิดเดินรถไฟด้วย เมื่อเรามั่นใจว่าโครงการริเริ่มที่ฉะเชิงเทราให้ผลดีเลิศแล้ว เราก็จะขยายเส้นทางให้บริการในจังหวัดอื่นๆ ที่มีความเหมาะสมต่อไปในอนาคตอันใกล้ เพราะมั่นใจว่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของจังหวัดได้อย่างเป็นรูปธรรม

l เท่าที่ได้พบข้อเท็จจริงคือฉะเชิงเทรามีสินค้าด้านการเกษตรคุณภาพดีหลากหลายอาทิ มะม่วงน้ำดอกไม้ มะพร้าวน้ำหอม ปลากะพงยักษ์ และมีแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรอีกมากมาย แต่ที่สำคัญคือทุกคนรู้จักและศรัทธาในองค์หลวงพ่อโสธรมาก เพราะฉะนั้นการเปิดเดินรถสายกรุงเทพฯ ฉะเชิงเทราครั้งนี้จึงได้รับเสียงตอบรับดีมากใช่ไหมครับ

คุณนิรุฒ : ใช่ครับเป็นความจริงครับเนื่องจากฉะเชิงเทรามีความพร้อมในการรองรับนักท่องเที่ยว จึงทำให้ทุกอย่างดำเนินไปอย่างราบรื่นมาก สิ่งต่อไปที่การรถไฟคิดคือ ทำอย่างไรให้มีการค้าการขายในฉะเชิงเทราดีขึ้นกว่าเดิม เราจึงตั้งใจพาผู้คนจากที่ต่างๆ เข้าไปยังเมืองฉะเชิงเทราให้มากขึ้น เมื่อมีผู้บริโภคเข้าไปซื้อหาสินค้า และท่องเที่ยวมากขึ้น เศรษฐกิจก็จะดีขึ้น ขยายตัวมากขึ้น คล้ายกับว่าการรถไฟช่วยหาลูกค้าให้จังหวัดฉะเชิงเทรามากขึ้น นี่คือหน้าที่หลักของเราคือพาคนจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง และเพิ่มการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจให้ตามมา

l มีเสียงเรียกร้องให้เปิดบริการด้วยรถไฟคิฮะถี่ขึ้น เสียงเรียกร้องนี้จะได้รับการตอบสนองอย่างไรครับ

คุณนิรุฒ : ช่วงนี้ยังเป็นการเริ่มต้นเป็น pilot project เราต้องพิจารณาความเป็นไปได้และความเหมาะสมให้ชัดเจน โดยต้องทำไปตามแผนการแต่ละระยะ ช่วงแรกเริ่มเราอาจจะไม่สามารถแล่นรถได้บ่อยมากนักจนกว่าทุกอย่างลงตัวแล้ว เราจึงจะพิจารณาเพิ่มความถี่ของการให้บริการ โดยดูความเหมาะสมเป็นสำคัญ เราเน้นให้ผู้ใช้บริการมีความสุข และได้รับประสบการณ์ที่ดี มาใช้บริการของเราแล้วต้องมีความสุขและประทับใจ วันนี้เราได้เริ่มต้นโครงการแล้ว ก็ถือว่าเป็นสิ่งดี แล้วเราจะต้องพัฒนาต่อไป เราจะใช้โมเดลจากฉะเชิงเทราเป็นต้นแบบแล้วพัฒนาต่อไปในจังหวัดอื่นๆ ในอนาคตครับ

l หากมีหน่วยงาน บริษัท ห้างร้านหรือเอกชนจะขอเช่าเหมาขบวนรถไฟคิฮะเพื่อไปยังฉะเชิงเทรา ทางการรถไฟฯ จะสามารถตอบสนองได้หรือไม่ครับ

คุณนิรุฒ : ยินดีรับพิจารณาครับ แต่ต้องยืนยันว่าต้องดูตามสภาพความเหมาะสมต้องดูความต้องการของตลาดประกอบกับความสามารถในการให้บริการของเราด้วย เราเน้นการให้บริการที่ดีที่สุดเพื่อความประทับใจของผู้ใช้บริการ หากเรามีความพร้อม และมีเสียงเรียกร้องให้เราจัดบริการให้ เรายินดีตอบสนองตามเสียงเรียกร้องครับ

l ท่านผู้ว่าฯ จะฝากอะไรถึงคนไทยที่ห่างเหินการใช้บริการของการรถไฟฯมานานแล้วบ้างครับ 

คุณนิรุฒ : อยากเชิญชวนให้กลับมาใช้บริการของการรถไฟครับ คุณนั่งรถไฟของการรถไฟแห่งประเทศไทยครั้งสุดท้ายนาน
กี่ปีแล้วครับ ขอเชิญมาสัมผัสบริการของการรถไฟอีกสักครั้ง แล้วคุณจะทราบข้อเท็จจริงด้วยตัวคุณเอง คุณอาจจะเข้าใจการรถไฟแบบเดิมๆ ซึ่งอาจเป็นการเข้าใจผิด จึงขอให้มาทดลองด้วยตัวเองอีกสักครั้ง ผมเรียนย้ำว่ารถไฟไทยพร้อมให้บริการที่ดีเพื่อทุกคน เรามีสินค้าต่างๆ ให้คุณเลือกใช้บริการ เช่น การเดินทางเพื่อทำงาน เดินทางเพื่อท่องเที่ยว การขนส่งสินค้า แต่ไม่ว่าจะใช้บริการใดของรถไฟ เราก็ยังยืนยันว่า รถไฟไทยอยู่คู่กับคนไทยตลอดไปครับ 

ศ.ดร.กิตติพงษ์ กิติยารักษ์ ประธานมูลนิธิฉะเชิงเทราเพื่อการพัฒนา

l เรียนถาม ดร.กิตติพงษ์ในฐานะประธานมูลนิธิฯ การเดินรถไฟมาฉะเชิงเทราในวันนี้ จะช่วยให้ฉะเชิงเทราได้รับผลดีในด้านใดบ้างครับ

ดร.กิตติพงษ์ : ก่อนอื่นต้องชื่นชมวิสัยทัศน์ของท่านผู้ว่าการการรถไฟครับ โดยเฉพาะประเด็นรถไฟคู่สังคมไทย เพราะรถไฟไปถึงที่ไหน ก็นำความเจริญไปยังที่แห่งนั้น ความเจริญกับรถไฟจึงเป็นของคู่กันมายาวนานมาก ผมมีโอกาสหารือกับท่านผู้ว่าการการรถไฟในประเด็นการสร้างความเจริญให้ท้องที่ด้วยการใช้รถไฟเป็นปัจจัยสำคัญตัวหนึ่ง โดยเลือกใช้จังหวัดฉะเชิงเทราเป็นต้นแบบ เพราะเห็นว่าฉะเชิงเทราเป็นเมือง EEC (Eastern Economic Corridor) ที่สามารถพัฒนาเป็นเมืองสากลได้ ที่สำคัญคือเมืองนี้มีสิ่งยึดเหนี่ยวทางใจที่สำคัญคือหลวงพ่อโสธร เมืองนี้เป็นเมืองพระพุทธศาสนาแต่ก็มีศาสนาอื่นๆ อยู่ร่วมกันได้อย่างลงตัว และมีแม่น้ำบางปะกงเป็นเส้นเลือดหล่อเลี้ยงให้ความอุดมสมบูรณ์พื้นที่ เมืองนี้มีอาหารอร่อยมากมาย มีผลไม้รสชาติดีขึ้นชื่อ

เช่น มะม่วงน้ำดอกไม้ มะพร้าวน้ำหอม มีประเพณีและวัฒนธรรมของท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ การเป็นเมือง EEC ไม่ได้เฉพาะว่าต้องเป็นแค่เมืองอุตสาหกรรมเท่านั้น แต่ยังคงรักษาเอกลักษณ์ของเกษตรกรรมไว้ได้ด้วย จุดเด่นของเมืองนี้คือทุกหน่วยงาน ทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน ภาคการศึกษาวิชาการ และชุมชนต่างให้ความร่วมไม้ร่วมมือกันเป็นอย่างดีทุกภาคส่วนต้องการทำให้ฉะเชิงเทราเจริญและเป็น Smart City แล้วก็โชคดีมากที่จังหวัดได้รับการสนับสนุนจากภายนอก เช่นจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ลาดกระบัง ที่ช่วยให้การสนับสนุนด้านงานวิจัยและวิชาการควบคู่ไปกับมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ เมื่อมีการประสานงานกันอย่างดี ก็ทำให้ทุกอย่างลื่นไหล เป็นรูปแบบของความร่วมมือที่น่าสนใจ เมื่อนำรถไฟคิฮะจากฮอกไกโดมาแล่น ก็ยิ่งสร้างจุดขายให้เด่นขึ้นแต่ที่ต้องชมมากเป็นพิเศษคือวิศวกรการรถไฟของไทยเก่งมาก สามารถดัดแปลงขนาดของล้อรถไฟคิฮะให้แล่นบนรางของบ้านเราได้ข่าวนี้โด่งดังมาก NHK ยังมารายงานข่าวนี้คนญี่ปุ่นบอกว่าคิฮะฟื้นคืนชีพแล้วในประเทศไทยเมื่อคิฮะแล่นมาฉะเชิงเทรา ก็เชื่อว่าจะช่วยกระตุ้นให้สินค้าเกษตรของฉะเชิงเทราขายดีมากขึ้น เพราะมีนักท่องเที่ยวมามากขึ้น การท่องเที่ยวในฉะเชิงเทราก็จะคึกคักมากยิ่งขึ้น 

l ความร่วมมือทางด้านวิชาการเป็นอย่างไรบ้างครับ

ดร.กิตติพงษ์ : ราชภัฏราชนครินทร์มีส่วนช่วยเหลือเยอะมากครับ ทั้งงานด้านการวิจัย การผลิตเพื่อเป็นโครงการต้นแบบ มีผลผลิตด้านการแปรรูปสินค้าเกษตรหลายอย่าง เช่น ทาร์ตมะม่วงน้ำดอกไม้ ไอศกรีมมะม่วงน้ำดอกไม้ แครกเกอร์ปู เรามีสินค้าดีๆ รอผู้บริโภค ดังนั้นการที่รถไฟคิฮะแล่นมา ก็จึงเท่ากับนำเอานักท่องเที่ยวเข้ามาซื้อสินค้าของเรา และจะทำให้มีการพัฒนาคุณภาพสินค้าให้ดีขึ้นเป็นลำดับจนได้มาตรฐานสากล ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม เราคือครัวคุณภาพของโลก เรามีผลผลิตการเกษตรด้านอาหารที่มีคุณภาพสูงที่โลกต้องการ เราต้องคิดใหญ่ในเรื่องนี้ โดยการส่งเสริมผลิตผลของท้องถิ่นให้มีคุณภาพสูงตามมาตรฐานโลก โดยส่วนตัวของผมในฐานะคนที่รักและผูกพันกับฉะเชิงเทรา เราต้องการเห็นฉะเชิงเทราเจริญอย่างยั่งยืน เราจึงรวมพลังกันผลักดันให้เกิดผลสำเร็จ

เมื่อโมเดลฉะเชิงเทราสำเร็จ ก็จะเป็นต้นแบบของจังหวัดอื่นในอนาคต การร่วมมือกันทุกภาคส่วนสำคัญมาก เช่น เราได้ความร่วมมือจากผู้ผลิตรถบัสไฟฟ้าที่มีโรงงานผลิตแบตเตอรี่สำหรับรถไฟฟ้า และโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าก็อยู่ในเขตฉะเชิงเทรา โดยมีกำลังการผลิตสูงถึง 9 พันคันต่อปี ถือว่าเป็นโรงงานใหญ่ที่สุดในอาเซียน วันนี้ก็นำรถไฟฟ้ามาให้บริการต่อจากรถไฟ โดยนำผู้ร่วมขบวนไปวัดโสธร วัดจีนประชาสรรค์ วัดสมานรัตนาราม เป็นต้น ต่อไปจะมีเรือไฟฟ้าแล่นให้บริการในลำน้ำบางปะกงด้วย ทั้งหมดคือการทำโดยคิดถึงเรื่องลดมลภาวะทางอากาศ แต่นี่คือจุดเริ่มต้นของโครงการ แต่ก็มองเห็นถึงความสำเร็จที่อยู่ไม่ไกล ต้องย้ำอีกครั้งว่าเราโชคดีที่มีภาคีเครือข่ายให้ความร่วมมือมากมาย ทั้งธนาคารกรุงไทย ที่พร้อมเข้ามาช่วยสร้าง platform สำหรับ E-Commerce และให้คำแนะนำด้านการพัฒนาผลผลิต ส่วนกลุ่มดุสิตธานีก็เข้ามาให้คำแนะนำด้าน hospitalities นี่คือตัวอย่างของการร่วมมือกันจากหลายๆ ฝ่ายแล้วผลักดันให้ฉะเชิงเทราโมเดลเกิดขึ้นอย่างจริงๆ จังๆ 

l ท่านประธานมูลนิธิฯ ตั้งความหวังอะไรไว้สำหรับโมเดลนี้ในระยะ 5 ปีข้างหน้าครับ

ดร.กิตติพงษ์ : จริงๆ แล้วมูลนิธิฉะเชิงเทราเพื่อการพัฒนา ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2522 แล้ว เราทำงานเพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ในโครงการเศรษฐกิจพอเพียง เมื่อโครงการดำเนินไปตามเป้าหมายแล้ว เราก็ยกหน้าที่ให้จังหวัดเป็นผู้ดำเนินการต่อไป แต่มาวันนี้มูลนิธิฯ เห็นว่า เราต้องกลับมาช่วยกันพัฒนาฉะเชิงเทราอีกวาระหนึ่ง เพื่อให้เจริญมากยิ่งขึ้น แต่ต้องการให้เกิดความเจริญแบบยั่งยืน ไม่ทอดทิ้งใครไว้ข้างหลัง เราต้องการเห็นคนส่วนใหญ่ในชุมชนก้าวหน้าไปพร้อมๆ กันไม่ต้องการให้เกิดความเหลื่อมล้ำใดๆ ในฉะเชิงเทราเราต้องการพัฒนาเมืองอย่างสมดุลและยั่งยืนเพื่อให้เป็นเมืองน่าอยู่อาศัย น่าลงทุน น่าท่องเที่ยวเราจึงต้องพัฒนาเมืองให้รอบทุกด้าน และเราก็เน้นในเรื่องความปลอดภัยของเมือง เพื่อสวัสดิภาพของประชาชนและนักท่องเที่ยวทุกคนที่มาเยือนฉะเชิงเทรา ผมมั่นใจว่าเราทุกคนช่วยกันสร้างฉะเชิงเทราโมเดลได้ เพื่อให้เป็นต้นแบบของเมืองน่าอยู่ น่ามาท่องเที่ยว และน่าทำธุรกิจ

คุณจะได้ชมรายการไลฟ์ วาไรตี รายการดีที่ครบครันด้วยสาระและความรู้ออกอากาศทุกวันเสาร์ เวลา 14.05-14.30 น. ทางโทรทัศน์  NBT กดหมายเลข 2และชมรายการย้อนหลังได้ที่ YouTubeไลฟ์ วาไรตี

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s