#SootinClaimon.Com : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์แนวหน้า
https://www.naewna.com/lady/712667

ดูแลตัวเองอย่างไร ในภาวะ PM2.5 สูง
วันพุธ ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566, 06.28 น.
องค์การอนามัยโลก (WHO) ตั้งค่าเฉลี่ยฝุ่นละออง PM2.5 ในอากาศว่าหากมีเกินกว่า 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ถือเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ขณะที่ประเทศไทย โดยเฉพาะกรุงเทพฯ ค่าฝุ่นละออง PM2.5 ทุกวันนี้ถือว่าเข้าขั้นวิกฤต ด้วยปริมาณเกือบ 100 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร โดยเฉพาะบริเวณริมถนนหรือบริเวณที่มีการจราจรหนาแน่นและรอบสถานที่ก่อสร้าง
ฝุ่นละออง PM2.5 สามารถถูกสูดเข้าลึกถึงทางเดินหายใจและปอด ก่อให้เกิดการระคายเคือง แสบจมูกไอ จาม มีเสมหะ หอบหืด หัวใจวายเฉียบพลัน หลอดเลือดสมองตีบและที่อันตรายที่สุดอาจถึงขั้นเป็นมะเร็งปอด
อ.พญ.ภัทรวลัย สิรินารา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้แนะนำวิธีดูแลตัวเองเมื่อต้องเผชิญกับภาวะวิกฤตฝุ่นละออง PM2.5 ในอากาศ ดังนี้ 1.ใส่หน้ากากประเกทที่สามารถกรองฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 0.3 ไมครอนได้เช่น หน้ากาก N95 ที่ได้มาตรฐาน 2.หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้งในบริเวณที่มีมลพิษอากาศสูง 3.งดการออกกำลังกายภายนอกตัวอาคาร เช่น งดวิ่งในสวนสาธารณะชั่วคราว ให้เปลี่ยนมาออกกำลังกายภายในตัวอาคารแทน 4.หมั่นตรวจตราไม่เปิดหน้าต่างในช่วงภาวะ PM2.5 สูง เพื่อป้องกันฝุ่น PM2.5 จากภายนอกเข้ามาในตัวอาคาร 5.ช่วยกันงดการเผาไหม้ที่ “ไม่” สมบูรณ์ เช่น งดจุดเทียนในตัวอาคาร และนอกตัว อาคารงดการเผาในที่โล่ง งดใช้รถดีเซลที่ปล่อยควันดำ 6.กลุ่มเสี่ยงที่ต้องระวังเป็นพิเศษ ได้แก่ ผู้มีโรคประจำตัว เช่น โรคระบบทางเดินหายใจ โรคหัวใจ กลุ่มผู้สูงอายุและเด็ก
