‘ม.รังสิต’ชูนโยบายบริหารจัดการแผนพัฒนามหาวิทยาลัย สู่นวัตกรรมการศึกษาแบบ’Transformative Learning’

#SootinClaimon.Com : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์แนวหน้า

https://www.naewna.com/local/733351

'ม.รังสิต'ชูนโยบายบริหารจัดการแผนพัฒนามหาวิทยาลัย สู่นวัตกรรมการศึกษาแบบ'Transformative Learning'

‘ม.รังสิต’ชูนโยบายบริหารจัดการแผนพัฒนามหาวิทยาลัย สู่นวัตกรรมการศึกษาแบบ’Transformative Learning’

วันศุกร์ ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2566, 15.23 น.

ดร.อรรถวิท อุไรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต เปิดเวทีเสวนาการจัดการเรียนการสอน ในหัวข้อ “Transformative Learning” เพื่อชวนคณาจารย์แลกเปลี่ยนองค์ความรู้กระบวนการเรียนการสอนเตรียมความพร้อมสู่นวัตกรรมการศึกษารูปแบบ “Transformative Learning” พร้อมพัฒนานักศึกษาปี 2567

ดร.อรรถวิท อุไรรัตน์ กล่าวแสดงวิสัยทัศน์และนโยบายด้านการเรียนการสอนตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยว่า มหาวิทยาลัยรังสิตจำเป็นต้องจัดการเรียนการสอนให้ทันสมัยและทันต่อการเปลี่ยนแปลงตามทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงของเมซี่โรว์ (Mezirow) ซึ่งเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์โดยการจัดสภาพการเรียนรู้ให้เผชิญกับวิกฤตการณ์ที่ไม่เป็นไปตามมุมมองเดิมของตน เกิดการใคร่ครวญอย่างมีวิจารณญาณ สนทนาเชิงวิพากษ์จนนำไปสู่การเรียนรู้สิ่งใหม่ ตัวอย่างเช่น นักศึกษาชั้นปีที่ 1 เป็นได้โดยไม่ต้องรอนาน เป็นนิยามใหม่ของการเรียนรู้สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต และเป็นกรอบความคิดให้กับทีมคณาจารย์ที่ร่วมกันสร้างสรรค์แนวทางและวิสัยทัศน์แห่งการเรียนรู้แบบใหม่ของมหาวิทยาลัย โดยนวัตกรรมการศึกษา หรือ Innovative Education ของมหาวิทยาลัยรังสิตนั้นจะเน้นรูปแบบ Transformative Learning มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาสมรรถนะ ความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะของอาจารย์ผู้สอนให้ดียิ่งขึ้น เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และแบ่งปันประสบการณ์ร่วมกันระหว่างวิทยาลัยและคณะ เพื่อให้อาจารย์สามารถนำความรู้ไปปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรให้เหมาะสมสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง ด้วยความร่วมมือจากผู้บริหารและอาจารย์ทุกท่านของทุกหน่วยงาน พร้อมมุ่งมั่นพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยไปใช้ให้เกิดประโยชน์

การปรับเปลี่ยนวิธีการสอนแบบเดิมสู่การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง จะช่วยให้ผู้เรียนมีการเปลี่ยนแปลงวิธีคิด มองโลกและมองตัวเอง ซึ่งผู้เรียนจะเข้าใจความหมายที่ลึกซึ้งของความรู้และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ เกิดการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงซึ่งนักศึกษาหรือผู้เรียนเป็นผู้กระทำไม่ใช่ผู้ถูกกระทำ กล่าวคือ ผู้ถูกกระทำ คือ ถูกอาจารย์จับความรู้มาใส่ให้ ผู้กระทำคือ ผู้ที่หาความรู้ด้วยตนเอง เมื่อนักศึกษาเป็นผู้กระทำเองก็จะค่อย ๆ พัฒนาตนเองไปสู่ “ผู้นำการเปลี่ยนแปลง” กระบวนการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงความคิดเห็นหรือมุมมองของนักศึกษาที่เกิดขึ้นเมื่อมีการสังเคราะห์ประสบการณ์ที่แตกต่างกันของอาจารย์ ทำให้นักศึกษาต้องพัฒนาทักษะหรือความสามารถใหม่เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง สามารรับมือกับสถานการณ์ที่แตกต่างได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ สำหรับการจัดการเรียนการสอนที่เป็นโมเดลที่ประสบความสำเร็จจากวิทยาลัยและคณะ มหาวิทยาลัยรังสิต ภายใต้โครงการ Innovative Education รูปแบบ Transformative Learning และได้นำองค์ความรู้มาพูดคุยแลกเปลี่ยนร่วมกันในครั้งนี้ ได้แก่ โมเดลตัวอย่างจากวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ โมเดลตัวอย่างจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ โมเดลตัวอย่างจากคณะอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม รวมถึงทิศทางการจัดการเรียนการสอนของสถาบัน Gen.Ed. เป็นต้น ทั้งหมดทั้งมวลของนวัตกรรมการศึกษาของมหาวิทยาลัยรังสิต จะค่อยๆ นำพานักศึกษาทุกคนออกไปสู่การเป็นบัณฑิตที่พร้อมเติบโตและเผชิญโลกความจริงในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

– 006

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s