#SootinClaimon.Com : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์แนวหน้า
https://www.naewna.com/lady/733370

โครงการ eisa ร่วมกับชุมนุม SIFE จุฬาฯ พัฒนาผลิตภัณฑ์ปลาร้าแปรรูป
วันเสาร์ ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2566, 06.00 น.
โครงการ eisa (Education Institute Support Activity) ภายใต้ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจจำกัด (มหาชน) หนึ่งในโครงการที่สนับสนุนกิจกรรมเพื่อสังคมและกิจกรรมในสถาบันการศึกษาร่วมมือกับชุมนุม(SIFE)Students in Free Enterprise คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ปลาร้าแปรรูป ในด้านการพัฒนาโลโก้- แพ็กเกจสินค้าและวางแผนการตลาด เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวเพิ่มยอดการขายให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้กับชุมชน โดยทางคณะอาจารย์และนิสิตได้ดำเนินการวางแผนการทำงานร่วมกันประกอบกับกรรมการผู้จัดการ บริษัท ประชารัฐนครนายก ได้มอบโจทย์แก่นิสิตในชั้นเรียนเพื่อเก็บข้อมูลและแก้ปัญหาพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดผลลัพธ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของชุมชน
ชุมนุม SIFE (Students in Free Enterprise) เป็นองค์กรอิสระก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี 1975 ในประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันมีประเทศสมาชิกมากกว่า 40 ประเทศทั่วโลก SIFE สนับสนุนมหาวิทยาลัยในประเทศสมาชิกให้จัดตั้งทีมนักศึกษาขึ้นเพื่อพัฒนาธุรกิจในชุมชน โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาดูแลการทำโครงการอย่างใกล้ชิด SIFE จะมีเกณฑ์ในการพิจารณาโครงการ 5 ประการคือ เศรษฐศาสตร์การตลาด (Market Economics),ทักษะแห่งความสำเร็จ (Success Skills , ความเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship), ความรู้ความเข้าใจด้านการเงิน (Financial Literacy), จริยธรรมทางธุรกิจ (Business Ethics)
ล่าสุดวันที่ 9 เมษายน 2566 ที่ผ่านมา โครงการ eisa และชุมนุม (SIFE) จุฬาฯได้ลงพื้นที่จริงเพื่อนำเสนอการออกแบบผ่านทางนวัตกรรมด้าน Logo & Packaging ของนิสิตคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ รวมถึงการวางแผนการตลาด Online marketing เน้นการ Promote ช่องทางขายออนไลน์ผ่านทาง Line officialร่วมกับชุมชน ณ กลุ่มวิสาหกิจปลาร้าแปรรูป ตำบลทองหลาง จังหวัดนครนายก
.jpg)
รำพึง ใจบุญ กับ Packaging ที่ปรับปรุงให้น่าจับต้อง
รำพึง ใจบุญ ผู้นำกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและปราชญ์ชาวบ้าน ผู้มีภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการเกษตรและการทำมาหากินในด้านอาหารและโภชนาการ ปัจจุบันประกอบอาชีพเกษตรกรรมและใช้บ้านของตนเองเป็นศูนย์เรียนรู้และขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมอาชีพ เช่น
ทำปลาแดดเดียว ปลาร้า ปลูกผักสวนครัว เลี้ยงเป็ดไก่ ปลาดุก เปิดใจถึงการนำองค์ความรู้ การปรับปรุงสินค้าเดิมให้สอดคล้องกับยุคสมัยของน้องๆ นิสิตจุฬาฯว่า “ปลื้มใจที่น้องๆ มาช่วยแบ่งเบาช่วยแก้ปัญหาปรับเปลี่ยนโลโก้สินค้า และช่วยขยายการตลาดทดลองการขายจริงมีการปรับปรุงวัสดุให้น่าจับต้องมากขึ้น มีการสนทนาผ่านทางระบบ Zoom ทำให้เกิดมุมมองรวมถึงสถานการณ์การผลิตปลาร้าที่มีการปรับปรุงแต่งสี กลิ่น รส เพิ่มจากภูมิปัญญาเดิม พ่อบ้านแม่บ้านหลายครัวเรือนที่เข้าร่วมทดสอบต่างยอมรับการพัฒนาที่ดีขึ้น รวมถึงได้ความรู้และข้อมูลต่างๆ ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ชิ้นใหม่”
.jpg)
อรกัญญา นิลบุตร
อรกัญญา นิลบุตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ประชารัฐรักสามัคคีนครนายก (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด ผู้ซึ่งดำเนินการประสานงานโครงการระดับท้องถิ่นกับโครงการ eisa เห็นน้องๆมาช่วยชุมชน ผลิตภัณฑ์ปลาร้าแปรรูปมีมาตรฐานที่ดีขึ้น ชุมชนมีโลโก้เป็นของตัวเอง มีบรรจุภัณฑ์
ที่สวยงามน่าจับต้อง ส่งผลที่ดีต่อด้านการตลาดให้มีรายได้เพิ่มขึ้น รวมถึงการพัฒนาด้านการตลาดออนไลน์ทำให้ชุมชนขายสินค้าได้หลายช่องทางอีกทั้งยังเป็นการกระ ตุ้นให้ผู้บริโภครู้จักสินค้าของชุมชนกว้างขึ้นค่ะ ”
.jpg)
ธีร์ พงศ์พลไพรวัน
ธีร์ พงศ์พลไพรวัน หลักสูตร BBA-Accounting คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีจุฬาฯ กล่าวในฐานะผู้นำทีมนิสิตในการบริหารการทำงานครั้งนี้ว่า เราเน้นเรื่องการตลาดเป็นส่วนใหญ่ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโลโก้ เรื่องสโลแกนรวมถึงแพ็กเกจจิ้ง เรามีโลโก้ 18 แบบให้ชุมชนได้เลือก มีการ Work Shop มีการลงพื้นที่ทดลองขายจริง สิ่งที่เราคาดไม่ถึงคือเราวางขายสินค้ารูปแบบใหม่ในที่สาธารณะจำนวน 2 จุด คือตลาดเกียรติบำรุงและตลาดเขื่อนขุนด่านปราการชล ซึ่งเกินคาดมากได้ผลตอบรับที่ดีนักท่องเที่ยวและคนในชุมชนสนใจมาอุดหนุนซื้อปราร้าแปรรูปและน้ำพริกขายหมดไวมากทำให้เรารู้สึกมีกำลังใจกับการทุ่มเทครั้งนี้ครับ”
.jpg)
อาจารย์ ดร.สาวิตรี บุญพัชรนนท์
ด้านอาจารย์ที่ปรึกษาชุมนุม SIFE อาจารย์ ดร.สาวิตรี บุญพัชรนนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาสถิติ จุฬาฯ แสดงความคิดเห็นว่า วันนี้นอกจากหน้าบ้านที่เรานำแบบโลโก้และ Packaging มาให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นพร้อมเลือกแบบตามความชอบรวมถึงการทำการตลาดออนไลน์ เราก็จะมาทำหลังบ้านด้วยเรามองว่าธุรกิจจะอยู่ได้อย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต เราคิดว่าหน้าบ้านการตลาดออนไลน์ไม่เพียงพอ นิสิตก็จะมาแนะนำเรื่องการคิดต้นทุนซึ่งต้องดูว่าวันนี้สิ่งที่ชุมชนขายตั้งราคาไว้เหมาะสมแล้วหรือยัง ถ้าเราปรับ Packaging เรามีสินค้าตัวใหม่ๆ ออกไปเราจะต้องปรับเรื่องต้นทุนไหมเพื่อที่จะให้ชุมชนอยู่ได้อย่างยั่งยืนต่อๆ ไป”
สินค้าหลักของชุมชนบ้านทองหลาง
การถนอมอาหารให้อยู่นาน
การทำ Marketing On Line
น้องๆ ทำโลโก้แบบใหม่ให้ชุมชนเลือก