นิทรรศการพิเศษ เนื่องในโอกาส’สมเด็จพระสังฆราช’ ทรงเจริญพระชนมายุครบ 8 รอบ 96 พรรษา

#SootinClaimon.Com : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์แนวหน้า

https://www.naewna.com/local/736115

นิทรรศการพิเศษ เนื่องในโอกาส'สมเด็จพระสังฆราช' ทรงเจริญพระชนมายุครบ 8 รอบ 96 พรรษา

นิทรรศการพิเศษ เนื่องในโอกาส’สมเด็จพระสังฆราช’ ทรงเจริญพระชนมายุครบ 8 รอบ 96 พรรษา

วันพฤหัสบดี ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2566, 18.43 น.

เปิดนิทรรศการพิเศษ เรื่อง “พระพุทธรูปสำคัญในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ” และ เรื่อง “เถลิงรัชช์หัตถศิลป์” เนื่องในโอกาส สมเด็จพระสังฆราช ทรงเจริญพระชนมายุครบ 8 รอบ 96 พรรษา

เมื่อเวลา 13.30 น.วันที่ 8 มิถุนายน 2566 สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก โปรดมีพระบัญชาให้สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ เลขานุการสมเด็จพระสังฆราชเป็นผู้แทนพระองค์เปิดนิทรรศการพิเศษ เรื่อง “พระพุทธรูปสำคัญในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ” และนิทรรศการพิเศษ เรื่อง “เถลิงรัชช์หัตถศิลป์” ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร เนื่องในโอกาสสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงเจริญพระชนมายุครบ 8 รอบ 96 พรรษา นับเป็นมหามงคลสมัยยิ่ง กรมศิลปากรจึงได้จัดนิทรรศการพิเศษ เรื่อง “พระพุทธรูปสำคัญในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ” ขึ้น ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร จัดแสดงเรื่องราวของคตินิยมในการสร้างรูปแทนพระพุทธเจ้าเพื่อสักการบูชา การออกแบบท่าทางหรือการแสดงปางอันมีความหมายทางประติมานวิทยา และได้คัดเลือกพระพุทธรูป จำนวน 81 องค์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปโบราณที่มีพุทธศิลป์งดงามเป็นพิเศษในแต่ละสกุลช่าง มีความโดดเด่น สะท้อนถึงคติความเชื่อทางศาสนาและสุนทรียภาพความงามที่แตกต่างกันไปในแต่ละสมัยมาจัดแสดงเพื่อให้เห็นพัฒนาการของพระพุทธรูปในประเทศไทย ได้แก่

พระพุทธรูปรุ่นเก่า หมายถึงพระพุทธรูปรุ่นแรกที่พบในดินแดนประเทศไทย ซึ่งเข้ามาพร้อมๆ กับการติดต่อค้าขายกับโลกภายนอก ประมาณ 800 – 1,700 ปีมาแล้ว พระพุทธรูปศิลปะทวารวดี พระพุทธรูปศิลปะศรีวิชัย พระพุทธรูปศิลปะลพบุรี พระพุทธรูปศิลปะล้านนา พระพุทธรูปศิลปะล้านช้าง พระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย พระพุทธรูปศิลปะอยุธยา และพระพุทธรูปศิลปะรัตนโกสินทร์ โดยเป็นพระพุทธรูปสำคัญที่จัดแสดงและเก็บรักษาอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ทั่วประเทศ อาทิ หลวงพ่อเพชร วัดพระบรมธาตุวรวิหาร จังหวัดชัยนาท ศิลปะสุโขทัย จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี พระพุทธรูปปางลีลา ศิลปะสุโขทัย จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก จังหวัดสุโขทัย พระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะล้านนา จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงแสน จังหวัดเชียงราย พระพุทธรูปปางบำเพ็ญทุกรกิริยา และพระเจ้าเข้านิพพาน ศิลปะรัตนโกสินทร์ จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี

สำหรับนิทรรศการพิเศษ เรื่อง “เถลิงรัชช์หัตถศิลป์” ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก โบราณวัตถุที่นำมาจัดแสดง อาทิ แผ่นไม้สลักเครื่องราชกกุธภัณฑ์ และดอกพิกุลทอง ดอกพิกุลเงิน สมัยรัตนโกสินทร์ หนังสือสมุดไทย ฝาบาตรและเชิงบาตรประดับมุกที่ระลึกงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๕ นอกจากนี้ ยังมีงานศิลปกรรมในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และผลงานศิลปกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับพระบรมวงศ์ ซึ่งสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากรได้สร้างสรรค์ขึ้น อาทิ ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒ คนโทน้ำอภิเษก จังหวัดนนทบุรี หีบพระศรีพร้อมลูกหีบ 3 องค์ ขอเชิญเข้าชมนิทรรศการพิเศษ เรื่อง “พระพุทธรูปสำคัญในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ” ระหว่างวันที่ 9 มิถุนายน – 10 กันยายน 2566 และนิทรรศการพิเศษ เรื่อง “เถลิงรัชช์หัตถศิลป์” ระหว่างวันที่ 9 มิถุนายน – 17 กันยายน 2566 เวลา 09.00 – 16.00 น. ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร วันพุธ – วันอาทิตย์ (ปิดวันจันทร์ – วันอังคาร)

– 006

‘ตรีนุช’ ฝากเขตพื้นที่ฯติดตาม แก้ปัญหาเด็กออกกลางคัน

#SootinClaimon.Com : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์แนวหน้า

https://www.naewna.com/local/736068

‘ตรีนุช’ ฝากเขตพื้นที่ฯติดตาม แก้ปัญหาเด็กออกกลางคัน

‘ตรีนุช’ ฝากเขตพื้นที่ฯติดตาม แก้ปัญหาเด็กออกกลางคัน

วันพฤหัสบดี ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2566, 16.47 น.

‘ตรีนุช’ ฝากเขตพื้นที่ฯติดตาม แก้ปัญหาเด็กออกกลางคัน

8 มิถุนายน 2566 ที่โรงเรียนพัทลุง จังหวัดพัทลุง น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เปิดเผยภายหลังลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานตามนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ของส่วนราชการการศึกษาในจังหวัดพัทลุง และ ร่วมประชุมถอดบทเรียนการดำเนินโครงการโรงเรียนคุณภาพจังหวัดพัทลุง รวมถึงเยี่ยมชมการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนพัทลุง ว่า ศธ.พยายามกระจายงานการศึกษาลงสู่ภูมิภาคมากที่สุด เพราะต้องยอมรับว่าโลกเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น การบริหารการศึกษาจะกระจุกอยู่เฉพาะส่วนกลางไม่ได้ กว่า 2 ปีที่ตนได้เข้ามาทำงานในตำแหน่ง รมว.ศธ. ซึ่งตรงกับช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทำให้เกิดปัญหาเด็กออกกลางคัน

ดังนั้น นโยบายแร กๆที่ได้ทำคือ โครงการพาน้องกลับมาเรียน จึงขอฝากเขตพื้นที่ฯ ช่วยติดตามน้อง ๆ โดยสร้างความเชื่อมโยงกับเครือข่ายในระบบการศึกษา มีเป้าหมายคือการพาเด็กกลับเข้าสู่ระบบการศึกษาให้มากที่สุด  ทั้งนี้ ศธ. อาจเป็นกระทรวงต้นๆที่ได้รับงบจำนวนมาก แต่งบกว่า 80% เป็นเงินเดือนบุคลาก การส่งงบไปพัฒนาด้านกายภาพของสถานศึกษาจึงเป็นเรื่องยาก ดังนั้น การพัฒนาโรงเรียนคุณภาพ เป็นเรื่องจำเป็น เรื่องที่ต้องดำเนินการสานต่อจากนี้ คือ การสร้างโอกาสทางการศึกษา จากโครงการ พาน้องกลับมาเรียน ค้นหา ติดตามเด็กตกหล่นและออกกลางคันกลับเข้าสู่ระบบการศึกษาอย่างต่อเนื่อง แล้วประสานเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างหน่วยงาน ทั้ง สพฐ. ศึกษาธิการจังหวัด อาชีวศึกษา และ กรมส่งเสริมการเรียนรู้ เพื่อจัดการศึกษาที่เหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน

นอกจากนี้ มีกระบวนการป้องกันการหลุดออกจากระบบ, ต้องลงพื้นที่เพื่อเยี่ยมเยียนบ้านนักเรียน 100 % ซึ่งทาง สพฐ.กำหนดให้ เดือนมิถุนายน 2566 เป็นเดือนแห่งการเยี่ยมบ้านนักเรียน จะเป็นจุดเริ่มต้นในการดูแลช่วยเหลือเด็กในทุก ๆเรื่องจากข้อมูลของนักเรียนที่ได้รับจากพ่อแม่ผู้ปกครองโดยตรง อีกทั้ง จะเป็นประโยชน์ในการออกแบบการเรียนการสอนที่เหมาะสม รวมถึงการส่งเสริม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาของความไม่ปลอดภัยร่วมกับผู้ปกครองที่ได้อย่างถูกต้องยิ่งขึ้น โดยเฉพาะภัยจากยาเสพติด และเรื่องความปลอดภัยในสถานศึกษา ก็ถือเป็นภารกิจลำดับต้น

รมว.ศธ. กล่าวต่อว่า สำหรับเรื่องโรงเรียนขนาดเล็กและโรงเรียนคุณภาพ นั้น ในมิติการบริหารการศึกษา อัตราการเกิดของประชากรมีแนวโน้มลดลง จำนวนโรงเรียนขนาดเล็กมีเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีข้อจำกัดเชิงงบประมาณของประเทศ ที่เป็นความท้าทายในการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ ทั่วถึงและเท่าเทียม ซึ่ง ศธ.ได้พยายามคลี่คลายปัญหาอุปสรรคการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก ที่มีจำนวนนักเรียน 61-119 คน จำนวน 7,969 โรงเรียน ในจำนวนนี้ ไม่มีผู้อำนวยการอยู่ 1,760 โรงเรียน ศธ.ก็ได้ผลักดัน จนกระทั่งคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อเดือนมีนาคม 2566 ให้โรงเรียนกลุ่มนี้ มีผู้อำนวยการโรงเรียนโดยเร็วที่สุดแล้ว

“นอกจากนี้รัฐบาลยังมีการเพิ่มเงินอุดหนุนรายหัวการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพิ่มค่าอาหารกลางวันให้ด้วย และจากการลงพื้นที่ทั่วประเทศก็ พบว่า โรงเรียนขนาดเล็กหลายแห่งสามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ โดยใช้แนวทางโรงเรียนคุณภาพ มีการนำนักเรียนมาเรียนรวม มีการจัดแผนงานร่วมกับโรงเรียนเครือข่ายในการใช้ทรัพยากรร่วมกัน ซึ่งเป็นที่น่ายินดีที่จากการรับฟังรายงานในวันนี้ก็พบว่า โรงเรียนขนาดเล็กหลายแห่งในพัทลุง สามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีคุณภาพ พัฒนานักเรียนให้มีทักษะวิชาการ มีวิชาชีพ ได้รับการยอมรับและความร่วมมืออย่างดียิ่งจากชุมชม ได้รับรางวัลคุณภาพระดับประเทศ ดังนั้น ขอให้เขตพื้นที่ศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัดถอดบทเรียนวิธีการดำเนินงานของผู้บริหาร และคณะครูของโรงเรียนขนาดเล็กกลุ่มนี้ เพื่อเป็นต้นแบบให้แก่โรงเรียนขนาดเล็กอื่นๆ ต่อไป”น.ส.ตรีนุช กล่าว

จุดยืน’ศธ.’ ‘ตรีนุช’ย้ำเด็กทุกคนต้องได้เรียน แม้ไร้สัญชาติ

#SootinClaimon.Com : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์แนวหน้า

https://www.naewna.com/local/736002

จุดยืน'ศธ.' 'ตรีนุช'ย้ำเด็กทุกคนต้องได้เรียน แม้ไร้สัญชาติ

จุดยืน’ศธ.’ ‘ตรีนุช’ย้ำเด็กทุกคนต้องได้เรียน แม้ไร้สัญชาติ

วันพฤหัสบดี ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2566, 13.33 น.

จากกรณีที่โรงเรียนในพื้นที่ อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง มีจำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติ โดยมีการตั้งข้อสังเกตว่า มีการนำเด็กกลุ่มไม่มีหลักฐานทางทะเบียนราษฎร และไม่มีสัญชาติไทย จำนวน 124 คน จากพื้นที่ภาคเหนือ เข้ามาเรียนในโรงเรียน เพื่อเพิ่มจำนวนเด็กนักเรียน และเพิ่มการของบประมาณหรือไม่นั้น

ล่าสุดวันที่ 8 มิถุนายน 2566 น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กล่าวว่า ตนได้รับรายงานเรื่องดังกล่าวจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ว่า เมื่อวันที่ 2 มิ.ย.66 ทางสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง (สพป.อ่างทอง) ได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดอ่างทอง (พมจ.อ่างทอง) , นายอำเภอป่าโมก , มูลนิธิวัดสระแก้ว , กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) , สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอ่างทอง , บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดอ่างทอง , สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดอ่างทอง (ตม.) และสถานีตำรวจภูธรป่าโมก ลงพื้นที่ตรวจสอบที่โรงเรียนดังกล่าว พบว่า ได้มีการนำเด็กที่ไม่มีหลักฐานทางทะเบียนราษฎร และไม่มีสัญชาติไทย เข้าเรียนในโรงเรียนจริง ซึ่งการคัดกรองเด็กพบว่า จากจำนวน 124  คน มีสัญชาติไทย จำนวน 7 คน ส่วนที่เหลืออีก 117 คน ไม่มีหลักฐานทะเบียนราษฎร และไม่มีสัญชาติไทย

น.ส.ตรีนุช กล่าวต่อว่า ขณะนี้ทาง พมจ.ได้เข้ามาให้ความคุ้มครองเด็กกลุ่มนี้ โดยนำเด็กผู้หญิงพักนอนในโรงเรียนดังกล่าว และเด็กผู้ชายพักนอนในมูลนิธิวัดสระแก้ว และในปัจจุบันได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนแบบคละชั้น โดยให้เด็กกลุ่มนี้ทุกคน ซึ่งมีความแตกต่างทางอายุ เรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยเริ่มเรียนตั้งแต่วันที่ 16 พ.ค.2566 ที่มูลนิธิวัดสระแก้ว สอนโดยครูกลุ่มโรงเรียนเครือข่ายจังหวัดอ่างทอง เพื่อแก้ปัญหาในเบื้องต้นก่อน

“กระทรวงศึกษาธิการ มีจุดยืนว่า เด็กทุกคนที่อยู่บนผืนแผ่นดินไทย ต้องได้รับการศึกษา ไม่ว่าเชื้อชาติไหน สัญชาติใด ซึ่งเป็นหลักปฏิบัติสากลที่เป็นไปตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ส่วนเรื่องการตรวจสอบว่าเด็กกลุ่มนี้เข้ามาในประเทศไทยอย่างถูกต้องหรือไม่นั้น ขอให้เป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เบื้องต้นทราบว่า มีผู้เกี่ยวข้องกับการนำเด็กเข้ามาหลายส่วน โดยทางกระทรวงศึกษาธิการ , สพฐ.และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ได้ประสานและให้ข้อมูลในส่วนที่เกี่ยวกับกระทรวงศึกษาธิการอย่างเต็มที่” น.ส.ตรีนุช กล่าว

‘เอนก’เอาจริง! สั่งฟันคดีรับจ้างทำวิจัย-วิทยานิพนธ์

#SootinClaimon.Com : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์แนวหน้า

https://www.naewna.com/local/735990

'เอนก'เอาจริง! สั่งฟันคดีรับจ้างทำวิจัย-วิทยานิพนธ์

‘เอนก’เอาจริง! สั่งฟันคดีรับจ้างทำวิจัย-วิทยานิพนธ์

วันพฤหัสบดี ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2566, 12.38 น.

“เอนก” เอาจริง สั่งดำเนินคดีรับจ้างทำวิจัยและวิทยานิพนธ์ พร้อมให้ ปลัด อว. ส่งหนังสือถึงทุกมหาวิทยาลัย หากพบนักวิจัย อาจารย์นักศึกษาร่วมกระทำผิดให้ดำเนินการตามกฏหมายทันที

วันที่ 8 มิถุนายน 2566 ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า จากที่มีเพจเฟซบุ๊ก เว็บไซต์ ที่โฆษณารับทำวิจัยและวิทยานิพนธ์ปรากฏในสื่อออนไลน์และออฟไลน์ต่างๆ จึงได้ให้กระทรวง อว. ตรวจสอบข้อมูล เนื่องจากการดำเนินการดังกล่าวผิดกฎหมายและจริยธรรมการวิจัย ส่งผลเสียต่อความน่าเชื่อถือของระบบการศึกษาและวิจัย จึงให้ดำเนินคดีตามกฎหมาย รวมถึงผู้ที่จ้างวาน ผู้รับจ้างและผู้ร่วมไม่ว่าจะเป็นนักวิจัย อาจารย์หรือนักศึกษาก็จะต้องถูกดำเนินคดีให้ได้รับโทษตามกฎหมายเช่นกัน

ด้าน ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวง อว. กล่าวว่า ได้สั่งการให้ทางกองกฏหมายของสำนักงานปลัดกระทรวง อว. ดำเนินการตรวจสอบข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ตลอดจนในเพจเฟซบุ๊ก การโฆษณาในสื่อออนไลน์และออฟไลน์ที่กระทำการดังกล่าวจนมีข้อมูลเป็นที่แน่ชัดแล้ว โดยการจ้างทำงานวิจัย ผลงานวิทยานิพนธ์ เป็นความผิดทางอาญาตามมาตรา 70 แห่ง พ.ร.บ. อุดมศึกษา พ.ศ.2562 ซึ่งระบุว่า ห้ามมิให้ผู้ใด จ้าง วาน ใช้ให้ผู้อื่นทำผลงานทางวิชาการเพื่อไปใช้ในการเสนอเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาในหลักสูตรการศึกษาระดับอุดมศึกษาหรือเพื่อไปใช้ในการทำผลงานซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการขอตำแหน่งทางวิชาการ หรือเสนอขอปรับปรุงการกำหนดตำแหน่ง การเลื่อนตำแหน่ง การเลื่อนวิทยฐานะหรือการให้ได้รับเงินเดือนหรือเงินอื่นในระดับที่สูงขึ้น ทั้งนี้ไม่ว่าจะมีประโยชน์ตอบแทนหรือไม่ก็ตาม และห้ามมิให้ผู้ใดรับจ้างหรือรับดำเนินการตามวรรคหนึ่ง

เพื่อให้ผู้อื่นนำผลงานนั้นไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง เว้นแต่เป็นการช่วยเหลือโดยสุจริตตามสมควร หากผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ  ทั้งนี้อว.ได้เข้าแจ้งความต่อกองบังคับการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (สอท.) เพื่อดำเนินคดีกับผู้ดำเนินการดังกล่าวแล้ว นอกจากนี้ สำนักงานปลัดกระทรวง อว. ยังได้แจ้งกับมหาวิทยาลัยทุกแห่งให้ดูแล ติดตาม ตรวจสอบ มิให้มีการรับจ้างทำวิจัยและวิทยานิพนธ์ รวมทั้งดูแลบุคลากรและนักศึกษามิให้นักวิจัย อาจารย์และนักศึกษา ร่วมกระทำผิดไม่ว่าจะเป็นการจ้าง วาน หรือรับดำเนินการ

“ทั้งนี้ ขอให้มหาวิทยาลัยดูแลอย่างเคร่งครัด หากพบนักวิจัย อาจารย์และนักศึกษาที่กระทำผิดให้ดำเนินการตามกฏหมายทันที” ปลัดกระทรวง อว. กล่าว

มูลนิธิสมเด็จพระญาณสังวรฯ มอบทุนการศึกษาเยาวชนเรียนดี

#SootinClaimon.Com : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์แนวหน้า

https://www.naewna.com/local/735805

มูลนิธิสมเด็จพระญาณสังวรฯ  มอบทุนการศึกษาเยาวชนเรียนดี

มูลนิธิสมเด็จพระญาณสังวรฯ มอบทุนการศึกษาเยาวชนเรียนดี

วันพฤหัสบดี ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2566, 06.00 น.

กองทุนเพื่อการศึกษา “ทุนวชิรญาณสังวร” มูลนิธิสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช วัดบวรนิเวศวิหาร ในพระบรมราชูปถัมภ์ ปี 2566มีความประสงค์มอบทุนการศึกษา“ทุนวชิรญาณสังวร” เพื่อเป็นการเชิดชูพระเกียรติคุณ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร จำนวน 73 ทุนดังนี้

1.ทุนการศึกษานี้เป็นทุนต่อเนื่องที่ติดตัวผู้รับทุนจนกว่าจะจบการศึกษาสูงสุดปริญญาตรี เท่าที่ความสามารถจะพึงมี มิได้เป็นทุนประจำสถานศึกษาใดสถานศึกษาหนึ่ง หากผู้รับทุนจบการศึกษาหรือลาออกจากสถานศึกษาเดิม ทุนการศึกษานี้จะติดตามผู้รับทุนไปยังสถานศึกษาใหม่2.ทุนการศึกษานี้ เป็นทุนให้เปล่าไม่มีข้อผูกมัดใดๆ 3.หากผู้รับทุนสละสิทธิ์ ทุนนี้จะหมดสิทธิ์ไม่มีผู้ใดได้รับแทน มูลนิธิฯ สามารถยกเลิกทุนได้ทุกเมื่อ โดยไม่จำเป็นต้องแจ้งล่วงหน้า หากผู้รับทุนประพฤติตัวไม่เหมาะสม หรือให้ข้อมูลประกอบขอรับทุนที่เป็นเท็จ 4.จำนวนทุนการศึกษาแต่ละระดับ มีดังนี้

ระดับประถมศึกษา จะได้รับทุนปีละ 5,000 บาท, ระดับมัธยมศึกษาจะได้รับทุนปีละ 10,000 บาท, ระดับประโยควิชาชีพ จะได้รับทุนปีละ 12,000 บาท, ระดับประโยควิชาชีพชั้นสูง จะได้รับทุนปีละ 15,000 บาท, ระดับอุดมศึกษา จะได้รับทุนปีละ 25,000 บาท

คุณสมบัติของผู้สมัคร นักเรียน นิสิต นักศึกษา ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา จนถึงระดับปริญญาตรี มีสัญชาติไทย หรือกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีภูมิลำเนาในราชอาณาจักรไทย มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 1.50 ครอบครัวยากจน ขัดสนทุนทรัพย์ มีความประพฤติดี ตั้งใจเรียน ช่วยเหลือครอบครัว ชุมชน สังคมตามกำลังและโอกาส

กำหนดการรับสมัคร วันนี้-15 มิถุนายน พ.ศ.2566 ข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาสอบถาม โชติรส สังขะทรัพย์ Email:YSS.scholarship@gmail.com หรือโทร.080-7767799

มทร.รัตนโกสินทร์พัฒนา ‘CWIE’ เร่งผลิตบัณฑิตทำงานในโลกยุคใหม่

#SootinClaimon.Com : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์แนวหน้า

https://www.naewna.com/local/735802

มทร.รัตนโกสินทร์พัฒนา ‘CWIE’  เร่งผลิตบัณฑิตทำงานในโลกยุคใหม่

มทร.รัตนโกสินทร์พัฒนา ‘CWIE’ เร่งผลิตบัณฑิตทำงานในโลกยุคใหม่

วันพฤหัสบดี ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2566, 06.00 น.

รศ.ดร.อุดมวิทย์ ไชยสกุลเกียรติ อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ (มทร.) ร่วมกับ ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน นายกสมาคมสหกิจศึกษาไทย และ ดร.พรชัย มงคลวนิช อธิการบดี มหาวิทยาลัยสยามและประธานเครือข่าย CWIE ภาคกลางตอนล่าง ร่วมเปิดงานวันสหกิจศึกษาบูรณาการกับการทำงาน (CWIE DAY) ครั้งที่ 13 ประจำปี พ.ศ.2566 ณ โถงอาคารอุดมศึกษา 2 สป.อว. (ถนนศรีอยุธยา) กรุงเทพมหานคร

รศ.ดร.อุดมวิทย์ ไชยสกุลเกียรติ อธิการบดี กล่าวว่า มหาวิทยาลัยมีความมุ่งมั่นที่จะผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติ โดยได้พัฒนาทุกหลักสูตรของมหาวิทยาลัยให้บูรณาการการเรียนกับการทำงานร่วมกับสถานประกอบการ (ภาครัฐ ภาคเอกชน ชุมชน) ทั้งในและต่างประเทศ หรือที่เรียกว่าหลักสูตรสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน (Cooperative and Work Integrated Education Program หรือ CWIE) เพื่อให้บัณฑิตพร้อมเข้าสู่โลกแห่งการทำงานจริงได้ทันที มีความพร้อมทั้งทักษะความรู้ ทักษะตามสาขาวิชาชีพ และทักษะชีวิตก่อนเข้าสู่ภาคตลาดแรงงาน ซึ่งเป็นการเตรียมคนเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ที่มุ่งเน้นการเชื่อมโยงระบบการศึกษากับภาคปฏิบัติจริงในภาคธุรกิจ สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 และแผนด้านการอุดมศึกษา เพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ พ.ศ.2564-2570

“มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ มีการส่งเสริมศักยภาพของนักศึกษา โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษาสามารถเลือกปฏิบัติงานร่วมกับสถานประกอบการ ณ ต่างประเทศ เพื่อให้มีประสบการณ์ตรงในการปฏิบัติงานกับสถานประกอบการดังกล่าว ทำให้นักศึกษาได้ฝึกฝนการใช้ภาษาต่างประเทศ การปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมที่แตกต่าง สังคมและแนวคิดใหม่ๆ ตลอดจนเทคโนโลยีที่ทันสมัยอีกด้วย” รศ.ดร.อุดมวิทย์ กล่าว

จุฬาฯ ครองอันดับที่ 17 ของโลก และอันดับ 1 ของไทย

#SootinClaimon.Com : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์แนวหน้า

https://www.naewna.com/local/735808

จุฬาฯ ครองอันดับที่ 17 ของโลก และอันดับ 1 ของไทย

จุฬาฯ ครองอันดับที่ 17 ของโลก และอันดับ 1 ของไทย

วันพฤหัสบดี ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2566, 06.00 น.

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ครองอันดับ 17 ของโลก และอันดับ 1 ของประเทศไทยเป็นปีที่ 4 ติดต่อกันจาก THE Impact Rankings 2023 การจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่มีการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนและสร้างผลกระทบสูงต่อสังคมโดยประเมินจากบทบาทของมหาวิทยาลัยทั้งในด้านงานวิจัยการบริหารหน่วยงาน งานบริการวิชาการและการเรียนการสอนที่ตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ(Sustainable Development Goals : SDGs)

นอกจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งครองอันดับที่ 17 ของโลก ในปีนี้มีสถาบันอุดมศึกษาไทยอีก 3 สถาบันที่ติดอันดับ Top 100 ของโลกได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล อันดับที่ 38 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อันดับที่ 74และมหาวิทยาลัยขอนแก่นอันดับที่ 97

การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย THE Impact Rankings 2023 มีสถาบันอุดมศึกษาทั่วโลกเข้าร่วมการจัดอันดับทั้งสิ้น 1,591 แห่ง จาก 112 ประเทศ และมีสถาบันอุดมศึกษาไทยเข้ารับการจัดอันดับทั้งสิ้น 65 แห่ง เพิ่มขึ้นจากปี 2022 ซึ่งมีจำนวน 52 แห่ง โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยติดอันดับ Top 100 ของโลกรวม 9 ด้านดังนี้

SDG3-Good Health and Well-being (สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี) อันดับที่ 11 ของโลกจาก 1,218 สถาบัน

SDG4-Quality Education (การศึกษาที่มีคุณภาพ) อันดับที่ 78 ของโลก จาก 1,304 สถาบัน

SDG8-Decent Work and Economic Growth (งานที่ดีและเศรษฐกิจที่เติบโต) อันดับที่ 61ของโลก จาก 960 สถาบัน

SDG9-Industry Innovation and Infrastructure (โครงสร้างพื้นฐาน นวัตกรรมและอุตสาหกรรม) อันดับที่ 24 ของโลก จาก 873 สถาบัน

SDG11-Sustainable Cities and Communities (เมืองและชุมชนที่ยั่งยืน) อันดับที่ 52 ของโลกจาก 860 สถาบัน

SDG12-Responsible Consumption and Production(บริโภคและผลิตอย่างมีความรับผิดชอบ) อันดับที่ 75 ของโลก จาก674 สถาบัน

SDG14-Life below Water (ชีวิตในน้ำ) อันดับที่ 55 ของโลกจาก 504 สถาบัน

SDG15-Life on Land (ระบบนิเวศบนบก) อันดับที่ 47 ของโลกจาก 586 สถาบัน

SDG17-Partnership for the Goals (ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน) อันดับที่ 16 ของโลก จาก 1,625 สถาบัน

Netflix เฟ้นหาคนรุ่นใหม่ร่วมงาน กับพันธมิตรการผลิตของ Netflix

#SootinClaimon.Com : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์แนวหน้า

https://www.naewna.com/local/735801

Netflix เฟ้นหาคนรุ่นใหม่ร่วมงาน  กับพันธมิตรการผลิตของ Netflix

Netflix เฟ้นหาคนรุ่นใหม่ร่วมงาน กับพันธมิตรการผลิตของ Netflix

วันพฤหัสบดี ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2566, 06.00 น.

Netflix รับสมัครบุคคลอายุ 20-26 ปี สัญชาติไทย ไม่จำกัดวุฒิการศึกษาและสาขาการศึกษาจากทั่วประเทศไทย จำนวน 50 คน เพื่อเข้าร่วมโครงการ REEL LIFE โดยจะจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 5-วันอาทิตย์ที่ 6 สิงหาคม 2566 ที่กรุงเทพมหานคร ผู้ที่ผ่านการเวิร์กช็อปตลอด 2 วัน 1 คืน และจะมีการคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมให้ร่วมฝึกงานแบบ On the Job Training กับ พันธมิตรด้านการผลิตของ Netflix เป็นระยะเวลา 5-10 เดือน

โครงการ REEL LIFE เป็นส่วนหนึ่งของ Netflix Fund for Creative Equity หรือ กองทุน Netflixเพื่อโอกาสแห่งการสร้างสรรค์ ซึ่งก่อตั้งในปี 2564 ด้วยความมุ่งมั่นของ Netflix ที่จะลงทุนกว่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในระยะเวลา 5 ปี เพื่อพัฒนาบุคลากรฝ่ายสร้างสรรค์จากทั่วโลก จากกองทุนนี้ Netflix ได้ต่อยอดเป็นโครงการต่างๆ กว่า 100 โครงการในหลากหลายประเทศทั่วโลก สร้างโอกาสให้คนมากมายได้ก้าวเข้ามาทำงานในอุตสาหกรรมบันเทิง และในปีนี้ โครงการนี้ได้ขยายโอกาสมายังคนรุ่นใหม่ในประเทศไทยที่มีความสนใจในเบื้องหลังการผลิตภาพยนตร์และซีรี่ส์ ให้ได้เข้ามาค้นหาและพัฒนาศักยภาพของตนเองในสายงาน Assistant Director,Post Production Supervisor, Script Supervisor, Production และ Production Accountant รวมถึงโอกาสในการทำงานร่วมกับพันธมิตรผู้ผลิตภาพยนตร์และซีรี่ส์ชั้นนำของ Netflix โดยจะได้ร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากทีมงานที่มากด้วยประสบการณ์ในแต่ละสายงานอย่างใกล้ชิด และได้ร่วมเวิร์กช็อปทดลองทำงานจริง

รับสมัครวันนี้-30 มิถุนายน 2566 ผู้ที่สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.reellife.camp

มมส จัด‘อบรมสร้างมัคคุเทศก์น้อยฯ ให้บริการด้านการท่องเที่ยว’

#SootinClaimon.Com : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์แนวหน้า

https://www.naewna.com/local/735804

มมส จัด‘อบรมสร้างมัคคุเทศก์น้อยฯ  ให้บริการด้านการท่องเที่ยว’

มมส จัด‘อบรมสร้างมัคคุเทศก์น้อยฯ ให้บริการด้านการท่องเที่ยว’

วันพฤหัสบดี ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2566, 06.00 น.

สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (มมส) ร่วมกับ กองส่งเสริมการวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดโครงการ “อบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดองค์ความรู้ในการสร้างมัคคุเทศก์น้อย/เยาวชนในการให้บริการด้านการท่องเที่ยว” โดยมี นายศุภชัย ศรีหาใต้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3 เป็นประธานเปิดงาน พร้อมนำคณะครู และนักเรียนเข้าร่วมโครงการ ณ โรงเรียนบ้านเขวาสะดืออีสาน ตำบลเหล่า อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม

ดร.อัจฉรี จันทมูล รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม หัวหน้าโครงการกล่าวว่าการอบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดองค์ความรู้ในการสร้างมัคคุเทศก์น้อย/เยาวชนในการให้บริการด้านการท่องเที่ยวในครั้งนี้ เป็นหนึ่งในกิจกรรมภายใต้การทำงานในโครงการ การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน เพื่อเตรียมเข้าสู่เกณฑ์มาตรฐานการท่องเที่ยว CBT Thailand โดยมีชุมชนบ้านหนองยาง ตำบลหัวขวาง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม เป็นพื้นที่ต้นแบบโดยมุ่งหวังให้นักเรียน เยาวชน ได้มีบทบาทในการเป็นเจ้าบ้านที่ดีและได้ฝึกเทคนิคของการเป็นมัคคุเทศก์น้อย การเป็นนักเล่าเรื่องท้องถิ่นที่ดี การเลือกพื้นที่โรงเรียนบ้านเขวาสะดืออีสาน เพราะใกล้กับอนุสรณ์สถานสะดืออีสาน ซึ่งเป็นหนึ่งในเส้นทางท่องเที่ยว สุขภาพดีเกษตรอินทรีย์ สะดืออีสาน ที่มหาวิทยาลัยมหาสารคามร่วมกับชุมชนบ้านหนองยาง และชุมชนใกล้เคียง ได้สร้างเส้นทางท่องเที่ยวขึ้นเมื่อปี 2565 และ ในปี 2566 จะพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวของอำเภอโกสุมพิสัยให้เชื่อมร้อยไปกับเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพโดยชุมชน ด้วยแนวคิด BCG และโมเดลอารมณ์ดีของจังหวัดมหาสารคาม ในพื้นที่ของอำเภอนาดูน อำเภอกันทรวิชัย และอำเภอแกดำ

กิจกรรมในวันนี้ อาจารย์ ดร.ภัทรวิทย์ ธีรภัคสิริ คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และ คุณครูวรยุทธ จันทมูล ครูวิทยะฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ จากโรงเรียนผดุงนารีมหาสารคาม มาเป็นวิทยากร และมีนักเรียนเข้าร่วม ได้แก่ โรงเรียนศรีโกสุมวิทยามิตรภาพที่ 209, โรงเรียนบ้านหนองกุงวันดีประชาสรรค์, โรงเรียนบ้านดอนกลอยหนองยาง,โรงเรียนบ้านแพงหนองเหนือ, โรงเรียนบ้านทันดู่เหนือ, โรงเรียนบ้านแก้งขิงแคง, โรงเรียนบ้านเหล่าหนองแคน, โรงเรียนบ้านหมากมายโพธิ์ทอง, โรงเรียนบ้านโนนสูงวังขอนจิก,โรงเรียนบ้านแท่นโนนหนองคู,เยาวชนจากชุมชนบ้านหนองยาง, นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเหล่า, เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ, ตัวแทนชุมชนใกล้เคียง และผู้สนใจ รวมกว่า 80 คน

ขอ‘สุนทรียสนทนา’เป็นวาระแห่งชาติ ทางออกคลายปัญหาสังคมไทยขัดแย้งต่างรุ่น

#SootinClaimon.Com : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์แนวหน้า

https://www.naewna.com/local/735883

ขอ‘สุนทรียสนทนา’เป็นวาระแห่งชาติ ทางออกคลายปัญหาสังคมไทยขัดแย้งต่างรุ่น

ขอ‘สุนทรียสนทนา’เป็นวาระแห่งชาติ ทางออกคลายปัญหาสังคมไทยขัดแย้งต่างรุ่น

วันพุธ ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2566, 18.11 น.

เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2566 ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) กระทรวงวัฒนธรรม จัดเสวนาหัวข้อ “เชื่อมคน เชื่อมโลก ด้วยพลังการสื่อสาร” ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร โดย รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผอ.ศูนย์คุณธรรมฯ เป็นประธานเปิดงาน ได้กล่าวในตอนหนึ่งว่า ตนเคยได้รับเชิญไปหารือในรัฐสภา ในประเด็นความขัดแย้งจากทัศนคติที่ไม่ตรงกันระหว่างคนรุ่นเก่ากับรุ่นใหม่ และได้รับคำถามมาว่าจะมิวิธีจัดการอย่างไรบ้าง

ซึ่งตนก็ตอบไปว่า ศึกครั้งนี้ใหญ่หลวงและไม่สามารถแก้ไขด้วยวิธีการสั่งการได้ จากนั้นได้ตั้งคำถามย้อนกลับไปว่าเมื่อไรจะทำให้ “สุนทรียสนทนา (Dialogue)” เป็นวาระแห่งชาติ เพราะที่ผ่านมาเวลาจะยกอะไรเป็นวาระแห่งชาติก็มักจะยกสิ่งที่เป็นปัญหา เช่น เด็กติดเกม ความรุนแรง คำถามคือเหตุไดไม่นำประเด็นเชิงบวกมาเป็นวาระแห่งชาติบ้าง โดยสุนทรียสนทนาหมายถึงการสนทนาเชิงบวก ไม่ใช่สนทนาแบบพร้อมบวก

รศ.นพ.สุริยเดว กล่าวต่อไปว่า วิธีการสร้างสุนทรียสนทนา ประกอบด้วย 1.ต้องมีพื้นที่ปลอดภัยของทุกฝ่าย ไม่ใช่เฉพาะฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง 2.เป็นผู้ฟังที่ดีต่อกัน ซึ่งจากประสบการณ์ที่ตนเป็นแพทย์ดูแลสุขภาพเด็กและวัยรุ่น เคยมีกรณีคนไข้วัยรุ่นหญิงมาปรึกษา ไม่อยากให้พี่เลี้ยงที่บ้านที่ดูแลมาตั้งแต่เกิดลาออกไป โดยบอกว่าชีวิตที่บ้านไม่มีความสุข เว้นก็แต่สิ่งดีๆ ที่มีอยู่บ้างคือพี่เลี้ยงคนนี้ ที่พอคนไข้เล่าให้ฟังแล้วตนก็ทึ่ง เพราะแม้พี่เลี้ยงจะเป็นชาวเมียนมาและไม่ได้มีการศึกษาสูง แต่กลับมีคุณสมบัติที่ดีเยี่ยม หนึ่งในนั้นคือการเป็นผู้ฟังที่ดี และมีการสะท้อนความรู้สึกที่ดี

3.กำหนดกติการ่วมกัน ไม่ใช่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งกำหนดเพราะมีอำนาจเหนือกว่า 4.ควบคุมบรรยากาศในการพูดคุยกัน เมื่อบรรยากาศเริ่มตึงเครียดก็ต้องพัก หากพักชั่วคราวในวันเดียวไม่ได้ก็ต้องให้แยกย้ายไปก่อนแล้วค่อยมาคุยกันวันหลังเพื่อให้อารมณ์เย็นลง และ 5.ให้เกียรติซึ่งกันและกัน ตัดเรื่องอายุออกไป ขณะเดียวกันก็ต้องไม่ใช้อารมณ์ ไม่ใช่อคติตัดสิน หากทำได้ทั้งหมดนี้ก็จะทำให้เกิดบรรยากาศที่ดีในการพูดคุยกัน

“อันหนึ่งที่หมอเสนอเขาไว้ก็คือ สุนทรียสนทนาถ้าเกิดขึ้นในสภาพแวดล้อม เช่น อยู่ที่บ้าน บนโต๊ะอาหาร หรืออาจจะเป็นตรงจุดไหนก็ได้ที่แบบสบายๆ มีการกำหนดแล้วก็คุยกัน หรืออาจจะเกิดขึ้นในรั้วโรงเรียน สถาบันการศึกษา จะเป็น ผอ. กับครู หรือครูกับนักเรียน แล้วมีการคุยร่วมกัน หรือถ้าสามารถเกิดขึ้นในชุมชนได้ด้วย บ้าน ชุมชน โรงเรียน เกิดลักษณะของสุนทรียสนทนา แล้วเกิดขึ้นทั้งประเทศ กระบวนการสุนทรียสนทนาจะช่วยทำให้รับฟังซึ่งกันและกัน หาข้อสรุปร่วม และสามารถอยู่ร่วมกันได้ด้วยสันติวิธี” รศ.นพ.สุริยเดว กล่าว

รศ.นพ.สุริยเดว ยังได้ขยายความเรื่องพี่เลี้ยงชาวเมียนมา ที่คนไข้วัยรุ่นหญิงมองว่าเป็นสิ่งดีๆ เพียงไม่กี่อย่างในบ้านและไม่อยากให้ลาออกไปไว้ว่า หลังได้มีโอกาสพูดคุยกันกับพี่เลี้ยงคนดังกล่าว สามารถเรียกได้ว่าเป็น “พี่เลี้ยง 5 ดาว” ด้วยคุณสมบัติ 5 ประการ คือ 1.ใช้ใจในการเลี้ยง เป็นคุณสมบัติที่สำคัญข้อแรก 2.เป็นผู้ฟังที่ดี รับฟังในทุกเรื่องที่คนไข้วัยรุ่นหญิงรายนี้ ซึ่งพี่เลี้ยงเรียกว่าหลานมาเล่าให้ฟัง

3.สะท้อนความรู้สึกที่ดี บางครั้งเมื่อฟังเรื่องไม่สบายใจแล้วก็หันไปตบไหล่คนไข้เบาๆ แล้วบอกว่าเดี๋ยวเวลาผ่านไปก็ดีขึ้น 4.ไม่ด่วนตัดสิน มีบางครั้งที่ได้ยินว่าคนไข้วัยรุ่นหญิงรายดังกล่าวไปแกล้งคนอื่น แต่ตนก็ยังไม่ได้ตัดสินในทันทีว่าใครผิด-ใครถูก เพราะไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ และ 5.สะท้อนความคิด แม้จะไมไดตำหนิโดยตรง แต่ใช้วิธีตั้งคำถามชวนคิด เช่น เมื่อเราไปแกล้งผู้อื่น หากลองคิดย้อนกลับบ้างว่ามีผู้อื่นมาแกล้งเราแล้วเราจะรู้สึกอย่างไร การทำแบบนี้จะกระตุ้นให้ผู้ฟังเกิดการเหลาความคิดขึ้นมา