ศาสตร์เกษตรดินปุ๋ย : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์คมชัดลึก
http://www.komchadluek.net/detail/20160605/228973.html
‘ปลดล็อก’ ห้ามออกนอกปท. เป็นแค่เรื่องเล็กๆ ใครหน้าไหนอย่าได้คิดลองดี ‘ไม้แข็ง’ คสช.ยังอยู่ครบ

ศาสตร์เกษตรดินปุ๋ย : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์คมชัดลึก
http://www.komchadluek.net/detail/20160605/228973.html
ศาสตร์เกษตรดินปุ๋ย : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์คมชัดลึก
http://www.komchadluek.net/detail/20160529/228541.html
ศาสตร์เกษตรดินปุ๋ย : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์คมชัดลึก
http://www.komchadluek.net/detail/20160515/227673.html
ศาสตร์เกษตรดินปุ๋ย : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์คมชัดลึก
http://www.komchadluek.net/detail/20160508/227219.html
ศาสตร์เกษตรดินปุ๋ย : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์คมชัดลึก
http://www.komchadluek.net/detail/20160501/226809.html
สิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้บางคนเริ่มมองด้วยความหวาดหวั่นว่าอาจจะเป็นชนวนนำพาให้ประชามติร่างรัฐธรรมนูญไม่เกิดขึ้น เพราะก่อนหน้านี้ นายกรัฐมนตรีเคยพูดในทำนองว่าหากวุ่นวายนัก “ทำไม่ได้ก็ไม่ทำ”
เมื่อต้นสัปดาห์ทหารเข้าจับกุมประชาชน 10 คน ซึ่งตอนแรกยังไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหา แต่ต่อมาได้แจ้งข้อหาในความผิดที่ต่างๆ กัน แต่โดยมากมาจากเรื่องการนำข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ พร้อมทั้งมีการเปิดเผยแผนผังการเชื่อมโยงของกลุ่มบุคคล ซึ่งต่อมาก็มีการตั้งชื่อเล่นไปต่างๆ นานา เช่น “ผังล้ม คสช.” “ผังล้ม รัฐบาล” หรือกระทั่ง “ผังล้มนายกฯ”
โดยหัวขบวนแม้บอกว่าอยู่ต่างประเทศ แต่เมื่อชัดขนาดนี้ถึงไม่บอกก็รู้ว่าเป็นใคร รวมทั้งมีความพยายามเชื่อมโยงกับกลุ่มคนเสื้อแดง ทั้ง “จตุพร พรหมพันธุ์” หรือ “สมบัติ บุญงามอนงค์”
การจับกุมครั้งนี้มีการยกกฎหมายหลายฉบับมาประกอบ ไม่ว่าจะเป็น พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ร.บ.ประชามติ คำสั่ง คสช. แต่ที่น่าสนใจคือมีการยกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องความมั่นคง มาใช้เป็นเหตุผลด้วย โดยมาตราดังกล่าวระบุว่า
“ผู้ใดกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีอื่นใด อันไม่ใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือไม่ใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต
(1) เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายแผ่นดินหรือรัฐบาล โดยใช้กำลังข่มขืนใจ หรือใช้กำลังประทุษร้าย
(2) เพื่อให้เกิดความปั่นป่วน หรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน ถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร หรือ
(3) เพื่อให้ประชาชน ล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี”
นอกจากนี้ในวันเดียวกัน กกต.ก็ได้ไปแจ้งความจับกุมผู้ที่ถูกระบุว่ากระทำความผิด พ.ร.บ.ประชามติ จากการโพสต์แสดงความไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีการอ้างว่ามีการใช้ถ้อยคำอันไม่เหมาะสม
ซึ่งจากสองเหตุการณ์นี้เอง ทำให้สถานการณ์ลุกลามขึ้นเรื่อยๆ มีผู้ออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยเป็นจำนวนมาก เนื่องจากมองว่าเรื่องเช่นนี้เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพตามปกติ โดยเฉพาะกับประชามติที่ดูเหมือนว่าจะถูกปิดกั้นการแสดงความเห็น แม้แต่การรณรงค์ก็ทำไม่ได้ ขณะที่การอธิบายความก็อาจถูกกล่าวหาว่าบิดเบือน ทั้งๆ ที่เรื่องรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องของการตีความกฎหมายที่สามารถมองได้ต่างมุมต่างมอง
ทำให้เกิดความเคลื่อนไหวไหลบ่าตามมา ไม่ว่าจะเป็นการที่มีกลุ่มต่างๆ ออกมาเคลื่อนไหวแสดงสัญลักษณ์คัดค้านเช่น “กลุ่มพลเมืองโต้กลับ” ที่ออกมา “ยืนเฉยๆ” เป็นสัญลักษณ์ของการไม่เห็นด้วยที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ และที่สุดก็มีคนถูกจับไปอีก 16 คน แต่นั่นมิใช่การแสดงออกครั้งสุดท้าย เพราะมีคนออกมาแสดงสัญลักษณ์ด้วยการ “ยืนเฉย” ตามสถานที่ต่างๆ และโพสต์ของอินเทอร์เน็ต
นอกจากนี้ ยังมีการติดแฮชแท็ก ประชดประชันว่า “#ทวิตอย่างไรไม่ให้ถูกจับ” เพื่อเป็นการแสดงความไม่เห็นด้วย และแต่ละคนก็ประชดได้อย่างแสบสันต์ แม้อ่านเผินๆ จะคล้ายการชม แต่ทุกคนก็รู้ว่าหมายถึงอะไรกันแน่ และที่แน่ๆ คนเข้ามาร่วมเล่นกันถล่มทลาย
จากนั้นก็มีความเคลื่อนไหวจากกลุ่ม “หน้ากากขาว” ที่เคยเคลื่อนไหวขับไล่รัฐบาล “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” ได้จับมือกับกลุ่ม “ต่อต้านซิงเกิลเกตเวย์” แสดงพลังด้วยการระดมกด F5 กับเว็บไซต์ของหน่วยงานรัฐบาลจนเว็บไซต์ล่ม
หากมองผิวเผินอาจเป็นเพียงความเคลื่อนไหวของคนในอินเทอร์เน็ตที่มักจะหลบตัวอยู่หลังคีย์บอร์ด แต่หากพิจารณาดีๆ จะเห็นความอัดอั้นจากกลุ่มคนต่างๆ ที่เรียกว่าเป็นหน่วยเล็กๆ ของสังคมที่กระจายตัวอยู่ทั่วไป ซึ่งไม่มีใครการันตีได้ว่าพวกเขาจะอยู่แค่แต่หลังจอตลอดไป
เหล่านี้นี่เองที่ทำให้คนมองว่าวันหนึ่งถนนประชามติอาจเกิดความวุ่นวายและสุดท้ายก็นำไปสู่การไม่มีประชามติ
แม้ช่วงหลัง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีออกมายืนยันว่าทุกอย่างต้องเป็นไปตามกฎหมาย แต่เอาจริงๆ แล้วก็ไม่มีอะไรการันตีได้แม้แต่นิดเดียวว่าประชามติจะเกิดขึ้น ยิ่งโดยเฉพาะในสถานการณ์ที่ถูกเร่งเร้า
ว่ากันว่าผู้มีอำนาจบางคนเองก็ยังไม่อยากลงสู่ถนนเลือกตั้งในตอนนี้เพราะอ่านเกมออกว่าถึงวันนั้นเมื่อไหร่ก็พ่ายแพ้ต่อนักการเมืองอย่างแน่นอน และที่หนักกว่านั้นคือไม่รู้ว่าความพ่ายแพ้นั้นจะยับเยินขนาดไหน จึงยังอาจต้องการกติกา และความมั่นใจที่มากกว่านี้ในการลงสู่สนาม
ขณะที่ฝ่ายต่อต้าน คสช.เองก็ไม่พอใจในรัฐธรรมนูญฉบับนี้และหวังจะใช้สถานการณ์เพื่อทำให้ร่างรัฐธรรมนูญและ คสช. หมดความชอบธรรม พร้อมๆ กับกดดันให้ คสช.คืนอำนาจและทำกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ที่มีส่วนร่วมจากประชาชนให้มากขึ้น
อนาคตของประชามติจึงยังอยู่บนเส้นด้าย และอยู่บนความเปลี่ยนแปลงของ “สถานการณ์”
ถามว่าถ้าไม่ต้องการให้มีประชามติสามารถทำได้หรือไม่ คำตอบนั้นง่ายแบบฟันธงเลยว่าทำได้
แม้รัฐธรรมูญชั่วคราวจะระบุชัดว่าเมื่อร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้วต้องมีการทำประชามติ และ กกต.ต้องกำหนดวันทำประชามติระหว่าง 90-120 วัน นับแต่ได้รับร่างสรุปย่อจากกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ คล้ายกับว่าไม่มีทางเลี่ยงที่จะไม่ปฏิบัติ
แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นข้อได้เปรียบของผู้มีอำนาจในปัจจุบันที่ไม่เคยมีในอดีตที่ผ่านมาคือ การเขียนรัฐธรรมนูญชั่วคราวให้สามารถแก้ไขได้
ที่ผ่านมาคณะรัฐประหารของประเทศไทย เขียนรัฐธรรมนูญชั่วคราว ในลักษณะชั่วคราวที่แข็งตัวไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ ดังนั้น ทุกอย่างต้องเดินตามแผนที่วางไว้ตอนต้น หรือหากต้องการเปลี่ยนอะไร ก็ต้องใช้วิธีฉีกรัฐธรรมนูญชั่วคราวทิ้ง โดยการ “รัฐประหาร” ตัวเอง
แต่รัฐธรรมนูญชั่วคราวปี 2557 นั้น เปิดทางให้มีการแก้ไขได้ตลอด เหมือนกับที่แก้ไขมาแล้วสองครั้ง โดยครั้งแรกเป็นการแก้ไขให้ทำประชามติ และครั้งที่สองเป็นการแก้ไขเพิื่อให้กติกาในการทำประชามติชัดเจนขึ้น
เราจึงเห็นได้ว่าการทำให้รัฐธรรมนูญชั่วคราวมีทางออกเช่นนี้ เป็นการเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปของ คสช.
และนั่นหมายความว่าก็ไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้ในการแก้ไข และระยะเวลาที่ใช้ก็ไม่มาก เพราะขั้นตอนในการผ่านคณะรัฐมนตรี และสภานิติบัญญัติแห่งชาตินั้นหากจะทำจริงๆ ก็ใช้เวลาเพียงหนึ่งสัปดาห์ก็เรียบร้อย
แต่อย่างแรกหากอยากจะให้ไม่มีประชามติจริงต้องมีเหตุผลที่เรียกกันว่าสถานการณ์ที่สุกงอมเพียงพอให้เป็นความชอบธรรมในการประกาศยกเลิก
ศาสตร์เกษตรดินปุ๋ย : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์คมชัดลึก
http://www.komchadluek.net/detail/20160410/225660.html
ศาสตร์เกษตรดินปุ๋ย : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์คมชัดลึก
http://www.komchadluek.net/detail/20160403/225222.html
ศาสตร์เกษตรดินปุ๋ย : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์คมชัดลึก
http://www.komchadluek.net/detail/20160327/224799.html
ศาสตร์เกษตรดินปุ๋ย : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์คมชัดลึก
http://www.komchadluek.net/detail/20160320/224401.html
ชัดเจนในเจตนาอย่างยิ่งหลังคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เปิดข้อเสนอแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ 3 ข้อ เป็นข้อเสนอที่ต่อยอดข้อเสนอข้อ 16 ของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่เสนอให้คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ก่อนหน้านี้
จากข้อเสนอข้อที่ 16 ของ ครม. “ขอให้บัญญัติเนื้อหาและการบังคับใช้รัฐธรรมนูญเป็น 2 ช่วงเวลา คือ ช่วงเฉพาะกิจในระยะแรก ใช้หลักเกณฑ์อย่างหนึ่งเสมือนข้อยกเว้นตามความจำเป็นแห่งสถานการณ์ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยแต่อยู่บนพื้นฐานของการปกครองของระบอบประชาธิปไตย ที่มี “การเลือกตั้ง ส.ส.ในระดับหนึ่ง อย่างมีดุลยภาพในช่วงเปลี่ยนผ่าน ” และช่วงที่จะใช้บทบัญญัติรัฐธรรมนูญในระยะต่อไป ซึ่งสอดคล้องหลักการสากลมากขึ้น และเป็นไปตามระบอบประชาธิปไตยที่ลดข้อจำกัดต่างๆ ลงให้มาก ดังนี้ น่าจะแก้ปัญหาและอธิบายให้เป็นที่ยอมรับแก่ประชาชนและนานาชาติได้”
ข้อเสนอ 3 ข้อของ คสช. ที่อ้างว่ามาจากที่ประชุมแม่น้ำ 4 สาย คือ คสช. ครม. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) คือ 1.ให้ ส.ว.มาจากการสรรหาหรือแต่งตั้ง 250 คน โดยกำหนดให้มี ส.ว.โดยตำแหน่ง 6 คน คือ ปลัด กห., ผบ.ทสส., ผบ.ทบ., ผบ.ทร., ผบ.ทอ. และ ผบ.ตร. มีวาระ 5 ปี มีอำนาจอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล แต่ไม่มีอำนาจเลือกนายกฯ
จุดที่โดนวิจารณ์หนัก นอกเหนือจากเรื่อง “ที่มา” ที่วิจารณ์กันตั้งแต่ก่อนเปิดข้อเสนอออกมา คือ การให้มีผู้นำเหล่าทัพเข้าไปเป็น ส.ว.โดยตำแหน่ง ยกเว้นจากข้อกำหนดในบทถาวรของร่างรัฐธรรมนูญที่ไม่ให้ข้าราชการเข้าไปเป็น ส.ว. ขณะที่ “พี่ใหญ่” พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ และรองหัวหน้า คสช. บอกว่า “ที่ให้ปลัดกลาโหมและผู้บัญชาการเหล่าทัพเข้าไปเป็น ส.ว.ด้วย เพราะไม่อยากให้มีรัฐประหารอีก”
อีกจุดใหญ่คืออำนาจที่ให้แก่ ส.ว.ชนิดที่ไม่เคยมีมาก่อน ทั้งอำนาจพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ควบคุมการบริหารแผ่นดินด้วยการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล..!!!
“พิทักษ์รัฐธรรมนูญ” คืออะไร แหล่งข่าวสาย คสช. อธิบายว่า มี 2 ส่วน ส่วนแรกคือพิทักษ์ตัวบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ คือ ในช่วง 5 ปีแรก จะไม่สามารถแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ถ้า ส.ว.ไม่เห็นด้วย โดย ส.ว.จะมีสภาพเหมือน “พรรคที่ใหญ่ที่สุด” ในรัฐสภา หากพรรค ส.ว.เห็นด้วยกับฝ่ายค้านหรือฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายนั้นก็จะเป็นเสียงข้างมากทันที อีกส่วนของการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ คือ การทำหน้าที่แต่งตั้งถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ
สำหรับการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่กำหนดให้เป็นอำนาจ ส.ว.นั้น ส.ว.จะทำหน้าที่ได้ทั้ง “คาน” และ “โอบอุ้ม” รัฐบาลตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น คือ “หากเป็นรัฐบาลที่อยู่ตรงข้ามกับ คสช. ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ส.ว.ก็จะทำหน้าที่ตรวจสอบ คานอำนาจรัฐบาล แต่ถ้าเป็นรัฐบาลฝั่ง คสช. ส.ว.ก็จะทำหน้าที่โอบอุ้มรัฐบาลด้วยการลงมติไว้วางใจ” แหล่งข่าวคนเดิมอธิบาย
ส่วนที่ต้องให้ ส.ว.ชุดนี้มีอายุถึง 5 ปี ซึ่งมากกว่าอายุสภาผู้แทนฯ ที่มีเพียง 4 ปีนั้น ก็เท่ากับ ส.ว.ชุดนี้จะคาบเกี่ยวอยู่กับการจัดตั้งรัฐบาลอย่างน้อย 2 ชุด รวมถึงกลไกอื่นๆ จึงเป็น 5 ปี ที่จะส่งผลมากกว่า 5 ปี…????
2.การเลือกตั้ง ส.ส.ใช้บัตร 2 ใบแทนสูตรบัตรใบเดียวของ กรธ. โดยให้มี ส.ส.เขต 350 คน เป็นระบบเขตใหญ่เขตละไม่เกิน 3 คน แต่ให้ประชาชนเลือกได้เพียง 1 คน และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 150 คน รวมเป็น 500 คน
แน่นอนการเลือกตั้งระบบนี้พรรคใหญ่โดยเฉพาะพรรคเพื่อไทยเสียเปรียบเต็มๆ การเลือกตั้งในแต่ละเขตจะมีสภาพตัวใครตัวมัน มีแนวโน้มว่าคนที่ได้รับเลือกตั้งในแต่ละเขตก็จะมาจากพรรคที่ต่างกัน การเลือกตั้งแบบนี้จะใกล้เคียงกับการเลือกตั้ง ส.ว.ตามรัฐธรรมนูญ 2540 แต่การเลือกตั้ง ส.ว.เขตจะใหญ่กว่า คือใช้จังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง
ทั้งนี้สูตรเลือกตั้งนี้เป็นไปตามข้อเสนอของ สนช. และคณะกรรมาธิการปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ของ สปท. ที่เสนอต่อคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญก่อนหน้านี้
3.งดเว้นข้อบังคับเรื่องพรรคต้องแจ้งชื่อผู้ที่จะสนับสนุนเป็นนายกฯ ก่อนเลือกตั้ง
ในจดหมายของ คสช.ให้เหตุผลว่า “กรณีนี้อาจเป็นอุปสรรคต่อการจัดตั้งรัฐบาล เช่น ผู้มีชื่อในบัญชีถอนตัวหรือตกเป็นผู้ขาดคุณสมบัติในภายหลัง หรือไม่มีพรรคการเมืองใดได้รับเสียงข้างมากจนจำเป็นต้องจัดตั้งรัฐบาลผสมร่วมกับพรรคอื่น แต่ไม่อาจตกลงในชื่อบุคคลผู้สมควรเป็นนายกฯ จากบัญชีของแต่ละพรรคได้ อันจะทำให้การจัดตั้งรัฐบาลประสบปัญหา ทั้งที่พรรคการเมืองเหล่านั้นอาจเห็นชอบร่วมกันให้เสนอชื่อบุคคลอื่นนอกบัญชี แต่ย่อมไม่อาจทำได้…เพื่อเป็นทางออกในยามวิกฤติในระยะแรกตามบทเฉพาะกาล จึงควรงดเว้นไม่นำเรื่องแจ้งรายชื่อผู้ที่จะเสนอให้เป็นนายกฯ มาบังคับใช้”
คีย์เวิร์ดอยู่ตรงที่ “พรรคการเมืองเหล่านั้นอาจเห็นชอบร่วมกันให้เสนอชื่อบุคคลอื่นนอกบัญชี” ตรงนี้เองที่ถูกตั้งคำถามว่าเป็นการเปิดทางสะดวกสำหรับการ “สืบทอดอำนาจ” มากขึ้นหรือไม่ จากเดิม “คนนอก” ที่ไม่ได้เป็น ส.ส.มาเป็นนายกฯ ก็ได้ แต่ต้องเปิดชื่อมาก่อน ซึ่งตรงนี้ “มีชัย ฤชุพันธุ์” บอกว่าเพื่อป้องกัน “ไอ้โม่ง” มาเป็นนายกฯ
อย่างไรก็ตาม “พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ” รองนายกฯ และรองหัวหน้า คสช. ที่มักถูกมองว่าเป็นคนหนึ่งที่อาจเข้ามาเป็นนายกฯ ในรัฐบาลหลังเลือกตั้ง ยืนยันว่า “จะไม่มีชื่อ พล.อ.ประวิตร และ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกฯ” และอีกวันหลังจากนั้น รองนายกฯ วิษณุ เครืองาม ก็ออกมาสำทับอีกครั้ง
แหล่งข่าวอ้างเหตุผลเบื้องลึกของข้อเสนอนี้ว่า เนื่องจาก “คนกลาง” ที่อาจถูกเสนอมาเป็น “นายกฯ” ไม่แฮปปี้กับเงื่อนไขนี้ เหตุผลง่ายๆ อย่างน้อย 2 ข้อคือ 1.ทันทีที่ถูกเปิดชื่อออกมาก็ต้องตกเป็นเป้าโจมตี อาจถูกไล่บี้ตรวจสอบจนเป็นปัญหา และ 2.หากได้รับการเสนอชื่อแล้วไม่ได้รับการเลือกจากที่ประชุมสภาก็คงเสียชื่อ สรุปคือไม่มีใครอยากเสี่ยงและเปลืองตัว
หากอยากรู้เหตุผลเบื้องลึกจริงๆ ของข้อเสนอทั้ง 3 ข้อนี้ ต้องมองไปที่เกมการวางโครงสร้างอำนาจทางการเมือง ซึ่งจุดสำคัญจะอยู่ที่ 4 ส่วน คือ ที่มา ส.ส., ที่มา ส.ว., ที่มานายกฯ และ คปป. (คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ) หรือกลไกช่วงวิกฤติ แต่ในเมื่อ คสช.ไม่ต้องการให้มี คปป.อยู่ในร่างรัฐธรรมนูญนี้ เพราะเป็น “สายล่อฟ้า” ที่อาจทำให้ร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านประชามติ จึงต้องมีการจัดวางโครงสร้างอำนาจใหม่ ให้ทุกอย่างสามารถควบคุมได้โดย 3 กลไกที่เหลือ คือ ที่มา ส.ส., ที่มา ส.ว. และที่มานายกฯ
ข้อเสนอก่อนหน้านี้ที่จะให้ ส.ว.เลือกนายกฯ ได้นั้น ไม่ใช่ข้อเสนอที่ไม่มีมูล เพียงแต่เมื่อดันสูตรนั้นไม่ได้ ก็ต้องปรับเปลี่ยน จัดวาง ต่อรองกันใหม่
เมื่อมีกลไกควบคุมได้ “บิ๊กตู่-บิ๊กป้อม” ก็อาจไม่จำเป็นต้องเป็นนายกฯ!!
ศาสตร์เกษตรดินปุ๋ย : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์คมชัดลึก
http://www.komchadluek.net/detail/20160306/223629.html