นักการเมืองรุกป่า ต้องจัดการมาตรฐานเดียวกัน #ศาสตร์เกษตรดินปุ๋ย

#ศาสตร์เกษตรดินปุ๋ย : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์

https://www.posttoday.com/politic/report/608623

  • วันที่ 07 ธ.ค. 2562 เวลา 17:37 น.

นักการเมืองรุกป่า ต้องจัดการมาตรฐานเดียวกัน

โดย…ชัยฤทธิ์ ยนเปี่ยม

**************************

การดำเนินคดีกับนักการเมืองข้อหารุกป่าสงวนต้องทำอย่างจริงจังให้เป็นแบบอย่างให้เห็นว่า ไม่มีใครอยู่เหนือกฎหมาย เพราะที่ผ่านมา ชาวบ้านมักถูกดำเนินคดีข้อหารุกป่า โดนปรับ เข้าคุกเข้าตารางไปหลายราย ที่สำคัญ ยังเชื่อว่า มีนักการเมืองระดับชาติ ท้องถิ่น ผู้มีอิทธิพล นายทุนอีกมากที่รุกป่า จับจองที่ดินหลวง สร้างคฤหาสน์ รีสอร์ทหรู ลอยนวลอยู่เหนือกฎหมาย

กรณี  ปารีณา ไกรคุปต์  ส.ส.พรรคพลังประชารัฐสังกัดรัฐบาล ถูกกรมป่าไม้เข้าแจ้งความ 4 ข้อหา รุกป่าสงวนเนื้อที่  46 ไร่ อ.จอมบึง จ.ราชบุรี ในพื้นที่เขาสนฟาร์มที่เจ้าตัวทำฟาร์มไก่ 1,700 ไร่  ซึ่งเธอแจ้งบัญชีทรัพย์สินเมื่อวันที่ 25 พ.ค. 2562 ว่า มีรายได้จากการเลี้ยงไก่ 109.9 ล้านบาท และเลี้ยงวัว 6.7 แสนบาทต่อปี  แต่ก็มีรายจ่ายจากฟาร์มไก่ 107.7  ล้านบาทต่อปีเช่นกัน

โทษของการรุกป่าสงวน หากพบว่า ผิด ต้องจำคุก 2- 15 ปี ปรับ 1.5 ล้านบาท  ไม่เท่านั้น ที่ดินสปก.ที่ ปารีณา ถือครองอยู่ยังถูกริบคืนอีก 682 ไร่ เพราะได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ปารีณา ปัจจุบันอายุ 44 ปี เป็น สส.สมัยที่ 4  ย้ายสังกัดเข้าพรรคต่างๆทั้งพรรคไทยรักไทย พรรคชาติไทย เป็นทายาท “ทวี ไกรคุปต์” อดีตรมช.คมนาคม นักการเมืองฝีปากกล้า

สำหรับ ทวี ผู้พ่อ เคยสร้างวีรกรรมในพรรคประชาธิปัตย์ 20 ปีก่อน สมัยที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล มี นายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรค  ตอนนั้น ทวี เป็น ส.ส.ราชบุรี สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ เจ้าตัวได้ออกมาขย่มนายสุเทพ เทือกสุบรรณ หลังมีข่าวว่า ไม่พอใจที่ไม่ได้รับเลือกให้เป็นรัฐมนตรี และตำแหน่งประธานกรรมาธิการกิจการคมนาคม เนื่องจากถูก นายสุเทพ สกัด นายทวีจึงเปิดศึกแฉ นายสุเทพ ในฐานะ รมว.คมนาคมว่าบริหารงานไม่โปร่งใสในโครงการสื่อสัญญาณความเร็วสูง หรือ เอสดีเอช  พร้อมทั้งออกมาท้าทีท้าต่อยคนในพรรค  จนพรรคประชาธิปัตย์ตั้งกรรมการสอบก่อนจะมีบทลงโทษด้วยการภาคทัณฑ์นายทวี หาว่าเคลื่อนไหวไม่สุจริต

กลับมาคดีรุกป่าของ ปารีณา  นอกจากเธอจะถูกยึดที่คืนแล้ว ยังพ่วงถูกเอาผิดคดีอาญาและอาจถูกเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้งในอนาคตอีก ขณะที่ ป.ป.ช.กำลังตรวจสอบว่า มีการแจ้งการถือครองที่ดินเป็นเท็จหรือไม่

นึกไม่ถึง “ดาวรุ่ง” ในซีกของพรรคพลังประชารัฐ ที่ออกมาวาดลวดลาย เป็นองครักษ์พิทักษ์รัฐบาล คอยต่อกรกับ “ช่อ” พรรณิการ์ วานิช โฆษกพรรคอนาคตใหม่ จะตกม้าตายอย่างรวดเร็ว สะท้อนว่า การจะตรวจสอบใคร ตัวเองต้องโปร่งใส ไม่มีบาดแผลก่อน และอย่าชะล่าใจว่า การเป็น ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลแล้วจะมีอำนาจรัฐคอยช่วยเหลือ ซึ่งแม้แรกเริ่มคดีนี้พรรคพลังประชารัฐทำท่าจะออกมาปกป้อง “ปารีณา”ว่าไม่ผิด แต่เมื่อผลตรวจสอบพบว่า มีการรุกที่จำนวนมาก จึงยากที่จะอุ้มได้ มิฉะนั้น เรือสนิมเหล็กจะพังลำ

กรณี “ปารีณา” เจ้าหน้าที่ต้องดำเนินคดีให้เป็นเยี่ยงอย่าง หัวหน้ารัฐบาลต้องส่งสัญญาณให้สังคมเห็นว่า เอาจริงกับพวกรุกป่า โดยเฉพาะพวกนักการเมืองระดับชาติ นักการเมืองท้องถิ่น นายทุน ที่มักหลุดรอดคดีด้วยเหตุมีอำนาจรัฐคอยช่วยเหลือเกื้อกูลกัน

“ปารีณา”อาจไม่ใช่กรณีเดียวที่ถูกดำเนินคดีครั้งนี้  “ศรีสุวรรณ จรรยา” นักร้อง ยังได้ยื่นเรื่องให้เอาผิด 10 ส.ส.จากพรรครัฐบาลและฝ่ายค้าน หลังพบว่านักการเมืองเหล่านี้ถือครอบครองที่ดินคล้ายกับปารีณา คือ  มีการครอบครองที่ดินประเภท ภ.บ.ท.5 และ ส.ป.ก. กันเป็นจำนวนมาก ขาดคุณสมบัติของการมีสิทธิครอบครอง

ที่ดิน ภ.บ.ท.5 หรือ ภาษีบำรุงท้องที่ เรียกกันว่า “ภาษีดอกหญ้า” เป็นเพียงเอกสารการเสียภาษีบำรุงท้องที่  ไม่ใช่เอกสารแสดงสิทธิครอบครองที่ดิน เพราะเจ้าของที่ดินก็ยังคงเป็นของราชการ และส่วนมากก็เป็นที่ป่าสงวน  สส.บางรายกลับถือครองเป็นร้อยเป็นพันไร่

ส่วนที่ดินประเภท ส.ป.ก.  เจตนารมณ์ของกฎหมาย กำหนดไว้ชัดเจนว่าผู้ที่จะมีสิทธิยึดถือครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินปฏิรูป ต้องเป็นเกษตรกรเป็นหลัก มีฐานะยากจน รายได้ต่ำกว่า 3 หมื่นบาทต่อปี หรือต้องเป็นบุตรของเกษตรกรเท่านั้น น่าประหลาดที่ว่า นักการเมืองกลับเข้าไปถือครองได้  กรณีปารีณาอ้างว่า ตนเองเป็นเกษตรกรเพราะทำฟาร์มไก่จึงฟังไม่ขึ้น

บทเรียนที่เคยเกิดขึ้นมีให้เห็น ประเด็นการแจกที่ดิน สปก. ครั้งอื้อฉาวสั่นคลอนรัฐบาลมาแล้ว สมัยรัฐบาล ชวน หลีกภัย ต้องยุบสภา เพราะนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รมช.เกษตรขณะนั้น แจกที่ดินสปก. ให้กับกลุ่มทุนที่ใกล้ชิดตัวเอง ทั้งที่ไม่เข้าข่ายเป็น เป็นเกษตรกร จนฝ่ายค้านนำมาเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจเมื่อ 25 ปีก่อน

รัฐบาลคสช. ที่ผ่านมา มีนโยบายจัดระเบียบที่ดินสปก.ทั่วประเทศ หลังพบช่องโหว่ บรรดานายทุน นักการเมือง เข้าไปถือครองผิดกฎหมาย เป็นจำนวนมาก สำนักงานส.ป.ก.ระบุว่า ระหว่างปี 2558-2559  มีที่ดิน ส.ป.ก. 40 ล้านไร่ทั่วประเทศ มีการจัดสรรให้เกษตรกรไปใช้ทำประโยชน์ไปแล้ว 36 ล้านไร่ เหลือที่ยังจัดสรรไม่ได้ 4 ล้านไร่ ในจำนวนนี้มีการรังวัดแล้ว 2 ล้านไร่ และทยอยจัดสรร ส่วนอีก 2 ล้านไร่ที่ยังไม่ได้รังวัด และยังไม่เข้าระบบตรงนี้ที่เป็นปัญหารุกที่ เพราะมี ส.ส. นักการเมืองและ ผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่นถือครองไปสร้างรีสอร์ท ที่พัก

ไม่น้อยทีเดียว ที่ส.ป.ก.เกือบ 2 ล้านไร่ ที่เป็นช่องว่างให้ นายทุนครอบครองอย่างผิดกฎหมาย แถมยังไม่ถูกดำเนินคดี โดยเฉพาะในจังหวัดท่องเที่ยวทั้งหลาย ไปทำบ้านพัก ร้านอาหาร ซื้อที่ต่อจากชาวบ้านและสะสมเป็นแปลงขนาดใหญ่ เซ้งต่อกันราคาแพง

การรุกที่ป่าสงวนจำนวนมาก สะท้อนถึงความล้มเหลวในการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่เป็นธรรม และไม่เสมอภาค เพราะไม่สามารถเอาผิดกับกลุ่มนายทุน นักการเมือง รวมถึงเจ้าหน้าที่รัฐอีกจำนวนมาก ที่รวมหัวกันเป็นอาชญากรเศรษฐกิจ  แม้ว่า ช่วงไม่กี่ปีมานี้ เริ่มมีการทำคดีฟ้องรุกป่าขึ้นศาล เอาผิดให้บ้าง แต่ก็ยังน้อยเมื่อเทียบการรุกที่ป่าสงวนที่เกิดขึ้นจริง

ขบวนการรุกป่ามีกันเกลื่อน เรียกได้ว่า แตะที่ไหน ก็เจอการกระทำผิดกฎหมายที่นั่น เน้นพื้นที่วิวสวยๆ เช่น  อ.วังน้ำเขียว อ.ปากช่อง อ.เขาใหญ่ นครราชสีมา หรือ ในเชียงใหม่ จันทบุรี เพชรบูรณ์ ภูเก็ต กาญจนบุรี เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี

นักการเมือง นายทุน ผู้มีอำนาจเหล่านี้ แจกจ่ายผลประโยชน์ให้ข้าราชการประจำเพื่ออนุญาตให้ถือครองที่ดิน โดยมิชอบ ทำโรงแรม สนามกอล์ฟ ที่จอดเฮลิคอปเตอร์  สนามแข่งรถ เปิดสวนสนุก ทำสวนน้ำ

แม้กรมป่าไม้บอกว่า ปี 2561 ที่ผ่านมา ประเทศไทยเริ่มมีพื้นที่ป่าเพิ่มขึ้น จากมาตรการของ คสช. ที่ป้องกันและปราบปรามการบุกรุกป่าเข้มข้นและ นโยบายทวงคืนผืนป่าที่ยึดคืนพื้นที่ป่าจากนายทุน โดยพบว่า ปี 2561  ไทยมีผืนป่าอยู่ 102.4 ล้านไร่ เทียบกับปี 2560 อยู่ที่ 102.1 ล้านไร่  เพิ่มขึ้น 3.3 แสนไร่ หรือเท่ากับจ.ภูเก็ตทั้งจังหวัด

แต่เชื่อว่า ผู้อยู่เหนือกฎหมาย ยึดที่หลวง บุกรุกป่า กลั่นแกล้งชาวบ้าน ยังมีอีกเป็นจำนวนมากที่ไม่ถูกดำเนินคดี  รัฐบาลจึงไม่ควรลูบหน้าปะจมูกทำคดีปารีณาเป็นแค่ไฟไหม้ฟางเท่านั้น

เบื้องลึก!!!’พลภูมิ’กับข้อยกเว้นพิเศษให้เป็นงูเห่าใน’เพื่อไทย’ #ศาสตร์เกษตรดินปุ๋ย

#ศาสตร์เกษตรดินปุ๋ย : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์

https://www.posttoday.com/politic/report/608477

  • วันที่ 05 ธ.ค. 2562 เวลา 20:00 น.

เบื้องลึก!!!'พลภูมิ'กับข้อยกเว้นพิเศษให้เป็นงูเห่าใน'เพื่อไทย'

แกนนำเพื่อไทยเข้าใจ”พลภูมิ” เสียบบัตรช่วยรัฐบาลเหตุช่วยให้หลุดพ้นคดีแจ้งทรัพสินเท็จต้องทดแทนบุญคุณผู้ใหญ่ในรัฐบาล

หลัง“10งูเห่า”เกิดขึ้นในพรรคฝ่ายค้าน กรณีไปแสดงตนเป็นองค์ประชุมในการพิจารณาพิจารณาญัตติด่วน ขอให้สภาผู้แทนราษฏรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาการใช้ศึกษาผลกระทบจากประกาศคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และการใช้อำนาจของหัวหน้า คสช. ตามมาตรา 44 เมื่อวันที่ 4 ธ.ค.ที่ผ่านมา ทั้งที่ฝ่ายค้านได้มีมติไม่เข้าร่วม จนทำให้รัฐบาลสามารถพลิกมติล้มญัตติดังกล่าวสำเร็จ ท่ามกลางข่าวการแจกกล้วยให้”งูเห่า”ถึงเลข 8 หลัก นั้น ปรากฎว่า พรรคที่มีสมาชิกเป็นงูเห่าต่างออกมาแสดงท่าทีปฏิเสธความเป็น”งูเห่า”ทันที

ทว่าที่น่าสนใจคือพรรคเพื่อไทย ซึ่งมี ส.ส.3 คน ที่ไปเสียบบัตรแสดงตน ประกอบด้วย “พลภูมิ วิภัติภูมิประเทศ ส.ส.กทม. -พรพิมล ธรรมสาร ส.ส.ปทุมธานี -ขจิตร ชัยนิคม ส.ส.อุดรธานี” แต่ปรากฎว่า แกนนำของพรรคต่างออกมาแสดงความเห็นใจ “พลภูมิ วิภัติภูมิประเทศ”เพียงคนเดียว โดย การันตีให้ว่าไม่เกี่ยวกับ“กล้วย”ทางการเมือง

“ในส่วนของส.ส.พรรคเพื่อไทย ที่แสดงตัวเป็นองค์ประชุม 3 คนนั้น กรณี คุณพลภูมิ เราไม่แปลกใจ เพราะเข้าใจและทราบมาก่อนว่า เขามีบุญคุณต่อกันเรื่องคดีก่อนหน้านี้ มีคดีชี้เป็นตายทางการเมือง จนอาจจะต้องย้ายพรรคอยู่แล้ว ส่วนที่เหลืออีก 2 คน ท่านขจิตร กับคุณพรพิมล ถือว่าผิดคาด เราจึงยังต้องรอฟังเหตุผลของเขาก่อน” สุทิน คลังแสง ประธานวิปฝ่ายค้าน ระบุ

ไม่เพียงเท่านั้น “วิชาญ มีนชัยนันท์” ประธานภาค กทม. พรรคเพื่อไทย ยังออกมาอุ้ม “พลภูมิ” อีกว่า ได้รู้จัก “พลภูมิ” และครอบครัวมานาน ตั้งแต่ “พลภูมิ”เริ่มเข้าการเมืองมาเป็นผู้ช่วย ส.ส.ของตนเอง และไปเป็น ส.ก. จนเป็น ส.ส. ซึ่ง “พลภูมิ”และครอบครัวเป็นคนมีฐานะ มีเหตุผล ไม่เคยสนใจเรื่องผลประโยชน์เงินทอง ดังนั้นการจะบอกว่าที่ช่วยรัฐบาลเพราะผลประโยชน์เงินทางตัดทิ้งไปได้เลย สาเหตุคงมาจากเรื่องอื่นมากกว่า

คำถามจึงมีอยู่ว่า อะไรที่เป็นเบื้องหน้าเบื้องหลังที่ทำให้พรรคเพื่อไทยต้องยกเว้นให้”พลภูมิ”ไปช่วยฝั่งรัฐบาลได้ และที่”สุทิน”บอกว่า เขามีบุญคุณต่อกันเรื่องคดีก่อนหน้านี้ มีคดีชี้เป็นตายทางการเมือง จนอาจจะต้องย้ายพรรคอยู่แล้ว”มันคือคดีอะไร

ว่ากันตามจริง ปมเบื้องหลังของ”พลภูมิ”กับ “ผู้มีบุญคุณในรัฐบาล”นั้น คนในเพื่อไทยรู้กันหมดมานานแล้วตั้งแต่ “พลภูมิ”ถูกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ป.ป.ช. ชี้มูลความผิด ฐานจงใจปกปิดบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน เป็นรายการบัตรเครดิตประมาณ 2.2 แสนบาท และเงินฝากในบัญชียอดรวมประมาณ 1.6 หมื่นบาท

ท้ายที่สุดคดีนี้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีคำพิพากษา ยกคำร้องไปเมื่อ 12ก.ย.ที่ผ่านมา โดยเห็นว่า ป.ป.ช. ไม่สามารถนำตัวผู้ถูกกล่าวหามาส่งศาลภายในระยะเวลา 5 ปี ตามที่กฎหมายกำหนด ทำให้คดีขาดอายุความ

ซึ่งการหลุดพ้นคดีดังกล่าวนั้นแหล่งข่าวในพรรคเพื่อไทยได้ระบุว่า “พลภูมิ”ได้มาสารภาพกับแกนนำของพรรคเพื่อไทยถึงการต่อสู้คดีดังกล่าวจนชนะ เพราะมีบิ๊กในรัฐบาลคนหนึ่งได้ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ โดยมีเงื่อนไขต้องแลกกับการที่ต้องไปอยู่กับฝ่ายรัฐบาล ซึ่ง”พลภูมิ”ไม่มีทางเลือก

“เมื่อเขาหลุดคดี เขาจึงต้องทำตามสัญญา วันที่เขามาสารภาพ เขาต้องหลั่งน้ำตา คนในพรรคเพื่อไทยก็ช่วยอะไรเขาไม่ได้ เพราะถ้าเขาแพ้คดีอาจต้องติดคุกและหลุดจากเก้าอี้ส.ส.หมดอนาคตทางการเมือง เมื่อมีผู้ใหญ่เขาเสนอเงื่อนไขจะช่วย จึงไม่มีทางเลือก ทุกคนจึงเข้าใจ”แหล่งข่าว ระบุ

สำหรับ”บิ๊กในรัฐบาลคนนั้นเป็นใคร คนเพื่อไทยรู้จักกันดี !!!

ทั้งหมดนี้จึงเป็นที่มาว่าทำไม”พลภูมิ”ถึงได้รับข้อยกเว้นเป็นกรณีพิเศษในพรรคเพื่อไทย !

“ม็อบเสื้อส้ม” สัญญาณวิกฤตรอบใหม่ #ศาสตร์เกษตรดินปุ๋ย

#ศาสตร์เกษตรดินปุ๋ย : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์

https://www.posttoday.com/politic/analysis/609767

  • วันที่ 21 ธ.ค. 2562 เวลา 17:51 น.

“ม็อบเสื้อส้ม” สัญญาณวิกฤตรอบใหม่

โดย…ชัยฤทธิ์ ยนเปี่ยม

**************************

“แฟลซม็อบ”ที่ปลุกโดย ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ถือเป็นม็อบการเมืองแรกที่เกิดขึ้นหลังการเลือกตั้ง จากกลุ่มฝ่ายต่อต้านรัฐบาล คสช. ที่แสดงความไม่พอใจต่อการชงให้มีการยุบพรรคอนาคตใหม่ โดยมีทุนเดิมจากกระแสต่อต้านการรัฐประหารปี 2557

ตัวเร่งเร้าที่จะทำให้ม็อบเสื้อส้มของ ธนาธร จุดติด คือ คดียุบพรรคพรรคอนาคตใหม่ ขณะนี้อยู่ในมือ ศาลรัฐธรรมนูญหลังคณะกรรมการการเลือกตั้งส่งเรื่องให้วินิจฉัยยุบพรรค จากปม ธนาธรให้เงินกู้ 191 ล้านบาท เข้าข่ายนิติกรรมอำพราง ฝ่าฝืน พรบ.พรรคการเมือง คาดว่า ปลายปีนี้ ศาลรัฐธรรมนูญจะประชุมว่าจะรับพิจารณาหรือไม่ แต่หลายฝ่ายแม้แต่พรรคอนาคตใหม่ เชื่อว่า ศาลรัฐธรรมนูญจะรับคำร้องและมีแนวโน้มที่จะถูกยุบพรรค เพราะมองว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดนี้มาจากการแต่งตั้งในยุคคสช.

มีความเป็นไปได้สูง ที่ “ม็อบเสื้อส้ม” จะกลับมารวมตัวอีกครั้งในต้นเดือน ม.ค. ที่คาดว่า คดียุบพรรคจะได้ข้อยุติจากศาลรัฐธรรมนูญ ธนาธร ประกาศแล้วว่า เขาจะไม่ทนอีกต่อไป ถ้ามีการยุบพรรคเกิดขึ้น และจะพามวลชนกดดันนอกสภาเพราะเห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม และถูกกลั่นแกล้งจากกลไกของ คสช.

ถึงแม้ พรรคอนาคตใหม่ ยังมีทางออก หากถูกยุบพรรค โดย ส.ส.ของพรรค สามารถย้ายพรรคไปอยู่พรรคใหม่ได้ภายใน 60 วัน ทว่า การยุบพรรคทำให้พรรคอ่อนแอ โดยเฉพาะเพราะบทลงโทษที่ห้าม คณะกรรมการบริหารพรรคทั้งหมด ซึ่งก็รวมถึง คีย์แมนของพรรค “ธนาธร -ปิยบุตร –พรรณิการ์” เล่นการเมืองเป็นเวลา 10 ปี

มีคำถามว่า แล้วแฟลซม็อบเสื้อส้มของธนาธร จะจุดติด หรือไม่ ถ้าจัดชุมนุมปีหน้า?

คำตอบ คือ น่าจะจุดติด คนร่วมเยอะ แต่จะชุมนุมต่อเนื่อง ขับไล่รัฐบาลอย่างที่ธนาธร ปลุกอยู่ได้หรือไม่ ยังตอบยาก อยู่ที่การกระทำของรัฐบาลอีกด้านหนึ่งด้วย เหตุผล คือ

1.ธนาธร มีกองเชียร์จำนวนมาก ไม่เฉพาะฐานเสียงของ พรรคอนาคตใหม่ 6.2 ล้านคนทั่วประเทศ โดยเฉพาะคนหนุ่มสาว คนรุ่นใหม่ ยังรวมถึงฝ่ายตรงข้าม คสช.ทั้งหมด ประกอบด้วยม็อบเสื้อแดงที่สนับสนุนทักษิณ และพรรคเพื่อไทย ซึ่งยังคับแค้นใจรัฐประหารเมื่อปี 2557 ทำให้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ต้องพ้นจากอำนาจ

2. ในกรณีหากผลสุดท้ายมีการยุบพรรคพรรคอนาคตใหม่จริง ก็เชื่อว่า จะมีมวลชนที่พร้อมออกมาสู้กับธนาธรอย่างสุดตัว เพราะคดีเงินกู้นี้ ยังมีความกำกวมว่า ผิดหรือไม่ และถ้าผิด เป็นเหตุที่ควรเป็นโทษสูงสุด ยุบพรรคขนาดนั้นหรือแม้เหตุผลในการปลุกม็อบของธนาธร ดูจะเป็นการปกป้อง ประโยชน์ ส่วนตัวจากคดีความที่เป็นผลจากเจ้าตัวทำขึ้น ทั้ง การปล่อยกู้พรรค และคดีถือหุ้นสื่อที่ธนาธร ต้องพ้นจากการเป็น สส. แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า หัวใจของเรื่องก็มีปมลึกๆ ที่สะท้อนว่า ตกเป็นเป้าถูกกลั่นแกล้ง รวมถึง กติกาจาก รัฐธรรมนูญที่เอื้อประโยชน์ให้ฝ่ายรัฐบาล คสช. และสกัดฝ่ายตรงข้าม ขนาดผลการเลือกตั้งที่ผ่านมา พรรคเพื่อไทยชนะที่ 1 แต่ก็ไม่เป็นตั้งรัฐบาลหรือได้เป็นนายกรัฐมนตรี เพราะการออกแบบรัฐธรรมนูญที่สกัดทุกวิถีทาง จึงเป็นเชื้อความไม่พอใจที่ยังมีอยู่กับฝ่ายต่อต้านคสช.ตลอดเวลา

3.ม็อบจะจุดติดหรือไม่ ต้องเกิดจากปัจจัยภายในรัฐบาลเองด้วย เช่น จากปัญหาความขัดแย้ง การจัดสรรผลประโยชน์ในรัฐบาลไม่ลงตัว การส่อทุจริตคอรัปชั่นที่คาดว่า จะต้องเกิดขึ้นแน่ หลังรัฐบาลบริหารประเทศไปได้ระยะเวลาหนึ่ง โดยเฉพาะรัฐบาลประยุทธ์มีความขัดแย้งตั้งแต่ก่อนตั้งรัฐบาล หรือ ในการลงมติในสภาครั้งสำคัญ ก็มีข่าวกระเซ็นกระสายเรื่องการแจกกล้วยผลประโยชน์ให้กับ สส.พรรคเล็ก

ภายในพรรครัฐบาล ทั้งพรรคพลังประชารัฐ และพรรคร่วมรัฐบาล 18 พรรค ก็เกิดปัญหาแย่งชิงเก้าอี้รัฐมนตรี ทะเลาะข้ามพรรคเร็วกว่าทุกรัฐบาล หากเกิดปัญหาทุจริต ใช้อำนาจเพื่อพวกพ้อง และเศรษฐกิจแย่ ซึมยาวข้ามปี กระทบชาวบ้านอย่างที่เป็นอยู่ ยิ่งทำให้คนกลางๆ ไม่พอใจรัฐบาลมากขึ้น จนทำให้ฝ่ายต่อต้านมีน้ำหนักในการกดดัน ขับไล่รัฐบาล ปัจจัยหลังที่กล่าวมานี้น่าห่วงสุด และมีโอกาสเกิดขึ้นได้สูง

อย่างไรก็ตาม หาก ธนาธร จัดม็อบเสี้อส้มขึ้น ก็มีความเสี่ยงจะเกิดการเผชิญหน้า และความรุนแรงได้ทุกเมื่อ

อย่าลืมว่า คนกรุงเทพเบื่อม็อบการเมืองในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ปี 2549 เกิดม็อบเสื้อสี มาแล้วสามรุ่น ผลัดกันทำสงครามกลางถนนไล่รัฐบาลกันคนละฝ่าย เกิดความรุนแรง บาดเจ็บ ล้มตายจำนวนมาก กระทบกับความสงบสุข ละเมิดสิทธิเสรีภาพ ประเทศเกิดปัญหาเศรษฐกิจ ทำให้คนชั้นกลางจำนวนมาก หันไปสนับสนุนการรัฐประหาร เป็นเหตุให้ พล.อ.ประยุทธ์ ดำรงอยู่ในอำนาจได้นานถึงเกือบ 6 ปีและก็ยังพอใจให้อยู่ในอำนาจต่อไปอีกหากแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้

ถ้า “ธนาธร” มุ่งเดินการเมืองนอกสภา ควบคู่กับการเล่นการเมืองในสภา หลังจากได้พรรคใหม่ให้ ส.ส.พรรคอนาคตใหม่ย้ายเข้าสังกัด กรณีถูกยุบพรรคจะถูกกล่าวหาได้ว่า ไม่เคารพระบบรัฐสภาตามวิถีประชาธิปไตยที่มีผู้แทนประชาชนนั่งทำหน้าที่ ทั้งที่ยังมีพรรคฝ่ายค้านที่เข้มแข็งตรวจสอบรัฐบาล

บทเรียนจากแกนนำเสื้อเหลือง เสื้อแดง และ ม็อบกปปส. ที่ผ่านมา ตอกย้ำให้เห็นว่า ถ้าเกิดม็อบขึ้น พึงระวัง “มือที่สาม” ที่คอยจ้องสร้างสถานการณ์ให้เกิดความรุนแรงเพื่อให้เกิดความวุ่นวายจะได้”เซ็ทซีโร่” ส่วนผู้ร่วมชุมนุมด๋ตกเป็นเหยื่อ บาดเจ็บ ล้มตาย ติดคุก ผลสุดท้ายก็ไม่ได้ผลที่แกนนำม็อบต้องการ หากแต่เปิดทางให้กองทัพยึดอำนาจอีกรอบ

การเผชิญหน้าจึงมีโอกาสเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา จากประชาชนอีกฝ่ายที่ไม่พอใจ ขณะที่พรรครวมพลังประชาชาติไทยของสุเทพ เทือกสุบรรณ ก็อุ่นเครื่อง ปลุกประชาชนให้เกลียดลัทธิชังชาติพุ่งไปที่ฝ่ายธนาธรโดยใช้ประเด็นล่อแหลมที่จุดติดง่ายๆ ว่า จาบจ้วง ไม่เอาศาสนา วัฒธรรม ประเพณี ไม่ยอมรับคำตัดสินศาล ซึ่งประเมินแล้ว ก็ยิ่งสร้างความเกลียดชังแตกแยกในสังคมมากขึ้น

สัญญาณความขัดแย้งบนท้องถนนเริ่มปรากฎให้เห็น สงครามกีฬาสี จากม็อบเหลือง ม็อบแดง หรือจะตามด้วยม็อบส้ม คราวนี้อาจจะรุนแรงกว่าเดิมก็เป็นได้

20พ.ย.ลุ้นระทึกคดี “ธนาธร” โดมิโนสู่ยุบพรรคอนาคตใหม่?

ศาสตร์เกษตรดินปุ๋ย : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์

https://www.posttoday.com/politic/report/606156

  • วันที่ 12 พ.ย. 2562 เวลา 19:13 น.

20พ.ย.ลุ้นระทึกคดี "ธนาธร" โดมิโนสู่ยุบพรรคอนาคตใหม่?

โดย…ชัยฤทธิ์ ยนเปี่ยม , เอกราช สัตตะบุรุษ

************************************

20 พ.ย.นี้เป็นนัดสำคัญ ที่ศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำตัดสินชี้ชะตา “ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ” หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ว่าจะต้องสิ้นสภาพส.ส.หรือไม่ ความน่ากังวล คือ คดีนี้อาจเป็นโดมิโน่ตัวเดียวที่สะเทือนไปถึงพรรคอนาคตใหม่

คดีดังกล่าวมาจากคำร้องคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ส่งเรื่องให้ศาลรธน.วินิจฉัยว่า “ธนาธร” ต้องสิ้นสภาพการเป็น สส. ตามรัฐธรรมนูญ เนื่องจากถือหุ้นสื่อ บริษัทวี-ลัค มีเดีย จำกัด เข้าลักษณะต้องห้ามในการสมัครรับเลือกตั้ง หลังจากคดีนี้ใช้เวลาสอบสวนในชั้นของ กกต.และศาลรธน.รวม 8 เดือน

สถานการณ์ของ อนค.ปัจจุบัน นับได้ว่า ประสบมรสุมรุมเร้ามากมายในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา บ้างว่า เป็นช่วงขาลงที่หนักหน่วงที่สุด นับตั้งแต่ก่อตั้งพรรคหลังชนะเลือกตั้งเขย่าการเมืองไทย จากคดีความจำนวนมากกลายเป็นตำบลกระสุนตก บวกกับปัญหาความขัดแย้งภายในพรรค ที่สมาชิกพรรคและอดีตผู้สมัคร สส.ของพรรค แห่ยื่นลาออกรวม 120 คน พร้อมกับออกมาแฉความไม่เป็นประชาธิปไตยในพรรค มีการแบ่งชนชั้นวรรณะ แต่งตั้งพวกพ้อง เข้าไปเป็นผู้ช่วย สส. กินเดือนหลวงหลายตำแหน่ง

อีกประเด็น คือ หลังพรรคอนาคตใหม่ ลงมติคัดค้านการออกพระราชกำหนดโอนกำลังพลเป็นของส่วนพระองค์ ซึ่งสวนทางกับ 6 พรรคฝ่ายค้านด้วยกัน จนเกิดเสียงแตกในพรรคที่มี 7 ส.ส.แหกมติพรรค เป็นแรงกระเพื่อมระลอกใหญ่ภายในพรรค

หากดูคดีความที่เกิดกับอนาคตใหม่จนถึงขณะนี้มีมากรวม 20 คดี แยกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ 1.กลุ่มคดีที่เกิดกับแกนนำพรรคทั้ง “ธนาธร-ปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการพรรค-พรรณิการ์ วานิช โฆษกพรรค” และ 2.คดีที่พรรคถูกฟ้องโดยตรง

คดีที่หนักที่สุดที่อาจทำให้พรรคอนาคตใหม่สั่นคลอน เห็นจะเป็น คดี “ธนาธร” ปล่อยเงินกู้ให้พรรคอนาคตใหม่ 100 ล้าน คดีที่ครอบครัว “ธนาธร”บริจาคให้พรรคเกิน 10 ล้านบาท ที่ถูกร้องว่า หลบเลี่ยง พรบ.พรรคการเมือง ทั้งสองคดีมี “ศรีสุวรรณ จรรยา” เป็นผู้ยื่นเรื่องต่อกกต.ให้เอาผิดกับพรรคอนาคตใหม่ ข้อหาผิดพรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ซึ่งหากผิดจริงนำไปสู่การยุบพรรค รวมถึงยังมีคำร้องของ “ณฐพร โตประยูร” อดีตที่ปรึกษาประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน กล่าวหาพรรคอนาคตใหม่เป็นปฏิปักษ์และล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่ศาลรธน.รับคำร้องไว้พิจารณาแล้ว

ก่อนหน้นี้ “ปิยบุตร” ชี้แจงผ่านเฟสบุ๊คพรรคว่า น่าแปลกเพราะพรรคยังไม่ได้มีอำนาจบริหารราชการแผ่นดิน แต่กลับมีคดีความมากถึง 20 คดี ท่ามกลางความเชื่อเต็มไปหมดว่าจะถูกยุบพรรค ตัดสิทธิ จำคุก

“ผมอยากถามกลับไปตรงๆ ว่าทุกคนรู้สึกว่าพรรคอนาคตใหม่ทำผิดกฎหมายจริงๆ หรือที่เราถูกกระทำทั้งหมดนี้ เป็นเพียงเพราะเรามีแนวทางที่ทำให้ผู้มีอำนาจไม่สบายใจ”

ปิยบุตร ระบุว่า กรณีหุ้นสื่อที่ “ธนาธร”โดนอยู่นี้ ท้ายที่สุดแล้วรัฐธรรมนูญมาตรานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อมิต้องการให้ ส.ส. หรือรัฐมนตรีมีอิทธิพลในการครอบงำสื่อ ฉะนั้นต้องดูว่ากิจการที่ถือหุ้นนั้นเป็นสื่อหรือไม่ และการถือหุ้นนั้นมีมากน้อยเพียงใดถึงขั้นมีอิทธิพลครอบงำสื่อ บริษัท วี-ลัค มีเดีย ไม่ได้เป็นสื่อมวลชน เป็นเพียงบริษัทที่รับจ้างผลิตรูปเล่ม ไม่ได้กำหนดเนื้อหา และก็ปิดกิจการเรียบร้อย อีกทั้งธนาธรก็ได้โอนหุ้นไปหมดตั้งแต่ 8 มกราคม แต่ “ธนาธร”กลับถูกเล่นงานตามมาตรานี้

ขณะที่ “ธนาธร” กล่าวว่า คดีถือหุ้นสื่อไม่ได้เกี่ยวกับอะไรกับการยุบพรรค เป็นแค่นายธนาธรมีคุณสมบัติเป็น ส.ส.หรือไม่ แล้วคดีที่มีอยู่ทั้งหมดจะนำไปสู่การยุบพรรคได้ก็ยากมาก เพราะการยุบพรรคจะเขียนไว้ชัดเจนว่าจะต้องมีกรณีใดบ้าง

“ดังนั้นเราเชื่อมั่นว่าคนที่พูดเรื่องยุบพรรค สื่อมวลชน หรือคนไม่หวังดีพูดเรื่องยุบพรรคมีเป้าประสงค์ทางการเมืองเพื่อทำให้คนไม่กล้ามาร่วมงานกับพรรคอนาคตใหม่ เพื่อที่จะทำให้ส.ส.ของเราหวั่นไหวลังเลจะ ได้มีการซื้อกันได้ง่ายมากขึ้น” ธนาธร กล่าว

รศ.ยุทธพร อิสรชัย คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มองว่า แม้พรรคอนาคตใหม่จะปัญหาหายในพรรค แต่ก็ยังไม่เป็นขาลง และไม่น่ากังวล เพราะเป็นธรรมชาติของพรรคการเมืองในช่วงเปลี่ยนผ่านที่จะนำไปสู่ความเป็นสถาบันทางการเมือง หลายพรรคเจอปรากฏการณ์แบบนี้มาตลอด พรรคประชาธิปัตย์ก็มีกลุ่ม 10 มกราฯ ที่ต่อมากลายเป็นพรรคประชาชน หรือการรวมตัวกันของนักการเมืองพรรคชาติพัฒนา พรรคชาติไทย และพรรคพลังธรรม ในนามกลุ่ม16 เมื่อปี 2535 หรือจะเป็นสมัยพรรคไทยรักไทย ก็มีหลายกลุ่มที่แตกตัวออกมาเป็นพรรคการเมืองต่างๆ

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าห่วง คือ การตัดสินในวันที่ 20 พ.ย. หากผลออกมาในทางไม่ดีกับนายธนาธร ก็อาจจะนำไปสู่การยุบพรรคได้ แล้วมีการตัดสิทธิ์กรรมการบริหารพรรคได้ เมื่อถึงตอนนั้นอาจเรียกได้ว่าเป็นขาลง

“พรรคอนาคตใหม่เกิดขึ้นเร็วกว่าพรรคการเมืองอื่นๆ เพียงปีกว่าๆ แต่ยกระดับขึ้นมาเป็นพรรคขนาดใหญ่ ก็เลยทำให้ทุกอย่างมันเกิดขึ้นเร็ว การรักษาสถานการณ์พรรคอนาคตใหม่ของแกนนำ นอกจากต้องทำให้บรรยากาศในพรรคไม่มีแรงกระเพื่อมมากแล้ว ต้องเตรียมการรองรับเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการถูกยุบพรรค แล้วบรรดาแกนนำที่ถูกตัดสิทธิ์การเมืองจะเดินหน้าการเมืองต่อไปอย่างไร แล้วคนที่ไม่ถูกตัดสิทธิ์จะทำอย่างไร จะไปอยู่พรรคใหม่อย่างไร เป็นสิ่งที่ต้องเตรียมความพร้อม” รศ.ยุทธพร กล่าว

ทั้งนี้หากในอนาคตพรรคอนาคตใหม่ถูกยุบ ส.ส.ของพรรคยังสามารถเข้าไปสังกัดพรรคใหม่ได้ภายใน 60 วัน ตามมาตรา 101 ของรัฐธรรมนูญ ตรงนี้ก็ถือว่าสมาชิกภาพการเป็นส.ส.ยังคงอยู่

เขากล่าวว่า หากพรรคอนาคตใหม่ยังคงรักษาสถานภาพต่อไปได้ ก็มีความเป็นไปได้ที่พรรคจะเติมโตขึ้นมาเทียบเคียงหรือเหนือกว่าพรรคเพื่อไทย หรือถึงขั้นมาแทนพรรคเพื่อไทยนั้น เพราะเป็นผลผลิตของการเปลี่ยนแปลงยุคสมัย ที่สะท้อนภาพให้เห็นแล้วว่าหากพรรคการเมืองใดที่มีอุดมการณ์ที่สอดรับกับสถานการณ์ปัจจุบัน ก็เป็นที่นิยมชมชอบด้วยกันทั้งนั้น

รศ.ยุทธพร กล่าวว่า ในส่วนของพรรคเพื่อไทย เชื่อว่า จะยังไม่ได้หายไป เพราะมีฐานเสียงส.ส.แบบเขตอยู่ ซึ่งเหนียวแน่นพอสมควร แต่พรรคอนาคตใหม่เองมีจุดอ่อนที่ไม่มีส.ส.แบบเขตเลือกตั้งที่เข้มแข็งเท่าไหร่ ซึ่งต้องพัฒนาในจุดนี้

“ที่สำคัญการที่พรรคอนาคตใหม่ดำเนินงานทางการเมืองในช่วงที่ผ่านมา ในลักษณะเหมือนวัยรุ่นใจร้อน ไม่ว่าจะเป็นการพิจารณากฎหมาย หรือการอภิปรายในสภา ก็จะมีผลต่อการดำรงอยู่ของพรรคอนาคตใหม่ด้วย ซึ่งแนวทางของพรรคอนาคตใหม่คือเขาต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ต้องการการเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้างของแวดวงการเมืองด้วย ซึ่งต้องเข้าใจว่าแวดวงการเมืองไทยฝ่ายที่เป็นอนุรักษ์นิยมก็มีอยู่ไม่น้อย ซึ่งทางพรรคอนาคตใหม่ต้องเผชิญกับเสียงวิพากวิจารณ์กับอุดมการณ์ของตัวเองแน่นอน ในส่วนนี้พรรคอนาคตใหม่จะต้องปรับตัวในการทำงานการเมืองใหม่ ต้องมีความสุขุมนุ่มลึกมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงทุกต้องรออย่างใจเย็น จะให้ทันทีทันใดไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับสังคมไทย เพราะหากใช้กลยุทธ์แบบเดิม โอกาสที่จะถูกต่อต้านจะมีสูงมาก” รศ.ยุทธพร กล่าว

“สติธร ธนานิธิโชติ” นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญเรื่องการเมือง สถาบันพระปกเกล้า กล่าวว่า คดีถือหุ้นสื่อของ “ธนาธร” ถ้ามองผลในทางบวก ก็คือ “ธนาธร” พ้นจาก ส.ส. แค่สมัยนี้ แล้วกลับมาลงเลือกตั้งใหม่ได้สมัยหน้า แต่ถ้าแบบเลวร้ายที่สุด “ธนาธร” มีความผิดพ้นจาก ส.ส. และคำวินิจฉัยโยงความผิดในฐานะหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ที่จะต้องรับผิดชอบเซ็นรับรองผู้สมัคร สส. ด้วย ตรงนี้ก็สุ่มเสี่ยงผิด พรบ.ประกอบรธน.ว่าด้วยพรรคการเมือง ก็จะนำไปสู่ฟ้องยุบพรรคตามมาอีก ซึ่งจะต้องมีผู้ฟ้องต่อ กกต. และส่งให้ศาลรธน.วินิจฉัยยุบพรรคอีกครั้ง ส่วนความผิดยุบพรรคนั้น คณะกรรมการบริหารพรรค 16 คน รวมถึง “ปิยบุตร” จะต้องถูกเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้งซึ่งแม้รธน.ไม่ได้เขียนว่า กี่ปี แต่ศาลอาจเทียบเคียงกับคดียุบพรรคไทยรักษาชาติที่ถูกยุบไปก่อนหน้านี้ ที่เพิกถอนสิทธิ์ กรรมการบริหารพรรค 10 ปี

สิ่งที่จะวุ่นตามมาอีก คือ กรณี ส.ส.อาจย้ายพรรคได้ แต่ผู้ที่เป็นกรรมการบริหารพรรคและควบตำแหน่ง ส.ส.ด้วยจำนวน 16 คนจะไม่สามารถย้ายพรรคได้ และกรณี ส.ส.บัญชีรายชื่อของพรรคอนาคตใหม่ ที่ย้ายพรรค จะคำนวณอย่างไรไปอยู่ในส่วนไหนกับพรรคใหม่

“สติธร” ประเมินคดีที่หนักที่สุดกับอนาคตใหม่ คือ คดีกล่าวหาล้มล้างหรือ เป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่ศาลรธน.รับคำร้องไปแล้วเพราะขั้นตอนยุบพรรคทำได้ทันทีหากศาลมีคำสั่ง ขณะที่ คดีเงินกู้ 100 ล้าน หรือ คดีเงินบริจาค ถ้าจะเข้าสู่การยุบพรรค ต้องทำถึงสองขยัก

ชะตากรรมของ “ธนาธร”และพรรคอนาคตใหม่จะไปสู่ทิศทางใด อีกไม่นานจะได้รู้กัน

“สุรชาติ” มองการเมืองหลังเลือกตั้ง เดินหน้า 1 ก้าว แต่ถอยหลัง 3 ก้าว

ศาสตร์เกษตรดินปุ๋ย : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์

https://www.posttoday.com/politic/report/605696

  • วันที่ 07 พ.ย. 2562 เวลา 15:36 น.

“สุรชาติ” มองการเมืองหลังเลือกตั้ง เดินหน้า 1 ก้าว แต่ถอยหลัง 3 ก้าว

โดย…ชัยฤทธิ์ ยนเปี่ยม

****************************

แม้จะผ่านการเลือกตั้งและมีรัฐบาลใหม่ชุดแรกหลังการรัฐประหาร 5 ปี  แต่สถานการณ์การเมืองไทยยังติดหล่มกับความขัดแย้ง หลายฝ่ายเป็นห่วงว่า ความตรึงเครียดทางการเมืองที่ยังคุกกรุ่น จะขยายวง แบ่งขั้วหนักขึ้น บวกกับช่องว่างความขัดแย้งใหม่ระหว่างคนรุ่นหนุ่มสาว กับคนสูงวัยจะก่อให้เกิดวิกฤตอีกระลอก

 

2 ขั้ว“อนุรักษ์นิยม-เสรีนิยม” ขับเคี่ยว

ระบอบกึ่ง คสช. เติมเชื้อขัดแย้ง

ศ.สุรชาติ บำรุงสุข อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้สัมภาษณ์พิเศษ โพสต์ทูเดย์ว่า  หากมองในปัจจุบันและระยะยาว การเมืองไทยแทบไม่เปลี่ยนจากเดิม คือ เป็นการต่อสู้ระหว่างปีกเสรีนิยมและอนุรักษ์นิยม เพียงแต่ในแต่ละช่วงเวลา แต่ละปีกอาจมีองค์ประกอบแตกต่างออกไป ครั้งนี้สิ่งที่แตกต่างจากอดีต คือ มีมือใหม่ๆ เช่น โซเชียลเข้ามามีบทบาท ขณะเดียวกัน ก็มีบริบทของสถานการณ์ใหม่ๆ เข้ามาเป็นองค์ประกอบ  และยิ่งเห็นการออกแบบโครงสร้างทางการเมืองไทยหลังการเลือกตั้ง 2562 ยิ่งตอกย้ำชัดว่า การเมืองไทยถอยหลังมากกว่าที่คิด

“ระบอบที่เกิดขึ้นหลังการเลือกตั้งมีนาคม 2562 ไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบเหมือนยุคพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ปี 2521-2522 อย่างที่พูดกัน แต่มันเป็นเผด็จการครึ่งใบ เพราะคงโครงสร้างของอำนาจและคณะรัฐประหารไว้ ทำให้ขบวนของฝ่ายค้านทั้งหมดแทบจะไม่สามารถมีอิทธิพลหรือบทบาททางการเมืองได้”

ในมุมอาจารย์สุรชาติ การเมืองไทยในอนาคต จึงยังมีความน่ากังวล ทั้งจากตัวกลไกในรัฐธรรมนูญ เงื่อนไขต่างๆ เช่น สว.เลือกนายกรัฐมนตรีได้  การมียุทธศาสตร์ชาติ กลไกกอ.รมน. และ บทบาททหารหลังการเลือกตั้ง ดังนั้น โอกาสที่การเมืองไทยจะพัฒนาค่อนไปทางเสรีนิยมจึงยากมาก ไม่ต้องไปคิดเรื่องการจะสร้างประชาธิปไตย  โจทย์เฉพาะหน้าตอนนี้ คือ จะทำอย่างไรให้ความเข้มข้นของระบอบอำนาจนิยมที่มาจากรัฐประหารแล้วแฝงมากับการเลือกตั้งลดทอนลงได้ ซึ่งปัจจุบันเรามาถึงขนาดนี้แล้ว

สำหรับฝ่ายค้าน พรรคเพื่อไทยและพรรคอนาคตใหม่ แม้ดูมีพลัง เพราะมีเสียงในสภาใกล้รัฐบาล แต่นักวิชาการท่านนี้ มองว่า การที่ฝ่ายค้านอยู่ภายใต้กลไกรัฐธรรมนูญ ให้ สว.เลือกนายกฯ หรือ ยุทธศาสตร์ชาติที่ร่างจากรัฐบาลคสช.  ฝ่ายค้านก็ไม่สามารถผลักดันนโยบายได้

“ผมคิดว่า ระบอบปัจจุบัน คือ ระบอบ กึ่งคสช. ซึ่งมีเพียงอำนาจจากมาตรา 44 เท่านั้นที่หายอย่างอื่นไม่ได้หายด้วย เมื่อไม่หาย การเมืองไทยในช่วงข้างหน้า มันจะเป็นการต่อสู้ในสภาที่เข้มข้น  ถ้าถามผม มันเป็นข้อดี เพราะไม่ทำให้การเมืองไหลลงท้องถนน การแก้ด้วยระบบรัฐสภานั่นแหละเป็นความหวัง ขณะเดียวกัน ถ้ากลไกที่ถูกออกแบบโดยคสช. ยังเป็นอย่างนี้  ความขัดแย้งก็จะรุนแรงเหมือนกันเพราะฝ่ายค้านจะรู้สึกทันทีว่า ไม่สามารถฝ่าเงื่อนไขทางกฎหมายได้ เช่น ถ้าฝ่ายค้านชนะ ก็ไม่สามารถตั้งรัฐบาลได้ภายใต้สว.250 ที่มาจากรัฐบาลคสช. จึงเป็นจุดกังวลว่า การเมืองนอกสภามันยังถูกขับเคลื่อนอยู่” 

 

มรสุม อนค. เชื่อไม่รุนแรง

เชื่อได้กระแสสงสาร เพราะโดนกลั่นแกล้ง

พรรคอนาคตใหม่ที่มาแรงช่วงเลือกตั้ง มีคนรุ่นใหม่เป็นฐานสนับสนุน จะไปได้ไกลแค่ไหน ศ.สุรชาติ ซึ่งให้สัมภาษณ์เราก่อนวันเลือกตั้งซ่อม สส.นครปฐม บอกว่า ที่ผ่านมาพรรคอนาคตใหม่ชนะในจังหวัดที่มีมหาวิทยาลัย และเป็นพรรคของคนรุ่นใหม่ แต่โจทย์ใหญ่ต้องดูว่า พรรคนี้จะสามารถอยู่รอดกับกระแสนี้ได้นานแค่ไหน ตรงนี้ยังไม่กล้าตอบ

แล้วกระแสของอนาคตใหม่ต้องขึ้นอยู่กับอะไร?  “ถ้าตอบโจทก์แบบฝ่ายค้าน คือ ความเพลี่ยงพล้ำของรัฐบาล คือ คะแนนของฝ่ายค้าน ส่วนปัญหาของพรรค ทุกพรรคก็ล้วนมีปัญหาหมด ผมไม่เชื่อว่าปัญหาภายในอนาคตใหม่จะเป็นปัจจัยชี้ขาดเท่ากับ โอกาสที่ไม่สำเร็จของการรัฐบาลในการดำเนินนโยบาย”

มรสุมที่พรรคอนาคตใหม่เผชิญอยู่ทั้งคดีถือหุ้นสื่อนำมาสู่การพิจารณาคุณสมบัติ สส. ของธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ในศาลรัฐธรรมนูญ  หรือคดียุบพรรคอนาคตใหม่ จะเกิดผลลบต่อพรรคสีส้มแค่ไหน ศ.สุรชาติ ฟันธงว่า คงไม่ถึงขั้นรุนแรง เพราะถ้ายุบพรรค ส.ส.ก็ยังย้ายพรรคได้  ในมุมกลับคนอาจรู้สึกสงสาร การเมืองไทยปัจจัยเรื่องการสงสารเป็นเรื่องใหญ่เหมือนกัน ฉะนั้นปีกอนุรักษ์นิยมก็ต้องคิดด้วยว่า เล่นอย่างนี้อาจไม่คุ้มค่าเหมือนกัน เพราะถ้ากระแสสงสารเกิดในการเลือกตั้งครั้งหน้า อนาคตใหม่ก็อาจโตอีกแบบ

 

บิ๊กตู่อยู่ได้ด้วย snake farm

แต่จะลำบาก… ถ้าแก้ศก.เหลว

รัฐบาลเสียงปริ่มน้ำจะมีอายุยาวนานแค่ไหน  นักวิชาการรัฐศาสตร์ท่านนี้ ให้มุมคิดว่า รัฐบาลนี้ไม่จำเป็นต้องเข้มแข็ง อยู่ที่ความสามารถในการดึงพรรคเล็กเข้าร่วมมากกว่า  คล้ายกับรัฐบาลจอมพลถนอม ในปี 2512 ที่รัฐบาลไปดึงพรรคเล็กพรรคน้อยเอาไว้ใต้ปีก

“การอยู่รอดของรัฐบาลคือ การบริหารพรรคเล็ก บทเรียนจากจอมพลถนอมชี้ชัด คือ เมื่อถึงจุดหนึ่งพรรคเล็กของบพัฒนาจังหวัดมากขึ้นเรื่อยๆ  สุดท้ายรัฐบาลให้ไม่ได้  จอมพลถนอมก็ยึดอำนาจในปี 2514    ขณะที่ประวัติศาสตร์รัฐบาลผสมเอง ก็ไม่เคยถูกโค่นจากพรรคฝ่ายค้าน แต่ล้มจากเงื่อนไขภายในตัวเอง ดังนั้น คิดว่า รัฐบาลเสียงปริ่มน้ำ อาจจะอยู่ได้ คือ ด้วยการซื้องูเห่าจากฝ่ายค้าน หรือ snake farm  และต้องบริหารพรรคเล็กให้ได้ด้วย

อีกปัจจัยชี้ขาดรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ คือ การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ถ้าไม่สามารถตอบสนองต่อชนชั้นกลางได้ ซึ่งผู้สนับสนุนหลักของ คสช. ตลอด 5 ปีที่ผ่านมาส่วนใหญ่ล้วนเป็น urban middle class ที่เป็นอนุรักษ์นิยม

เขายกบทเรียน เหตุการณ์อาหรับสปริง สาเหตุหนึ่งที่คนออกมาชุมนุมขับไล่รัฐบาลคือ คนชั้นล่าง คนชั้นกลางเดือดร้อนจากการขึ้นราคาอาหาร บวกกับเงื่อนไขคนตกงานที่คนชั้นกลาง ได้รับผลกระทบหนักหน่วง แต่ของไทย จะออกเป็นอาหรับสปริงส์จนมาชุมนุมที่ท้องถนน หรือไม่ ตอบไม่ได้ เพราะในไทยยังมีตัวแปรอื่นอีก ดังนั้น โจทย์ที่ว่ารัฐบาลจะไปหรือไม่ ไม่ใช่แค่เรื่องการเมือง แต่เป็นปัญหาเศรษฐกิจด้วย

คนรุ่นใหม่จะมีพลังถึงขั้นเปลี่ยนแปลงการเมืองหรือไม่ ศ.สุรชาติ บอกว่า ประเด็นนี้ ผู้สื่อข่าวต่างประเทศก็มีคำถามเช่นกันว่า ถ้าคนรุ่นใหม่ของไทยไม่รับกับระบอบอำนาจนิยมนี้ ทำไมเราไม่เห็นภาพเหมือนฮ่องกงในกรุงเทพ อันนี้เป็นโจทย์ที่น่าสนใจในทางรัฐศาสตร์ ดังนั้น ต้องดูต่อไปว่า  บริบทอย่างนี้ของไทย สุดท้ายอาจเป็นแค่ การเปลี่ยนแปลงบางอย่าง แต่ไม่ถึงขั้น เป็นการเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ ใช่หรือไม่

“เวลาคนเสพโซเชียลมากๆ อาจตีความได้สองแบบ คนเสพโซเชียลในไคโรแบบอาหรับสปริง กับ ในฮ่องกง เสพแล้วลงถนน แต่ของไทยไม่ลงถนน แต่ไม่ได้บอกว่า ในอนาคตเขาจะไม่ลงถนนนะ แต่ระยะเวลาอาจจะทอดนานขึ้น”

 

ชี้ “บิ๊กแดง” ส่งเสียงถึงชนชั้นกลาง

พร้อมเป็นตัวแทน “ประยุทธ์”

บทบาทของ “บิ๊กแดง” พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผบ.ทบ. ที่ปรากฏเป็นตัวละครสำคัญที่ออกมาปลุกกระแสมีคอมมิวนิสต์ นักวิชาการและฝ่ายค้าน จ้องโค่นล้มสถาบันกำลังถูกจับตาว่า เป็นตัวตายตัวแทน พล.อ.ประยุทธ์ สำหรับ ศ.สุรชาติก็คิดเช่นกัน เขาบอกว่า การเปิดตัวของผบ.ทบ. คือ การขายภาพลักษณ์หรือ ทำไดเร็คเซลกับกลุ่มอนุรักษ์นิยม เป็นการส่งสัญญาณว่า ถ้าถึงจุดหนึ่งผู้นำสายอนุรักษ์นิยมไม่สามารถเดินต่อได้ ปีกนี้ก็จะมีตัวเลือกใหม่ คือ ผบ.ทบ. ที่กำลังเปิดขายโปรดักท์ตัวเองอยู่ว่า จะเป็นผู้นำคนใหม่ในอนาคต  ส่วนจะมาด้วยวิธีไหน การเมืองไทยมันฟันธงทุกอย่างไม่ได้

ทั้งหมด ศ.สุรชาติ สรุปว่า ระบอบการเมืองกึ่ง คสช. อย่างนี้  ไม่ตอบสนองต่อโจทย์เศรษฐกิจที่เรากำลังเผชิญอยู่  เช่น ใหญ่ที่สุดคือ ปัญหาสงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีนที่กระทบทั่วโลกรวมถึงไทย รวมถึง เราควรวางบทบาทในการพัฒนาเศรษฐกิจย่างไรที่จะสร้างความเชื่อมั่นเพราะวันนี้เวียดนามดูน่าสนใจกว่าไทย ขณะที่โอกาสของไทยไม่มีเลยทั้งความน่าลงทุน  ดังนั้น การเมืองต้องเปลี่ยน ใน 2 ประเด็น  คือ การสร้างความเชื่อมั่นและความชอบธรรม

“การเมืองไทยวันนี้เหมือนเดินหน้า 1 จังหวะ แต่ถอยหลังที 3-4 ก้าว มันทำให้โอกาสที่จะสร้างเสถียรภาพการเมืองในประเทศลำบาก กระทบต่อปัญหาการลงทุน การพัฒนาเศรษฐกิจในอนาคตก็ลำบากตาม  คำถามที่ผมขอฝากทิ้งท้ายคือ บทบาททหารในการเมืองไทย มันควรมีข้อยุติได้แล้วหรือยัง หรือ ต้องให้เขามาจัดการกับเราทุกอย่าง หรือ เราควรเอาการเมืองไปไว้ในสภา ยอมอดทนที่จะพัฒนามัน ไม่ควรเรียกร้องว่า ต้องจบเร็ว”  ศ.สุรชาติ กล่าวทิ้งท้าย

พปชร.ขวาง’อภิสิทธิ์’ได้ไม่คุ้มเสีย

ศาสตร์เกษตรดินปุ๋ย : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์

https://www.posttoday.com/politic/analysis/605888

  • วันที่ 09 พ.ย. 2562 เวลา 17:21 น.

พปชร.ขวาง'อภิสิทธิ์'ได้ไม่คุ้มเสีย

โดย…ชัยฤทธิ์ ยนเปี่ยม

***********************************

ประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 ที่ถูกโหมกระแสมาต่อเนื่องนับแต่ก่อนการเลือกตั้งจนถึงขณะนี้ จนหลายฝ่ายเกรงว่า อาจนำมาสู่ความขัดแย้งใหม่ ล่าสุด สภาฯได้บรรจุวาระพิจารณาญัตติแต่งตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้วซึ่งจะเข้าสู่การพิจารณาภายในเดือนนี้

ญัตติดังกล่าว ริเริ่มเสนอโดยพรรคประชาธิปัตย์ และพรรคเองก็ประกาศนโยบายแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นจุดยืนเดียวกับฝ่ายค้านเพราะมองว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้สร้างกลไกการสืบทอดอำนาจ และเนื้อหาไม่เป็นประชาธิปไตยหลายเรื่อง จนถึงขณะนี้มีเพียงพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) แกนนำรัฐบาลเพียงพรรคเดียว และ ฝ่ายสมาชิกวุฒิสภา ที่ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

กระนั้นก็ตามเพื่อไม่ให้ตกขบวนในญัตติตั้งคณะกรรมาธิการศึกษาแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พปชร.ยอมเสนอญัตตินี้มาประกบ เพราะเกรงว่า หากพรรคประชาธิปัตย์ไปจับมือกับฝ่ายค้านซึ่งมีจุดหมายเดียวกัน คือ การแก้ไขรัฐธรรมนูญก็จะรวมเป็นเสียงข้างมากในสภาที่จะตั้งกมธ.ชี้นำสังคมได้ ตามลำพัง โดยที่พปชร.หมดโอกาสเข้าไปคัดค้านสกัดกั้น

ถึงแม้การตั้งคณะกมธ.ชุดนี้ จะยังอีกไกลกว่าจะถึงขั้นตอนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะเป็นแค่ “การศึกษา” แต่ในทางการเมือง เท่ากับ “จุดไฟติด” และ “เริ่มนับหนึ่ง” ผ่านกระบวนการอันชอบธรรมทางระบบรัฐสภา อย่างไรก็ตาม พปชร.ดูจะกังวล จึงมีแผนส่งคนของตัวเองเข้ามาคุมเกมด้วยการเสนอชื่อ นายสุชาติ ตันเจริญ รองประธานสภาฯ จากพปชร. มานั่งเป็นประธานกมธ.ชุดนี้ เพื่อสู้กับ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกฯ ที่พรรคประชาธิปัตยมีมติสนับสนุนให้มาเป็นประธาน กมธ.

สำหรับ อภิสิทธิ์ โดดเด่นชัด เพราะประกาศจุดยืนต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญระหว่างนำทัพประชาธิปัตย์ช่วงหาเสียงเลือกตั้ง โดยเห็นว่า รัฐธรรมนูญนี้สร้างปัญหาและเป็นอุปสรรคในการสร้างประชาธิปไตย ก่อนที่เจ้าตัวจะเว้นวรรคการเมืองไปหลายเดือน เพราะแสดงสปิริตลาออกจากหัวหน้าพรรคและ ส.ส. หลังพรรคประชาธิปัตย์แพ้เลือกตั้ง

การกลับมาของอภิสิทธิ์รอบใหม่ รวมถึงพรรคประชาธิปัตย์ที่มีมติสนับสนุนอภิสิทธิ์เป็นประธานกมธ.ศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญ นับเป็นจังหวะ “ถูกที่” “ถูกเวลา” ยังช่วยดึงพรรคประชาธิปัตย์ให้กลับมาโดดเด่นในกระแสแก้ไขรัฐธรรมนูญ “ถูกที่” เนื่องจาก อภิสิทธิ์มีภาพชัดเรื่องจุดยืนแก้ไขรัฐธรรมนูญ เคยเป็นอดีตนายกรัฐมนตรี รู้กลไกต่างๆ โครงสร้างประเทศ มีความเป็นนักประชาธิปไตย และบทบาทแก้ไขรัฐธรรมนูญนี้ ถือว่าเป็นกลาง ไม่สุดขั้วไปทางฝ่ายค้านหรือรัฐบาล

“ถูกเวลา”เนื่องจากถึงจุดที่ต้องเริ่มนับหนึ่ง ไขกุญแจสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญได้แล้ว เพราะเริ่มเห็นปัญหาและผลจากการบังคับใช้รัฐธรรมนูญที่ออกแบบจนเกิดความไม่เป็นธรรมในกติกาการเมือง

ถามว่า มีความเป็นไปได้หรือไม่ ที่อภิสิทธิ์จะได้รับการสนับสนุนขึ้นมาเป็นประธานกมธ. คำตอบคือ ทุกอย่างจะจบทันทีหากพรรคของพล.อ.ประยุทธ์ สนับสนุน อภิสิทธิ์ แต่เมื่อพรรคพลังประชารัฐ ไม่ยอม ระแวงกลัวสูญเสียอำนาจ ต้อง “ยัน” กระแสแก้รัฐธรรมนูญไว้ให้นานที่สุดและคุมเกมในกมธ.ให้ได้ เมื่อส่งคนสู้ ต้องเกิดศึกภายในพรรครัฐบาลเพี่อชิงเก้าอี้ตัวนี้

แต่ พปชร.เองคงไม่เหมาะที่นำทัพแก้รัฐธรรมนูญเพราะได้ประโยชน์จากรัฐธรรมนูญฉบับนี้เต็มๆ อย่าลืมว่า พรรคประชาธิปัตย์มีความชัดเจนต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญจนกดดันให้พล.อ.ประยุทธ์ บรรจุเป็นนโยบายเร่งด่วนรัฐบาลสำเร็จ จึงควรให้พรรคประชาธิปัตย์ในฐานะพรรครัฐบาลด้วยกันเป็นเจ้าภาพเรื่องนี้

หากวิเคราะห์เสียงภายในกมธ. พรรคประชาธิปัตย์เองมีภาษีดีกว่า พปชร. เนื่องจาก ตำแหน่งประธานกมธ.จะมาจากการเลือกกันเองของกมธ.ซึ่งมีทั้งหมด 49 คนแบ่งเป็นฝ่ายค้าน 19 คน พรรคร่วมรัฐบาล 18 คน และโควต้าตรงของรัฐบาลอีก 12 คน

ว่าไปแล้ว เสียงสนับสนุน อภิสิทธิ์ ในกมธ.มากกว่า ซีก พปชร. เนื่องจากพรรคฝ่ายค้านทั้งหมดจะเทให้อภิสิทธิ์ เพื่อให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญเริ่มนับหนึ่งเดินได้ เพราะหากเสนอชื่อคนของฝ่ายค้านมาเป็นประธาน กมธ. ก็จะไม่ได้เสียงจากซีกรัฐบาลมาโหวตให้

ขั้ว อภิสิทธิ์ อาจได้เสียงจากพรรคภูมิใจไทยมาช่วย เพราะประชาธิปัตย์กับภูมิใจไทย เป็นมิตรกันเหนียวแน่น ตั้งแต่จับมือต่อรองเก้าอี้รัฐมนตรีกับ “บิ๊กตู่” ช่วงเข้าร่วมรัฐบาล พรรคประชาธิปัตย์กับภูมิใจไทย จะมีกมธ.รวม 8 คน ถ้ารวมกับฝ่ายค้าน ก็กลายเป็นเสียงข้างมากสนับสนุนอภิสิทธิ์เป็นประธานได้ทันที

กลยุทธ์แพ็คคู่อย่างนี้ไม่ต่างกับช่วงเลือกชวน หลีกภัย ตัวแทนพรรคประชาธิปัตย์ขึ้นเป็นประธานสภาฯ ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์หักพรรคพลังประชารัฐสำเร็จ เพราะได้แรงหนุนจากพรรคภูมิใจไทย จน “สุชาติ ตันเจริญ” และพรรคพลังประชารัฐ ที่วางตัวเป็นประธานสภา ต้องยอมแพ้กับเกมเคี่ยวลากดินของพรรคประชาธิปัตย์

ถามว่า ตำแหน่งประธาน กมธ. มีบทบาทอย่างไร ทำไมต้องอยากมาเป็น ทั้งที่ไม่มีอำนาจ ไม่ได้อยู่ในขั้นตอนการแก้ไขรัฐธรรมนูญจริง

คำตอบ คือ ผู้ที่เป็นประธาน สามารถกำหนดประเด็น ขับเคลื่อน ให้สัมภาษณ์ ชี้นำสังคมให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นวาระของชาติ กดดันไปยังรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ ให้ยอมแก้รัฐธรรมนูญ

อย่าลืมว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ2560 ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เนื่องจาก ผู้ร่างรัฐธรรมนูญ เปลี่ยนวิธีแก้ไขให้ยากกว่าเดิม ราวกับใส่กุญแจล็อค 3-4 ชั้น เพราะต้องใช้เสียงเห็นชอบไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของ 2 สภา (สส.และ สว.) นั่นหมายความว่าต้องได้รับเสียงเห็นชอบ 376 เสียงขึ้นไป และยังกำหนดให้เสียงที่ผ่านนั่นต้องมีเสียง ส.ว. สนับสนุนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของ ส.ว.ที่มีอยู่ คือไม่น้อยกว่า 84 คน

ทางเดียวที่จะสำเร็จ คือ สร้างให้สังคมเห็นปัญหาจากการใช้รัฐธรรมนูญเพื่อเป็นแรงกดดันให้รัฐบาล และ ส.ว. ยอมแก้เหมือนที่เคยเกิดขึ้นสำเร็จจากโมเดลตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญมาร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับเป็นฉบับประชาชนปี 2540 ที่เป็นการออกแบบร่วมกันของประชาชนทุกส่วนในสังคม

หาก พปชร.ฉลาดพอ ไม่ควรตั้งคนของตัวเองเป็นประธาน และปล่อยให้กลไกการศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องในสภาเป็น “รูระบาย” ให้มีทางออกกับข้อเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะพปชร. ยังถืออำนาจรัฐ ได้เปรียบฝ่ายค้านอยู่หลายขุมกว่าจะถึงขั้นแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะการกุมเสียง ส.ว.ที่เป็นตัวแปรสำคัญในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

“กฎหมายงบประมาณ” จุดล่อแหลม “บิ๊กตู่” ตกเก้าอี้!

ศาสตร์เกษตรดินปุ๋ย : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์

https://www.posttoday.com/politic/analysis/602185

  • วันที่ 30 ก.ย. 2562 เวลา 12:18 น.

"กฎหมายงบประมาณ" จุดล่อแหลม "บิ๊กตู่" ตกเก้าอี้!

หากท้ายที่สุดแล้ว รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ เกิดพลาดท่าแพ้โหวตกฎหมายงบประมาณ จะมีผลกระทบในทางการเมืองรุนแรง

**************************

โดย…ชัยฤทธิ์ ยนเปี่ยม

นับถอยหลังกับด่านทดสอบสำคัญของรัฐบาลเสียงปริ่มน้ำนั่นคือ การพิจารณาร่างพรบ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 ที่จะนำมาใช้ขับเคลื่อนประเทศวงเงิน 3.2 ล้านล้านบาท โดยรัฐบาลกำหนดนำเข้าสภาในสมัยประชุมวิสามัญคาดว่า วันที่ 17-18 ต.ค.นี้ เพื่อให้รับหลักการวาระแรก

หากท้ายที่สุดแล้ว รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เกิดพลาดท่าแพ้โหวตกฎหมายงบประมาณ จะมีผลกระทบในทางการเมืองรุนแรง เหมือนอย่างที่ ชวน หลีกภัย ประธานสภา เตือนไว้ว่า “ถ้ากฎหมายนี้ไม่ผ่านวาระแรก ย่อมมีผลกับรัฐบาล”

ผลที่คาด.. จะเกิดกระแสกดดันจากฝ่ายค้านให้พล.อ.ประยุทธ์ ลาออก ไม่ก็ยุบสภา เพื่อแสดงความรับผิดชอบในฐานะหัวหน้ารัฐบาลที่ไม่สามารถผลักดันกฎหมายสำคัญมาบังคับใช้ได้

ถามว่า เสียงของรัฐบาลประยุทธ์ขณะนี้ มีความเสี่ยงหรือไม่ ก็ต้องตอบว่า มีอย่างยิ่งยวด และเข้าเงื่อนไข ล้มตัวเองได้ทุกเมื่อ

ผ่านไป 4 เดือน เราได้เห็นความง่อนแง่นของรัฐบาลหลายด้าน

ปัญหาเอกภาพในการทำงานจากการเป็นรัฐบาลผสมหลายพรรค ทำให้ทีมเศรษฐกิจไม่เป็นทิศทางเดียวกัน 3 พรรคใหญ่ พรรคพลังประชารัฐ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย ที่ยึดกระทรวงสำคัญ ต่างเดินกันคนละคีย์ ไม่เป็นวง เพราะมุ่งแต่ทำตามนโยบายหาเสียงของพรรคตนเอง

กระทั่ง หัวหน้าทีมเศรษฐกิจ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ถึงกับออกอาการเหนื่อยหน่ายกับความไม่เป็นเอกภาพไม่เหมือนสมัยรัฐบาลคสช.

ประการต่อมา ปัญหาเสียงปริ่มน้ำในสภาเริ่มออกฤทธิ์ หากเปรียบเป็นเรือกระดาษ ก็โคลงเคลงไปมา ลอยลำกลางมหาสมุทร มีรูรั่ว ต้องคอยปะผุ เวลาเจอพายุใหญ่ฟาดแต่ละครั้ง น้ำกระชอกขึ้นบนเรือจนเกือบจม

การลงมติเรื่องต่างๆ ที่เพิ่งปิดสมัยประชุมเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา รัฐบาลถึงกับแพ้โหวตฝ่ายค้านไปสองครั้ง ในการพิจารณาปรับแก้ร่างข้อบังคับการประชุมสภา

แต่โชคดีเพราะนี่อาจไม่ใช่วาระใหญ่ เป็นแค่การพิจารณาข้อบังคับ ไม่ใช่กฎหมายสำคัญ แต่มันก็ส่งสัญญาณให้เห็นแล้วว่า รัฐบาลเสียงปริ่มน้ำ ช่างอันตรายจริงๆ ส.ส.ของรัฐบาลทั้งหมด ไม่สามารถเดินทางไปปฏิบัติภารกิจที่ไหนได้ในวันที่มีการประชุมสภา แม้แต่รัฐมนตรีเอง ก็ไม่สามารถออกงาน หรือ ไปลงพื้นที่ต่างจังหวัดได้ เพราะรัฐมนตรีนั่งเก้าอี้ ส.ส.ควบไปด้วย ถ้าไป เสียงในการลงมติก็จะเกิดปัญหาทันที

ปัญหาใหญ่อีกประการ คือ 4 เดือนที่ผ่านมา เสียงของรัฐบาลที่ว่า ปริ่มน้ำแล้ว มากระชอกหายไปอีก บีบหัวใจนายกฯประยุทธ์ หนักขึ้น

เดิมเสียงรัฐบาลอยู่ที่ 254 ฝ่ายค้าน 246

ปัจจุบันรัฐบาลหายไป 3 เสียงเหลือ 251 เสียง จาก 1.พ.ต.ท.ไวพจน์ อาภรณ์รัตน์ พ้นจาก สส.กำแพงเพชร พรรคพลังประชารัฐ เพราะต้องคำพิพากษาจำคุกคดีล้มการประชุมอาเซียนซัมมิท 2.และ 3.คือ พรรคเล็ก 2 พรรค หัวหน้าพรรคไทยศิวิไลย์ และ พรรคประชาธรรมไทย ถอนตัวไปเป็นฝ่ายค้านไม่พอใจที่ไม่ได้รับจัดสรรผลประโยชน์เก้าอี้ประธานกรรมาธิการในสภา ยังมีกรณี กรุงศรีวิไล สุทินเผือก โดนใบเหลืองจาก กกต. อีก แต่ยังต้องให้ศาลฎีกาชี้ขาดถึงจะมีผลโดยสมบูรณ์

ส่วนฝั่ง 7 พรรคฝ่ายค้านเองหายไป 3 เสียง จาก 1.ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรรคอนาคตใหม่ ศาลรัฐธรรมนูญสั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่กรณีถูกสอบปมคุณสมบัติผู้สมัคร สส. 2.นายนวัธ เตาะเจริญสุข สส.ขอนแก่น พรรคเพื่อไทย ถึงแม้ยังไม่พ้นจาก ส.ส. แต่ก็ใกล้เต็มทน เพราะถูกศาลฎีกาตัดสินจำคุกตลอดชีวิตคดีจ้างวานฆ่า 3. นางจุมพิตา จันทรขจร ส.ส.นครปฐม พรรคอนาคตใหม่ ขอลาออกจากปัญหาสุขภาพ แม้จะหายไป 3 แต่ก็มี 2 เสียงของพรรคเล็กที่ขอถอนตัวจากรัฐบาลมาเป็นฝ่ายค้าน จึงเหลือ 245 เสียง

อย่างไรก็ตาม ถ้ามีการลงมติ ประธานสภาผู้แทนราษฎร และรองประธานสภาฯอีก 2 คน ที่มาจากฝ่ายรัฐบาล หากวางตัวเป็นกลางอย่างเคร่งครัดตามรัฐธรรมนูญ ก็ต้องงดออกเสียง ฝ่ายรัฐบาลก็จะหดเหลือ 248 ต่อ 245

ด้วยตัวเลขที่ฉิวเฉียดจนเกือบจะกลายเป็น “รัฐบาลเสียงข้างน้อย” จึงมีความพยายามทุกวิถีทางที่จะดึง ส.ส.ฝ่ายค้านมาเป็นพันธมิตรอย่างเร่งด่วน เห็นเค้าลางที่สส.ฝ่ายค้านบางราย มีท่าทีปันใจสนับสนุนรัฐบาล ทั้งกรณีพรรคเศรษฐกิจใหม่ 5 จาก 6 เสียง หลังเปลี่ยนหัวหน้าพรรคใหม่จากเดิมมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ ที่นั่งยันยืนยัน ไม่เข้าร่วมรัฐบาล แต่ มนูญ สิวาภิรมย์รัตน์ หัวหน้าพรรคคนใหม่ ประกาศว่า การลงมติในสภา ทางพรรคจะดูเป็นเรื่องๆ เข้าทำนองเป็นฝ่ายค้านอิสระ

หรือ เมื่อไม่นานนี้ มี สส.พรรคเพื่อไทย บางจังหวัดไปต้อนรับสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ ขณะลงพื้นที่ดูปัญหาน้ำท่วม กระทั่งที่เป็นข่าวว่า 14 สส.พรรคเพื่อไทยไปนั่งกินข้าวกับ สมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.ยุติธรรม แกนนำกลุ่มสามมิตรจากพรรคพลังประชารัฐ ขณะเข้าร่วมประชุมสภา สร้างความระแวงให้กับแกนนำพรรคเพื่อไทยว่า จะถูกดูด

อะไร คือ แรงจูงใจ ที่ ส.ส.ฝ่ายค้าน บางกลุ่มอาจจะโหวตให้กับร่างพรบ.งบประมาณ นั่นก็คือ ผลประโยชน์โครงการต่างๆ ที่อยู่ในร่างพ.ร.บ.งบประมาณวฯงเงิน 3.2 ล้านล้านบาท ที่ฝ่ายรัฐบาลอาจนำมาต่อรองแลกกับการได้รับจัดสรรงบในพื้นที่ให้กับ สส.เหล่านั้น

อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า ในวันที่ต้องลงมติเห็นชอบ ร่างพ.รบ.งบประมาณฯ แกนนำรัฐบาลต้องตรึงกำลัง ส.ส.ฝ่ายตัวเองสุดกำลังก่อน โดยเฉพาะกลุ่มพรรคเล็ก 7 พรรค 7 สส. ที่แตกแถวง่ายสุด เพราะถ้าลงมติพลาดแม้แต่1-2 เสียง อาจทำให้ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ ไม่ผ่านสภา นายกฯประยุทธ์ ก็งานเข้าเมื่อนั้น

ประวัติศาสตร์การเมืองไทย ในอดีต นายกรัฐมนตรีที่เคยลาออกเพราะฝ่ายรัฐบาลแพ้โหวตในสภา คือ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ที่เสนอพระราชกำหนดจัดตั้งเมืองเพชรบูรณ์เป็นเมืองหลวง แต่ ฝ่ายรัฐบาลของ จอมพล ป.แพ้โหวตไปด้วยคะแนน 36 ต่อ 48

จากนั้น ไม่กี่วัน รัฐบาลจอมพล.ป.ได้นำ พระราชกำหนดพุทธมณฑลบุรี เข้าสู่สภา แต่ก็ถูกลงมติคว่ำอีกแพ้ไป 41 ต่อ 43 ทำให้ จอมพล ป. ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 ก.ค. 2487

แม้ว่า ตามรัฐธรรมนูญ หากพล.อ.ประยุทธ์ ลาออก ก็สามารถกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีใหม่ได้ไม่ยาก เพราะมีเสียงวุฒิสภาค้ำบัลลังก์ให้ แต่ก็ไม่เป็นผลดี หากต้องกลับมานับหนึ่งใหม่ เพราะกว่าจะจัดตั้งรัฐบาลได้ พรรคร่วมรัฐบาลก็ทะเลาะแย่งเก้าอี้จนบั่นทอนเสถียรภาพกันเอง นโยบายต่างๆ ก็ต้องสะดุดลง กระทบความเชื่อมั่นของนักลงทุน

1 เสียงของฝ่ายรัฐบาล ณ วันนี้ จึงมีความหมาย ชี้ความเป็นความตายของรัฐบาลประยุทธ์ ห้วงเวลาระทึก ก่อนจะถึงวันโหวต เกมการต่อรองแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ จะเข้มข้นมากขึ้นเรื่อยๆ

วัดใจพรรคใหญ่ ศึกชิงฐานเสียง เลือกตั้งท้องถิ่น

ศาสตร์เกษตรดินปุ๋ย : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์

https://www.posttoday.com/politic/report/599211

  • วันที่ 30 ส.ค. 2562 เวลา 13:20 น.

วัดใจพรรคใหญ่ ศึกชิงฐานเสียง เลือกตั้งท้องถิ่น

โดย…ชัยฤทธิ์ ยนเปี่ยม

*********************

การเลือกตั้งท้องถิ่นของไทย ถูกแช่แข็งมายาวมากกว่า 5 ปีในยุค คสช.แม้จะปลดล็อคมีรัฐบาลใหม่ แต่รัฐบาลส่งสัญญาณว่า อาจต้องเลื่อนไปอีกครึ่งปี เป็นเร็วสุดในเดือนมี.ค.ปี 2563 เป็นต้นไป จากปัญหาความล่าช้าในการผ่านร่างพรบ.งบประมาณประจำปี 2563 ที่ต้องรอเม็ดเงินมาใช้ในการเลือกตั้งท้องถิ่นทั้งประเทศ

ตามแผน ของกระทรวงมหาดไทย และกกต. กำหนดให้มีการเลือกตั้งตามขนาดของท้องถิ่น โดยผู้ว่ากทม.และสก. 50 เขต อาจเสนอให้เลือกเป็นลำดับแรกพร้อมๆกับนายกฯองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) 76 แห่งทั่วประเทศ ตามด้วย เทศบาลต่างๆ สุดท้ายคือ การเลือกสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ร่วม 6 หมื่นตำแหน่ง ทำให้ปีหน้าจะมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นทุกประเภทที่ว่างลงพร้อมกันตามกฎหมายใหม่ 97,940 ตำแหน่ง จากเดิม 142,590  ตำแหน่ง

**************

จับตาศึกผู้ว่าฯกทม.

วัดเรตติ้ง รัฐบาลลุงตู่

ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายความยั่งยืนและบริหารศูนย์รังสิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  กล่าวว่า  ความจริงรัฐบาลควรจัดให้มีการเลือกตั้งท้องถิ่นหลังการเลือกตั้งระดับชาติไปแล้ว 6 เดือน นั่นหมายความว่าเดือน ส.ค.น่าจะเริ่มเลือกตั้งได้ แต่หากต้องเลื่อนเป็นต้นปีหน้าก็ถือว่าช้าไป เพราะถูกแช่แข็งมานานกว่า 5 ปี  อีกทั้งการเลือกตั้งท้องถิ่นเป็นสิ่งสำคัญของพื้นฐานระบอบประชาธิปไตย ที่ประชาชนจะได้เลือกคนมาปกครองตนเอง จึงเชื่อว่า ยิ่งนานวัน ความตื่นตัวก็ยิ่งสูง

ปริญญา กล่าวว่า ที่ต้องจับตามากที่สุด คือ การเลือกตั้งผู้ว่ากทม. เพราะเชื่อว่า จะเป็นการแข่งขันเข้มข้นจาก 4 พรรคใหญ่ ทั้งพรรคประชาธิปัตย์ในฐานะแชมป์เก่า ซึ่งไม่ได้ สส.กทม.แม้แต่คนเดียวในการเลือกตั้งใหญ่ ขณะที่พรรคพลังประชารัฐต้องส่งตัวแทนลงแน่นอนเนื่องจากเป็นพรรครัฐบาล ส่วนฝ่ายค้าน เชื่อว่า ทั้งพรรคเพื่อไทย และพรรคอนาคตใหม่ ก็ต้องส่งสู้ ซึ่งอาจตัดคะแนนกันเองอีก  สุดท้ายแล้วพรรคที่ชนะผู้ว่ากทม.อาจได้คะแนนไม่ถึงครึ่งของจำนวนผู้ออกมาใช้สิทธิ์

สำหรับการเลือกตั้งนายกฯอบจ. 76 จังหวัด พรรคพลังประชารัฐในฐานะแกนนำรัฐบาล ก็ต้องสู้อย่างถึงที่สุดไม่ว่าจะรูปแบบไหนก็ตามเพื่อครองใจระดับท้องถิ่นให้ได้ อีกทั้งแพ้การเลือกตั้งสส.เขตให้กับพรรคเพื่อไทย เช่นเดียวกับพรรคประชาธิปัตย์ที่ได้ สส.เพียง 52  ที่นั่ง จึงต้องให้ความสำคัญกับท้องถิ่นเพื่อสะสมคะแนน ขยายฐานเสียง ดังนั้น เชื่อว่าทั้ง 5 พรรค พลังประชารัฐ เพื่อไทย อนาคตใหม่ ประชาธิปัตย์และภูมิใจไทย ต้องสู้กันในระดับท้องถิ่นอย่างเข้มข้น

“การเลือกตั้งท้องถิ่นในหลายจังหวัด จะเป็นตัววัดคะแนนนิยมรัฐบาล เมื่อเทียบกับตอนเลือกตั้ง 24มี.ค. 2562 ว่าจะดีขึ้นหรือลดลง ซึ่งจะเป็นการวัดทุกๆ 3 เดือนในแต่ละการเลือกตั้ง และอุณหภูมิการเมืองก็จะเข้มข้น” นายปริญญา กล่าว

อย่างไรก็ตาม ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กลับมองว่า แม้จะมีจำนวนสมาชิกสภาท้องถิ่นให้เลือกมากก็จริง แต่ก็อาจไม่คึกคักถึงขีดสุด เพราะเกิดขึ้นหลังการเลือกตั้ง สส.ั  แต่ถ้าเกิดก่อนการเลือกตั้งใหญ่ก็อาจจะเข้มข้น ที่สำคัญ การเลือกตั้งท้องถิ่นในแต่ละจังหวัด มีความแตกต่างเทียบไม่ได้กับการเลือกตั้ง สส. เช่น ภาคใต้  ชาวบ้านอาจไม่เลือกผู้สมัครท้องถิ่นสังกัดพรรคประชาธิปัตย์เสมอไป เพราะคิดว่า ถ้าเลือก ส.ส.พรรคหนึ่งก็ควรเลือกผู้แทนท้องถิ่นอีกพรรคมาถ่วงดุล หรือการเลือกตั้งผู้ว่ากทม.ก็เช่นกันที่คาดการณ์พฤติกรรมการเลือกของคนกรุงได้ยาก ส่วนพรรคอนาคตใหม่ที่ชูธงจะลงท้องถิ่น ก็อาจได้แค่ในเมืองบางจังหวัด แต่ในระดับรากหญ้า กระแสคงไปไม่ถึง

****************

อนาคตใหม่เปิดตัวก.ย.

ขอปักธง 20 นายกฯอบจ.

เมื่อสำรวจความพร้อมของพรรคการเมืองต่อนโยบายส่งตัวแทนลงเลือกตั้งท้องถิ่น พบว่า จนถึงขณะนี้มีเพียงพรรคอนาคตใหม่โดย ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรค ที่ประกาศจะส่งตัวแทนลงนายกฯอบจ.ใน 30 จังหวัด  มีการหาเสียงล่วงหน้า เดินสายพบประชาชน รับฟังปัญหาในจังหวัดต่างๆ ที่พรรคได้คะแนน popular vote สูง ส่วนพรรคหลักๆ ที่เหลือ ยังเป็นเพียงการเฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยตั้งคณะกรรมการกำหนดนโยบายและคัดสรรผู้สมัครในพื้นที่ที่คิดว่าต้องส่งอย่างเป็นทางการ

ชำนาญ จันทร์เรือง รองหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ในฐานะประธานคณะกรรมการกลั่นกรองผู้สมัครเลือกตั้งท้องถิ่น กล่าวว่า พรรคให้ความสำคัญกับการเลือกตั้งท้องถิ่นครั้งนี้มาก และต้องการปักธงมีผู้แทนในท้องถิ่นให้ได้ เพราะเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้การเมืองระดับชาติเข้มแข็ง ยืนยันจะไม่มีการฮั้วกับพรรคเพื่อไทย แม้ว่าจะเป็นพันธมิตรฝ่ายค้านด้วยกัน

นายชำนาญ กล่าวว่า ผลการเลือกตั้ง สส.ที่ผ่านมา พรรคอนาคตใหม่ชนะเหนือความคาดหมาย ในเมืองใหญ่ ๆ ได้ สส.พื้นที่ ทั้งภาคกลาง ตะวันออก ภาคเหนือ  โดยเฉพาะที่กทม. พรรคได้คะแนน popular vote อันดับหนึ่ง ส่วนพื้นที่ใดที่ไม่ได้ สส.แต่ก็พบว่าคะแนนผู้สมัครของพรรคอยู่ในลำดับต้นไม่ 2 ก็ 3 ดังนั้น พรรควางเป้าหมายเบื้องต้นจะส่งตัวแทนลงเลือกตั้งนายกอบจ.ใน 20-30 จังหวัด ที่พรรคมีคะแนนดี เช่น เชียงใหม่ แพร่ ชลบุรี สมุทรสาคร

ทั้งนี้ พรรคได้เปิดรับสมัคร ตัวแทนมาลงนายกฯอบจ.และทีมสมาชิกอบจ. ส่วนใหญ่เน้นผู้สมัครหน้าใหม่ คละกับคนเก่าบ้าง เพราะต้องการทำการเมืองรุ่นใหม่ โดยพบว่า มีความตื่นตัวสูงมาก เพราะมียอดสมัครเข้ามาที่พรรค รวม 77 ทีมใน 44 จังหวัด  ที่มากสุดคือ จ.สมุทรสาคร 5 ทีม ชลบุรี 4 ทีม รวมถึง ร้อยเอ็ด บุรีรัมย์  ซึ่งจะต้องคัดด้วยการแสดงวิสัยทัศน์อีกครั้ง  โดยจะประกาศรายชื่อผู้สมัครนายกฯอบจ.ได้ในเดือนก.ย.นี้ สำหรับจังหวัดนำร่องที่สามารถส่งชิงได้เลยเพื่อให้เป็นจังหวัดต้นแบบ ประกอบด้วย จ.นนทบุรี จ.บึงกาฬ และ จ.สมุทรสาคร

“เราหวังได้นายกฯอบจ. 20 ที่นั่ง ถ้าถึงก็ประสบความสำเร็จ แต่ในระดับรากหญ้าเราอาจจะยังไปไม่ถึง ส่วนในเทศบาลซึ่งมีเยอะเกือบ 2,000 แห่ง  เราก็หวังหลายพื้นที่ ครั้งนี้ประชาชนตื่นตัวสูงมาก” นายชำนาญ กล่าว

**************

พรรคใหญ่หวั่นเสี่ยง

ลับลวงพรางเป็นกองหนุน

นั่นคือส่วนของพรรคอนาคตใหม่ อย่างไรก็ตาม พรรคใหญ่ที่เหลือ ต่างมีคนของตัวเองพร้อมลงชิงชัยนายกฯอบจ. ในจังหวัดฐานเสียงตัวเอง อาจมี ส.ส.ในพื้นที่ส่งกันถึง 3-4 ทีม แย่งชิงเก้าอี้นายกฯอบจ. เพราะ ส.ส.ในจังหวัดต่างต้องการคุมอำนาจในระดับจังหวัดด้วยการยึดเก้าอี้นายกฯ อบจ. จนเคยเกิดความขัดแย้งกันในพรรคมาแล้ว  หลายพรรคจึงปล่อยให้เป็นเรื่องของ สส.กันเอง  พรรคจะไม่มีมติว่าจะสนับสนุนใครอย่างเป็นทางการเพราะกลัวจะแตกแยก

ขณะเดียวกัน ด้วย กฎระเบียบ บทลงโทษที่เข้มข้น  หลายพรรคจึงกังวลว่า หากส่งผู้สมัครลงอย่างเป็นทางการแบบเหวี่ยงแหในหลายพื้นที่ ก็ต้องระวังการทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง เพราะอาจกระทบถึงการยุบพรรคตามมา

นายสุชาติ ชมกลิ่น ประธาน สส.พรรคพลังประชารัฐ  กล่าวว่า พปชร.ได้พูดคุยเรื่องเลือกตั้งท้องถิ่นระดับหนึ่ง แต่เห็นว่า ยังมีเวลาอีกหลายเดือน ส่วนตัวได้แจ้งกับผู้ใหญ่ในพรรคว่า ถ้าส่งแข่งในนามพรรคกันหมด ระวังจะเป็นดาบสองคม ได้ไม่คุ้มเสีย ยิ่งพปชร.เป็นพรรคใหม่และเป็นรัฐบาลด้วย ขณะที่ ผู้สมัครสภาท้องถิ่นบางคน เราก็ไม่รู้จักประวัติดี ยิ่งต้องระวัง หากสมมติมีผู้สมัครคนใดไปทำผิดกฎหมายเลือกตั้งก็อาจกระทบถึงแบรนด์ของพรรค  อีกทั้ง การเลือกตั้ง ส.ส.กับการเลือกตั้งท้องถิ่น ไม่เหมือนกัน มีปัจจัยให้พิจารณามากมาย ขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่อีก  อย่างไรก็ตาม ในส่วนของพรรคอาจมีส่งลงเป็นทางการ เช่น ที่ จ.สงขลา ซึ่งพรรคได้ สส.มา 4 คนครึ่งจังหวัด  ตรงนี้ก็อาจใช้ชื่อพรรคเพื่อเสริมจุดแข็งของผู้สมัครนายกฯ อบจ.

สุชาติ ยังได้ยกตัวอย่าง จ.ชลบุรี ที่ใช้ชื่อ “กลุ่มเรารักชลบุรี” มา 20 ปีลงชิงนายกฯอบจ.  ซึ่งตอนนี้ทีมงานย้ายมาอยู่กับพปชร. และตัวเขาก็สนับสนุนอยู่ ก็ไม่จำเป็นต้องลงในนามพปชร. เพราะคนในพื้นที่มองผลงานที่กลุ่มป็นหลัก

“ตอนเลือกตั้งปี 2550  พรรคประชาธิปัตย์ชนะ สส. ยกจังหวัด 8 คน แต่พอปชป.ส่งลงนายกฯอบจ.ชลบุรีกลับแพ้กลุ่มเราที่ส่งวิทยา คุณปลื้ม ลงชิง ทั้งที่กลุ่มเพิ่งตั้งมาปีแต่ประชาชนชื่นชอบผลงานท้องถิ่นของกลุ่มที่มีมายาวนาน คราวนี้ก็เช่นกัน พรรคอนาคตใหม่ก็หวังจะเอาชนะนายกฯอบจ. แต่เขาก็ไม่มีผลงานในท้องถิ่นเหมือนเรา”

“ที่อนาคตใหม่เขาส่งนายกฯอบจ.หลายจังหวัดเพราะเขาทดสอบกระแสว่า ยังขลังอยู่หรือเปล่า วัดเรตติ้งตัวเอง อย่างว่า เขาเป็นพรรคใหม่ได้มาเพราะการตลาด เขาก็ไม่มีอะไรจะเสีย”  ประธาน สส. พรรคพลังประชารัฐ กล่าว

ด้านพรรคอันดับ1 อย่างพรรคเพื่อไทย ซึ่ง พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง  “บิ๊กแจ๊ส” อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ประกาศลงชิงนายกฯอบจ.ปทุมธานี ในนามพรรคเพื่อไทย  เป็นรายแรกของพรรค  น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ เลขาธิการพรรคฯ กล่าวว่า ขณะนี้พรรคได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อดูเรื่องนโยบายและกำหนดผู้สมัครผู้บริหารสภาท้องถิ่นแล้ว ยังตอบไม่ได้ว่า จะส่งกี่คน ในระดับไหนบ้าง  เพราะยังมีเวลา ซึ่งการเลือกตั้งท้องถิ่นไม่เหมือนกับการเลือกตั้งระดับชาติ ขึ้นอยู่กับสภาพแต่ละจังหวัดอีก

เลขาธิการพรรคเพื่อไทย คาดว่า การเลือกตั้งท้องถิ่นจะเกิดขึ้นอย่างเร็วสุดในเดือนเม.ย.ปี 2563 เพราะรัฐบาลอ้างเรื่องงบประมาณจัดการเลือกตั้งไม่มีต้องรอร่างพรบ.งบประมาณปี  2563 บังคับใช้ก่อนในเดือนก.พ. แต่ได้ยินว่า รัฐบาลจะทิ้งไว้อีก 2 เดือนเพื่อให้งบประมาณขับเคลื่อน มีผลานก่อนถึงจะเลือกตั้งในเดือนเม.ย. ตรงนี้ก็เท่ากับว่าเป็นการใช้กลไกรัฐมาสร้างความได้เปรียบให้ผู้สมัครของทีมตัวเอง ซึ่งพรรคจับตาเรื่องนี้อยู่

ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ นิพิฎฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรค กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์ มีฐานเสียงอยู่ที่ภาคใต้ 70-80% ที่ผ่านมาแม้พรรคจะสนับสนุนการกระจายอำนาจ แต่พรรคก็แทบไม่ส่งตัวแทนในนามพรรคลงชิงสนามท้องถิ่นมากนัก  เพราะเกรงจะเกิดความแตกแยกในพื้นที่และในพรรคกันเอง  จึงให้เป็นเรื่องส่วนบุคคลไป แต่ครั้งนี้ก็อาจมีที่พรรคอาจส่งนายกฯอบจ. ลงทางการ เช่น สงขลา นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี

นิพิฎฐ์ คาดว่า จะมีผู้สมัครหน้าใหม่และคนหนุ่มสาวเข้าสู่การเลือกตั้งท้องถิ่นครั้งนี้มากกว่าทุกครั้ง เพราะถูกเว้นมานาน 6-7 ปี รวมถึงการที่พรรคอนาคตใหม่ ซึ่งเป็นพรรคใหม่ได้รับเลือกจากคนหนุ่มสาวเข้ามามาก  เวทีนี้จึงจะเป็นโอกาสของคนหนุ่มสาวอีกเช่นกัน

“ผมห่วงเรื่องการใช้เงิน เพราะบางพื้นที่ใช้เงินแล้วประสบความสำเร็จ การเมืองท้องถิ่น ซื้อได้ง่ายกว่าการเมืองระดับชาติ ดังนั้น กกต.ต้องทัน” นิพิฎฐ์ กล่าว

วิกฤตความขัดแย้ง…ชะตากรรมม็อบสีเสื้อ

ศาสตร์เกษตรดินปุ๋ย : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์

https://www.posttoday.com/politic/report/597998

  • วันที่ 18 ส.ค. 2562 เวลา 10:41 น.

วิกฤตความขัดแย้ง...ชะตากรรมม็อบสีเสื้อ

คำตัดสินที่เกิดขึ้นจากคดีประวัติศาสตร์เหล่านี้จะเป็นบรรทัดฐานในอนาคต ที่ยังไม่มีบทสรุปว่า จากนี้ไปประเทศไทยจะไร้ม็อบการเมืองอีกหรือไม่

******************************

โดย…ชัยฤทธิ์ ยนเปี่ยม

คำตัดสินของศาลอาญาเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ที่ให้ 24 แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือม็อบเสื้อแดง ไม่มีความผิดในข้อหาก่อการร้ายและก่อความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง เพราะใช้สิทธิการชุมนุมตามระบอบประชาธิปไตยในการประท้วงขับไล่รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เมื่อปี 2553 เกิดมุมมองมากมาย โดยเฉพาะฝ่ายตรงข้ามทักษิณว่า แกนนำเสื้อแดงรอดคดีได้อย่างไร

กระนั้น นี่เป็นเพียงคำตัดสินของศาลชั้นต้น ยังเหลืออีก 2 ศาล ที่ต้องลุ้นกันอีกในอนาคตว่าจะพลิกคำตัดสินหรือไม่ ซึ่งอาจใช้เวลาอีกอย่างน้อยอีก 1-2 ปี จนรู้บทสรุปของคดี

จากคำพิพากษาศาลในคดีม็อบการเมืองทั้งเสื้อเหลือง-เสื้อแดง รวมถึงกลุ่มกปปส.ของ “ลุงกำนัน” สุเทพ เทือกสุบรรณ ที่ทยอยออกมาในช่วงปีที่ผ่านมาที่แกนนำหลุดคดี มีเฮ หลายคนจับตาว่า นี่อาจเป็นสัญญาณนำไปสู่การปรองดองในอนาคต

คดีก่อการร้ายของม็อบเสื้อแดงข้างต้น เป็นผลพวงจากเหตุการณ์ม็อบเสื้อสีในช่วงวิกฤตความขัดแย้งทางการเมืองของประเทศที่ดำเนินมายาวนานเกือบ 10 ปี ในช่วง 2548-2557 จนประเทศเกิดความแตกแยกรุนแรง เศรษฐกิจซบเซา

เท้าความกันอีกครั้ง ช่วงวิกฤตดังกล่าว ม็อบเสื้อสีปะทุเป็น 3 ช่วง

ช่วงแรก เริ่มจากม็อบเสื้อเหลือง กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ขับไล่รัฐบาลทักษิณและรัฐบาลนอมินี ปี 2548-2549 และ ปี 2551 ซึ่งล้มสำเร็จทั้งสองช่วง โดย “บิ๊กบัง” พล.อ.สนธิ บุญรัตนกลิน ผบ.ทบ.เข้ามายึดอำนาจ ปี 2549 ตามด้วยศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคพลังประชาชนเมื่อปี 2551

ช่วงสอง สลับเป็นม็อบเสื้อแดงของฝ่ายทักษิณ ชินวัตร ปี 2552-2553 ออกมาขับไล่รัฐบาลอภิสิทธิ์ ด้วยเหตุผลกองทัพสนับสนุน แต่ล้มไม่สำเร็จ แกนนำถูกจับกุมตัวไปดำเนินคดี

ช่วงสาม เมื่อมีการเลือกตั้งรัฐบาลยิ่งลักษณ์ น้องสาวทักษิณเข้ามาเป็นนายกฯ เกิดม็อบกปปส.ไม่ต่างจากพันธมิตรภาค 2 ออกมาชุมนุมขับไล่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ในปี 2556-2557 ครั้งนี้ทำสำเร็จ เนื่องจากกองทัพ โดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. เข้ามายึดอำนาจ

การชุมนุมของม็อบใหญ่ ทั้งสามครั้ง แม้ภาพรวมจะดูสงบ สันติ แต่ก็มีเหตุความรุนแรง เกิดการปะทะระหว่างเจ้าหน้าที่กับประชาชน มีผู้บาดเจ็บรวมแล้ว หลายพันคน และเสียชีวิตเกือบสองร้อยคน

หลังเหตุการณ์สงบลง มีการฟ้องคดีแกนนำม็อบทั้งเสื้อเหลืองและเสื้อแดงเข้าสู่ศาลหลายคดี จนถึงขณะนี้ผ่านมาเกือบ 10 ปี บางคดีเริ่มคลี่คลาย เพราะศาลฎีกาได้ตัดสินแล้ว แกนนำม็อบหลายคนต้องติดคุกเป็นบทเรียน

ความจริง เมื่อดูการชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยที่ฮ่องกง ด้วยการชัตดาวน์ ปิดแยกเศรษฐกิจสำคัญ ยึดสนามบิน รูปแบบที่เกิดขึ้นก็ไม่ต่างจากประเทศไทยที่ผ่านการชุมนุมมาหลากหลาย จนกลายเป็นตำราให้ม็อบต่างประเทศนำมาใช้ ทั้งการปิดสนามบิน ยึดทำเนียบรัฐบาล ยึดรัฐสภา บุกยึดสถานีโทรทัศน์ ปิดถนนย่านธุรกิจใจกลางเมืองพร้อมกันเกือบสิบแห่ง หรือจะม็อบดาวกระจาย เทเลือดหน้าทำเนียบรัฐบาล บุกล้มที่ประชุมอาเซียนซัมมิท เผาห้างสรรพสินค้าระดับต้นๆของกรุงเทพ เผาศาลากลางจังหวัด ใช้อาวุธสงคราม ยิงปืน ระเบิด ใส่สถานที่ราชการ ศาล กระทั่งบริเวณวัดพระแก้วสถานที่เคารพของประเทศ หรือแม้ยิงใส่ผู้ชุมนุม รวมถึง ผู้ชุมนุมทั้งสองฝั่งถืออาวุธไล่ใส่กัน รวมถึง ม็อบ ล้มเลือกตั้ง ก็มีให้เห็น

กระนั้น หากไล่เรียงผลคดีม็อบของสามฝ่ายที่เกิดขึ้น ขอเริ่มที่ฝ่ายเสื้อแดงก่อน

คดีก่อการร้าย เป็นคดีหลักของแกนนำเสื้อแดง จากเหตุการณ์ชุมนุมใหญ่สุดเกิดขึ้นระหว่างเดือน ก.พ. จนถึงเดือนพ.ค. 2553 รวมระยะเวลา 70 วัน เป้าหมายขับไล่รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่ฝ่ายเสื้อแดงเชื่อว่า ได้อำนาจมา เพราะกองทัพอยู่เบื้องหลังการยุบพรรคพลังประชาชนของทักษิณ นำไปสู่การจัดตั้งรัฐบาลผสมที่นำโดยพรรคประชาธิปัตย์ของอภิสิทธิ์

การชุมนุมครั้งนั้น เกิดการปะทะกันทั้งฝ่ายเจ้าหน้าที่ทหารของรัฐบาลและผู้ชุมนุม รวมทั้งกลุ่ม ชายชุดดำที่ออกมาช่วยม็อบเสื้อแดง ยิงระเบิด ถล่มใส่ทหาร เหตุการณ์ครั้งนี้มีผู้เสียชีวิตร่วม 100 คน แยกเป็น ประชาชน ทหาร สื่อมวลชน และบาดเจ็บร่วม 2,100 คน คดีนี้ศาลอาญายกฟ้อง 24 แกนนำ

ส่วนที่เหลือ ที่แกนเสื้อแดงถูกดำเนินคดีต่างกรรมต่างวาระ เช่น คดีก่อความวุ่นวายหน้าบ้านพัก พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ อดีตประธานองคมนตรี ศาลอุทธรณ์พิพากษาจำคุก 2 ปี 8 เดือนกับ 7 แกนนำนปช. ล่าสุดอยู่ศาลฎีกานัดฟังคำพิพากษาในเดือนก.ย.2562 นี้ ขณะที่ คดีล้มประชุมอาเซียนที่พัทยาปี 2552 ศาลอุทธรณ์จำคุกแกนนำ นปช.ไป 13 คน เป็นเวลา 4 ปี ซึ่งแกนนำนปช. ได้ติดคุกเพราะไม่ได้รับการประกันตัว กระทั่งต่อมาได้รับปล่อยตัวภายหลัง

สำหรับคดีของแกนนำเสื้อเหลือง หรือ กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งชุมนุมก่อนม็อบเสื้อแดง มีเป้าหมายขับไล่รัฐบาลทักษิณและรัฐบาลนอมินีของทักษิณ (อดีตนายกฯสมัคร,สมชาย วงศ์สวัสดิ์) มีที่ตัดสินเรียบร้อยแล้ว คือ ศาลฎีกาตัดสินจำคุก 6 แกนนำเสื้อเหลืองยึดทำเนียบรัฐบาลเป็นเวลา 8 เดือน คดียึดสถานีโทรทัศน์ NBT ศาลฎีกาจำคุกการ์ดพันธมิตร 8 เดือน ทั้งสองคดี แกนนำได้เข้าคุกและพ้นโทษไปแล้ว

ส่วนคดียึดสนามบินสุวรรณภูมิ ศาลฎีกาตัดสินคดีแพ่งให้แกนนำพธม.ชำระค่าเงิน 522 ล้านบาทจากความเสียหายที่สนามบินต้องถูกปิด ส่วนคดีอาญาคาดว่า ยังจะใช้เวลาอีกนาน เพราะอยู่ระหว่างการสืบพยานอีกร้อยปาก

ขณะที่คดีปิดล้อมรัฐสภาเพื่อไม่ให้นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกฯขณะนั้นเข้าไปแถลงนโยบายต่อสภาศาลอาญายกฟ้องแกนนำเสื้อเหลือง ไม่มีความผิด เพราะเป็นการชุมนุมโดยสงบ เช่นเดียวกับ ศาลฎีกายกฟ้องอดีตนายกฯสมชาย ว่า ไม่มีความผิดในการสลายการชุมนุมเช่นกัน

สุดท้าย คดีแกนนำกปปส. เดือนที่แล้วนี่เอง ศาลอาญาเริ่มตัดสินคดีแรก โดยยกฟ้อง 4 แกนนำ กปปส.จากคดีกบฏ ที่ชุมนุมขับไล่รัฐบาลยิ่งลักษณ์เพราะเห็นว่าหลักฐานไม่เพียงพอ อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกหลายสำนวนคดีที่ฟ้องแกนนำกปปส.ทั้งข้อหากบฎ ก่อการร้าย ขัดขวางการเลือกตั้ง คาดว่า จะใช้เวลาอีกหลายปี

กล่าวโดยรวม จะเห็นได้ว่า คำตัดสินที่เกิดขึ้นจากคดีประวัติศาสตร์เหล่านี้ ส่วนใหญ่แกนนำต้องรับโทษจากการก่อความไม่สงบ ละเมิดกฎหมาย ทำลายทรัพย์สินราชการ และประชาชนได้รับบาดเจ็บ แต่ก็มีบางคดีที่แกนนำรอดตัว อย่างไรก็ตาม คาดว่า การสืบพยานก็ดี หรือ ขั้นตอนตัดสินในชั้นศาล ในหลายคดีอาจต้องใช้เวลาอีกหลายปีกว่าที่คดีชุมนุมทางการเมืองจะตัดสินจบทุกคดี

แต่อย่างน้อยก็ต้องให้บทเรียนกับทุกฝ่าย โดยเฉพาะฝ่ายการเมืองที่แกนนำม็อบทุกสี ต้องได้รับการพิจารณาตัดสินจากศาลในทุกคดี เพื่อเป็นบรรทัดฐานในอนาคต ที่ยังไม่มีบทสรุปว่า จากนี้ไปประเทศไทยจะไร้ม็อบการเมืองอีกหรือไม่ เมื่อบรรยากาศและเงื่อนไขความขัดแย้งยังดำรงอยู่

แก้ลำแต่ยังไม่จบ ปมถวายสัตย์ฯ

ศาสตร์เกษตรดินปุ๋ย : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์

https://www.posttoday.com/politic/analysis/599371

  • วันที่ 01 ก.ย. 2562 เวลา 11:55 น.

แก้ลำแต่ยังไม่จบ ปมถวายสัตย์ฯ 

โดย ชัยฤทธิ์ ยนเปี่ยม

ปัญหาการถวายสัตย์ปฏิญาณตนก่อนเข้ารับตำแหน่งที่ไม่ครบถ้วนของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยังเป็นประเด็นตรวจสอบต่อเนื่อง และกลายเป็นชนักติดหลัง “บิ๊กตู่” หลังจากล่าสุด ผู้ตรวจการแผ่นดินมีมติส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยปมปัญหานี้ว่า การกล่าวคำถวายสัตย์ปฏิญาณตนของ “บิ๊กตู่” ที่ไม่ครบถ้วนตามรัฐธรรมนูญมาตรา 161 เข้าข่ายขัดรัฐธรรมนูญและละเมิดสิทธิเสรีภาพหรือไม่  คาดว่า ปัญหานี้จะยุติได้ในเดือนก.ย.

“บิ๊กตู่” เสียรังวัดพอควร และหลบเลี่ยงที่จะมาตอบกระทู้ฝ่ายค้าน ได้แต่ประกาศต่อหน้าเหล่าข้าราชการขณะมอบนโยบายรัฐบาลเมื่อหลายสัปดาห์ก่อน “ผมขอรับผิดชอบเรื่องนี้แต่เพียงผู้เดียว” แม้ “บิ๊กตู่” ทำเรื่องขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต กระทั่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน พระราชดำรัส พร้อมลายพระราชหัตถ์เมื่อครั้งที่คณะรัฐมนตรีเข้าเฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่ เมื่อวันที่ 16 ก.ค. 2562 ลงมา พล.อ.ประยุทธ์ จึงจัดพิธีนำครม.รับพระราชดำรัสและลายพระราชหัตถ์เมื่อเช้าวันที่ 27 ส.ค. ซึ่งก็ช่วยลดแรงกดดันต่อปมปัญหาการถวายสัตย์ฯ ลง

กระนั้น การตรวจสอบพล.อ.ประยุทธ์ ยังเดินหน้าต่อไป นอกจากวิ่งไปที่ศาลรัฐธรรมนูญแล้ว ญัตติของ 7 พรรคฝ่ายค้านที่ได้เข้าชื่อต่อประธานสภาฯเพื่อขอให้เปิดอภิปรายทั่วไปโดยไม่มีการลงมติ คาดว่า จะพิจารณาได้ในวันที่ 6 ก.ย. ซึ่งรัฐบาลพยายามแก้เกมให้เป็น “การประชุมลับ” เพื่อลดความร้อนแรงของการตรวจสอบ

แม้ผลของญัตติจะล้มรัฐบาลไม่ได้ เพราะไม่มีการลงมติ หรือจะเป็นประชุมลับ แต่ช่วงที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ ก็สาหัสเอาการถูกทิ่มแทงตลอดว่า เป็นผู้นำประเทศแต่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ไม่ทำตัวเป็นแบบอย่าง เอาแต่กล่าวโทษนักการเมืองคนอื่น ไม่ได้กล่าวประโยคสำคัญในการถวายสัตย์ “ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตาม ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ”

ปลายทางคดีถวายสัตย์ฯจะไปจบที่ศาลรัฐธรรมนูญ  ต้องติดตามว่า ศาลรัฐธรรมนูญจะรับคดีหรือไม่  คาดว่าในเดือนก.ย. ก่อนการพิจารณาญัตติของฝ่ายค้านน่าจะมีความชัดเจน ถ้าไม่รับก็จบ และถ้ารับศาลจะพิจารณาอย่างไร แม้มีการคาดการณ์ว่า ในทางคดี พล.อ.ประยุทธ์น่าจะรอด  แต่นี่เป็นบทเรียนราคาแพงของ พล.อ.ประยุทธ์ว่า เมื่อเข้าสู่วิถีทางประชาธิปไตย ต้องถูกตรวจสอบทุกฝีก้าว  ต่างจากขณะเป็นผู้นำคสช. ใน 5 ปีก่อน ดังนั้น จากนี้ต้องพร้อมรับพายุการตรวจสอบที่จะตามเข้ามาอีกมาก ทั้งเรื่องตัวเอง รวมถึงการบริหารงานของครม. ที่ต้องควบคุมไม่ให้ออกนอกลู่นอกรอย ทุจริต ทำผิดกฎหมาย

ในส่วนของฝ่ายค้านที่ดูเอาจริงเอาจังกับการตรวจสอบเรื่องนี้ ถึงขั้นยื่นญัตติเปิดอภิปรายทั่วไป ซึ่งเป็นมาตรการตรวจสอบในสภา ระดับน้องๆ อภิปรายไม่ไว้วางใจ หวังชำแหละให้เห็นว่า พล.อ.ประยุทธ์ หมดความชอบธรรมในตำแหน่งนายกฯ สมควรลาออก  แต่ฝ่ายค้านก็ถูกวิจารณ์ว่า ไม่ควรนำเรื่องนี้มาอภิปรายฯ เป็นสาระหลัก  ควรจะเน้นปัญหาการบริหารงานที่ล้มเหลว ผิดพลาด หรือ ทุจริต ส่อทำผิดกฎหมายอย่างร้ายแรง ดูจะสมน้ำสมเนื้อกว่า

ต้องบันทึกไว้ว่า คดี “กล่าวถวายสัตย์ไม่ครบ” เป็นคดีแรกในรอบ 70 ปี  นับแต่มีรัฐธรรมนูญฉบับปี 2492 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่บัญญัติให้นายกฯต้องถวายสัตย์ต่อหน้าพระพักตร์  แต่รัฐธรรมนูญเองก็ไม่บัญญัติบทลงโทษไว้กรณีถวายสัตย์ไม่ครบ

การถวายสัตย์ปฏิญาณตน เป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์ไม่ต่างจากพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งของผู้นำต่างประเทศ กล่าวได้ว่า กรณีของพล.อ.ประยุทธ์ มีผู้เทียบเคียงคล้ายกับ บารัค โอบาม่า อดีตประธานาธิบดีสหรัฐ ที่ต้องประกอบพิธีสาบานตนถึงสองรอบภายในวันเดียวกัน เมื่อวันที่  20 ม.ค. 2552  ขณะนั้น โอบาม่า ประกอบพิธีสาบานตน โดยลำดับคำผิดพลาดไม่เป็นไปตามที่กำหนดในรัฐธรรมนูญเนื่องจากประธานศาลฎีกาสหรัฐฯ นำกล่าวผิด จนมีการถกเถียงถึงสถานะประธานาธิบดีของโอบามาว่า เป็นโมฆะหรือไม่ สุดท้ายโอบามาต้องสาบานตนใหม่เพื่อไม่ให้เกิดปัญหา กณีของโอบาม่า เมื่อทำผิดเพียงแค่สลับคำ ก็รีบแก้ ให้เสร็จสิ้นภายในวันเดียว แต่ของ “บิ๊กตู่”  ลากยาวมาจนถึงวันนี้ ร่วมเดือนครึ่งกลายเป็นคดีดังระดับชาติไปแล้ว

การถวายสัตย์ปฏิญาณตนในไทยมีมายาวนาน เพื่อให้พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ กล่าวคำมั่น แสดงความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กระทั่งต่อมาปรากฎในรัฐธรรมนูญฉบับที่ 5 ต่อเนื่องมาถึงปัจจุบันที่ใช้อยู่ฉบับที่ 20 เมื่อปี 2560  เมื่อได้ถวายสัตย์แล้ว ก็ให้ถือว่า บุคคลนั้นเริ่มปฏิบัติงานอย่างเป็นทางการได้

ไม่เพียงนายกฯและรัฐมนตรีที่ต้องถวายสัตย์ก่อนเข้ารับหน้าที่ด้วย ในรัฐธรรมนูญยังกำหนดให้รวมถึง องคมนตรี ผู้พิพากษาด้วย แม้แต่สมาชิกรัฐสภา ส.ส.และส.ว. ต้องกล่าวปฏิญาณตนตามมาตรา 115 ของรัฐธรรมนูญ ในที่ประชุมสภา ในข้อความลักษณะเดียวกันกับคำถวายสัตย์ของนายกฯ ก่อนเข้ารับหน้าที่ว่า

“ข้าพเจ้าจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชน ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ”

คำถวายสัตย์และคำปฏิญาณตน เหมือนคำสัญญาต่อหน้าประมุขแห่งรัฐที่ต้องศักดิ์สิทธิ์ แต่ที่ผ่านมาเป็นเช่นนั้นหรือไม่ เราคงตอบได้ว่า… ไม่  อดีตนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี รวมถึง ส.ส. ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจำนวนไม่น้อย ต่างละเลยที่ปฏิบัติตามคำถวายสัตย์ต่อพระมหากษัตริย์  เพราะมีคดีทุจริต กระทำผิดกฎหมาย เข้าสู่กระบวนการสอบสวน ที่มีหลักฐานชัดก็ถูกศาลตัดสินจำคุกไปหลายราย ที่ไม่มีหลักฐานอีก ก็จำนวนมาก บ้างหนีคำพิพากษาไปต่างประเทศ

ความสำคัญต่อการถวายสัตย์ฯ นอกจากต้องกล่าวครบถ้วนทุกถ้อยความแล้ว สิ่งสำคัญ คือ นักการเมืองต้องรักษาคำพูดให้ได้จริง ไม่ใช่ทำแค่พิธีกรรม หรือ ท่องเล่นๆเพียงแค่ครึ่งนาที  เพราะถ้ายึดมั่นปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และเพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชนจริงดั่งคำถวายสัตย์  ประเทศก็คงไม่เสียหายจากปัญหาการใช้อำนาจฉ้อฉล แสวงหาประโยชน์ให้ตัวเองและพวกพ้อง อย่างที่เผชิญอยู่อย่างนี้