สอศ.คิกออฟ’1วิทยาลัย1ครูอนามัย สร้างHEROอาชีวะ’ มุ่งสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษา

#SootinClaimon.Com : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์แนวหน้า

https://www.naewna.com/local/717412

สอศ.คิกออฟ'1วิทยาลัย1ครูอนามัย สร้างHEROอาชีวะ' มุ่งสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษา

สอศ.คิกออฟ’1วิทยาลัย1ครูอนามัย สร้างHEROอาชีวะ’ มุ่งสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษา

วันอังคาร ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2566, 22.02 น.

เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2566 ที่วิทยาลัยอาชีวศึกษาปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เป็นประธานในพิธีการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ โครงการ “1 วิทยาลัย 1 ครูอนามัย สร้าง HERO อาชีวะ” โดยมี ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) และคณะผู้บริหาร สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ผู้อำนวยการวิทยาลัย ครู และนักเรียน นักศึกษา ในสังกัด สอศ.พร้อมด้วยผู้บริหารจากกรมสุขภาพจิต กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เข้าร่วม

น.ส.ตรีนุช กล่าวตอนหนึ่ง ว่า รัฐบาลให้ความสำคัญอยากให้เด็กไทยทุกคนมีสภาพร่างกาย สภาพจิตใจ ที่เข้มแข็ง ศธ.ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องผลักดันให้มี โครงการ “1 โรงเรียน 1 ครู อนามัย” โดยตั้งเป้าว่าในปีนี้ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จะต้องมีครูอนามัยประจำโรงเรียนให้ได้ 2,000 แห่ง และเด็กไทยมีความรู้พื้นฐานในการช่วยชีวิตเบื้อต้นได้จำนวน 1 ล้านคน และสำหรับในส่วนของวิทยาลัยในสังกัด สอศ.นอกจากจะให้ทุกวิทยาลัยอาชีวะฯมีครูอนามัยประจำวิทยาลัยทุกแห่งแล้ว ศธ.ตั้งเป้าสร้างฮีโร่อาชีวะ และให้ความรู้ครูและเรียนนักศึกษาเข้าใจเรื่องการดูแลสุขภาพตนเองได้อย่างเหมาะสม และสามารถทำ CPR เป็น ตามนโยบายสถานศึกษาปลอดภัย และมีจิตอาสาช่วยเหลือสังคม

ด้าน ว่าที่ร้อยตรี กล่าวว่า การจัดโครงการ “1 วิทยาลัย 1 ครูอนามัย สร้าง HERO อาชีวะ” มีวัตถุประสงค์เพื่อฝึกทักษะนักเรียน นักศึกษาให้สามารถปฐมพยาบาล ให้สามารถช่วยเหลือผู้ที่หยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้นได้ (Cardiopulmonary Resuscitation : CPR) และพัฒนาศักยภาพผู้บริหาร ครู ให้สามารถดูแล ให้คำปรึกษา ช่วยเหลือ ผู้เรียน ด้านสุขภาพกาย สุขภาพจิต และสุขภาพสังคมได้ โดยแนวทาง กระทรวงศึกษาธิการให้ความสำคัญถึงความปลอดภัยของผู้เรียนอาชีวศึกษา กำหนดเป็นนโยบายด้านการจัดการศึกษาเพื่อความปลอดภัย ให้มีรูปแบบ วิธีการ หรือกระบวนการในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน นักศึกษา เกิดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ มีความสุข และได้รับการปกป้อง คุ้มครอง ความปลอดภัยทั้งด้านร่างกาย และจิตใจ รวมถึงการเสริมสร้างทักษะให้ผู้เรียน มีความสามารถ ในการดูแลตนเองจากภัยอันตรายต่างๆ ท่ามกลางสภาพแวดล้อมทางสังคม ภายใต้หลัก 3 ป “ป้องกัน ปลูกฝัง และปราบปราม” เพื่อเป้าหมายของการจัดการศึกษา มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนเป็นสำคัญ

“สอศ.จึงเร่งสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษาอันนำไปสู่ “สถานศึกษาแห่งความสุข” ภายใต้นโยบายเสริมสร้างอาชีวศึกษาปลอดภัย สร้างความร่วมมือกับสาธารณสุขในพื้นที่เพื่อสร้าง 1 วิทยาลัย 1 ครูอนามัย สร้าง HERO อาชีวะ โดยมีบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการคู่เครือข่ายดูแลจิตใจ ก้าวสู่คนไทยคุณภาพ ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กับกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้สถานศึกษามีการคัดกรองและดูแลช่วยเหลือผู้เรียนที่เหมาะสมและบูรณาการกับระบบสาธารณสุข พร้อมทั้งกำหนดโครงสร้าง บทบาทหน้าที่ครูอนามัย (ครูสวัสดิการนักเรียน นักศึกษา) และผู้ช่วยครูอนามัย (นักเรียน นักศึกษา) ในกรอบแนวคิด 4 คานงัด (MIDA) ได้แก่  M = MISSION : กำหนดที่มาและภารกิจงานของครูอนามัยและจิตอาสาอนามัยในสถานศึกษา I = Implement : มีรูปแบบการขับเคลื่อนและประสานงานระหว่างสถานศึกษากับหน่วยงานสาธารณสุข D = Development : มีแผนการผลิตและพัฒนาทักษะความรู้ความสามารถของครูอนามัยและจิตอาสาอนามัย และ A = Activities : มีแผนงานโครงการกิจกรรมของงานอนามัย” เลขาธิการ กอศ.กล่าว

– 006

สกสว.หารือสภาอุตสาหกรรมฯเสริมทัพ สร้างผลกระทบจากการนำผลวิจัย-นวัตกรรมไปใช้ประโยชน์

#SootinClaimon.Com : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์แนวหน้า

https://www.naewna.com/local/717354

สกสว.หารือสภาอุตสาหกรรมฯเสริมทัพ สร้างผลกระทบจากการนำผลวิจัย-นวัตกรรมไปใช้ประโยชน์

สกสว.หารือสภาอุตสาหกรรมฯเสริมทัพ สร้างผลกระทบจากการนำผลวิจัย-นวัตกรรมไปใช้ประโยชน์

วันอังคาร ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2566, 18.14 น.

สกสว. ประชุมร่วมสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หารือแนวทางความร่วมมือในการจัดงาน “มหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยและนวัตกรรม ประจำปี 2566 (TRIUP FAIR 2023)” ภายใต้แนวคิด “Journey to Impact : เส้นทางจากงานวิจัยและนวัตกรรมสู่การยกระดับเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ” ชูให้การจัดงานครั้งนี้เป็น One Stop Service ด้านการใช้ประโยชน์สำหรับภาคเอกชน และผู้ประกอบการ 

เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2566, สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) จัดประชุมหารือแนวทางความร่วมมือในการจัดงาน “มหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยและนวัตกรรม ประจำปี 2566 (TRIUP FAIR 2023)” ร่วมกับประธานกลุ่มอุตสาหกรรมต่าง ๆ ภายใต้สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โดยมี คุณวนัส แต้ไพสิฐพงษ์ ประธานคณะอนุกรรมการด้านการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ เป็นประธาน พร้อมด้วย รศ. ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการ สกสว. และคณะผู้บริหาร สกสว. เข้าร่วมแลกเปลี่ยนแนวคิดการจัดงานฯ และวางเป้าหมายร่วมระยะยาวในการขับเคลื่อนการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ให้สามารถสร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ 

รศ. ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการ สกสว. กล่าวว่า หนึ่งในบทบาทหลักของ สกสว. คือ การสร้างระบบการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ (Research Utilization; RU) โดย สกสว. ให้ความสำคัญกับการสนับสนุนด้านการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่เกิดขึ้นในระบบ ววน. ไปใช้ประโยชน์ในมิติต่าง ๆ ตลอดจนพัฒนากลไกหนุนเสริมเพื่อให้สามารถสร้างผลลัพธ์ ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมได้ ซึ่งสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2564 โดยที่ผ่านมา สกสว. ได้มีความร่วมมือกับสภาอุตสาหกรรมในโครงการ “กองทุนอินโนเวชั่นวัน” ในการสร้างกลไกและแนวทางการสนับสนุนอุตสาหกรรม และ startup ให้เกิดการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมไทยให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน รวมทั้งเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ startup และความต้องการของ SME ในการนำเทคโนโลยีมายกระดับความสามารถในการแข่งขันของตัวเอง

อย่างไรก็ตาม เส้นทางไปสู่การเกิดผลลัพธ์และผลกระทบที่เป็นรูปธรรมนั้น ต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการร่วมกันทำให้กลไกที่มีอยู่ขยับไปข้างหน้า และสร้างผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศให้ได้ และเพื่อเป็นการเน้นย้ำให้ทุกภาคส่วนเห็นความสำคัญของการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาประเทศ สกสว. ร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ตลอดจนหน่วยงานภาคีต่าง ๆ ได้มีกำหนดจัดงาน “มหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยและนวัตกรรม ประจำปี 2566 (TRIUP Fair 2023)” ขึ้นภายใต้แนวคิด “Journey to Impact : เส้นทางจากงานวิจัยและนวัตกรรมสู่การยกระดับเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ” ระหว่างวันที่ 18-19 กรกฎาคม 2566 ณ รอยัลพารากอนฮอลล์ 1-3 ชั้น 5 ศูนย์การค้าสยามพารากอน มุ่งเน้นการนำเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรมใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1. ววน. กับ การยกระดับสุขภาพคนไทยและอุตสาหกรรมการแพทย์ 2. ววน. กับ การนำไทยสู่อุตสาหกรรมเกษตรและอาหารมูลค่าสูง 2. ววน. กับ การสนับสนุน Net Zero Carbon นอกจากนี้ภายในงานยังจัดให้มีการออกบูธของหน่วยงานในระบบนิเวศที่เอื้อให้เกิดการใช้ประโยชน์ อาทิ แหล่งทุนวิจัย หน่วยงานผู้กำกับมาตรฐาน หน่วยงานด้านทรัพย์สินทางปัญญา และสถาบันการเงิน เป็นต้น 

การจัดงาน TRIUP Fair ครั้งนี้ มีเป้าหมายที่จะเชิญชวนหน่วยงานในระบบนิเวศมาร่วมกันขับเคลื่อนใน 3 ธีมเป้าหมาย โดยจะร่วมกันส่งมอบผลกระทบภายใน 5 ปี ในการประชุมหารือครั้งนี้ ได้มีการรับฟังความคิดเห็นจากตัวแทนสภาอุตสาหกรรม อาทิ ประธานสถาบันนวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรม ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมสมุนไพร ประธานกลุ่มเครื่องจักรกลการเกษตร ประธานกลุ่มเทคโนโลยีชีวภาพ ประธานกลุ่มยา ประธานกลุ่มน้ำตาล รองประธานอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน เลขาธิการกลุ่มอุตสาหกรรมผู้ผลิตเครื่องมือแพทย์ และกรรมการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เกี่ยวกับแนวทางในการเลือกประเด็นย่อยของแต่ละธีมมาทดลองขับเคลื่อนร่วมกัน 

โดยการจัดงาน TRIUP FAIR 2023 นอกจากจะเป็นการร่วมกันของหน่วยงานในระบบนิเวศในการขับเคลื่อนนำ ววน. ไปยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจแก่ประเทศแล้ว ในมุมของผู้ประกอบการต่าง ๆ จะได้รับประโยชน์เนื่องจากภายในงานจะเป็นการเปิดพื้นที่ให้ภาคเอกชน กลุ่มผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้พบ Solution ที่ตอบโจทย์ความต้องการในภาคอุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่งการจัดงานครั้งนี้ถือเป็นก้าวแรกที่สำคัญในเส้นทางการสร้างผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ  

สอศ. คิก ออฟ ‘1 วิทยาลัย 1 ครูอนามัย สร้าง HERO อาชีวะ’ มุ่งสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษา

#SootinClaimon.Com : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์แนวหน้า

https://www.naewna.com/local/717296

สอศ. คิก ออฟ '1 วิทยาลัย 1 ครูอนามัย สร้าง HERO อาชีวะ' มุ่งสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษา

สอศ. คิก ออฟ ‘1 วิทยาลัย 1 ครูอนามัย สร้าง HERO อาชีวะ’ มุ่งสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษา

วันอังคาร ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2566, 16.30 น.

สอศ. คิก ออฟ ‘1 วิทยาลัย 1 ครูอนามัย สร้าง HERO อาชีวะ’ มุ่งสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษา

เมื่อวันที่ 14 มีนาคม ที่วิทยาลัยอาชีวศึกษาปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เป็นประธานในพิธีการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ โครงการ “1 วิทยาลัย 1 ครูอนามัย สร้าง HERO อาชีวะ”  โดยมีว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) และคณะผู้บริหาร สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.) ผู้อำนวยการวิทยาลัย ครู และนักเรียน นักศึกษา ในสังกัด สอศ. พร้อมด้วยผู้บริหารจากกรมสุขภาพจิต กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เข้าร่วม 

น.ส.ตรีนุช กล่าวตอนหนึ่ง ว่า รัฐบาลให้ความสำคัญอยากให้เด็กไทยทุกคนมีสภาพร่างกาย สภาพจิตใจ ที่เข้มแข็ง ศธ.ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องผลักดันให้มี โครงการ “1 โรงเรียน 1 ครู อนามัย” โดยตั้งเป้าว่าในปีนี้ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จะต้องมีครูอนามัยประจำโรงเรียนให้ได้ 2,000 แห่ง และเด็กไทยมีความรู้พื้นฐานในการช่วยชีวิตเบื้อต้นได้จำนวน 1 ล้านคน  และสำหรับในส่วนของวิทยาลัยในสังกัด สอศ. นอกจากจะให้ทุกวิทยาลัยอาชีวะฯมีครูอนามัยประจำวิทยาลัยทุกแห่งแล้ว ศธ.ตั้งเป้าสร้างฮีโร่อาชีวะ และให้ความรู้ครูและเรียนนักศึกษาเข้าใจเรื่องการดูแลสุขภาพตนเองได้อย่างเหมาะสม และสามารถทำ CPR เป็น ตามนโยบายสถานศึกษาปลอดภัย และมีจิตอาสาช่วยเหลือสังคม ​

ด้านว่าที่ร้อยตรี กล่าวว่า การจัดโครงการ “1 วิทยาลัย 1 ครูอนามัย สร้าง HERO อาชีวะ” มีวัตถุประสงค์เพื่อฝึกทักษะนักเรียน นักศึกษาให้สามารถปฐมพยาบาล ให้สามารถช่วยเหลือผู้ที่หยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้นได้ (Cardiopulmonary Resuscitation : CPR) และพัฒนาศักยภาพผู้บริหาร ครู ให้สามารถดูแล ให้คำปรึกษา ช่วยเหลือ ผู้เรียน ด้านสุขภาพกาย สุขภาพจิต และสุขภาพสังคมได้ โดยแนวทาง กระทรวงศึกษาธิการให้ความสำคัญถึงความปลอดภัยของผู้เรียนอาชีวศึกษา กำหนดเป็นนโยบายด้านการจัดการศึกษาเพื่อความปลอดภัย ให้มีรูปแบบ วิธีการ หรือกระบวนการในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน นักศึกษา เกิดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ มีความสุข และได้รับการปกป้อง คุ้มครอง ความปลอดภัยทั้งด้านร่างกาย และจิตใจ รวมถึงการเสริมสร้างทักษะให้ผู้เรียน มีความสามารถ ในการดูแลตนเองจากภัยอันตรายต่างๆ ท่ามกลางสภาพแวดล้อมทางสังคม ภายใต้หลัก 3 ป “ป้องกัน ปลูกฝัง และปราบปราม” เพื่อเป้าหมายของการจัดการศึกษา มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนเป็นสำคัญ

“สอศ. จึงเร่งสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษาอันนำไปสู่ “สถานศึกษาแห่งความสุข” ภายใต้นโยบายเสริมสร้างอาชีวศึกษาปลอดภัย สร้างความร่วมมือกับสาธารณสุขในพื้นที่เพื่อสร้าง 1 วิทยาลัย 1 ครูอนามัย สร้าง HERO อาชีวะ โดยมีบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการคู่เครือข่ายดูแลจิตใจ ก้าวสู่คนไทยคุณภาพ ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กับกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้สถานศึกษามีการคัดกรองและดูแลช่วยเหลือผู้เรียนที่เหมาะสมและบูรณาการกับระบบสาธารณสุข พร้อมทั้งกำหนดโครงสร้าง บทบาทหน้าที่ครูอนามัย (ครูสวัสดิการนักเรียน นักศึกษา) และผู้ช่วยครูอนามัย (นักเรียน นักศึกษา) ในกรอบแนวคิด 4 คานงัด (MIDA) ได้แก่  M = MISSION : กำหนดที่มาและภารกิจงานของครูอนามัยและจิตอาสาอนามัยในสถานศึกษา I = Implement : มีรูปแบบการขับเคลื่อนและประสานงานระหว่างสถานศึกษากับหน่วยงานสาธารณสุข D = Development : มีแผนการผลิตและพัฒนาทักษะความรู้ความสามารถของครูอนามัยและจิตอาสาอนามัย และ A = Activities : มีแผนงานโครงการกิจกรรมของงานอนามัย” เลขาธิการ กอศ. กล่าว 
 

‘ตรีนุช’เผยมติครม. ไฟเขียวให้มีผอ.ร.ร.ขนาดเล็ก ที่นักเรียนน้อยกว่า120คน

#SootinClaimon.Com : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์แนวหน้า

https://www.naewna.com/local/717292

'ตรีนุช'เผยมติครม. ไฟเขียวให้มีผอ.ร.ร.ขนาดเล็ก ที่นักเรียนน้อยกว่า120คน

‘ตรีนุช’เผยมติครม. ไฟเขียวให้มีผอ.ร.ร.ขนาดเล็ก ที่นักเรียนน้อยกว่า120คน

วันอังคาร ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2566, 16.22 น.

“ตรีนุช” เผย มติ ครม.ไฟเขียวให้มีผอ. ร.ร.ขนาดเล็กที่นักเรียนน้อยกว่า 120 คน

14 มีนาคม 2566 นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เปิดเผยผลการประชุมคณะรัฐมนตรี ( ครม.)  ว่า ครม.ได้ให้ความเห็นชอบมาตรการบริหารจัดการกำลังคนภาศรัฐ (พ.ศ. 2566-2570) ตามที่คณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ (คปร.) เสนอ   โดยในส่วนของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่เกี่ยวกับกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มีสาระสำคัญแตกต่างไปจากมาตรการฉบับเดิม (พ.ศ.2562-2565) ที่ ครม.มีมติ เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2562 ในส่วนของการกำหนดตำแหน่งที่คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) สามารถพิจารณาจัดสรรตามเงื่อนไขเฉพาะกรณีได้นั้น  ในมาตรการใหม่ ในส่วนของตำแหน่งซึ่งมีหน้าที่เป็นผู้สอนในโรงเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียนขยายโอกาส และโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา ที่มีจำนวนนักเรียนตั้งแต่ 120 คนขึ้นไป และไม่อยู่ในแผนการถ่ายโอนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)ได้ขยายเงื่อนไขให้ครอบคลุมตำแหน่งซึ่งมีหน้าที่เป็นผู้สอนในกลุ่มสถานศึกษา ที่มีการจัดการเรียนการสอนแบบรวมสถานศึกษา ที่มีจำนวนนักเรียน ตั้งแต่ 120 คนขึ้นไป ในพื้นที่ปกติและไม่อยู่ในแผนการถ่ายโอนให้แก่ อปท.ด้วย

รมว.ศธ. กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มมาตรการในการจัดสรรอัตรากำลังตามเงื่อนไขเฉพาะกรณี โดยให้ ก.ค.ศ.พิจารณานำตำแหน่งที่มีอัตรากำลังครูผู้สอนเกินเกณฑ์อัตรากำลังของ ก.ค.ศ. มากำหนดเป็นตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาให้กับโรงเรียนที่มีนักเรียน 61-119 คน ที่จำเป็นต้องมีผู้บริหารสถานศึกษาในระหว่างดำเนินการตามแผนควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก และปรับวิธีการจัดสรรตามเงื่อนไขเฉพาะกรณีสำหรับตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่น ตามมาตรา 38 ค. (2.) เฉพาะตำแหน่งที่ ก.ค.ศ. กำหนดเป็นตำแหน่งประเภทวิชาการและตำแหน่งประเภททั่วไป โดยกำหนดแนวทางการจัดสรรเช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือนสามัญ

“การเพิ่มมาตรการในการจัดสรรอัตรากำลังตามเงื่อนไขเฉพาะกรณี ตามมติ ครม.นี้ จะทำให้กระทรวงศึกษาธิการ สามารถบริหารงานของสถานศึกษาในการขับเคลื่อนภารกิจการปฏิรูปการศึกษา และนโยบายสำคัญของรัฐบาลด้านการศึกษาได้ โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาให้แก่โรงเรียนขนาดเล็กที่มีจำนวนนักเรียนต่ำกว่า 120 คน ซึ่งปัจจุบันมีโรงเรียนที่มีนักเรียน 61-119 คน จำนวน 7,969 โรงเรียน ในจำนวนนี้ ไม่มีผู้อำนวยการอยู่ 1,760 โรงเรียน ดิฉันจึงได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ สำนักงานคณะกรรมการราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ร่วมกันจัดทำรายละเอียดการดำเนินการตามมติ ครม.ได้เลย เพื่อให้โรงเรียนขนาดเล็กดังกล่าว มีผู้อำนวยการโรงเรียนโดยเร็วที่สุด ขณะเดียวกัน ศธ. จะนำมติ ครม.นี้ มาปฏิบัติเพื่อให้การกำกับดูแล การควบคุมขนาดกำลังคนและภาระค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรภาครัฐเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และนำไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมตามเป้าหมายของ คปร.และ นโยบายของรัฐบาล“ นางสาวตรีนุช กล่าว

รมว.ศธ.กล่าวด้วยว่า สำหรับผลการดำเนินการตามมาตรการบริหารจัดการกำลังคนภาศรัฐ (พ.ศ. 2562-2565) ในส่วนของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา มีอัตราว่างจากผลการเกษียณอายุ รวม 69,134 อัตรา โดยจัดสรรคืนให้ส่วนราชการ 69,019 อัตรา คิดเป็นร้อยละ 99.83 และทดแทนด้วยการจ้างงานรูปแบบอื่น จำนวน 115 อัตรา คิดเป็นร้อยละ 9.72 จากจำนวนผลการเกษียณอายุของตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค. (2) ในหน่วยงานการศึกษา สังกัด ศธ.จำนวน 1,183 อัตรา  -009

ประกาศ‘กิมิทาเทวี’ นางสงกรานต์ปี66-เกณฑ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์

#SootinClaimon.Com : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์แนวหน้า

https://www.naewna.com/local/717283

ประกาศ‘กิมิทาเทวี’ นางสงกรานต์ปี66-เกณฑ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์

ประกาศ‘กิมิทาเทวี’ นางสงกรานต์ปี66-เกณฑ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์

วันอังคาร ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2566, 15.57 น.

ประกาศ‘กิมิทาเทวี’ นางสงกรานต์ปี66-เกณฑ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์

14 มีนาคม 2566 นายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม เปิดเผยว่า กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) กระทรวงวัฒนธรรม ได้จัดทำภาพวาดนางสงกรานต์ ประจำปี 2566 พร้อมเผยแพร่ประกาศสงกรานต์ ปีพุทธศักราช 2566 จากฝ่ายโหรพราหมณ์ กองพระราชพิธี สำนักพระราชวัง ดังนี้

ปีเถาะ (มนุษย์ผู้หญิง ธาตุไม้) เบญจศก จุลศักราช ๑๓๘๕ ทางจันทรคติ เป็น อธิกมาส ทางสุริยคติ เป็น ปกติสุรทิน วันที่ ๑๔ เมษายน เป็น วันมหาสงกรานต์ ทางจันทรคติตรงกับวันศุกร์ แรม ๙ ค่ำ เดือน ๕ เวลา ๑๖ นาฬิกา ๐๑ นาที ๐๒ วินาที

นางสงกรานต์ ทรงนามว่า “กิมิทาเทวี” ทรงพาหุรัดทัดดอกจงกลนี อาภรณ์แก้วบุษราคัม ภักษาหารกล้วยน้ำ พระหัตถ์ขวาทรงขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายทรงพิณ เสด็จนั่งมาเหนือหลังมหิงสา (ควาย) เป็นพาหนะ

ด้านคำทำนาย วันที่ ๑๖ เมษายน เวลา ๒๐ นาฬิกา ๑๒ นาที ๒๔ วินาที เปลี่ยนจุลศักราชใหม่เป็น ๑๓๘๕ ปีนี้ วันเสาร์ เป็น ธงชัย , วันพุธ เป็น อธิบดี , วันศุกร์ เป็น อุบาทว์ , วันศุกร์ เป็น โลกาวินาศ ปีนี้ วันจันทร์ เป็นอธิบดีฝน บันดาลให้ฝนตก ๕๐๐ ห่า ตกในโลกมนุษย์ ๕๐ ห่า ตกในมหาสมุทร ๑๐๐ ห่า ตกในป่าหิมพานต์ ๑๕๐ ห่า ตกในเขาจักรวาล ๒๐๐ ห่า นาคให้น้ำ ๒ ตัว

เกณฑ์ธัญญาหาร ได้เศษ ๖ ชื่อ ลาภะ ข้าวกล้าในภูมินาจะได้ ๙ ส่วน เสีย ๑ ส่วน ธัญญาหาร พลาหาร มัจฉมังษาหาร จะบริบูรณ์ อุดมสมบูรณ์ เกณฑ์ธาราธิคุณ ตกราศีปัถวี ( ดิน ) น้ำงามพอดี

สกสว. และ มรภ.บุรีรัมย์ ชู ววน.ขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ สู่ สังคมสร้างสุข สร้างรายได้

#SootinClaimon.Com : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์แนวหน้า

https://www.naewna.com/local/717123

สกสว. และ มรภ.บุรีรัมย์ ชู ววน.ขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ สู่ สังคมสร้างสุข สร้างรายได้

สกสว. และ มรภ.บุรีรัมย์ ชู ววน.ขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ สู่ สังคมสร้างสุข สร้างรายได้

วันจันทร์ ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2566, 20.08 น.

สกสว.ร่วมหารือ มรภ.บุรีรัมย์ เตรียมขับเคลื่อน ววน. สร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อยกระดับรายได้ชุมชนของกลุ่มเกษตรไทยบ้าน การประยุกต์ใช้ฐานทุนทรัพยากรชุมชนเพื่อเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และ กลไกการสร้างเสริมชุมชนพึ่งพาตนเองบนฐานศิลปวัฒนธรรม สู่ สังคมสร้างสุข สร้างรายได้

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) โดย ผศ.ดร.แพร ศิริศักดิ์ดำเกิง ผู้อำนวยการกลุ่มภารกิจการพัฒนาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ด้านสังคม สิ่งแวดล้อม เชิงพื้นที่ และลดความเหลื่อมล้ำ พร้อมด้วย เจ้าหน้าที่ สกสว. ร่วมประชุม หารือนโยบายและทิศทางการสนับสนุนงบประมาณด้าน ววน. ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ (มรภ.บุรีรัมย์) โดยมี ผศ.ดร.กระพัน ศรีงาน รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ อาจารย์ ดร.พิสมัย ประชานันท์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนานวัตกรรมท้องถิ่น อาจารย์ ดร.เชาวลิต สิมสวย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา และ นักวิจัย มรภ.บุรีรัมย์ ให้การตอนรับ พร้อมนำเสนอผลการดำเนินงานโครงการ และกิจกรรม ที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุน ววน.) จำนวน 3 โครง ประกอบด้วย 

1. ชุดโครงการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากถั่วลิสงในการสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อยกระดับรายได้ชุมชนของกลุ่มเกษตรไทยบ้าน ตำบลหูทำนบ อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์ โดย ผศ.ดร.ผกามาศ บุตรสาลี

2. ชุดโครงการ การประยุกต์ใช้ฐานทุนทรัพยากรชุมชนเพื่อเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ภายใต้  การจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ โดย ผศ.สุธีรา สุนทรารักษ์ 

3. ชุดโครงการ กลไกการสร้างเสริมชุมชนพึ่งพาตนเองบนฐานศิลปวัฒนธรรมชาติพันธุ์ไทยเชื้อสายเขมรเพื่อสร้างแรงยึดเหนี่ยวทางสังคมทุกช่วงวัยพร้อมรับการเป็นเมืองสังคมสูงวัย จังหวัดบุรีรัมย์ โดย อาจารย์ ดร.สรรเพชร  เพียรจัด และคณะ  

โอกาสนี้ ผศ.ดร.แพร ศิริศักดิ์ดำเกิง กล่าวว่า สกสว. มีพันธกิจในการจัดทำนโยบาย แผนยุทธศาสตร์ และกรอบงบประมาณด้าน ววน. ของประเทศ รวมถึงบริหารระบบงบประมาณด้าน ววน. ผ่านการจัดสรรงบประมาณจากกองทุนส่งเสริม ววน. ให้กับหน่วยงานในระบบ ววน. ซึ่งแบ่งออกงบประมาณเป็น 2 ส่วน ได้แก่ งบประมาณเพื่อสนับสนุนงานเชิงกลยุทธ์ (Strategic Fund-SF) ให้กับหน่วยบริหารจัดการทุน (PMU) ทั้ง 9 แห่ง ตามแนวนโยบายระดับชาติ ยุทธศาสตร์ชาติ ยุทธศาสตร์การอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และ แผนด้าน ววน. หรือ ประเด็นเร่งด่วนตามนโยบายรัฐบาล รวมทั้งประเด็นที่เกิดจากความต้องการของผู้ใช้ประโยชน์โดยตรงซึ่งสร้างผลกระทบในวงกว้าง และงบประมาณสนับสนุนงานมูลฐาน (Fundamental Fund-FF) โดยจัดสรรในรูปแบบงบประมาณแบบวงเงินรวม (Block Grant) เพื่อเสริมสร้างศักยภาพตามพันธกิจของหน่วยงาน ให้แก่ กระทรวง กรม มหาวิทยาลัย ทั้งในและนอกกระทรวง อว. รวม 190 หน่วยงาน ซึ่ง มรภ.บุรีรัมย์ เป็นหนึ่งในจำนวนนี้

นอกจากงบประมาณ FF เพื่อดำเนินการตามพันธกิจแล้ว นักวิจัย มรภ.บุรีรัมย์ ยังสามารถ เสนอของบประมาณ เพื่อสนับสนุนงานเชิงกลยุทธ์ ทั้งในส่วนของการต่อยอดจากโครงการวิจัยเดิม และการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ โดยอ้างอิงตามแผนด้าน ววน. ปี 2566-70 ภายใต้ 4 ยุทธศาสตร์ 14 แผนงานสำคัญ ตามจุดมุ่งเน้นของนโยบาย และ 25 แผนงานหลัก อาทิ การพัฒนาผู้สูงอายุในภาคชนบทและเมืองให้มีศักยภาพในการพึ่งตนเอง มีคุณค่าและสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สังคม การขจัดความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ โดยการเพิ่มโอกาสและลดช่องว่างของกา เข้าถึงการพัฒนาอาชีพ การศึกษาเรียนรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม การเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่ ให้พึ่งพาตนเองได้และมีการกระจายรายได้สู่ชุมชน/ท้องถิ่นมากขึ้น การยกระดับการผลิตและการส่งออก Functional Ingredients, Functional Food, Novel Food ให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง การพัฒนาการผลิตและการส่งออกอาหารและผลไม้ไทยคุณค่าสูงและมูลค่าสูง ตลอดจนการพัฒนาและยกระดับการท่องเที่ยวโดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่เน้นคุณค่า เพิ่มรายได้ของประเทศที่ยั่งยืน เป็นต้น

อย่างไรก็ดี สกสว. หวังเป็นอย่างยิ่งว่า การจัดสรรงบประมาณสำหรับแผนงาน หรือ โครงการวิจัยและนวัตกรรม ตามพันธกิจของหน่วยงานจะสามารถตอบโจทย์ความต้องการ และ สร้างความเข้มแข็งให้กับจังหวัดบุรีรัมย์ และ จังหวัดใกล้เคียง สู่กายกระดับเป็นสังคมสร้างสุขและสร้างรายได้ต่อไป

สำนักงานอาชีวศึกษาอุบลฯขานรับนโยบายเร่งด่วนยกระดับอาชีวศึกษาทวิภาคีคุณภาพสูง

#SootinClaimon.Com : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์แนวหน้า

https://www.naewna.com/local/717108

สำนักงานอาชีวศึกษาอุบลฯขานรับนโยบายเร่งด่วนยกระดับอาชีวศึกษาทวิภาคีคุณภาพสูง

สำนักงานอาชีวศึกษาอุบลฯขานรับนโยบายเร่งด่วนยกระดับอาชีวศึกษาทวิภาคีคุณภาพสูง

วันจันทร์ ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2566, 19.22 น.

สำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี ขานรับนโยบายเร่งด่วน ยกระดับอาชีวศึกษาทวิภาคีคุณภาพสูง จับมือ 7 สถานประกอบการ MOU พัฒนาผู้เรียนด้านวิชาชีพสู่การแข่งขันในประชาคมโลก ตอบโจทย์ประเทศไทยมั่นคง ร่ำรวย ด้วยมืออาชีวะ

วันที่ 13 มีนาคม 2566  สำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี นำโดย นายธาตรี พิบูลมณฑา ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคอุบลราชธานี ผู้อำนวยการสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี นำคณะผู้บริหารสังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี ได้แก่ นางสุวนิจ สุริยพันตรี  ผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพวารินชำราบ ว่าที่ ร.ท.จิรายุศ จินาวัลย์  ผู้อำนวยการ วิทยาลัยเทคนิคพิบูลมังสาหาร  นายแปลก  ภีระคำ  ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคตระการพืชผล นางชัญญนัท  จันเทพา ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคเขมราฐ ดร.นิรันดร์ สมมุติ ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคนครอุบลราชธานี นายรุ่งวิจักษ์ หวังมวลกลาง  ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคเดชอุดม พร้อมด้วยสถานศึกษาสังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดอำนาจเจริญ ได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคหัวตะพาน นำโดยนายพรหมพิริยะ  พรหมสูตร  ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคหัวตะพานร่วมบันทึกลงนามความร่วมมือ MOU กับสถานประกอบการที่ได้คุณภาพมาตรฐานชั้นนำระดับประเทศ มีนายประสิทธิ์ สุรศิลป์ อดีตผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพวารินชำราบ ประธานคณะกรรมการวิทยาลัยการอาชีพวารินชำราบ เป็นประธานและร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ด้วย ณ วิทยาลัยการอาชีพวารินชำราบ อ.วารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี 

ทั้งนี้การลงนามความร่วมมือดังกล่าว ประกอบด้วย 9 สถานศึกษา สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดอำนาจเจริญ กับสถานประกอบการที่ร่วมลงนามความร่วมมือทั้งสิ้นจำนวน 7 แห่ง ในเขตพื้นที่จังหวัดปทุมธานี จังหวัดนนทบุรี และกรุงเทพมหานคร  ได้แก่  1. บริษัท พี.รุ่งเรืองบริการ จำกัด  2. บริษัท เค.รุ่งเรืองบริการ จำกัด  3. บริษัท ควิก แอนด์ แคร์ เซอร์วิสเซ็นเตอร์ จำกัด  4. บริษัท ออโต้ สมาร์ท โบรกเกอร์ จำกัด  5. บริษัท เค คาร์เรนทอล จำกัด  6. ศูนย์บริการ รถยนต์เอ็มจี 824 ราชพฤกษ์  และ 7. ศูนย์บริการ ฟอร์ด อาร์เอ็มเอ ราชพฤกษ์  โดยมีเป้าหมายสำคัญในการร่วมกันแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ทรัพยากรทางการศึกษา ตลอดจนพัฒนาทักษะนักเรียน นักศึกษา สู่ความเป็นมืออาชีพในการเข้าฝึกงานในสถานประกอบการ ให้สามารถผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาให้มีสมรรถนะสูงตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ จึงนับเป็นโอกาสสำคัญของผู้เรียนอาชีวศึกษาที่จะได้รับการสนับสนุนและพัฒนาขีดความสามารถด้านวิชาชีพสู่การแข่งขันในประชาคมโลก สอดคล้องกับเป้าหมายในการพัฒนาประเทศ ภายใต้แนวคิด “ประเทศไทยมั่นคง ร่ำรวย ด้วยมืออาชีวะ” ตามนโยบายเร่งด่วนของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

เปิดวิสัยทัศน์‘ประมุข เจิดพงศาธร’ มองเศรษฐกิจ‘สหรัฐอเมริกา’ และโอกาสของ‘ข้าวหอมมะลิไทย’

#SootinClaimon.Com : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์แนวหน้า

https://www.naewna.com/local/716823

เปิดวิสัยทัศน์‘ประมุข เจิดพงศาธร’ มองเศรษฐกิจ‘สหรัฐอเมริกา’ และโอกาสของ‘ข้าวหอมมะลิไทย’

เปิดวิสัยทัศน์‘ประมุข เจิดพงศาธร’ มองเศรษฐกิจ‘สหรัฐอเมริกา’ และโอกาสของ‘ข้าวหอมมะลิไทย’

วันจันทร์ ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2566, 06.00 น.

ไทยได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่โดดเด่นด้าน “อาหาร” ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ “ข้าว” จากยอดการส่งออกเป็นอันดับต้นๆ ของโลกในทุกปี และโดยเฉพาะ “ข้าวหอมมะลิ” ที่มีชื่อเสียงในระดับสากล ล่าสุดเมื่อเร็วๆ นี้ ทีมงาน “นสพ.แนวหน้า”มีโอกาสได้พูดคุยกับ นายประมุข เจิดพงศาธร ประธานบริษัท PJUS GROUP, USA นักธุรกิจชาวไทยผู้จัดหาสินค้าไทยส่งให้กับห้างสรรพสินค้าและซูเปอร์มาร์เก็ตในสหรัฐอเมริกาเนื่องในโอกาสที่ คุณประมุข เดินทางกลับมาเมืองไทยเพื่อหารือกับ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ในการนำข้าวหอมมะลิที่มีตราเครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย “(Thai Hom Mali Rice)” โดยกรมการค้าต่างประเทศบุกตลาดสหรัฐฯ

– ก่อนอื่นอยากให้ท่านแนะนำว่า บริษัทของท่านทำอะไรบ้าง? : ตอนนี้ทำข้าวทุกชนิด ข้าวแบรนด์ Premium Queen Elephant ข้าว Long Grain Rice ก็คือข้าวขาว ข้าวขาวกล้อง ข้าวนึ่ง แล้วก็มาข้าวหอมประเภทธรรมดา ก็คือใช้ข้าวหอมปทุม แล้วก็ข้าวหอมมะลิพรีเมียม ข้าวนี่ผมใช้ 2-3 โรงงาน เพราะทางเป้าหมายเราคิดจะทำ 1,000 ตู้ หรือประมาณ 2 หมื่นตัน แล้วต่อไปจะเพิ่มขึ้นเป็น 4-5 หมื่นตัน

แล้วตัวอื่นที่ผมทำก็คือสินค้าเกี่ยวกับมะพร้าว ก็มีน้ำมะพร้าว มีกะทิ ซึ่งเป็นสินค้าที่มีความหลากหลายพอสมควร เนื้อมะพร้าวก็ยังนำมาทำมะพร้าวอบแห้ง อีกหลายๆ ชนิดต่อๆ มาหลังจากน้ำมะพร้าวเรายังมีทำเครื่องดื่มชนิดอื่น พวกน้ำว่านหางจระเข้ น้ำมะขาม น้ำแตงโม แล้วกำลังจะเพิ่มไปเป็นชาเขียว แล้วอาหารกระป๋องก็ตั้งแต่สับปะรด ฟรุ๊ตสลัด ฟรุ๊ตค็อกเทล มีพวกมะม่วง ก็เป็นส่วนของกระป๋องทั้งสิ้น แล้วก็มาสัก 3 ปีนี้ก็เป็นของขบเคี้ยว

– อะไรทำให้ท่านมาสนใจและอยากส่งเสริมข้าวหอมมะลิอย่างจริงจัง? : ก็คือข้าวทุ่งกุลาร้องไห้ ในส่วนนี้ทำไมเขาถึงเน้นคำว่าทุ่งกุลาร้องไห้? ผมก็บังเอิญไปค้นพบ เราก็ชอบศึกษา ชอบถาม ว่าแล้วทุ่งกุลาร้องไห้มันดีอย่างไร? ก็บังเอิญวันหนึ่งผมอยู่กรุงเทพฯ นี่ละ ผมก็ถามแท็กซี่ว่ารายได้เป็นอย่างไรบ้าง? ตั้งแต่เข้ามาจนถึงปัจจุบัน เจอลุงคนนี้แกบอกว่าขับแล้วได้ 2,100 บาท ผมถามว่าต้องเสียค่าเช่าไหม? เขาบอกไม่! เพราะเป็นรถของเขาเอง ขับวันละกี่ชั่วโมง? เขาบอก 14 ชั่วโมง ไม่หยุดสักวัน

เราก็นึกในใจ เราก็ทำงานเยอะแล้วนะ ก็เท่ากับเป็นการเสริมสร้างกำลังใจเสียด้วยซ้ำไป แต่ทีนี้คือข้าวออร์แกนิก เท่าที่ทราบคือข้าวหอมมะลิปลูกกันอยู่แถว จ.ร้อยเอ็ด คนขับแท็กซี่ก็บอกว่าแกขับรถปีหนึ่งต้องกลับบ้านไปเพื่อที่จะไปดำนา หมายความว่าแกมีนาของตัวเอง ผมถามเรื่องดำนาเขาก็บอกว่าอันนี้เก็บไว้กินเอง แต่ในขณะเดียวกัน ที่ของแก 7-8 ไร่ แล้วก็ส่วนอื่นซึ่งไม่ใช่ของแก แกบอกว่าเขาใช้นาหว่าน ใช้เครื่องจักรหมดแล้ว ไม่ต้องมานั่งดำนาทีละต้นเหมือนในอดีต

เราก็เลยมาถึงบางอ้อ เขาใช้นาหว่านนี่เขาผสมสารเคมีก็คือปุ๋ย หว่านออกไป นั่นคือสิ่งที่จะเรียกว่าเป็นออร์แกนิกไม่ได้ ในส่วนของแกเนื่องจากไม่ได้ใช้ยากำจัดศัตรูพืชหรือฆ่าแมลง มันก็สามารถ Declare (ประกาศ) ว่าเป็นออร์แกนิกได้ถ้าหากเรียกหน่วยงานมาตรวจสอบ เขาก็บอกว่าตรงทุ่งกุลาร้องไห้เนื่องจากมันเป็นดินปนทราย ซึ่งมันปลูกได้แต่ข้าว ปลูกพืชอื่นมันก็ไม่ได้เท่าไร ตรงนี้จะดีที่สุด

“เอาข้าวพันธุ์ทุ่งกุลาร้องไห้ไปปลูกที่ภาคกลาง มันก็จะออกผลมาเป็นแบบอื่น มันจะไม่ได้มีกลิ่นหอม ตรงนี้เป็นจุดที่เรียกว่าข้าวที่ดีที่สุดของประเทศไทย ที่ประเทศไทยถึงขั้นออกโลโก้ว่าหอมมะลิ ถึงเป็นที่ไปที่มาว่าข้าวทุ่งกุลาร้องไห้คือปลูกได้เฉพาะตรงนี้ แล้วที่นี่ก็ไม่เหมือนภาคกลางที่มีเขื่อนมีน้ำ ที่นี่ปีหนึ่งฝนก็จะตกครั้งหนึ่ง ฉะนั้นก็จะเป็นข้าวนาปี อันนี้ก็เป็นความรู้”

– ท่านทำธุรกิจในสหรัฐฯ มานาน อยากทราบว่าชาวอเมริกันรู้จักข้าวหอมมะลิมาก-น้อยเพียงใด? และเท่าที่ทราบขณะนี้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ก็ไม่ค่อยดีนักอันเป็นผลกระทบต่อเนื่องลากยาวมาตั้งแต่สถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 จนถึงสงครามรัสเซีย-ยูเครน ผู้คนก็ต้องระมัดระวังการใช้จ่าย แต่ก็เป็นที่รู้กันว่าข้าวหอมมะลิถือเป็นข้าวเกรดสูง ข้าวระดับพรีเมียม อะไรทำให้ท่านมองเห็นโอกาสในการผลักดันข้าวหอมมะลิไทยในเวลานี้? : เราย้อนประวัติข้าวหอมมะลิกันนิด อเมริกาก็เห็นว่าทำไมไทยเอาแต่ข้าวหอมมะลิมาเยอะ? ปีหนึ่งๆ ก็ 4-5 แสนตัน

เราต้องยอมรับว่าคนที่บริโภคข้าวหอมมะลิมาดั้งเดิมคือชาวเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวเวียดนาม ชาวเวียดนามโพ้นทะเลตั้งแต่สงครามเวียดนามแล้วก็มีกลุ่มอพยพเข้าไป แล้วทางไทยเราก็ส่งข้าวนี้เข้าไป เขาก็เป็นกลุ่มบริโภคที่แพงเท่าไรเขาก็กิน แล้วก็มีชาวจีน คือสิ่งที่ดีขึ้นมาจากประสบการณ์ผมเองใน 3 ปีมานี้ คือบังเอิญแบรนด์ยักษ์ใหญ่ในอเมริกาก็ใช้ข้าวอเมริกา อเมริกาสร้างข้าวหอมมะลิขึ้นมา แรกเริ่มเดิมทีใช้คำว่าแจสแมน แต่ทำอย่างไรก็สู้ข้าวของเราไม่ได้ ถึงได้มีการตรวจกันถึง DNA

จากแจสแมนเขาก็เริ่มปลูกข้าวธรรมดาแล้วก็เรียกว่าจัสมิน เขาก็กินของเขาอย่างนั้น คำว่าจัสมินก็คือชื่อกลางที่ทั่วๆ ไป ซึ่งตอนหลังเวียดนามเขาก็มาทำข้าวแต่เขาก็ปลูกไม่ได้เพราะภูมิประเทศของเขาเจอมรสุมหนักมาก แล้วข้าวพันธุ์ของเขาปลูกออกมาก็สู้พันธุ์ของไทยไม่ได้ อันนี้จากตัวเอง ตลาดฮิสแปนิก กินข้าวจะเอาไปคลุกกับมะเขือเทศบ้างอะไรบ้าง ข้าวอะไรก็เหมือนกันหมดก็ทำแบบนั้น แต่ตอนหลังเขาเริ่มรู้จักความแตกต่างของข้าวหอมมะลิจริงๆ แล้ว อันนี้จากคู่ค้าผมเอง มันเริ่มกระจายออกไป

ส่วนหนึ่งก็ยังไม่รู้ แต่ส่วนที่รู้เขาเน้นแล้วว่าต้องเป็นข้าวทุ่งกุลาร้องไห้ ฮิสแปนิกก็จะเป็นกลุ่มโซนลาติน อย่างสเปน เปอร์โตริโก บราซิล อาร์เจนตินา เม็กซิโก เป็นต้น ก็จะมี 2 พวกอย่างแถวไมอามี (รัฐฟลอริดา สหรัฐฯ) ก็จะเป็นโซนลาตินอเมริกาพวกนี้จะกินข้าวหอมมะลิที่เหมือนข้าวขาวไม่คลุกอะไร ส่วนฮิสแปนิกฝั่งเม็กซิโกจะกินข้าวที่พูดง่ายๆ ขอให้ราคาถูกก่อน แต่คนที่มีอันจะกินก็อยากจะกินที่มีตราหอมมะลิแล้ว อันนี้จากการที่สัมผัสโดยตรง

“อาจจะเป็นอานิสงส์ที่เราสร้างมานาน สร้างความเชื่อถือคือการค้าหากมีความเชื่อถือในเรื่องของแบรนด์ นอกนั้นยังไม่พอ ต้องมีความรู้ มีประสบการณ์ ตั้งแต่ปีที่แล้วผมบอกว่าถ้าหากไม่มั่นใจจะทำ ผมไม่ทำ เพราะนโยบายของห้างพวกนี้คือ Zero Mistake หรือความผิด 0 เปอร์เซ็นต์ เพราะถ้าทำผิดนิดสิ่งที่ผมทำมามันพังหมด ผมก็ไม่ทำ แล้วข้าวสิ่งที่เราทำไว้แล้วพอดีเขายังอยากให้เราทำ ผมก็เลยเรียกว่ามันสวนกระแส แต่พอผมได้ทำข้าว เนื่องจากตัวผมเขาให้ความมั่นใจ เขาก็เลยให้ทำอย่างอื่นด้วย”

– อีกประเด็นที่น่าสนใจ โดยปกติเรามักจะเข้าใจกันว่าการขนส่งในประเทศราคาต้องถูกกว่าการขนส่งข้ามประเทศ แต่ท่านบอกว่าวันนี้ไทยมีโอกาสส่งข้าวหอมมะลิไปขายในสหรัฐฯ เพราะค่าขนส่งทางเรือจากไทยไปสหรัฐฯ ยังถูกกว่าค่าขนส่งทางบกในสหรัฐฯ ระหว่างมลรัฐต่างๆ เสียอีก ตรงนี้สาเหตุมาจากอะไร? : อเมริกาถ้าผมจะบินจากซานฟรานซิสโก (รัฐแคลิฟอร์เนีย) ไปฝั่งตะวันออก ไกลว่าญี่ปุ่นอีก 8 ชั่วโมง แล้วอเมริกามีถึง 50 รัฐ ฉะนั้นรัฐหนึ่งก็เท่ากับ 1 ประเทศ

ดังนั้นข้าวที่ปลูกในรัฐเท็กซัส ใช้รถบรรทุกวิ่งมายังแอลแอ (ลอสแองเจลิส) รัฐแคลิฟอร์เนีย เสียค่ารถ 3,000 เหรียญ แต่ในขณะเดียวกันจากกรุงเทพฯ ไปแอลเอ 1,200 เหรียญ คือจากเท็กซัสจะวิ่งมาแอลเอมันวิ่งมาด้วยเรือไม่ได้ มันมีแต่บนรถเท่านั้น อันนี้จะเห็นภาพชัดเจนว่าทำไมในประเทศถึงแพง คือมันจะสู้กันได้ตรงนี้ ทุกอย่างมันมีเหตุผลในตัวของมันเอง

– ทราบว่าที่ท่านเดินทางมาประเทศไทยครั้งนี้ มีแผนจะนำคู่ค้าจากสหรัฐฯ เข้าหารือกับทางกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ในการโปรโมทสินค้าข้าวหอมมะลิของไทย ที่มีตราเครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย (Thai Hom Mali Rice)จากกรมการค้าต่างประเทศที่ถุงบรรจุ ผ่านเครือข่ายห้างสรรพสินค้าพันธมิตรของบริษัท ตรงนี้พอจะเล่าความคืบหน้าหลังการหารือได้หรือไม่ว่าเป็นอย่างไรบ้าง? : โอเคเลย! เพราะว่าในส่วนของผมเวลามาประเทศไทยผมก็ลงทุนด้วยตัวเอง พาคู่ค้ามา ในฐานะที่ผมเป็นที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ของกระทรวงฯ มาทุกยุคสมัยมาร่วม 20 ปีแล้ว คู่ค้ามาอย่างน้อยที่สุดเขาสามารถเล่าให้อธิบดีทราบได้ว่ามีอะไรบ้าง

ผมเห็นว่าคนนี้เก่งมาก ผมก็นำเขาเข้าพบอธิบดีที่กระทรวงฯ จากนั้นผมก็พาเขาไปที่โรงงานที่มีหุ้นส่วนกันที่ อ.ปราณบุรี(จ.ประจวบคีรีขันธ์) เขาทำครบวงจรเลย หลังจากนั้นก็มีการที่จะขยายในส่วนของข้าว ซึ่งผมเอาห้าง 5-6 แห่ง หลายหัวเมืองเข้ามาเพื่อที่จะโปรโมททางธุรกิจ หรือการโปรโมทสินค้าข้าวไทย ซึ่งขณะนี้ก็จะมีที่ ซาคราเมนโต (รัฐแคลิฟอร์เนีย) ซึ่งจะทำกันเป็นเดือนหลายครั้งเลย

มีทั้งลงโฆษณาหนังสิอพิมพ์ มีการโชว์สินค้าที่ห้าง โชว์สินค้าข้าวหอมมะลิ บางห้างก็อาจจะมีการมาหุงข้าวหอมมะลิแล้วก็ให้คนชิม ที่รัฐเท็กซัส อันนี้หลายรอบ ทำทั้งปีเลย แล้วก็มีห้างที่ลาสเวกัส (รัฐเนวาดา) นี่ก็เอาสินค้าโชว์มาแล้ว แล้วก็มีที่แอลเออีก 2 ห้าง มีที่ซีแอตเทิล (รัฐวอชิงตัน) กลับไป (สหรัฐฯ) นี่ก็ต้องบินเป็นลูกข่าง นี่คือในส่วนที่โปรโมท ภาระผมค่อนข้างที่จะเยอะ แต่ตราบใดที่เป็นสิ่งที่เราทำแล้วสนุกกับมันก็โอเค

– ไหนๆ มีโอกาสได้พูดคุยกับคนไทยที่ทำธุรกิจอยู่ในสหรัฐฯ ทั้งที ก็อยากให้ท่านเล่าหน่อยว่าสถานการณ์เศรษฐกิจในสหรัฐฯ ตอนนี้เป็นอย่างไรบ้าง? : โดยภาพรวมก็ยังย่ำแย่อยู่ ทุกคนก็ระมัดระวังในการใช้จ่าย เนื่องจากว่าที่นั่นก็จะมีงบประมาณในการใช้ชีวิตประจำวัน มันมีเงินจำกัดตรงนั้นอยู่ค่าเช่า ค่าเล่าเรียนลูก ค่าใช้จ่ายประจำวัน ถ้าไม่จำเป็นเขาหยุดใช้เงิน เพราะน้ำมันก็แพง แล้วภาวะเงินเฟ้อ (Inflation) มันสูงขึ้นหมด ต้นทุนสูงขึ้นหมด แล้วก็เป็นผลจากค่าระวางเรือปีที่แล้ว ช่วง 6-8 เดือน ตั้งแต่ 1,000 เหรียญ ขึ้นไปเป็น 1.5-2 หมื่นเหรียญ ก็ทำให้หลายๆ อย่างราคาขึ้นสูงมาก พอกระทบอยู่

สงครามรัสเซีย-ยูเครนยิ่งไปกันใหญ่ ช่วงนี้มีงานแสดงสินค้า ที่อนาไฮม์ (รัฐแคลิฟอร์เนีย) งาน Expo West ก่อนจะมาให้ข่าวนี่ผมก็ลองสอบถามดู แย่มากๆ ล่าช้าในการใช้จ่ายใช้สอย ยกเว้นในส่วนของสินค้าที่เป็นอาหาร แล้วก็ต้องเป็นอาหารพวกที่ยังจำเป็นจริงๆ ถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ค่อยจะซื้อกัน อย่างพวกอาหารห้างพรีเมียม เป็นออร์แกนิกหรืออะไรเหล่านี้ เราก็สังเกตดู คนจะน้อยเลย คนย้ายไปซื้อห้าง Discount Store (ห้างค้าปลีก) ที่ราคาถูกโชคดีที่ผมมองเรื่องนี้ตั้งแต่ปีกว่ามาแล้ว ตอนนั้นก็พยายามจะจับตลาดนี้ให้ได้ แล้วผมก็จับได้มันก็เลยต่อยอดไปเรื่อยๆ

ทีนี้มาพูดถึงเรื่องเศรษฐกิจ ตอนนี้ใหญ่หรือเล็กก็แย่หมด ชีวิตประจำวันทุกคนก็ยังแย่อยู่แล้ว จะเดินทางจะบินอะไรก็ลำบากกันหมด เรื่องการค้าจะดีมันเป็นไปไม่ได้ ก็อยู่ที่ว่าทางใครทางมัน พวกที่ทำในสายอาหารแล้วก็ทำอยู่ถูกช่องทาง มีคู่ค้าที่ดี ข้อย้ำเลย! คู่ค้าที่ดี คู่ค้าที่มั่นคง พวกนี้ก็จะได้เปรียบ อย่างตัวผมเอง ผมคิดว่าอยู่ในสถานะที่ได้เปรียบเพราะผมทำข้าว แล้วข้าวนี่ก็กำลังอยู่ในนโยบายของรัฐบาลที่ตอนนี้กำลังส่งเสริมข้าวหอมมะลิจากทุ่งกุลาร้องไห้ ผมก็ทำโครงการนั้นอยู่

สภาวะการเงินมันก็แปลกๆ ที่อเมริกาเวลานี้ มีคนถอนเงินจากหลายๆ ธนาคาร เราก็มองดูว่าจะมีบริษัทล้มหายตายจากไปฉะนั้นต้องจับตามองอย่างดีเลย เพราะการค้าชั่วโมงนี้ไม่สามารถที่จะกำหนดความแน่นอนได้ มันมีปัจจัยเสี่ยงเยอะเหลือเกิน อย่างเช่น ค่าเงิน 3 เดือนวิ่งขึ้น-วิ่งลง 20 เปอร์เซ็นต์ อย่างผมตอนจะมาเมืองไทย เงินบาทอยู่ที่ 38 บาท มาถึงยังไม่กี่วันก็เหลือ32.50 บาท ผมก็คิดว่าจะเอากลับไปอเมริกา ยังไม่ทันไรมันก็วิ่งขึ้นมาที่ 35 บาทกว่าๆ ตอนนี้อยู่แถวๆ 35 บาท วิ่งอยู่ตรงนี้ คือผมไม่ใช่นักเก็งกำไรค่าเงิน แล้วก็ไม่ได้ยุ่งกับหุ้น เราค้าขายจริงสร้างแบรนด์ ได้กำไรจาก Value Added หรือมูลค่าเพิ่มจากแบรนด์ที่เราสร้าง ตรงนี้ผมก็คิดว่า 35 บาท ก็พอใจแล้ว

– ในส่วนของธุรกิจของท่านเป็นอย่างไรบ้าง? : ความรู้และประสบการณ์ที่ผ่านมา เราจะพอรู้ได้ว่าอะไรควรและไม่ควรทำสิ่งเหล่านี้ผมคิดว่าผมทำได้ดีมาก อันนี้ผมพูดถึงตัวผม สินค้ามันค่อนข้างจะ Diversified ก็คือหลากหลาย เรารู้ว่าสิ่งนี้เราทำไปแล้วมันจะมีปัญหาเราก็หยุดดีกว่า อันนี้หมายถึงตัวสินค้า แล้วในขณะเดียวกันคู่ค้าที่อยู่ประเทศไทย ถ้าหากว่ามีคู่ค้าที่
ไม่มั่นคงเป็นหุ้นส่วนกันมันก็จะค้าลำบากมาก

เนื่องจากมีปัจจัยที่จะทำให้เข้าใจผิดแล้วก็ทะเลาะกันได้ทุกวันเลย เอาง่ายๆ วันนี้ค่าเงิน 34 บาท พรุ่งนี้ 35 บาท ตกลงกันแล้ว ซื้อขายกันแล้ว โห! วันเดียวบาทนึง ขอเปลี่ยนราคา ถ้าไม่ใช่นั่นก็เรียบร้อย พอเถียงกันปุ๊บทางนั้นจัดการตกลงกับตลาดแล้ว จะต้องส่งมอบแล้ว ไปถึงของไม่มีก็เสร็จ เพราะเซ็นสัญญากับคู่ค้าเรียบร้อย มันก็เรียบร้อยหมด ทั้งๆ ที่มันจะเป็นผลสะท้อนกลับมาเป็นทอดๆ

– มองเศรษฐกิจอย่างไรในระยะยาว? : ผมอยากจะเทียบกับปี 2540 (วิกฤตต้มยำกุ้ง) สถาบันการเงินพังไม่กี่บริษัท แต่ปัจจุบันมันพังถ้วนหน้าเลย อันนี้ในฐานะที่ผมอยู่ในไทยมา 1-2 เดือน ขอพูดกันแบบตรงๆ ไม่เอาใจข้างใดข้างหนึ่ง ปัจจุบันมันเป็นประเภทซึมลึกและทรมาน เราอาจจะเห็นความหวือหวาในช่วงไม่กี่วันนี้เนื่องจากจีนเปิดประเทศ นักท่องเที่ยวแห่กันเข้ามา ผมอยู่โรงแรม 1,200 ห้องเต็มหมด เป็นนิมิตหมายอันดีกับกิจการบางอย่างที่เหมาะสม แต่ต้องอย่าลืมว่าเขาทรมานกันมานานเหลือเกิน

แต่การใช้จ่ายเงินต้องมองอย่างนี้ คนมีเงินเขาออกมาใช้แค่วูบเดียว ไม่ใช่ว่าใช้กันทุกวัน ก็เหมือนปีใหม่ที่เราออกมาเที่ยวกันเพราะฉะนั้นเราก็ต้องมองเหมือนกัน ทีนี้ธุรกิจคุณอยู่ในแนวไหน อย่างที่อเมริกา ถ้าดูท่าไม่รอดบริษัทเขาล้มก่อนแล้ว คือแจ้งตัวเองไม่ให้ใครทวงหนี้ ซึ่งมันก็ไม่ดี ถ้าเกิดเหตุการณ์แบบนี้มันก็ไม่ดี แล้วอีกอย่างหนึ่ง ขณะนี้สงคราม ไม่ทราบมีคนเคยคิดหรือเปล่า แต่ผมคิดว่าหลายคนก็คิดว่ามันจะจบอย่างไร?

– จากสถานการณ์เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังพอมีช่องว่างสำหรับนักธุรกิจไทยบ้างหรือไม่? : มีแน่นอน เวลานี้ผมอยากจะร่วมมือกับบริษัทหรือองค์กรที่ใหญ่ๆ ในประเทศไทยเพื่อที่จะต่อยอดเข้าไป เพราะนโยบายของผมที่ผ่านมาคือ Combining Strength รวบรวมความแข็งแกร่ง ผมมองดูว่า Combining Superpower คือเพาเวอร์ใหญ่ๆ ในประเทศไทยไม่ใช่แค่ใหญ่เฉพาะที่นี่ ก็ควรที่จะฉายแสงออกไปที่โน่นด้วย

ยกตัวอย่างอสังหาริมทรัพย์ พวกที่ดินหรือบ้าน เนื่องจากดอกเบี้ยแพงราคามันเลยลง แต่ในขณะเดียวกัน คลังสินค้าพวกเป็นแสนๆ ตารางฟุต ควรจะไปซื้อคลังสินค้าไว้เลย อย่างไรมันก็เป็นหลักทรัพย์ แต่ในขณะเดียวกันคลังสินค้าความต้องการมันสูงคราวนี้มันเฉพาะคนมีประสบการณ์ มีความรู้ในการบริหาร มีทีมงาน ของบางอย่างคุณมีมาแต่คุณไม่มีความรู้ในเรื่องบริหารจัดการ หรือไม่มีทีมงานที่ดีก็ไม่มีประโยชน์

“มูลค่าธุรกิจเราตั้งเป้าไป 50 ล้านเหรียญต่อปี แล้วเราต้องการกระโดดไป 100 ล้านเหรียญ แต่ก็ทำด้วยความระมัดระวัง” นายประมุข กล่าวในตอนท้าย

‘ตรีนุช’เร่งแก้หนี้ครู 8จว.ภาคตะวันออก มูลหนี้พุ่ง4.2พันล้าน

#SootinClaimon.Com : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์แนวหน้า

https://www.naewna.com/local/716717

‘ตรีนุช’เร่งแก้หนี้ครู  8จว.ภาคตะวันออก  มูลหนี้พุ่ง4.2พันล้าน

‘ตรีนุช’เร่งแก้หนี้ครู 8จว.ภาคตะวันออก มูลหนี้พุ่ง4.2พันล้าน

วันอาทิตย์ ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2566, 06.00 น.

‘ตรีนุช’เร่งแก้หนี้ครู 8จว.ภาคตะวันออก มูลหนี้พุ่ง4.2พันล้าน

“ตรีนุช” เดินหน้าแก้หนี้ครูภาคตะวันออก 8 จังหวัด มูลหนี้ 4,252 ล้านบาท มั่นใจลดหนี้ครูได้จริง

วันที่ 11 มีนาคม 2566 นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เป็นประธานในพิธีเปิดงานมหกรรมการเงินเพื่อครูไทย “Unlock a Better Life” สร้างโอกาสใหม่เพื่อชีวิตครูไทยที่ดีกว่า ครั้งที่ 3 ในภาคตะวันออก ระหว่างวันที่ 11-12 มีนาคม พ.ศ.2566 ณมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว สำหรับครูในภาคตะวันออก 8 จังหวัด ได้แก่ สระแก้ว ปราจีนบุรี นครนายก จันทบุรี ตราด ชลบุรี ฉะเชิงเทรา และระยอง

โดยตั้งเป้าหมายแก้ไขปัญหาหนี้สินครูในภูมิภาคนี้กว่า 4,252 ล้านบาท เพื่อให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

นางสาวตรีนุช กล่าวว่า ตามที่รัฐบาลได้ตั้งเป้าหมายแก้ไขหนี้ภาคครัวเรือนนั้นกระทรวงศึกษาธิการที่มีบทบาทในการดูแลสวัสดิการและสวัสดิภาพแก่ครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้เร่งรัดการขับเคลื่อนตามนโยบายแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาอย่างเต็มที่ ด้วยกลไกเจรจาลดดอกเบี้ยกับสหกรณ์ออมทรัพย์ครู การปรับโครงสร้างหนี้กับสถาบันการเงิน การจัดตั้งสถานีแก้หนี้ร่วมช่วยแก้ปัญหาลดหนี้สิน และการให้ความรู้ทางด้านวินัยการเงินและการลงทุน เพื่อสร้างความแข็งแรงให้กับครูไทยได้มีสุขภาพทางการเงินที่ดี โดยได้ดำเนินการจัดงานมหกรรมการเงินเพื่อครูไทยในส่วนกลาง เมื่อช่วงสิ้นปี 2565 และขยายผลสู่ทั่วประเทศด้วยงานมหกรรมการเงินเพื่อครูไทย 4 ภูมิภาค ซึ่งได้จัดขึ้นครั้งแรกที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับกลุ่ม 4 จังหวัด ได้แก่ กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม และขอนแก่น ซึ่งสามารถช่วยแก้ไขปัญหาหนี้ครูแบบพุ่งเป้าที่กลุ่มลูกหนี้วิกฤติได้กว่า 784,661,570.43 บาท

นางสาวตรีนุช กล่าวต่อว่า การจัดงานมหกรรมการเงินเพื่อครูไทย สำหรับครูไทยภาคตะวันออกในครั้งนี้ ตั้งเป้าหมายช่วยเหลือครูที่มีปัญหาหนี้สินกว่า 2,000 ราย จำนวนมูลหนี้ประมาณ 4,252 ล้านบาท โดยเป็นกลุ่มลูกหนี้วิกฤติ 205 ราย จำนวนมูลหนี้ประมาณ 173.4 ล้านบาท ซึ่งจะพุ่งเป้าหมายให้ความช่วยเหลือกลุ่มลูกหนี้วิกฤติเป็นสำคัญ เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนที่สุด ซึ่งที่ผ่านมา กระทรวงศึกษาธิการมีการจัดการแก้ไขปัญหาหนี้ครูอย่างเต็มที่ เช่น การเจรจาขอลดดอกเบี้ยจากสหกรณ์ออมทรัพย์ครูที่เป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ของครูทั้งประเทศ มีการตั้งสถานีแก้หนี้ครู 558 สถานีเพื่อเป็นกลไกช่วยเหลือครูในระดับเขตพื้นที่ ฯลฯซึ่งได้ดำเนินการมาก่อนหน้านี้แล้ว ทำให้เป้าหมายการแก้ไขปัญหาหนี้ครูในภูมิภาคนี้โดยเฉพาะกลุ่มลูกหนี้วิกฤติมีจำนวนไม่มาก การจัดงานมหกรรมการเงินเพื่อครูไทยในครั้งนี้ จึงเป็นการจัดการปัญหาหนี้ในเชิงรุก ที่จะช่วยให้ครูในกลุ่มที่ยังต้องการความช่วยเหลือสามารถเข้าถึงสิทธิประโยชน์ทางการเงินสำหรับครูมากยิ่งขึ้น

“ปัญหากนี้สินครูเป็นปัญหาที่เรื้อรังมานาน เชื่อมั่นว่าการดำเนินกิจกรรมการเงินนี้จะช่วยลดหนี้ให้ครูไทยที่มีปัญหามานานได้จริง เพื่อให้ครูไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีความรู้ทางการเงินที่ดี และสามารถปฏิบัติหน้าที่ในการถ่ายทอดองค์ความรู้และจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งเป็นการเสริมสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน และเป็นการยกระดับมาตรฐานวิชาชีพครูอีกด้วย” รมว.ศธ. กล่าว

ทั้งนี้ สำหรับกิจกรรมภายในงาน มีการให้บริการเจรจาไกล่เกลี่ยหนี้ที่อยู่ระหว่างขั้นตอนของการฟ้องร้องดำเนินคดีและการปรับโครงสร้างหนี้กับสหกรณ์ออมทรัพย์ครูและสถาบันการเงิน สำหรับลูกหนี้ครูกลุ่มวิกฤติและกลุ่มทั่วไป เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาหนี้สินครูให้มีเงินเดือนเหลือสุทธิหลังหักชำระหนี้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 และควบคุมยอดหนี้ใหม่ไม่ให้เกินความสามารถในการชำระหนี้

ปลัด มท.ทำพิธีมอบหนังสือและเสวนาพิเศษเรื่อง’ประวัติศาสตร์เมืองตราดฯ’ผู้ว่าฯตราด

#SootinClaimon.Com : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์แนวหน้า

https://www.naewna.com/local/716682

ปลัด มท.ทำพิธีมอบหนังสือและเสวนาพิเศษเรื่อง'ประวัติศาสตร์เมืองตราดฯ'ผู้ว่าฯตราด

ปลัด มท.ทำพิธีมอบหนังสือและเสวนาพิเศษเรื่อง’ประวัติศาสตร์เมืองตราดฯ’ผู้ว่าฯตราด

วันเสาร์ ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2566, 16.10 น.

ปลัดกระทรวงมหาดไทยทำพิธีมอบหนังสือและเสวนาพิเศษเรื่อง “ประวัติศาสตร์เมืองตราด History of Trat” ให้กับผู้ว่าฯตราด และส่วนราชการและองค์กรปกครองท้องถิ่นสถานการศึกษาจังหวัดตราดบอกคนไทยและคนตราดต้องรู้ประวัติศาสตร์

เมื่อเวลา 09.00 น.วันที่ 11 มีนาคม 2566 ที่ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนจังหวัดตราด อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราดนายชำนาญวิทย์ เตรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด รองผู้ว่าราชการจ.ตราด ทั้ง 2 ท่าน ปลัดจังหวัดตราด นายกอบจ.ตราด หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ผู้บริหารการศึกษา ให้การต้อนรับนายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญนายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย ที่เดินทางมาทำพิธีมอบหนังสือและเสวนาพิเศษเรื่อง “ประวัติศาสตร์เมืองตราด History of Trat”

นายสุทธิพงษ์ กล่าวว่า มีความยินดีและรู้สึกเป็นเกียรติ ที่ได้มาเป็นประธานในพิธีมอบหนังสือ”และเสวนา เรื่อง”ประวัติศาสตร์เมืองตราด History of Trat” ในวันนี้ ซึ่งหนังสือเล่มนี้เป็นความปรารถนาของตนเองในฐานะคนตราดที่อยากอนุรักษ์สืบสานต่อยอดให้เรื่องราวของเมืองตราดถูกบันทึกไว้ เป็นหลักฐานให้ลูกหลานไทยได้ตระหนักและเรียนรู้ รวมถึงประวัติศาสตร์ของจังหวัดอื่นๆ ด้วยเมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท คนที่ 52 ได้ขอให้คณะทำงานนิตยสารศิลปวัฒนธรรมช่วยเรียบเรียงจัดพิมพ์ประวัติศาสตร์ชัยนาทไปจังหวัดหนึ่งแล้ว ครั้งนี้ก็เช่นกันที่คณะทำงานฯ ได้ช่วยชำระประวัติศาสตร์เมืองตราดจนหนังสือเล่มนี้ได้เกิดขึ้น

จึงขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูง โดยเฉพาะ ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ นายกสมาคมแม่ข้านมหาดไทย ภรรยาอันเป็นที่รักยิ่งของผมที่ได้สนับสนุน หวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่ภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไปรวมถึงวงการวิชาการด้านการศึกษา ของจังหวัดอื่น ๆ ตามมาด้วย จึงขอมอบหนังสือนี้จำนวน 4,192 เล่ม ให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัดตราดห้องสมุด ศูนย์การเรียนรู้ และสถานศีกษาในจังหวัดตราดทุกแห่ง เพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอน ตลอดจนประชาชนที่สนใจได้ศึกษาค้นคว้าต่อไป

นายชำนาญวิทย์ กล่าวว่า ขอกราบขอบคุณท่านสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ที่เดินทางมาเป็นประธานในพิธีมอบหนังสือและเสวนาพิเศษ เรื่อง “ประวัติศาสตร์เมืองตราด History of Trat” ในวันนี้ หนังสือดังกล่าวนี้ได้จัดทำขึ้น โดยท่านปลัดกระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็นคนตราดที่มีเจตจำนงเพื่อสืบสานให้เรื่องราวของเมืองตราดให้ลูกหลานชาวจังหวัดตราดได้อนุรักษ์ สืบสานต่อยอดเรียนรู้ เข้าใจ เข้าถึง ความเป็นคนตราด และเป็นประโยชน์ต่อวงการศึกษาทางวิชาการต่อไป จึงได้มอบหนังจังหวัดตราดจำนวน 4,192 เล่ม เพื่อประโยชน์ดังกล่าว ในการนี้จังหวัดตราดจึงได้จัดพิธีมอบหนังสือดังกล่าว ให้แก่สถานศึกษาในจังหวัดตราด ห้องสมุด และศูนย์การเรียนรู้ทุกแห่ง จำนวน 141 แห่งเพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนรวมถึงประชาชนที่สนใจได้ศึกษาค้นคว้าประวัติศาสตร์เมืองตราด รวมทั้งได้จัดเสวนาพิเศษ “ประวัติศาสตร์เมืองตราด History of Trat” เพื่อเป็นแนวทาง ในการศึกษาประวัติศาสตร์เมืองตราดที่ถูกต้อง ของประชาชนชาวตราดอย่างดียิ่ง