Skip to primary content
Skip to secondary content

SootinClaimon.Com

ศาสตร์เกษตรดินปุ๋ย2 [SartKasetDinPui2] : ข้อมูล เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม เกษตร ดิน น้ำ ปุ๋ย

SootinClaimon.Com

Main menu

  • Home
  • KU23-2506
  • ข้อคิดความเห็น
  • ตระกูลคล้ายมนต์
  • ผมเองครับ
  • ศาสตร์เกษตรดินปุ๋ย1

Tag Archives: บทความพิเศษ

Post navigation

← Older posts

บทความพิเศษ : บันทึกถึงพี่น้องชาวยุโรป (6) และผู้นำของเขา (เซลินสกี้)

Posted on June 28, 2022 by SoClaimon
Reply

#SootinClaimon.Com : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์แนวหน้า

https://www.naewna.com/likesara/663158

วันอังคาร ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2565, 06.00 น.

เมื่อ 2-3 วันก่อน ดูในโทรทัศน์ข่าวต่างประเทศเห็นเซลินสกี้ ประธานาธิบดียูเครนกำลังให้ข่าวต่อสื่ออยู่ และบอกว่าคนยูเครนไม่มีที่อยู่อาศัยถึง 12 ล้านคนแล้ว และในจำนวนนี้ 5 ล้านคนอพยพหนีภัยไปอยู่ประเทศอื่นแล้ว

ฟังแล้วก็เศร้าใจแทนประชาชนชาวยูเครนที่ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเซลินสกี้มาเป็นประธานาธิบดียูเครน จึงต้องมาตกระกำลำบากเช่นนี้

ที่ประเทศเป็นเช่นนี้ เพราะไปผูกมิตรกับลุงโจ เจ้าพ่อซึ่งอยู่บ้านไกล แต่ไม่ผูกมิตรกับคนบ้านติดกัน แถมยังเอาอาวุธมาจ่อคอหอยเจ้าพ่อในหมู่บ้านอีก

ถ้าเซลินสกี้ได้ศึกษาประวัติศาสตร์โลกแล้ว หันมาดูเอเชียอาคเนย์บ้าง เมื่อ 100 ปีเศษ นักล่าอาณานิคมทั้งหลาย (อังกฤษ-ล่าได้ อินเดีย พม่า มลายู สิงคโปร์, ฝรั่งเศส-ล่าได้ เวียดนาม เขมร ลาว กัวในอินเดีย,เนเธอร์แลนด์-ล่าได้ อินโดนีเซีย, สเปนและสหรัฐอเมริกา-ล่าได้ ฟิลิปปินส์และฮาวาย, กวม ฯลฯ)

มีประเทศไหนในแถบนี้บ้างที่รอดมือจากนักล่าอาณานิคมได้ พี่เซฯลองไปศึกษาดูได้

ทั้งๆ ที่ประเทศนั้น (สารขัณฑ์) พยายามถ่วงดุลแห่งอำนาจระหว่างนักล่าอาณานิคมกับผู้ยิ่งใหญ่แห่งยุโรป (พระเจ้าซาร์) แล้วก็ตาม สองประเทศนักล่าก็พยายามรุกค้นหาสาเหตุจะยึดสารขัณฑ์

ด้วยพระปรีชาสามารถของอดีตผู้นำในระบอบกษัตริย์ ซึ่งยอมเสียแขนขาไปบ้าง เพื่อรักษาให้ร่างกายอยู่รอด (เสียรัฐฉาน มะริด ทวาย และจังหวัดริมฝั่งทะเลอันดามัน ตลอดจนรัฐภาคใต้ของสารขัณฑ์ ซึ่งปัจจุบันรวมอยู่ในมาเลเซีย ให้แก่นักล่าอังกฤษ) (เสียเขมรและลาวบางส่วน ให้แก่นักล่าฝรั่งเศส) จึงยังคงร่างกายปัจจุบันอยู่ในนามของ “สารขัณฑ์”

ท่านผู้นำของยูเครน ท่านก็รู้อยู่แล้วว่า พฤติกรรมของท่านนั้น ทำให้พลเมืองของท่านเดือดร้อนถึง 12 ล้านคน และถ้าท่านเดินนโยบายเช่นนี้ต่อไป ก็อาจจะถึง 20-25 ล้านคนได้ (โดยยังไม่นับทหารและประชาชนที่บาดเจ็บล้มตายเพราะอาวุธสงคราม) ท่านไม่สงสารประเทศของท่านและประชาชนของท่านบ้างหรือ

นอกจากนั้น ท่านยังทำให้คนเดือดร้อนไปทั่วโลกอีกหลายพันล้านคนในทุกประเทศ อันเนื่องมาจาก ค่าครองชีพที่สูงขึ้น ข้าวสาลี น้ำมัน แก๊ส ปุ๋ย อะไรต่อมิอะไรขาดแคลนไปหมด ท่านกำลังสร้างความเดือดร้อนมหาศาลแก่พลเมืองของโลกทั้งใบ

เมื่อเร็วๆ นี้ สมเด็จพระสันตะปาปาแห่งศาสนาคริสต์ ก็ได้พูดไว้เมื่อต้นเดือนมิถุนายนว่า “สงครามโลกครั้งที่ 3 ได้ถูกประกาศแล้ว”

และอดีตหัวหน้ามาเฟีย ซึ่งเพิ่งแพ้เลือกตั้งประธานาธิบดีไปเมื่อต้นปี 2564 ก็ยังกล่าวว่า “สงครามระหว่างยูเครนกับรัสเซียน่าจะทำให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 3 ได้ เพราะพี่โจอัดทั้งอาวุธและเงินจำนวนมากให้ยูเครน เพื่อให้สงครามยืดเยื้อ
เพื่อที่พอเสร็จสงครามโลกครั้งที่ 3 แล้ว ทุกประเทศจะบอบช้ำยับเยินกันไปหมด ทั้งในด้านวัตถุ ด้านเศรษฐกิจ ด้านพลเมือง จนไม่มีใครกล้ามาแข่งขันกับพี่โจและลูกน้อง ที่ทำตนเป็นตำรวจโลกมานานแล้ว ก็จะยังคงความเป็นมหาอำนาจอันดับ 1 ของโลกต่อไปได้”

พี่เซฯนะพี่เซฯ (เซลินสกี้) พี่ทำเอาพลเมือง ของพี่บาดเจ็บล้มตายและไม่มีที่อยู่อาศัยถึง 12 ล้านคน ทำเอาคนทั่วโลกอยู่ในสภาพข้าวยากหมากแพง จนถึงอาจอดอาหารตายก็ได้ และกำลังจะทำให้สงครามโลกครั้งที่ 3 เกิดขึ้น ซึ่งหากแค่ใช้อาวุธปกติรบกัน คนก็จะตายอีกนับ 100 ล้านคน (ต้องมากกว่าสงครามโลกครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 แน่นอน)

แต่ถ้าเหตุการณ์บานปลาย สงครามโลกครั้งที่ 3 เป็นสงครามที่ใช้ระเบิดปรมาณู คนหลายพันล้านคนก็จะต้องล้มหายตายจากไปจากโลกนี้

ตอนนี้ พี่เซฯ อาจได้รับการชมเชยจากสมาชิกเนโตว่าเป็นวีรบุรุษ แต่จะคุ้มไหมกับการที่ พลเมืองชาวยูเครนเขาจะสาปแช่งพี่เซฯ ไปอีกนานเท่าใด พี่เซก็ลองเอาไปคิดดู

ยังไม่สายเกินไปที่พี่เซฯจะแก้ไขสถานการณ์ข้างต้น รวมทั้งป้องกันมิให้ประเทศยูเครนสาบสูญไปจากแผนที่โลก

ทางแก้ที่เป็นไปได้

ขอให้พี่เซไปศึกษาประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์เมื่อ 100 ปีเศษ และทำตามแนวที่องค์พระประมุขของสารขัณฑ์ทำไว้ คือต้องกล้ำกลืนเลือด เสียสละทั้งทรัพย์สินส่วนพระองค์ รวมทั้งยอมเสียแขนขาอันเป็นดินแดนที่รักของชาวสารขัณฑ์ให้แก่นักล่าอาณานิคมไปบางส่วนเพื่อให้ชาติยังอยู่ต่อได้

พี่เซก็ควรจะดำเนินรอยในแนวเดียวกัน เจรจากับผู้ที่กำลังจะรุกรานยูเครน ว่าเขาต้องการอะไรบ้าง อะไรพอผ่อนได้ก็ผ่อน สงครามก็จะยุติลง ชาวยูเครนอีกหลายสิบล้านคน จะได้สามารถประคับประคองยูเครนส่วนที่เหลือให้ยังเป็น “ชาติ” ต่อไปได้ แทนที่จะ “สิ้นชาติ” อย่างที่ใครหลายคนทั้งอเมริกันและชาวยุโรปได้คาดการณ์ไว้

สมัยนี้มีทั้งองค์การสหประชาชาติ (UN) และศาลโลก พี่เซฯก็อาจจะขอเงื่อนไขไว้ว่า ให้มีการทำประชามติบนดินแดนที่เสียไป โดยให้ UN มาเป็นผู้กำกับดูแล พี่ปูก็น่าจะยินยอมได้

และในสัญญาสงบศึก ก็ควรให้พี่ปูรับรองดินแดนส่วนที่เหลือด้วย โดยมี “สัญญาพันธมิตรไม่รุกรานกันด้วยกำลัง แต่ช่วยเหลือฟื้นฟูบูรณะร่วมกัน” กำกับไว้ด้วยสักฉบับ

ถ้าพี่เซทำได้เช่นนี้ ชาวยูเครนที่เหลือจะระลึกถึงพี่เซตลอดกาล

ศิริภูมิ

Share this:

  • Email
  • Print
  • Telegram
  • Pinterest
  • Tumblr
  • WhatsApp
  • Skype
  • Pocket
  • Facebook
  • Twitter
  • LinkedIn
  • Reddit

Like this:

Like Loading...
Posted in ข่าว Like สาระ, แนวหน้า | Tagged 2565(2022), ข่าว Like สาระ, บทความพิเศษ, แนวหน้า, naewna | Leave a reply

บทความพิเศษ : เมื่อวันหนึ่งครม.อาจไฟเขียวฟรีวีซ่านักท่องเที่ยวชาวจีน?

Posted on June 21, 2022 by SoClaimon
Reply

#SootinClaimon.Com : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์แนวหน้า

https://www.naewna.com/likesara/661617

วันอังคาร ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2565, 02.00 น.

วันหนึ่งในอนาคต คณะรัฐมนตรีไทยอาจใจดีอนุญาตแก่บุคคลสัญชาติจีนจำนวน 1.4 พันล้านคนเดินทางเข้าประเทศสะดวกโยธินเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวที่จะมาถึง ทั้งนี้ เพราะไม่นานมานี้รัฐบาลอนุมัติให้ซาอุดีอาระเบียได้รับ ผ.-30 และไม่นานต่อมา ผ่อนผันให้บุคคลสัญชาติที่ขอรับ VOA-15 ที่ช่องทางอนุญาตทางอากาศ ได้รับการยกเว้นไม่ต้องกรอกแบบฟอร์ม ตม. 6
เพื่อลดความแออัดที่ด่านเข้าเมืองเป็นการชั่วคราว

การพิจารณายกเว้นและให้ผ.-30 แก่ซาอุดีอาระเบีย ไม่น่าแปลกใจเพราะไทยและซาอุฯ ได้ปรับความสัมพันธ์ทางการทูต หลังจากเหตุการณ์สังหารนักการทูต 3 คน และการเข้าไปลักขโมยเพชรซาอุฯโดยนายเกรียงไกร เตชะโม่ง ซึ่งส่งผลให้แช่แข็งความสัมพันธ์ความร่วมมือและแลกเปลี่ยนแรงงานและการท่องเที่ยวตลอดเวลา 30 ปีที่ผ่านไป แม้จะมีประชากรไม่มากนัก แต่ชาวซาอุฯและจากตะวันออกกลางมีฐานะเป็นเป้าหมายที่เข้าใจได้

ผ.-30 หรือการผ่อนผันเป็นเวลา 30 วัน คือการอนุญาตให้บุคคลสัญชาติต่างๆ จากตะวันตก ได้แก่ สหรัฐฯ แคนาดา อังกฤษ ยุโรป ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เป็นต้น เดินทางเข้าประเทศเพื่อเป้าหมายส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยไม่ต้องไปขอรับการตรวจลงตราหรือวีซ่า ซึ่งสิทธิพิเศษนี้มีมาช้านานตั้งแต่ข้าพเจ้าอายุยังน้อยขณะเข้าทำงานที่กระทรวงการต่างประเทศกระทั่งเกษียณอายุราชการ

ดังนั้น ประเทศอื่นๆ จึงคาดหมายให้ได้รับสิทธิประโยชน์นี้ (ซึ่งเป็นการให้ฝ่ายเดียว มิต้องตอบแทน เช่น มีความตกลงยกเว้นวีซ่าระหว่างกัน) และมีความสงสัยอยู่ในทีว่าทำไมประเทศตนมิได้รับหรือไม่ก็ผู้ประกอบการท่องเที่ยวของไทย (การบิน ท่องเที่ยว โรงแรม บริการ ภัตตาคาร ฯลฯ) ก็อดสงสัยไม่ได้ว่า น่าจะให้สิทธิพิเศษนี้แก่ประเทศใหญ่ๆ คนเยอะๆ เช่น จีน อินเดีย เพื่อคนชาติเหล่านี้มาท่องเที่ยวใช้จ่ายมากๆ ในไทย

นี่เป็นดำริที่เป็นมาช้านาน เพราะสองประเทศนี้เป็นประเทศไม่ห่างไกลนัก มีประชากรจำนวนมาก และสนใจมาท่องเที่ยวในประเทศไทย

อนึ่ง ก่อนโควิด-19 ระบาดรุนแรงเมื่อ 2 ปีก่อนรายงานสถิติเปิดเผยว่า ไทยเคยเป็นตลาดท่องเที่ยวที่ใหญ่ประสบความสำเร็จสูงมาก คือ มีนักท่องเที่ยวมาก เป็นจำนวนมากถึง 40.5-41 ล้านคน ในนี้เป็นคนจีนถึง 11 ล้านคน อีกจำนวนใหญ่มากมาจากอินเดีย ดังนั้น นโยบายเซตซีโร่ของรัฐบาลจีน ควบคุมประชากรมิให้เป็นโรคโควิด-19ห้ามคนจีนออกนอกประเทศเด็ดขาด ห้ามคนต่างชาติที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าประเทศ ประกอบกับความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ และในภูมิภาคอยู่ในสภาวการณ์ไม่เป็นมิตรหรือไม่ปกติ จึงล้วนทำให้ไทยพลอยฟ้าพลอยฝนไม่มีนักท่องเที่ยวจีนเป็นจำนวนมากอีกต่อไป

สัมพันธภาพไทย-จีนลึกซึ้งเหนียวแน่นมาตั้งแต่การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2518 ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศไทยมิใช่ประเทศเล็กๆ เช่น ลาว กัมพูชา หรือประเทศในแอฟริกาที่ยากจนข้นแค้นอนุญาตให้คนจีนไปตั้งรกรากใหม่เป็นถนนๆ เมืองๆ หรือมองข้ามผลเสียของความตกลงยกเว้นวีซ่าหนังสือเดินทางธรรมดาเช่น ไทย-รัสเซีย ตั้งแต่สมัยพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ยกจังหวัดหรือประเทศแก่รัสเซียให้มาตั้งเขตอิทธิพล เช่น ที่พัทยา จังหวัดต่างๆ ตามแนวฝั่งทะเล

รัฐบาลไทยยังเห็นประโยชน์จากการใช้อำนาจอธิปไตยกลั่นกรองและบันทึกสถิติคนจีนเข้า-ออกราชอาณาจักรเสมอมา เพราะเป็นการควบคุมที่กระทำได้ มิฉะนั้นจะไหลบ่าท่วมท้นได้เพราะไม่มีอะไรไปหยุดยั้ง น่าจะควบคุมจำนวนคนจีนเข้า-ออกได้ ไทยจึงได้มีสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ในจีนนับ 10 แห่ง อนึ่ง ประเทศที่มีความใกล้ชิดประหนึ่งเป็น “พี่น้องแต่เป็นคู่อาฆาต” (brother enemies) เช่น เวียดนาม หรือ ยิ่งใหญ่เป็นสังคมนิยมมาด้วยกัน เช่น รัสเซีย ก็ไม่ได้มีความตกลงยกเว้นวีซ่าหนังสือเดินทางธรรมดากับจีน เพราะเขาเหล่านี้ต้องระมัดระวังประเทศซึ่งมีประชากรที่มากที่สุดในโลก หากใครสงสัยก็น่าไปสืบค้นสถิติได้เพราะประเทศใดที่มีความตกลงล้วนเป็นลูกไล่ทั้งสิ้น

โดยสรุป ไทยควรรวบรวมรายได้คือค่าธรรมเนียมวีซ่าที่น่าจะปรับสูงขึ้นได้เท่าหนึ่งเพราะต่ำมากนานมากแล้ว เพราะคนต่างชาติสามารถชำระได้ ต่างจากชาวไทยเวลาไปขอวีซ่ากับต่างประเทศจ่ายเงินจำนวนสูงๆ และปรับปรุงแนวคิดการท่องเที่ยวให้เป็นฝ่ายรุกมากกว่าฝ่ายรับ ปฏิรูปการให้บริการปฏิเสธทัวร์ศูนย์เหรียญให้หมดไป พัฒนาความเป็นมืออาชีพ รักษาสภาพแวดล้อมและแนวปฏิบัติที่ทันสมัยกับมาตรฐานโลก เมื่อไปถึงระดับนั้น ไทยจะเป็นประเทศผู้นำการท่องเที่ยวของโลกอย่างองอาจยืดได้ และบัดนั้น ทบทวนการมีความตกลงยกเว้นวีซ่ากับรัสเซีย กับต่างประเทศอื่นๆ ที่เรามิได้เดินทางไปประเทศของเขา และการผ่อนผันผ.-30ที่พ้นสมัยเสียที

คมกริช วรคามิน

Share this:

  • Email
  • Print
  • Telegram
  • Pinterest
  • Tumblr
  • WhatsApp
  • Skype
  • Pocket
  • Facebook
  • Twitter
  • LinkedIn
  • Reddit

Like this:

Like Loading...
Posted in ข่าว Like สาระ, แนวหน้า | Tagged 2565(2022), ข่าว Like สาระ, บทความพิเศษ, แนวหน้า, naewna | Leave a reply

บทความพิเศษ : ยก ‘BDMS-บางจาก’ กรณีศึกษา…ไม่เปลี่ยนก็ไม่รอด

Posted on June 20, 2022 by SoClaimon
Reply

#SootinClaimon.Com : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์แนวหน้า

https://www.naewna.com/likesara/661323

วันจันทร์ ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2565, 06.00 น.

ll หลายอุตสาหกรรมในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่ามีการปรับโครงสร้างเพื่อรองรับการแข่งขัน ทั้งเพื่อการลดต้นทุนที่ซ้ำซ้อน ทั้งเพื่อการก้าวสู่ธุรกิจใหม่ ทั้งการควบรวมเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันกับผู้นำตลาดไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมโรงพยาบาล พลังงาน อสังหาริมทรัพย์ และที่เห็นได้ชัดคือ อุตสาหกรรมโทรคมนาคม ที่ล้วนต้องปรับตัวรับการมาของดิจิทัลเทคโนโลยี ท่ามกลางการเผชิญหน้ากับวิกฤตโควิด-19 องค์กรธุรกิจต่างเร่งปรับตัวเพื่อสู้กับความเปลี่ยนแปลงที่ถาโถมเข้ามาแบบไม่ทันตั้งตัว แน่นอนว่ามีทั้งองค์กรที่ปรับตัวทันและองค์กรที่ปรับตัวไม่ทัน จนถูกดิจิทัลดิสรัปชัน

ในขณะที่การพยุงตัวเพื่อฟันฝ่าวิกฤตที่ยากลำบากนี้องค์กรธุรกิจในหลายๆ วงการต้องมองหาความร่วมมือเพื่อสร้างความแข็งแกร่งในหลายรูปแบบ เพื่อให้ธุรกิจเดินต่อไปได้ ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาที่พบเห็นในการดำเนินธุรกิจทุกอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นแวดวงธุรกิจการเงิน เฮลท์แคร์ พลังงาน โทรคมนาคม หรืออื่นๆ ต่างก็อยู่ในห้วงเวลาที่ต้องสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจและสร้างโอกาสใหม่ๆ ในโลกยุคดิจิทัลเช่นกัน ขณะเดียวกัน ผู้ที่มีอำนาจกำกับดูแลในแต่ละอุตสาหกรรมก็ควรมองสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปให้ครบรอบด้านเช่น อุตสาหกรรมพลังงานก็มีคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม ก็มี กสทช. กำกับดูแลการแข่งขันอยู่แล้ว ดังนั้น การรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของการแข่งขันผ่านการส่งเสริมให้เกิดการปรับตัวให้สามารถแข่งขันได้ในธุรกิจจึงมีความสำคัญเพื่อให้สนับสนุนเกิดการพัฒนาของภาคธุรกิจและมีการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล

ในธุรกิจโรงพยาบาล มีการปรับตัวในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน อย่างเช่น เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ ซึ่งบริหารงานโดย บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) ที่ได้มีการปรับโครงสร้างด้วยการควบรวมโรงพยาบาล อาทิ รพ.บำรุงราษฎร์ รพ.พญาไท รพ.เปาโล และอื่นๆ โดยวิสัยทัศน์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับผู้ให้บริการระดับโลกต่างประเทศ ที่เป็นการมองภาพใหญ่ของการแข่งขัน รับการเปลี่ยนแปลงทุกมิติและแรงกดดันด้านเศรษฐกิจทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นเงินเฟ้อ โรคระบาดโควิด-19 และสงครามความขัดแย้งระหว่างประเทศ ท่ามกลางความไม่แน่นอนในสภาพการแข่งขันทางธุรกิจ ทั้งรัฐและเอกชนต้องส่งเสริมการปรับตัวให้ทันการเปลี่ยนแปลง

ดร.พัชรินทร์ บุญยะรังสรรค์ รักษาการผู้ช่วยประธานฝ่ายปฏิบัติการ ด้านคุณภาพการรักษาพยาบาลและนวัตกรรม บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) ให้สัมภาษณ์ภายหลังร่วมเสวนาในหัวข้อ “Innovative Organization Perspectives in Changing World” หรือมุมมององค์กรนวัตกรรมในโลกที่เปลี่ยนไป หนึ่งในกิจกรรมงานแถลงข่าวการจัดงาน “สตาร์ทอัพและอินโนเวชันไทยแลนด์ เอ็กซ์โป 2022” (STARTUP x INNOVATION THAILAND EXPO 2022 : SITE 2022) เมื่อต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา จัดโดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ว่า ในช่วงที่เกิดวิกฤตโควิด-19 บริการต่างๆ มีผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากในเวลาอันสั้น ทำให้ดิจิทัลเข้ามามีบทบาทสำคัญ และช่วยให้การเว้นระยะห่างทางสังคม (social distancing) เกิดขึ้นได้จริงลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับผู้คน ซึ่งเป็นโรดแมปที่ทางเรากำหนดไว้อยู่แล้ว

ดร.พัชรินทร์กล่าวว่า วันนี้ดิจิทัลทำให้การเข้าถึงบริการสุขภาพเป็นเรื่องง่าย ถือว่าเป็นโอกาสที่ดี แต่ส่วนสำคัญที่อาจทำให้เป็นปัญหาและเป็นข้อควรระวัง คือการให้บริการในรูปแบบดิจิทัล เป็นลักษณะของการดูแลสุขภาพ มีข้อจำกัดหลายประการ โดยเฉพาะข้อกำหนดของกฎหมายจะต้องถูกพัฒนาให้สอดคล้องกับสิ่งที่เราจะสามารถให้บริการได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และดูแลผู้รับบริการของเราได้อย่างปลอดภัย ซึ่งเป็นส่วนสำคัญมากๆ ของธุรกิจโรงพยาบาลและสุขภาพ

“อยากให้กฎหมายดูแลให้สอดคล้องกับสภาวะของเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมที่ปรับเปลี่ยนไป เพราะปัจจุบันเรื่องดิจิทัลดิสรัปชันเกิดกับทุกอุตสาหกรรม ในมุมของการดูแลรักษาพยาบาล เราเข้าใจความกังวลของบุคลากรทางการแพทย์และผู้ดูแลเรื่องกฎหมาย เพราะอาจทำให้เกิดปัญหาหรือความไม่ปลอดภัยแต่ในความกังวลนั้นควรไปพร้อมๆ กับการดูแลให้ข้อกำหนดกฎหมายนั้นสนับสนุนการบริการลักษณะนี้ในกลุ่มของคนไข้ที่ถูกคัดกรองความปลอดภัยอย่างเหมาะสมแล้ว อยากให้มองในมุมของความสะดวก การเข้าถึงได้ง่ายขึ้น ดีกว่าที่จะจำกัดสิ่งนี้ตั้งแต่ต้น เพื่อวัตถุประสงค์ในแง่ของการระมัดระวังความปลอดภัยอย่างเดียว ในขณะที่คนไข้ไม่สามารถเข้าถึงบริการได้ อันนั้นก็เป็นปัญหาที่สำคัญมากอยู่แล้วเหมือนกัน แม้ว่ากฎหมายไม่อนุญาตให้ทำ ณ เวลานี้ แต่ทุกๆ เรื่องก็เกิดขึ้นอยู่ดี ดังนั้นในวันนี้เราควรจะเปิดโอกาสให้ทำเรื่องนี้อย่างถูกต้องและเหมาะสมหรือเปล่า ในมุมมองของผู้กำกับดูแลเรื่องพวกนี้”

ขณะที่อุตสาหกรรมพลังงานเป็นอุตสาหกรรมที่มีผู้ประกอบการน้อยราย แต่ก็ยังเป็นอุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันสูงเนื่องจากมีการกำกับดูแลด้านพลังงานอยู่แล้ว ทั้งนี้ ผู้ประกอบการ
ในอุตสาหกรรมพลังงานเองก็ชี้ชัดว่าต้องปรับตัว เช่น บางจากก็ชี้ชัดว่าต้องปรับตัว ไม่ใช่เป็นอุตสาหกรรมพลังงานอย่างเดียว ต้องเปลี่ยนเป็นให้บริการพลังงานสะอาด และเน้นย้ำว่า ยุคนี้ผู้บริโภคมีทางเลือกเสมอ ทั้งจากบริการตรงและบริการทดแทน ดังนั้น องค์กรต้องปรับตัวให้ทัน

ดร.ก่อศักดิ์ โตวรรธกวณิชย์ ผู้จัดการสถาบันนวัตกรรมและบ่มเพาะธุรกิจ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ให้สัมภาษณ์หลังจบงานเสวนาเดียวกันว่าดิจิทัลดิสรัปชัน ส่งผล2 ส่วนกับบางจาก 1.ด้านการจัดการองค์กรทำให้พนักงานทำงานเชื่อมต่อกันได้ทุกที่ และ 2.มีการพัฒนาการทำงานแบบอัตโนมัติมากขึ้น เพื่อรองรับพฤติกรรมของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งการเชื่อมโยงการใช้งานผ่านดิจิทัลโซลูชั่น เช่น เติมน้ำมันโดยไม่ต้องใช้เงินสด และแลกแต้มได้ซึ่งเทคโนโลยีดิจิทัลช่วยเชื่อมโยงให้เข้าถึงความต้องการของลูกค้าได้มากขึ้นและส่งมอบประสบการณ์ใหม่ๆที่แตกต่าง รองรับเทรนด์ใหม่ที่จะสอดรับกับกระบวนการของธุรกิจมากขึ้น

ดร.ก่อศักดิ์ มองว่าธุรกิจพลังงานเป็นธุรกิจพื้นฐานรัฐมากำกับดูแลเป็นสิ่งที่ดี และเรื่องภาวะความเปลี่ยนแปลงความต้องการของผู้บริโภคเป็นเรื่องที่รัฐเข้ามาร่วมดูแล เพราะกลุ่มลูกค้ามีความต้องการที่หลากหลายมากขึ้น รัฐเองก็เข้ามาดูมาตรการส่งเสริมที่ต่อยอดกับความต้องการเหล่านั้น เช่น ธุรกิจรถไฟฟ้า ไม่ได้มีแค่เรื่องตัวรถ แต่มีเรื่องของซัพพลายเชน ตัวโครงสร้างแบตเตอรี่ และขนส่งต่างๆ ถ้ารัฐเข้ามาช่วยดูมาพัฒนาส่งเสริมร่วมกันก็จะเป็นผลดีต่อประเทศไทยการกำกับดูแลเป็นเรื่องของการกระตุ้นให้ผู้ประกอบการเกิดการพัฒนาตัวเอง เพราะเรื่องของพลังงานในบางครั้งในส่วนของน้ำมันเราไม่ได้เป็นผู้ควบคุม มองว่าเราน่าจะมาส่งเสริมพลังงานทางเลือกที่เรามีวัตถุดิบเพื่อส่งเสริมให้ธุรกิจพลังงานทางเลือกเติบโตไปได้

ดร.ก่อศักดิ์กล่าวถึงการขยายธุรกิจว่า เรามองหาพาร์ทเนอร์หรือนวัตกรรมที่สามารถเปลี่ยนโลกในเรื่องของการทำให้โลกมีความยั่งยืนมากขึ้น เช่น ตอนนี้มุ่งเน้นกลุ่มธุรกิจแบตเตอรี่ มองหาพาร์ทเนอร์ที่จะสามารถเข้ามาเติมเต็มการผลิตแบตเตอรี่ที่ผลิตโดยประเทศไทย รวมไปถึงเรื่องของ Supply Chain ยังมีส่วนของธุรกิจไหนบ้างที่ยังปล่อยคาร์บอนสูง เราก็พยายามที่จะหาเทคโนโลยีที่ช่วยลดการปลดปล่อยหรือไม่ให้เกิดเลย ต้องยอมรับว่าเทคโนโลยีบางตัวประเทศไทยไม่ได้มี Know-how แต่ในเงื่อนไขของกลุ่มบางจาก หากมีการ M&A หรือ Joint Venture หรือ การลงทุน เราต้องสามารถเข้าไปมีบทบาทในการบริหารจัดการ รวมถึงการโอนถ่าย (transfer) เทคโนโลยีกลับเข้ามาในประเทศไทย พัฒนาให้เป็นเศรษฐกิจโดยคนไทยเข้ามามีส่วนร่วมด้วย ไม่ใช่นำเทคโนโลยีเข้ามาอย่างเดียวแล้วผูกขาดโดยต่างประเทศส่วนในประเทศก็มีการร่วมมือกับอาจารย์ นักวิจัย และนักวิชาการที่มีมุมมองในเชิงความรู้ แต่ในเชิงธุรกิจอาจจะยังขาดอยู่ ซึ่งก็จะเป็นการเติมเต็มกัน

โดยสรุปอาจกล่าวได้ว่า ดิจิทัลดิสรัปชันมีส่วนสำคัญที่จะผลักดันให้ภาคธุรกิจต้องปรับเปลี่ยนไปตามพฤติกรรมของผู้บริโภคในยุคที่ผู้บริโภคมีอำนาจในการตัดสินใจและมีทางเลือกมากมาย การสร้างสรรค์นวัตกรรมสินค้าและบริการให้สามารถตอบโจทย์ตามความต้องการของลูกค้าและมอบประสบการณ์ที่แตกต่าง จะทำให้ธุรกิจสามารถอยู่รอดและเติบโตได้ และที่สำคัญ ต้องได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐที่กำกับดูแลด้วยความเข้าใจและคำนึงถึงบริบทในการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป จึงจะทำให้ธุรกิจสามารถเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน

กระบองเพชร

Share this:

  • Email
  • Print
  • Telegram
  • Pinterest
  • Tumblr
  • WhatsApp
  • Skype
  • Pocket
  • Facebook
  • Twitter
  • LinkedIn
  • Reddit

Like this:

Like Loading...
Posted in ข่าว Like สาระ, แนวหน้า | Tagged 2565(2022), ข่าว Like สาระ, บทความพิเศษ, แนวหน้า, naewna | Leave a reply

บทความพิเศษ : บันทึกถึงพี่น้องชาวยุโรป (5) (และผู้นำของเขา คราวนี้ รัสเซีย)

Posted on June 14, 2022 by SoClaimon
Reply

#SootinClaimon.Com : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์แนวหน้า

https://www.naewna.com/likesara/660070

บทความพิเศษ : บันทึกถึงพี่น้องชาวยุโรป (5)  (และผู้นำของเขา คราวนี้ รัสเซีย)

วันอังคาร ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2565, 06.00 น.

บันทึกถึงพี่น้องชาวยุโรป หลายครั้งที่ผ่านมา ได้แสดงถึงความห่วงใย ต่อพี่น้องชาวยุโรปตะวันตกเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งได้แก่ ฟินแลนด์ สวีเดน กลัวว่าบ้านเมืองอันสวยงามของท่านจะกลายเป็นเถ้าถ่านและพังพินาศไปเหมือนยูเครน

จากนั้นก็ยังแสดงความห่วงใยไปยัง พี่มาครง แห่งฝรั่งเศส พี่ชูลส์ แห่งเยอรมนี และพี่ดรากีแห่งอิตาลี ให้ลองเหลียวมองไปอีก 5 ทิศบ้าง คือซ้าย ขวา(หน้า)หลัง ทิศบน ทิศล่าง

อย่ามองไปข้างหน้าอย่างเดียว เพราะทิศข้างหน้า คือ ทิศแห่งสงครามแห่งการให้ Hard Power เข้าถล่มทลายกัน จนเราอาจจะไม่ได้เห็นความสวยงามของหอไอเฟล,ประตูชัย, ถนนชองเซลิเซ่, พระราชวังเครมลิน, พระราชวังเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก, พิคคาดิลลี เซอร์คัส, พระราชวังบักกิงแฮม และออกซฟอร์ดสตรีท อีกต่อไป หากมีสงครามนิวเคลียร์เกิดขึ้น

จากนั้น ก็พาท่านไปล่องเรือชมดินแดนอันสวยงามแห่งชายฝั่งรอบทะเลบอลติก ซึ่งได้แก่ เดนมาร์ค นอร์เวย์ เยอรมนี เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย ผ่านเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กของรัสเซียไปยังฟินแลนด์ และมาจบที่กรุงสต๊อกโฮมของสวีเดน โดยยังไม่ได้บรรยายถึงความสวยงามของเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก มอสโก และภูมิประเทศอันสวยสดงดงามเช่นเดียวกันของประเทศรัสเซีย ประเทศที่เริ่มต้นใช้ Hard Power หรืออำนาจแห่งการทำลายล้างมาใช้กับยูเครน ราวกับอยู่ในสมัยร้อยปีที่แล้วของศตวรรษที่ผ่านมาในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 (1914-1918) และสงครามโลกครั้งที่ 2 (1939-1945)

นครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ตั้งมา 300 ปีเศษแล้ว ตั้งแต่ปี ค.ศ.1703 นับเป็นเมืองที่สวยงามมากเมื่อเทียบกับนครต่างๆ บนฝั่งทะเลบอลติกด้วยกัน เป็นเมืองมรดกโลกที่คัดสรรแล้ว โดย UNESCO เป็นศูนย์กลางประวัติศาสตร์ที่สำคัญของสหภาพโซเวียตรัสเซีย (USSR) และของสหพันธรัฐรัสเซีย (Russian Federation) มีพิพิธภัณฑ์ศิลปะที่ใหญ่ที่สุดในโลกอยู่ในนครนี้ นั้นก็ คือ Hermitage นั่นเอง

การไปเยือน นครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก นอกจากจะนั่งเรือสำราญล่องมาตามชายฝั่งทะเลบอลติกแล้ว ก็ยังอาจจะนั่งเครื่องบินมาจากมอสโก ปารีส ลอนดอน หรือแฟรงค์เฟิร์ตได้ทั้งนั้น รวมทั้งนั่งรถไฟไปกลับจากกรุงมอสโกด้วย แต่ที่น่าสนใจอีกเส้นทางหนึ่งก็คือ การนั่งเรือจากท่าเรือแม่น้ำแห่งกรุงมอสโก ล่องขึ้นเหนือและพักค้างคืนบนเรือ มาจนถึงท่าเรือแม่น้ำแห่งนครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก

ก่อนเรือจะเคลื่อนจากท่าเรือแม่น้ำหรือจะถึงท่าจุดหมายปลายทาง ก็จะมีวงดนตรีมาบรรเลงอยู่ริมท่าเรือ เพื่อบำรุงขวัญผู้โดยสารทางเรือให้สดชื่นไปกับการล่องแม่น้ำทางไกล

เช่นเดียวกันหากจะล่องแม่น้ำมอสควา ลงมาทางตะวันตกเฉียงใต้ของรัสเซียจนถึงเมืองVolgogard หรือ สตาลินกราดในอดีต เป็นเวลา 3 วัน 3 คืน ก็จะผ่านทัศนียภาพอันงดงามของระบบการขนส่งทางน้ำของรัสเซียซึ่งมองการณ์ไกลจัดให้เรือขนาด 5,000 ตัน ไม่ว่าจะเป็นเรือสินค้าหรือเรือรบสามารถวิ่งส่งสินค้า เครื่องอุปโภค-บริโภค ทหารและอาวุธยุทโธปกรณ์ถึงกันได้ จากภาคตะวันตกสู่ภาคตะวันออก โดยผ่านประตูยกระดับน้ำจำนวนมาก จากภาคเหนือทะเล Barents Sea แถบขั้วโลกเหนือลงมา ทะเลดำและทะเลแคสเปียน (Caspian) ทางภาคใต้โดยไม่ยาก

ซึ่งระหว่างทางก็จะมีเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ เพื่อการป้องกันภัยแล้ง ป้องกันน้ำท่วม เพื่อการประมงและเพื่อการท่องเที่ยวพร้อมกันไปในตัวแบบเบ็ดเสร็จ เสียดายที่การเมืองไทยไม่นิ่ง จึงยังไม่มีรัฐบาลใด ได้ไปดูแบบอย่างของประเทศต่างๆ ในยุโรป ที่เขาทำเช่นนี้มาหลายร้อยปีแล้ว ของเรามีแต่การจ้องล้มรัฐบาล เพื่อชิงอำนาจกัน คอคอดกระ ไม่กี่กิโลเมตร จึงยังไม่ได้ทำสักที รวมทั้งการเชื่อมโยงทางน้ำระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำชี แม่น้ำมูล และแก้มลิง ป้องกันภัยแล้ง ป้องกันน้ำท่วมทั่วประเทศ ที่เชื่อมโยงกัน จึงยังไม่เกิดขึ้น

อย่างไรก็ดี ไหนๆ มาแวะชมรัสเซียแล้ว สิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือการชมกรุงมอสโก นครหลวงของประเทศรัสเซียปัจจุบันซึ่งเป็นนครที่มีประชากรมากที่สุดในยุโรปเกือบ 20 ล้านคน และมีสถานที่สวยงามให้ชมมากมาย เช่น จัตุรัสแดง, พระราชวังเครมลิน, พระมหาวิหารนักบุญเบซิล, ระบบรถไฟใต้ดินที่สวยงามที่สุดในยุโรป เป็นต้น สมัยเป็น USSR ก็จะต้องสั่งอาหารมีชื่อของสหภาพโซเวียตมาทาน อันได้แก่ Chicken à la kiev (หรือไก่อบแบบกรุงเคียฟของยูเครน) มาทาน หากหั่นไม่ระวัง เนยร้อนๆ ก็จะโดดเข้าใส่หน้าท่านหรือ เสื้อนอกของท่านทันที

การจะมาเยือนรัสเซีย ประเทศที่สวยงามและมีอำนาจมากที่สุดประเทศหนึ่งของโลกจากคนในเอเชีย นอกจากจะมาทางเครื่องบิน ทางเรือสำราญทะเลและทางแม่น้ำแล้ว ยังมาได้ทางรถไฟสายทรานส์ไซบีเรียอีกทางหนึ่ง โดยเริ่มต้นที่เมืองวลาดิวอสตอค ซึ่งอยู่ตะวันออกสุดของทวีปเอเชีย ไม่ไกลจากจีนและเกาหลีเหนือนักหรืออาจจะขึ้นรถไฟจากปักกิ่งมายังฮาร์บิน แล้วเข้าไปเชื่อมต่อรถไฟสายทรานส์ไซบีเรียก็จะสามารถเดินทาง นั่งกิน นอนหลับ ชม 2 ฝั่งทางรถไฟ มาจนถึงกรุงมอสโก หรือนครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กได้เช่นกัน

นอกเหนือจากการเป็นประเทศที่ใหญ่โต มีประวัติศาสตร์อันยาวนานแล้ว ยังมีวัฒนธรรมศิลปกรรม นวัตกรรม อีกมากมายที่นับเป็น Soft Power อันยิ่งใหญ่ของรัสเซีย รวมทั้งการมีผลิตภัณฑ์อุปโภค-บริโภคป้อนชาวยุโรปและชาวโลกอีกจำนวนมาก ได้แก่ ข้าวสาลี น้ำมันบริโภค พลังงานน้ำมัน แก๊ส จึงเป็นสิ่งที่น่าคิด ว่าพี่ปูไม่ได้คิดใช้ Soft Power ในการแก้ปัญหายูเครน ซึ่งขณะนี้ได้กลายเป็นปัญหาของโลกไปแล้ว

โลกกำลังเผชิญกับภาวะการขาดแคลนอาหาร ขาดแคลนพลังงาน ภาวะเงินเฟ้อ ผู้คนกำลังจะอดตายและลำบากกันทั่วโลก เพราะพี่ปูเห็นว่าลุงโจมาทาง Hard Power ก็เลยใช้Hard Power ตอบโต้ไป ผู้คนทั้งโลกจึงกำลังเดือดร้อนและจะเดือดร้อนมากขึ้นเรื่อยๆ

หากพี่ปู หันมาใช้ Soft Power ที่พี่ปูมีอยู่เหลือเฟือ มาใช้ให้เป็นประโยชน์กับประเทศสมาชิก NATO โดยเชิญเขาเข้ามาเป็นสมาชิกสนธิสัญญาสันติภาพและการพัฒนายุโรป หรือ อีกองค์การหนึ่งกับเอเชียอาคเนย์ก็ได้ ให้อภิสิทธิ์ในการซื้อ-ขายข้าวสาลี น้ำมันดอกทานตะวัน แก๊ส น้ำมัน ในราคาที่ดีกว่าการซื้อจากลุงโจ แล้วมีเงื่อนไขในสนธิสัญญาว่าจะไม่รุกรานซึ่งกันและกัน

โดยใช้กำลังแต่จะใช้หลักกฎหมายระหว่างประเทศและศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ประเทศเหล่านั้นก็คงจะเลิกคบลุงโจ ซึ่งการใช้เงินซื้ออาวุธจาก ลุงโจ เอาเงินมาซื้อข้าวสาร ถ่าน ไฟ จากพี่ปูแล้วเอามาพัฒนายุโรป หรือทวีปของตนให้สงบสุข มีสันติภาพและรุ่งเรืองก้าวหน้าต่อไปก็น่าจะได้ผลดีกว่า

เดี๋ยวนี้สนธิสัญญามีมากมาย สลับทับซ้อนกันไม่ว่าจะเป็น Indo Pacific Economic Framework (IPEF) หรือ BRICS หรือ AUKUS หรืออะไรต่อมิอะไร เข้าไปอันไหนได้ประโยชน์ด้านกินดีอยู่ดีและความมีสันติสุขของพลเมืองของตน ประเทศต่างๆ ก็น่าจะอยากเข้าไปอยู่ด้วยมากกว่าที่จะเข้าไปเพื่อจ่ายเงินซื้อปืน จรวด และอาวุธจากพี่โจ แล้วเอามาทำลายล้างซึ่งกันและกัน ลองคิดดูนะพี่ปู ยังไม่สายไปดอกนะ

ขณะนี้พี่โจกำลังเรียกประชุมเพื่อนบ้านที่อยู่ในทวีปเดียวกัน มีมาประชุมกันมากมายตั้งแต่แคนาดา, เม็กซิโก, บราซิล, ชิลี, อาร์เจนตินา ฯลฯ เพื่อหาทางพัฒนาไปด้วยกันก็เหมือนกับหัวหน้าหมู่บ้านในเอเชียไม่ว่าจะเป็นกำปงหรือหมู่บ้านจัดสรร ก็ต้องมีการพบปะหารือกันพัฒนาหมู่บ้านที่ตนอยู่ ให้รั้วรอบขอบชิดไม่มีขโมย ไม่มีน้ำท่วม น้ำไหล ไฟสว่าง ทุกคนในหมู่บ้านก็จะอยู่กันอย่างสงบสุข แต่พี่ปูไม่ใช้ไม้นวมกับลูกบ้านเดียวกันเสียเลย เอะอะก็เอาแต่ Hard Power เข้าหากัน จึงเปิดโอกาสให้พี่โจเข้ามาเป็นหัวเรือใหญ่ในหมู่บ้านยุโรปของพี่ปู เขาก็ถือโอกาสขายอาวุธเอากำไรท่าเดียว ส่วนหมู่บ้านจะแย่อย่างไรฉันไม่เกี่ยว ฉันอยู่ไกลกระสุนปืนใหญ่ หรือกระสุนรถถังไปไม่ถึง (ยกเว้นอาวุธปรมาณูอย่างเดียว)

ถ้าพี่ปูลองคิดถึง Theory of Subcontination ให้ดี แล้วพี่ปูจะได้คิดว่า การอยู่อย่างสันติกับคนในหมู่บ้านเดียวกันนั้นมันแสนจะนอนตาหลับ หลักโลกาภิวัตน์ (globolization) นั้น สลายไปจากโลกแล้วโดยพี่โคแนลด์
แล้วพี่โจ ก็มาทำลายต่อโดยทำสงครามการค้ากับพี่สี ตอนนี้ ประเทศทุกย่านในโลกควรจะไปสู่ Theory of Sub-contination กันได้แล้ว ให้พี่โจอยู่สบายกับพรรคพวกในทวีปอเมริกา

พี่ปูก็อยู่สบายกับพรรคพวกในยุโรป ดูแลกันโดยใช้หลักเมตตาธรรม หลักการพรหมวิหารสี่ (Four sublime
states of mind) พี่สีก็อยู่สบายกับเพื่อนบ้าน เช่น มองโกเลีย พม่า เขมร ญวน ลาว ส่วนพี่ยุ่นจะตั้งอีกหมู่บ้านหนึ่งกับเกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ ก็ไม่มีใครห้ามอยู่แล้ว

พี่ๆ ทั้งหลายลองเอาไปคิดดูก็แล้วกัน แล้วโลกเราก็จะน่าอยู่ขึ้นอีกมาก

หากไม่เข้าไปหักหาญทำลายล้างกันด้วย Hard Power หรือด้วยอาวุธปรมาณู

ศิริภูมิ

Share this:

  • Email
  • Print
  • Telegram
  • Pinterest
  • Tumblr
  • WhatsApp
  • Skype
  • Pocket
  • Facebook
  • Twitter
  • LinkedIn
  • Reddit

Like this:

Like Loading...
Posted in ข่าว Like สาระ, แนวหน้า | Tagged 2565(2022), ข่าว Like สาระ, บทความพิเศษ, แนวหน้า, naewna | Leave a reply

บทความพิเศษ : งานมหกรรมผ้าไหมไทยสู่เส้นทางโลกครั้งที่ 11

Posted on June 7, 2022 by SoClaimon
Reply

#SootinClaimon.Com : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์แนวหน้า

https://www.naewna.com/likesara/658572

บทความพิเศษ : งานมหกรรมผ้าไหมไทยสู่เส้นทางโลกครั้งที่ 11

วันอังคาร ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2565, 06.00 น.

เมื่อปลายเดือนก่อน มีงานใหญ่ที่ประเทศไทยจัดขึ้นในประเทศ เพื่อส่งเสริมผ้าไหมไทยให้เผยแพร่ไปทั่วโลก คนไทยในชนบทอีกเป็นจำนวนมากจะได้มีอาชีพและรายได้ดีๆ จากการปลูกหม่อน จากการเลี้ยงไหม จากการทอผ้าไหม และจากการทำธุรกิจด้านผ้าไหม

โดยเฉพาะในปี พ.ศ.2565 เป็นปีที่ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงมีพระชนมพรรษาครบ 90 พรรษา ในวันที่ 12 สิงหาคมพ.ศ.2565 การจัดงานครั้งนี้ จึงจัดอย่างยิ่งใหญ่ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติของพระองค์ท่านในฐานะเป็นผู้บุกเบิก และริเริ่มให้ผ้าไหมไทยได้มีบทบาทอันมั่นคงในสังคมไทย และให้แพร่หลายไปในต่างประเทศทั่วโลก

การจัดในปี พ.ศ.2565 จึงเป็นการจัดที่สำคัญ ณ หอประชุมกองทัพเรือ ต้องขอชมเชยหน่วยราชการทั้งหลายที่ร่วมกันจัด ได้แก่ สำนักนายกรัฐมนตรี, กระทรวงวัฒนธรรม, กรมหม่อนไหม,การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, กรมประชาสัมพันธ์, และหน่วยงานอื่นๆ

จนกระทั่งมีสถานทูตและสถานกงสุลของประเทศต่างๆ เข้าร่วมงานถึง 100 ประเทศ ซึ่งผู้จะเดินแบบในชุดไหมไทย ประกอบด้วย เอกอัครราชทูตและภริยา 42 ประเทศ, กงสุลกิตติมศักดิ์ 17 ประเทศ อุปทูตและตัวแทนสถานทูต 41 ประเทศ จึงเป็นความร่วมมือที่ได้รับจากผู้แทน ของประเทศต่างๆ ถึง 100 ประเทศ

และโดยที่ ท่านนายกรัฐมนตรี(พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา)ไปติดราชการประชุม Indo-Pacific Economic Framework(IPEF)อยู่กับ โจ ไบเดน และผู้นำคนอื่นของเอเชียและอาเซียน อยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น

ฯพณฯ ดร.วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี จึงต้องมาทำหน้าที่แทนและดูแลรับแขกต่างประเทศอย่างได้ผลดียิ่ง

แต่เรื่องก็คงไม่จบลงเพียงเท่านี้ เพราะยังมีประเด็นอีกหลายประเด็น ที่ทำให้ต้องเขียนบทความนี้ขึ้นมา อันได้แก่

ตามสูจิบัตร จะมีเอกอัครราชทูตของประเทศต่างๆและภริยาแต่งไหมไทยออกมาเดินถึง 42 ประเทศ ในจำนวนนี้มีประเทศในยุโรปอยู่ถึง 21 ประเทศ

แต่พอเอาเข้าจริงแล้ว เอกอัครราชทูตในยุโรปหลายประเทศรวมทั้งภริยา งดเว้นการแต่งกายออกมาเดิน ซึ่งน่าจะเป็นประเทศในกลุ่มองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ(NATO)ประมาณ 20 ประเทศ ซึ่งไม่ต้องการทำสังฆกรรมกับเอกอัครราชทูตรัสเซียและภริยาซึ่งตามสูจิบัตรจะต้องแต่งกายออกมาเดินบน Cat Walk เหมือนกัน

ร้อนถึงท่านรองฯวิษณุ เครืองาม ต้องไปเกณฑ์และขอร้องปลัดกระทรวงหลายกระทรวงให้แต่งกายด้วยชุดผ้าไหม ออกมาเดินแฟชั่นโชว์แทนท่านเอกอัครราชทูตทั้งหลายซึ่งทำการบอยคอตต์ (boycott)งานที่ประเทศไทยจัดขึ้นและไม่ใช่งานการเมือง หรืองานแบ่งพวกแบ่งสีแต่อย่างใด

การที่บรรดาเอกอัครราชทูตของประเทศสมาชิก NATO ทำเช่นนี้ มีพี่ใหญ่ใน NATO ประเทศใดสั่งการมาและท่านต้องถือปฏิบัติตามโดยไม่เกรงใจประเทศเจ้าภาพด้วยเช่นนั้นหรือ

หรือว่าท่านตกลงกันเอง ซึ่งถ้าทำเช่นนี้จะไม่เป็นการผิดมารยาททางการทูตและธรรมเนียมการทูตและการไม่เห็นแก่หน้าประเทศเจ้าภาพหรือ

แต่ถ้าท่านได้รับคำสั่งจากรัฐบาลของท่านให้กระทำเช่นนี้ คอลัมน์นี้ ก็ขอแสดงความเห็นใจและแสดงคารวะต่อท่านเป็นอย่างยิ่ง ที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของรัฐบาลของท่าน

แต่เมื่อประเทศมหาอำนาจประเทศหนึ่ง ส่งทหารบุกเข้าไปจับและสังหารผู้นำอิรัก เอาเครื่องบินเข้าไปบอมบ์ทำเนียบและสังหารประธานาธิบดีลิเบีย ส่งกองทัพเข้ายึดอัฟกานิสถาน ซีเรีย ฯลฯ โดยไม่คำนึงถึงกฎบัตรสหประชาชาติ (UNO) ประเทศของท่านได้คัดค้านหรือร่วมกันแซงก์ชั่น (Sanction) บ้างหรือไม่

ประเทศของท่านซึ่งถือตนเป็นประชาธิปไตย ยึดถือหลักความเสมอภาค (Equality), เสรีภาพ (Liberty) และ ภราดรภาพ(Fraternity) ของทุกประเทศ ของประชากรในประเทศ ได้ต่อสู้หลักการนี้กับประเทศเจ้าพ่อที่ทำเช่นนี้บ้างหรือไม่

ในฐานะที่ท่านเป็นตัวแทนของประเทศ ท่านก็น่าจะส่งความคิดเห็นของชาวเอเชียไปให้รัฐบาลของท่านทราบบ้างว่า เขาคิดกันอย่างไรบ้าง

การจะอยู่ด้วย ภราดรภาพ ประเทศต่างๆ จะต้องพยายามหาทางเจรจาและช่วยเหลือกันฉันพี่น้อง แก้ปัญหาไปด้วยกัน ช่วยให้เจริญไปด้วยกัน ไม่ข่มขู่หรือกลั่นแกล้งรังแกกัน ไม่ส่งเสริมหรือสนับสนุนให้รบกัน

การจะอยู่ด้วย เสรีภาพ ประเทศใหญ่จะต้องเคารพเสรีภาพของประเทศเล็ก ให้เกียรติเท่าเทียมกัน และเคารพซึ่งกันและกัน

การที่จะอยู่ด้วย ความเสมอภาค ก็ต้องมีสิทธิเท่าเทียมกัน เคารพในฐานันดรและประชาชนของแต่ละประเทศ ไม่ไปรังแกข่มขู่เขาด้วยกำลัง ทุกอย่างจำต้องเจรจากัน และยึดถือหลักกฎหมายระหว่างประเทศเป็นหลัก ยึดถือคำพิพากษาของศาลโลกเป็นที่ยุติ

ทีนี้มาถึงข้อสังเกต ถึงบริษัทผู้จัดงานบ้าง ท่านจัดงานใหญ่ให้ประเทศที่มีประวัติศาสตร์และมีศักดิ์ศรีเช่นประเทศไทย และเจตนาให้ผลงานเผยแพร่ไปสู่ทั่วโลก ท่านก็จะต้องเอาใจใส่และทุ่มเทจิตใจให้มากขึ้นอีกหน่อย เช่น

1.ผู้มาร่วมงาน ต่างก็สอบถามกันและกันว่า ทางเข้าอยู่ที่ไหน จะไปสู่ที่นั่งได้อย่างไร มีผู้คนเดินอยู่มากมาย แต่ก็ไม่ทราบว่าใครเป็นพนักงานนำเข้าที่นั่ง (ushers) แผนที่และเครื่องหมาย ตลอดจนแผนผังที่นั่งก็ไม่มีติดไว้หน้างานเลย

2.ผู้แสดงแบบ ก็ถูกจับไปรวมกันแน่นขนัดที่ชั้นล่าง ไม่มีใครทราบว่าตนจะต้องออกเดินแบบเมื่อใด การเตรียมการเรื่องเตรียมช่างแต่งหน้า ช่างทำผม มีกำหนดการไว้เป็นอย่างดีแต่เมื่อแต่ละคณะไปถึงแล้ว ก็มิได้เป็นไปตามเวลาและคิวที่เตรียมไว้ น่าจะเป็นเพราะขาดการกำกับดูแลและการประสานงานที่มีประสิทธิภาพ ผู้แสดงแบบจึงต้องพยายามพึ่งตนเองเป็นหลัก

เมื่อถึงคิวออกเดิน ทุกคณะไม่สามารถเดาได้ว่า จัดเรียงแบบใด มีเจ้าหน้าที่เพียงคนเดียวออกมาตะโกนเรียก ชื่อประเทศต่างๆ โดยไม่มีไมโครโฟน ทำให้รับฟังยาก

จากห้องพักรอ เดินขึ้นไปด้านหลังเวทีก็ต้องใช้ทักษะการเอาตัวรอด เพราะอยู่ในที่มืดหลังเวที มีความหวาดเสียวที่จะล้มหรือเกิดอุบัติเหตุได้ ต้องคอยสอบถามจากพนักงานเป็นช่วงๆ ว่าคิวเป็นอย่างไร เพื่อเดินกันไปตามคิว ที่ผู้ประกาศเท่านั้นที่รู้

3.ลำดับการออกเดินแบบ ผู้ที่ต้องแต่งกายออกเดินแบบก็มีการปะปนกันยุ่งเหยิง เอกอัครราชทูต, ภริยาและครอบครัว, เจ้าหน้าที่สถานทูต, และเด็กนักเรียนไทยของสถานทูตที่บอยคอตต์งาน ผู้เดินแบบที่อาวุโสและเป็นที่รักนับถือของคนไทย เช่น คุณนวลพรรณ ล่ำซำ กงสุลกิตติมศักดิ์สาธารณรัฐลิทัวเนียประจำประเทศไทย, คุณพัชรพิมล ยังประภากร กงสุลกิตติมศักดิ์สาธารณรัฐโกตดิวัวร์ประจำประเทศไทย (หรือแม้แต่ถ้า คุณชวรัตน์ ชาญวีรกูล กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ปาปัวนิวกินีประจำประเทศไทย หรือ คุณสนั่น อังอุบลกุล ประธานสภาหอการค้าไทยและกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ สาธารณรัฐมัลดีฟส์ มาเดินก็คงจะถูกจัดอยู่ในอันดับท้ายๆรองจากเจ้าหน้าที่ผู้น้อยของสถานทูต และเด็กนักเรียนไทยที่มาเดินแทนสถานทูตที่บอยคอตต์)

หากจัดตามลำดับตัวอักษรของประเทศที่ให้ความสนับสนุนและเข้ามาร่วมงาน ก็จะชัดเจนและรู้เวลาเดินของตัวดีกว่าที่จะต้องนั่งรออยู่อย่างแน่นขนัดและสับสนวุ่นวาย

4.ดนตรีประกอบเพลงเดิน ล้วนแล้วแต่เป็นดนตรีแบบลูกทุ่ง และมีนักเต้น (Dancers) แต่งตัวสวยๆ มาเต้นราวกับอยู่ในไนท์คลับ LIDO หรือ Crazy Horses แถวถนนชองส์เอลีเซ่ หรือในโรงละคร Folies Bergère กับ Casino de Paris ในปารีสเช่นกัน

งานที่ประเทศไทยจัดขึ้นนี้ เป็นงานที่มีเกียรติแขกที่ได้รับเชิญก็เป็นตัวแทนประมุข หรือรัฐบาลของนานาอารยประเทศ ดนตรีประกอบการเดิน ก็น่าจะเป็นเพลงพระราชนิพนธ์ โดยร้องเป็นภาษาอังกฤษหรือ ฝรั่งเศสก็ได้ หรือเป็นเพลงของ Johann STRAUSS หรือ STRAUSS อื่น ก็คงจะทำให้งานงดงามและซาบซึ้งยิ่งขึ้น

นอกจากนั้น ดนตรีและนักร้องแบบลูกทุ่งประกอบด้วย หางเครื่องแบบเต็มพิกัดก็มีเสียงดังกลบเสียงของพิธีกรหมด จนไม่ทราบว่า ปลัดกระทรวงคนไหนออกมาเดินด้วย ที่จำได้ ก็เห็นจะมี ดร.ดิสทัต โหตระกิตย์ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี และคุณอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

อย่างไรก็ตาม ต้องขอชมเชย ว่าคณะเต้นหางเครื่องเต้นกันได้ดีมาก จะเหมาะอย่างยิ่งถ้าจัดในงานที่บ้านนักการเมืองที่ร่ำรวยสัก 1 ท่าน

หัวข้อสุดท้ายของบทความนี้ มิใช่ข้อสังเกต หรือข้อเสนอแนะ แต่เป็นคำถามว่า แต่ละปีใช้งบประมาณเท่าใดและหากหาทางใช้งบประมาณเท่าๆ กัน ให้ห้างสรรพสินค้าดังๆ หรือโรงแรมห้าดาวในต่างประเทศที่กลุ่มธุรกิจใหญ่ๆของไทย ไปซื้อไว้ในต่างประเทศ ไปจัด ณ ห้างสรรพสินค้าเหล่านั้น หรือโรงแรมห้าดาวเหล่านั้นจะได้ผลลัพธ์ดีกว่าไหม เพราะความสวยงามของผ้าไหมไทย และของผู้ออกแบบชาวไทยที่ออกแบบได้อย่างสวยงาม จะได้ไปสู่มือ และสายตาของลูกค้าชาวยุโรป อเมริกา และอื่นๆ ได้โดยตรง น่าจะเป็นผลดีกว่ามาจัดอยู่แค่ในประเทศไทย แล้วก็จบไปแต่ละปี

หวังว่าข้อคิดเห็น “ติเพื่อก่อ” นี้ คงจะเป็นประโยชน์ในการจัดส่งเสริมผ้าไหมไทยในโอกาสต่อไป

ศิริภูมิ

Share this:

  • Email
  • Print
  • Telegram
  • Pinterest
  • Tumblr
  • WhatsApp
  • Skype
  • Pocket
  • Facebook
  • Twitter
  • LinkedIn
  • Reddit

Like this:

Like Loading...
Posted in ข่าว Like สาระ, แนวหน้า | Tagged 2565(2022), ข่าว Like สาระ, บทความพิเศษ, แนวหน้า, naewna | Leave a reply

บทความพิเศษ : อาทิตย์นี้เลือก ‘ผู้ว่าฯ กทม.’

Posted on May 21, 2022 by SoClaimon
Reply

#SootinClaimon.Com : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์แนวหน้า

https://www.naewna.com/likesara/654638

บทความพิเศษ : อาทิตย์นี้เลือก ‘ผู้ว่าฯ กทม.’

วันศุกร์ ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2565, 06.00 น.

วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม นี้

จะมีการเลือกตั้งผู้ว่าฯกรุงเทพมหานคร หลังจาก “ผู้มีอำนาจ” ในบ้านเมือง “เบรก” พวกเราอยู่หลายปี (น่าจะมีการวิเคราะห์นะครับว่า เกิดผลดีผลเสียจากการกระทำนี้อย่างไร)

ถึงเวลาแล้ว (เขาคิดนะ) ที่พวกเราจะรวมพลังสุจริตใช้สิทธิ์อย่างโปร่งใส พร้อมใจไปเลือกตั้ง”

เขาเชิญชวน

มีผู้เสนอตัวให้เราเลือกเป็น “ผู้ว่าฯ” กันมากมาย หลายผู้สมัครแสดงความมักง่าย เอาหลังพิง “เสาไฟฟ้า” ติดป้ายระเกะระกะ รก “บ้านเมือง”กทม. ที่ตัวอาสาจะเข้ามาพัฒนาสภาพให้ดีขึ้น

ในโลกของ Social Media ที่ทุกคนเป็น “สื่อ” ได้ ก็ง่ายต่อการ “ใส่ร้าย ป้ายสี” ประเภท “ถ้าเอ็งไม่ผิด พ่อเอ็งก็เคยทำความผิด”

มีการ Mouth ใส่ร้ายผู้สมัครอื่นๆ ยังกับเวทีประกวดนางสาวไทยในอดีต ทำนอง นางงามคนนี้เคยถ่ายรูปโป๊ปฏิทิน “แม่โขง” มาก่อน นางงามคนนี้เป็น “เมียน้อย” เสี่ย นางงามคนนี้ทำนมมา(สมัยก่อนเวทีประกวดจะห้าม “ศัลยกรรมตกแต่ง”)

ตัดสิน “นางงาม “คงง่าย” ดูแค่ “สิ่งที่เห็น” ไม่ฟัง “Mouth”

ส่วนเลือก “ผู้ว่าฯกทม.” คงน่าจะลึกลับซับซ้อนกว่านั้น

นอกจากคุณวุฒิ ประสบการณ์ Past Record ลองดู Attitude ในการทำงาน

ประเภทร้อย “ผู้ว่าฯ” ก็แก้ไม่ได้ “กทม.จะเป็นเช่นนี้ไปชั่วชีวิต” เพราะสภาพภูมิศาสตร์ที่อยู่ที่ต่ำ

หน้าที่ของ “ผู้อาสา” ต้องทำให้ “บ้านเมือง” ดีขึ้น “คุณภาพ” ชีวิตลูกบ้านดีขึ้น ไม่ใช่หรือ

“ปัญหา” ที่ควรป้องกันได้ Proactive คุณไม่เคยคิดทำ เอาแค่การบำรุงรักษา “เครื่องมือ” ที่มีอยู่ คุณยังไม่ใส่ใจ (กุญแจเครื่องปั๊มน้ำหาย) ฯลฯ

หลายเมืองใหญ่ในโลกที่เคยมีปัญหา พอได้ “ผู้นำ” ที่มี “สติปัญญา” มี “การทุ่มเท” กลับพลิกฟื้นเป็นเมืองที่น่าอยู่ สร้างชื่อ “ผู้ว่าฯ” ให้เป็นขวัญใจชาวบ้านอย่าง บราซิล ฟิลิปปินส์ จีน (เซี่ยงไฮ้)

งบประมาณ กทม.ที่มีมากขึ้นตามการขยายของเมืองเป็น “ชิ้นปลามัน” ที่พรรคการเมืองสนใจ

“ผลประโยชน์” เบี้ยบ้ายรายทางจาก “อำนาจ” ที่มีอยู่เป็นเนื้ออันหอมหวน (“ชูวิทย์” นักธุรกิจสีเทา เจ้าพ่ออาบอบนวด เคยให้สัมภาษณ์ กลัว “กทม.” มากกว่า “ตำรวจ” เพราะ กทม.สามารถขุดท่อหน้ากิจการเป็นเดือนเป็นปี)

การอนุญาตแบบก่อสร้าง การอนุญาตใช้อาคารที่ก่อสร้างตามแบบที่ขอไป ฯลฯ ล้วนต้องมีขั้นตอน “ติดขัด” เพื่อการ “หยอดน้ำมัน”

เป็นที่เอือมระอาแก่สถาปนิกวิศวกรที่ประกอบสัมมาชีพ วิชาชีพตามที่ร่ำเรียนมาจากสถาบันการศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ ผลประโยชน์ที่ไม่ค่อยมีคนพูดถึง แต่นับว่าโตขึ้นและเป็นปัญหา “สิ่งแวดล้อม”

เป็นพิษต่อบ้านเมือง “ทรรศนะอุจาด” คือการติดป้ายเล็กติดป้ายน้อย ติดป้ายนิ่ง ป้ายเคลื่อนที่

คนโบราณคิดรอบคอบ การติดป้ายต่างๆ รบกวน“ทัศนียภาพ” ชาวบ้าน จึงต้องเก็บ “ภาษี” มาชดเชย

การเก็บ “ภาษีป้าย” ปัจจุบันเป็นช่องโหว่ หลุมดำ นำรายได้เข้าส่วนตัวทั้งข้าราชการใหญ่น้อย

การเลือกตั้ง “ผู้ว่าฯ กทม.” ก็น่าจะเหมือนการเลือกตั้งทั่วๆ ไป ในเมืองประชาธิปไตยไทยๆ มีทั้งซื้อเสียง ใช้อิทธิพล ฯลฯ

แล้วเราจะออกไปเลือกตั้งให้เสียเวลาทำไม

ผมยังมีความเชื่อว่า ถ้าเสียงบริสุทธิ์ เสียงผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง ออกไปเลือกกันเกินกว่า 80%

เราคงจะได้ “ผู้ว่าฯ กทม.” ที่พอจะเชิดหน้าชูตากรุงเทพมหานคร

แต่หากเรา “นอนหลับทับสิทธิ์” อยู่บ้าน

ก็คงต้องชอกช้ำไปอีก 4 ปี หรือรอ “ผู้มีอำนาจ” มาเปลี่ยนตัวให้

ระหว่างนี้ก็ภาวนาขอให้ “ร่มโพธิ์ร่มไทร” อยู่ไป

ฉากเลือกตั้งวันอาทิตย์ที่จะถึงนี้ น่าสนใจที่ “เด็กรุ่นใหม่” จะออกไปเลือกตั้งกี่เปอร์เซ็นต์

พรรคที่ทำตัว “หัวก้าวหน้า” จะสามารถชักนำให้ผู้ติดตาม ศรัทธาไปถึงคูหาเลือกตั้งได้มากน้อยเพียงไร

งานนี้คุณรณรงค์ตลอดเวลาที่ผ่านมา มีสาระ มีคุณค่า ที่เยาวชนคนรุ่นใหม่จะเดินตาม หรือเพียงเพื่อคุณต้องการ Nuisance บ้านเมือง

22 พฤษภาคม 2565 เวลา 08.00-17.00 น. จะเป็นวันที่สำคัญวันหนึ่งของ “บ้านเมือง” เราโดยเฉพาะกรุงเทพมหานครและพัทยา

หากออกไปใช้สิทธิใช้เสียงอย่าง “สุจริตชน” เกินกว่า 80% เราจะได้ “ผู้ว่าในฝัน” ได้หรือไม่

กฤษณ์ ศิรประภาศิริ

Share this:

  • Email
  • Print
  • Telegram
  • Pinterest
  • Tumblr
  • WhatsApp
  • Skype
  • Pocket
  • Facebook
  • Twitter
  • LinkedIn
  • Reddit

Like this:

Like Loading...
Posted in ข่าว Like สาระ, แนวหน้า | Tagged 2565(2022), ข่าว Like สาระ, บทความพิเศษ, แนวหน้า, naewna | Leave a reply

บทความพิเศษ : พระบารมีพิชิตมาร

Posted on May 13, 2022 by SoClaimon
Reply

#SootinClaimon.Com : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์แนวหน้า

https://www.naewna.com/likesara/653169

บทความพิเศษ : พระบารมีพิชิตมาร

วันศุกร์ ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2565, 02.00 น.

ความสงบสุขร่มเย็นของพสกนิกรชาวสยามเกิดขึ้นในแผ่นดินนี้มาแต่โบราณกาล ด้วยพระบารมีแห่งบูรพกษัตริย์

ในหนังสือ “กฤษฎาภินิหาร อันบดบังมิได้” ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ปราชญ์แห่งแผ่นดิน ได้ยกตัวอย่างและยกย่องกษัตริย์ไทยพระองค์หนึ่ง

“…ความปลอดภัยอันแท้จริงมาเกิดมีขึ้นเพราะพระนเรศวรเป็นเจ้าพระองค์เดียว ผู้ทรงก่อให้เกิดความคิดใหม่ วิธีการใหม่ และความหวังใหม่ขึ้นในใจคนไทย ถึงคนไทยจะเกรงกลัวพระราชอาญาแห่งพระเจ้านเรศวรเป็นเจ้ายิ่งกว่าความตาย

“ความกลัว” นั้นก็ยังดีกว่าความกลัว “พม่า” หรือหวาดหวั่น “ผู้มีอำนาจจากทิศอื่น” เพราะพระนเรศวรเป็นเจ้า ทรงปฏิบัติพระองค์ให้แลเห็นได้ชัดโดยทั่วกันว่า พระราชกรณียกิจน้อยใหญ่นั้น เป็นไปเพื่อประโยชน์ร่วมกันของ “คนไทย” และเพื่อประโยชน์ของ “บ้านเมือง” มิได้เป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนพระองค์เลยแม้แต่น้อย…”

พระปรีชาสามารถของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นที่ครั่นคร้ามแก่อริราชศัตรู บ้านเมืองของเราจึงสุขสงบร่มเย็น ราษฎรของเรามิได้ถูกกองทัพศัตรูไล่ฆ่าฟัน ถูกเกณฑ์เป็นเชลย เป็นทาสในต่างแดน ใช้ชีวิต แรงงาน ทุกข์ยากแสนเข็ญเป็น “แรงงาน” สร้างปราสาทราชวังรับใช้ “ผู้ชนะ”

บูรพกษัตริย์ของเราได้สร้างบ้านแปงเมือง สร้างอาณาจักรสยามให้มี “เกียรติยศ” ทรงถือราษฎรของพระองค์เสมือน “ลูกหลาน” และทรัพย์สินแผ่นดินเป็น “สมบัติ” ตกทอดมาจากบรรพบุรุษ

กษัตริย์ไทยจึงทรงหวงแหน “แผ่นดิน” รัก “ราษฎร” การเป็น “เจ้า” จึง “ปฏิบัติ” พระองค์ “บำเพ็ญ” พระราชกรณียกิจ เพื่อประโยชน์ร่วมกันของ “คนไทย”

พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา บันทึกไว้ว่า เพื่อรักษากรุงศรีอยุธยา พระมหาธรรมราชา มีนโยบาย “ผูกมิตร” กับพม่ามากกว่าที่จะเป็น “ศัตรู” ด้วยพระองค์ได้เห็นกำลังของพม่าว่ามีเหนือไทยทุกประการ (จนต้องเสียกรุงศรีอยุธยาในแผ่นดินสมเด็จพระมหินทราธิราช) และได้ทรงเห็นภัยพิบัติธนมหาศาล ซึ่งเกิดขึ้นแก่ประเทศไทยและคนไทยทั้งชาติ

แต่พระนเรศวรมิได้ทรงเข้าพระทัยว่าเหตุใดพระมหาธรรมราชา สมเด็จพระราชบิดา จึงทรงรับทางพระราชไมตรีกับกรุงหงสาวดี

พระนเรศวร ทรงมีความคิดฮึกเหิม “ถึงขนาดจะช่วงชิงเอากรุงหงสาวดีและมงกุฎของพระเจ้าหงสาวดีเสียก็ยังได้…”

อาจารย์ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช มองว่า “ปัญหาของพระมหาธรรมราชากับพระนเรศวรเป็นเจ้า เป็นปัญหาความแตกต่างระหว่าง “คนรุ่นเก่า” กับ “คนรุ่นใหม่” ซึ่งมีอยู่เสมอมา…”

ด้วยความรักราษฎรของพระองค์เหมือน “ลูกหลาน”ด้วยความเชื่อ “แผ่นดิน” เป็น “สมบัติ” ที่ตกทอดมาจาก “บรรพบุรุษ” สถาบันกษัตริย์จึงมี “เจ้านาย” “เจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน” ผู้ทรงเสียสละพระองค์นึกถึง “ประโยชน์ส่วนรวม” มาก่อน

ความข้อนี้ คงต่างไปจาก “นักการเมือง พรรคการเมือง” จะมี “กี่พรรค กี่นักการเมือง” ที่คิด “เสียสละ”เช่นนี้

คนโบราณมี “ศิลปะ” ในการให้กำลังใจสนับสนุนคน “ทำงาน” ยิ่ง “สถาบันกษัตริย์” ที่เป็น “สัญลักษณ์” แห่งการทำความดี เพื่อส่วนรวม เพื่อบ้านเมือง

การสถาปนาพระอิสริยยศ “เจ้าต่างกรม” เป็นขัตติยโบราณราชประเพณีที่สมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระเกียรติ พระบรมวงศ์ที่ทรงพระราชปรารภยกย่องสรรเสริญ ที่ทรงบำเพ็ญพระกรณียกิจ เป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยหรือที่ทรงพระราชอนุสรณ์คำนึงถึงในด้านต่างๆ ตั้งแต่สมัยอยุธยาสืบต่อมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์

ในอดีตเรามี “เจ้านาย” หลายพระองค์ที่ทรงได้รับการ “สถาปนา” อาทิ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ กรมหลวงสงขลานครินทร์ ฯลฯ

“เจ้านาย” ทุกพระองค์ทรงสร้างสรรค์ “คุณประโยชน์”แก่ประเทศให้พวกเราได้เก็บเกี่ยวความสุขสบาย แม้ถึงทุกวันนี้

หลายพระองค์ได้รับการยกย่องจาก องค์การ UNESCO ให้เป็น “บุคคลสำคัญของโลก”

ปีพ.ศ.2562 ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 10แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ทรงสถาปนา “สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี“พระโสทรกนิษฐภคินี” ด้วยทรงพระราชดำริว่า

“ได้ทรงงานอย่างต่อเนื่องด้วยพระวิริยอุตสาหะเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย”

“เกิดเป็นเจ้า ต้องรับใช้ประชาชน”

พระปณิธานของสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ตั้งแต่ทรงพระเยาว์ที่ได้ติดตามสมเด็จพระบรมชนกนาถ และสมเด็จพระบรมราชชนนี เสด็จฯ เยี่ยมราษฎรทั่วไทย ฯลฯ

สถาบันราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ รพ.จุฬาภรณ์ อันเนื่องมาจากพระดำริของพระองค์ เจริญก้าวหน้าเป็นที่พึ่งของราษฎรโดยแท้

พระองค์ทรงงานแม้พระพลานามัยไม่สมบูรณ์ บ่อยครั้งที่พระองค์เสวยพระโอสถ เพื่อให้ทรงงานได้ แม้แพทย์จะทูลเตือนว่า พระโอสถจะก่อให้เกิดอาการข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ก็ตาม ทรงงานเข้มแข็งตลอดมาด้วย ขัตติยะมานะ แห่งหน่อเนื้อเชื้อกษัตริย์

สักวัน “พระบารมีอันบดบังมิได้” คงส่องแสงทะลุเหล่า อกุศลจิตผู้ฝักใฝ่ “เดรัจฉานวิชา”

กฤษณ์ ศิรประภาศิริ

Share this:

  • Email
  • Print
  • Telegram
  • Pinterest
  • Tumblr
  • WhatsApp
  • Skype
  • Pocket
  • Facebook
  • Twitter
  • LinkedIn
  • Reddit

Like this:

Like Loading...
Posted in ข่าว Like สาระ, แนวหน้า | Tagged 2565(2022), ข่าว Like สาระ, บทความพิเศษ, แนวหน้า, naewna | Leave a reply

บทความพิเศษ : SOFT POWER

Posted on April 29, 2022 by SoClaimon
Reply

#SootinClaimon.Com : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์แนวหน้า

https://www.naewna.com/likesara/650318

บทความพิเศษ : SOFT POWER

วันศุกร์ ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2565, 06.00 น.

แรง “ข้าวเหนียวมะม่วง” ที่เด็กรุ่นใหม่ “มิลลิ” ดนุกา คณาธีรกุล นำมาโชว์การกินบนเวที เทศกาลดนตรีระดับโลก Coachella รัฐ California สหรัฐอเมริกา นอกจากปลุกกระแส “ข้าวเหนียวมะม่วงฟีเวอร์” ให้ขนมหวานไทย “สุดปัง” เป็นที่รู้จักแพร่หลาย (เพิ่มขึ้น) ยังทำให้คำว่า Soft Power มาอยู่ในความสนใจ “ข้าวเหนียวมะม่วง” ขนมหวานคลาสสิกเมนูนี้ เดิมก็ไม่ได้ “ขี้เหร่” ชาติใดได้ชิมไม่เคยมีใครไม่ชอบ แม้คนในอเมริกาจะโชคร้าย ไม่ได้กินตำรับโบราณสูตร Original ที่เป็น “ข้าวเหนียวมูน”อย่างดี คัดจากข้าวเหนียวเขี้ยวงู (อ.แม่จัน จ.เชียงราย)ทุกเม็ด

“กะทิ” คั้นจาก “มะพร้าว” ที่คัด (อีกเหมือนกัน) ความอ่อนแก่และเจาะจงใช้ “มะพร้าว” จากจังหวัดชุมพร แหล่งอุดมสมบูรณ์ด้วยผลิตผลธรรมชาติ

นี่เป็น “ข้าวเหนียวมะม่วง” ก.พานิช จานที่ให้ 5 ดาว จะให้ “ยาง” ยี่ห้อใด มาชิมไม่ว่าจะเป็นมิชลิน โยโกฮามา โอตานิ ฯลฯ ก็ต้องยกย่องเป็นรางวัล “กูร์มองต์”

ในสหรัฐอเมริกา ยิ่งโชคร้ายไม่ได้ลิ้มรส “มะม่วงอกร่อง” ที่เป็น “นางเอก” ของเมนูนี้ ต้องไปอาศัย “มะม่วงเม็กซิกัน” จากประเทศเพื่อนบ้านด้วยนโยบายกักกันพืชผลต่างแดน เหตุที่เขาก็เป็นประเทศที่ทำมาหากินกับ ผลิตผลการเกษตร หากมี “แมลง” ต่างแดนติดมะม่วงเข้าไปสักตัว มลรัฐ California คงลุกเป็นไฟ

มะม่วงชาติไทยจะเข้าสหรัฐได้ต้องผ่านการฉายกัมมันตภาพรังสี เหมือนประเทศญี่ปุ่นที่มีมาตรการกักกันมะม่วงไทย แต่เหี้ยมกว่าจะเข้าได้ต้องขออนุญาตเป็นพันธุ์เฉพาะเข้าไป และต้อง “อบไอน้ำ” (ญี่ปุ่นทำเครื่องอบไอน้ำขายเกษตรกรไทย)

ที่ตลกคือ ตอนนี้ “มะม่วงน้ำดอกไม้” ได้ผ่านเข้าไปขายในญี่ปุ่น (3 ใบ 1,000 เยน) แต่พันธุ์อื่นอย่าง “อกร่อง” ช้าก่อน เข้ายังไม่ได้

การเกษตรเขาคงอ้างว่า มะม่วงต่างพันธุ์ มีแมลงต่างพันธุ์ (ฮา)

คุณพาณี เฉียบฉลาด ผู้สืบทอดร้านข้าวเหนียวตำนาน ก.พานิช จากคุณย่าลี้ ซึ่งเป็น “ลูกมือ” ในห้องเครื่องรัชกาลที่ 6 บ่นเสียดายเสน่ห์ของอกร่องที่ไม่ได้ไปโชว์ตัวในต่างแดน

“เมื่อก่อนมะม่วงกินกับข้าวเหนียวให้อร่อยต้อง “อกร่อง” ของดำเนินสะดวก รสเขาจะแหลม แต่ถ้าเป็นคนจีนจะชอบ “น้ำดอกไม้” เนื้อแยะ (ฮา-พฤติกรรมผู้บริโภคของแต่ละชาติที่ไม่เหมือนกัน)

แต่ฉันว่า “รสหวาน” จะอ่อนกว่า “อกร่อง” แต่อกร่องเนื้อจะเป็นเสี้ยนหน่อย…”

“ข้าวเหนียวมะม่วง” และเพลงแร็พของสาววัยรุ่น“มิลลิ” ทำให้มีการพูดถึง Soft Power มีการพูดกันตูมตามตามกระแสแบบ “ไทยๆ” (คือเห็นอะไรดีๆ ก็ขอลอกมาก่อนไม่ได้สนใจปรัชญา รายละเอียด (ฮา)

ที่พูดถูกพูดผิดก็มีให้เห็น

บางคนเข้าป่าไปนึกว่าเขาพูดถึง Software

บางคนติดว่า ข้าวเหนียวก็นุ่ม มะม่วงก็อ่อนนี่แหละคือ Soft Power ของไทย(ถูกส่วนหนึ่ง ฮา)

มาฟัง Professor Joseph NYE แห่งมหาวิทยาลัย Harvard ผู้ต้นคิด Soft Power ให้คำจำกัดความ

“A country’s ability to influence the preferences and behaviours of various actors in the international arena (states, corporations, communities, publics etc.) through attraction or persuasion rather than coercion.”

“เป็นความสามารถของประเทศที่จะ “โน้มน้าว” ให้ผู้คนในประเทศ มิตรประเทศ ชอบประเทศของตน ด้วยการเสนอสิ่งที่ “น่าสนใจ” “ชักจูง” มากกว่า การใช้กำลังบีบบังคับ”

เขามีดัชนี KPI สากลวัดค่า Soft Power ของประเทศและประกาศให้ทราบทุกปี โดยหลักๆ ดูอยู่ 3 เรื่อง

Familiarity Reputation และ Influence

Familiarity ถ้าผู้คนในประเทศอื่น รู้เกี่ยวกับประเทศของคุณ ความสามารถ การดำเนินธุรกิจ ทรัพยากรคุณก็จะได้คะแนน Soft Power สูง

Reputation ชื่อเสียง ประเทศที่ผู้คนสนใจและเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับประเทศอื่นได้ จะแข็งแกร่งและเป็นบวก

Influence ประเทศคุณมีอิทธิพลในความคิดต่อประเทศอื่นๆ หรือไม่ หรือ Soft Power ของคุณจำกัดอยู่แค่ประเทศตนเอง ภูมิภาคเล็กๆ ของตนเอง

บรรพบุรุษผู้หลักผู้ใหญ่ ปู่ย่าตายายของเราได้สร้าง Soft Power มาช้านาน

“เด็กรุ่นใหม่” ถ้าให้โอกาสที่ดี ก็ได้แสดง ความสามารถให้นานาประเทศได้ชื่นชม

อย่าได้ปิดกั้นโอกาสอันดีของเยาวชนที่จะได้พัฒนาไปเป็นทรัพยากรบุคคลของประเทศของโลก

เพียงเพราะ “คนแก่” บางคน ยัง “ยักแย่ยักยัน”“ตามัว หูตึง” หลงใหลกับ “อำนาจ”

Soft Power ได้มาจาก “การสร้างสรรค์” หาได้มาจากการกำกับ จับผิด ปิดกั้นไม่

กฤษณ์ ศิรประภาศิริ

Share this:

  • Email
  • Print
  • Telegram
  • Pinterest
  • Tumblr
  • WhatsApp
  • Skype
  • Pocket
  • Facebook
  • Twitter
  • LinkedIn
  • Reddit

Like this:

Like Loading...
Posted in ข่าว Like สาระ, แนวหน้า | Tagged 2565(2022), ข่าว Like สาระ, บทความพิเศษ, แนวหน้า, naewna | Leave a reply

บทความพิเศษ : หลักการ ‘ควบรวม’ ธุรกิจ ต้องไม่นำไปสู่การมีอำนาจ ‘เหนือตลาด’ และการแข่งขันที่ ‘ไม่เป็นธรรม’ ประโยชน์ของประชาชน ‘ผู้บริโภค’ ต้องรักษาไว้

Posted on April 12, 2022 by SoClaimon
Reply

#SootinClaimon.Com : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์แนวหน้า

https://www.naewna.com/likesara/647043

บทความพิเศษ : หลักการ ‘ควบรวม’ ธุรกิจ  ต้องไม่นำไปสู่การมีอำนาจ ‘เหนือตลาด’ และการแข่งขันที่ ‘ไม่เป็นธรรม’  ประโยชน์ของประชาชน ‘ผู้บริโภค’ ต้องรักษาไว้

วันอังคาร ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2565, 06.00 น.

อย่างที่ทราบกันดีแล้วว่า เมื่อปีที่ผ่านมา จนมาถึงปีนี้มีความเคลื่อนไหวในแวดวงธุรกิจที่น่าสนใจ ใน 2 เรื่องด้วยกัน ซึ่งทั้ง 2 เรื่องนั้น คือ การผนึกกำลังกันของ 2 ทุนใหญ่ ในตลาดค้าปลีก และกิจการโทรคมนาคม แน่นอนว่า การเติบโตของบริษัทอันดับต้นๆ ของประเทศไทย ย่อมเป็นเรื่องที่สมควรส่งเสริม เพื่อที่จะทำให้เรามีศักยภาพในการแข่งขันทางการตลาดในระดับโลก แต่ในอีกทางหนึ่งก็มีประเด็นที่ต้องไม่วางใจ เพราะการเติบโตดังกล่าวนั้น อาจมีผลกระทบต่อประชาชน รวมไปถึงธุรกิจขนาดเล็ก ทั้งในด้านโอกาสทางการแข่งขัน และความไม่เป็นธรรมในการกำหนดราคาสำหรับผู้บริโภค

ในฐานะตัวแทนประชาชน ผมได้ทำหน้าที่ในสภาผู้แทนราษฎร เรียกร้องให้มีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาผลกระทบต่อประชาชน จากการควบรวมกิจการโทรคมนาคม และการค้าปลีก ตลอดถึงผลกระทบจากการขยายตัวของทุนขนาดใหญ่ที่กระทบทุนชาวบ้านขนาดเล็ก เพื่อหามาตรการคุ้มครองประชาชนในฐานะผู้บริโภค และทุนชาวบ้าน จนได้รับมอบหมายหน้าที่ให้เป็นรองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาผลกระทบ กรณีการควบรวมกิจการโทรคมนาคม ระหว่าง True และ Dtac และการค้าปลีก-ค้าส่ง สภาผู้แทนราษฎร

โดยผมขอใช้พื้นที่ตรงนี้ ในการยืนยันหลักการทำงานของผมต่อกรณีดังกล่าวที่เกิดขึ้น รวมไปถึงการนำเสนอข้อสังเกตบางส่วนที่เกิดขึ้นจากการทำงานอย่างหนักของคณะกรรมาธิการชุดนี้ ที่มี นาวาอากาศเอก อนุดิษฐ์นาครทรรพ เป็นประธานฯ เพื่อเป็นการแจ้งให้ทราบ และเปิดรับความคิดเห็นจากประชาชน ในการสร้างกรอบอันเหมาะสมสำหรับกลไกที่นำไปสู่การเติบโตทางธุรกิจ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชน ตลาดการค้า และกิจการต่างๆ รวมไปถึงประเทศไทยของเรา ดังนี้

ผมขอเริ่มต้นที่ นัยสำคัญของการแข่งขันทางการค้าอย่างเสรี ซึ่งเป็นที่ทราบกัน และยอมรับกันทั่วโลกว่าผู้บริโภคจะได้รับประโยชน์เมื่อธุรกิจมีการแข่งขัน และผู้บริโภคจะได้รับประโยชน์เมื่อธุรกิจมีการแข่งขันอย่างเสรี และแข่งขันกันได้อย่างเต็มที่ นี่คือหลักการของกฎหมายว่าด้วยการแข่งขันทางการค้าเสรี อันหมายความว่า กฎหมายป้องกันการผูกขาดนั้น มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญใน 2 เรื่อง คือ 1. ป้องกันการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม และนำไปสู่การครอบงำตลาด และ 2. การรักษาผลประโยชน์ของผู้บริโภคที่พึงจะได้รับจากการแข่งขันทางธุรกิจ

ด้วยหลักการ 2 ข้อดังกล่าวนี้เอง หน้าที่ของรัฐบาลในฐานะหน่วยงานในการกำกับดูแลให้เกิดการค้าเสรีอย่างแท้จริง ต้องดำเนินการให้ธุรกิจการค้าในประเทศไทย ประกอบกิจการภายใต้เงื่อนไข 3 ประการด้วยกัน คือ

1. ห้ามให้มีข้อตกลงระหว่างคู่แข่งทางธุรกิจที่สร้างข้อจำกัดทางการค้าอย่างไม่สมเหตุสมผล

2. ห้ามการผูกขาด หรือการสร้างเงื่อนไขที่จะนำไปสู่การผูกขาด ที่ทำให้เกิดการขยายส่วนแบ่งของตลาด และการสร้างอำนาจการต่อรองในอนาคตที่ไม่เป็นธรรม

และ 3. ป้องกันการควบรวมธุรกิจ หรือบริษัท ที่ทำให้การแข่งขันลดลง

ดังนั้น เมื่อพิจารณาจากเงื่อนไขทั้ง 3 ข้อนี้แล้ว ผมมองว่า ในกรณีการควบรวมของ True และ Dtac รวมไปถึงกรณีของแม็คโคร และโลตัส นั้น สิ่งที่รัฐบาลของประเทศไทยต้องดำเนินการในทันที เพื่อสร้างความโปร่งใสไม่ขัดต่อหลักการตามที่ได้นำเสนอมาก็คือ 1. ต้องเปิดเผยรายละเอียดของข้อตกลงทั้งหมดให้กับประชาชนได้ทราบ 2. ต้องวิเคราะห์ให้ชัดเจนเลยว่า ข้อตกลงดังกล่าวนั้น จะนำไปสู่การแข่งขันที่เป็นธรรมหรือไม่ และ 3. ต้องวิเคราะห์ไปถึงผู้บริโภค และประชาชน ว่าจะได้รับประโยชน์จากการแข่งขันทางการตลาด หลังการควบรวมดังกล่าวนี้ มากขึ้นหรือไม่ อย่างไร นี่เป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้น และต้องเกิดขึ้นจริง โดยไม่อิงผลประโยชน์อันใดแอบแฝง

ในรัฐธรรมนูญก็ได้มีการเขียนเอาไว้อย่างชัดเจนว่า รัฐบาลจะต้องรักษาระบบธุรกิจ และเศรษฐกิจเสรี ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องพึงปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ อีกทั้งประเทศไทยของเรา ก็มีพระราชบัญญัติการแข่งขันการค้าในปี พ.ศ. 2560 มาแล้ว แต่ที่ผ่านมา ก็มีคำถามเกิดขึ้นเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะคณะกรรมการแข่งขันทางการค้า หรือ กขค. ทั้งในกรณี การควบรวมของธุรกิจขนาดใหญ่ คือ แม็คโคร กับโลตัส ที่ลุล่วงไปแล้ว รวมไปถึงแนวทางการทำธุรกิจ และกลยุทธ์สร้างความเจริญเติบโตของร้านสะดวกซื้อเจ้าใหญ่ ที่หลายคนมีความเห็นอันแตกต่างไปจากคณะกรรมการแข่งขันทางการค้า ซึ่งมองว่า สามารถกระทำได้อย่างถูกต้อง มีเหตุและผลที่รองรับเอาไว้อย่างครบถ้วนตามกรอบกติกาของกฎหมาย

ยกตัวอย่างจากข้อมูลที่ได้รับมา ในกรณีควบรวมแม็คโคร กับโลตัส คณะกรรมการแข่งขันทางการค้าพิจารณาว่ามีความจำเป็นให้ทางซีพีเข้าซื้อกิจการโลตัส เพราะโลตัสต้องการที่จะยุติการทำธุรกิจในประเทศไทย หากไม่มีคนเข้ามาซื้อกิจการอาจทำให้เกิดปัญหาคนตกงานเป็นจำนวนมาก ซึ่งเหตุผลดังกล่าวนี้ ผมมองว่า คณะกรรมการชุดนี้ให้น้ำหนักต่อประเด็นการมีอำนาจเหนือตลาด และผลกระทบต่อธุรกิจขนาดเล็ก และประชาชนในฐานะผู้บริโภคน้อยเกินไป ซึ่งจากการศึกษาในชั้นของกรรมาธิการฯ ผม และคณะก็พบรายละเอียดที่น่าตกใจอยู่หลายเรื่อง เกี่ยวกับเงื่อนไขทั้ง 7 ข้อที่คณะกรรมการชุดดังกล่าวยื่นต่อทางซีพีให้ต้องปฏิบัติตามภายหลังการควบรวมเสร็จสิ้น อาทิ การส่งเสริม SME ให้เติบโตได้ 10% ของทุกปี ที่อาจไปสร้างความยากลำบากให้กับ SME อีก 90% ที่เหลือ หรือการห้ามควบรวมธุรกิจแบบเดียวกันอีกเพียง 3 ปี และไม่รวมถึงตลาดอีคอมเมิร์ซ(E-Commerce) ซึ่งน้อยเกินไป และเปิดช่องให้เข้าไปครอบครองตลาดออนไลน์ได้อีกทาง เป็นต้น ตรงนี้ก็เป็นประเด็นที่ทางคณะกรรมาธิการของเรากำลังหาทางอันเหมาะสมและเป็นธรรมกับทุกฝ่าย เพื่อวางกรอบที่ตรงตามหลักการที่กำหนดเอาไว้กันอยู่

ส่วนในกรณีของการควบรวมของ True และ Dtac ที่กำลังดำเนินการอยู่นั้น ผมได้มีคำถามอันเกี่ยวข้องกับข้อตกลงของการควบคุมบริษัทดังกล่าว จากคณะกรรมการแข่งขันทางการค้า ที่ต้องเชิญมาร่วมหาคำตอบในคณะกรรมาธิการของเราให้ได้ว่า 1. การควบรวมนี้สร้างข้อจำกัดทางธุรกิจให้ผู้ประกอบการรายอื่นๆ และรายใหม่อย่างไร 2. การควบคุมนี้นำไปสู่การผูกขาดและการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ และ 3. การควบรวมนี้ จะทำให้ประชาชนผู้บริโภคยังสามารถรักษาผลประโยชน์ของตัวเองได้ จริงหรือไม่

โดยผมได้เสนอต่อทางคณะกรรมาธิการฯ และจะหารือวางแนวทางร่วมกับคณะกรรมการแข่งขันทางการค้า และสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. เพื่อขอให้เปิดเวทีสาธารณะเพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และผู้ทรงคุณวุฒิทั้งหลาย รวมไปถึงการขอให้เปิดเผยข้อตกลงการควบรวมระหว่าง True และ Dtac ตั้งแต่บริษัทแม่จนถึงบริษัทลูก ว่าเชื่อมโยงกันอย่างไร ซึ่งหวังว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดังกล่าวนี้ จะรับข้อเสนอแนะ และข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการของเรา เพื่อนำไปใช้ประกอบการพิจารณาอย่างละเอียดอีกครั้ง

ทั้งหมดนี้ เป็นหลักการ และความคืบหน้า ต่อการตรวจสอบเพื่อสร้างกรอบกติกาที่เป็นธรรมสำหรับการประกอบกิจการในประเทศไทย ที่ทุกฝ่ายจะได้รับโอกาส และประโยชน์ อันเสรี และเป็นธรรมอย่างแท้จริง ภายใต้กฎหมาย และจริยธรรมทางการค้า ไม่ว่าจะเป็นบริษัทขนาดใหญ่ ขนาดเล็ก ผู้ประกอบการชาวบ้าน และที่สำคัญ คือ ประชาชนคนไทยในฐานะผู้บริโภคทุกคน

กนก วงษ์ตระหง่าน

Share this:

  • Email
  • Print
  • Telegram
  • Pinterest
  • Tumblr
  • WhatsApp
  • Skype
  • Pocket
  • Facebook
  • Twitter
  • LinkedIn
  • Reddit

Like this:

Like Loading...
Posted in ข่าว Like สาระ, แนวหน้า | Tagged 2565(2022), ข่าว Like สาระ, บทความพิเศษ, แนวหน้า, naewna | Leave a reply

บทความพิเศษ : อาชีวศึกษา แค่ ‘ปรับ’ โอกาส ก็ ‘เปิด’

Posted on April 5, 2022 by SoClaimon
Reply

#SootinClaimon.Com : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์แนวหน้า

https://www.naewna.com/likesara/645621

บทความพิเศษ : อาชีวศึกษา แค่ ‘ปรับ’ โอกาส ก็ ‘เปิด’

วันอังคาร ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2565, 06.00 น.

ถ้าติดตามการทำงานของผมมาอย่างต่อเนื่อง 10 กว่าปีที่ผ่านมา ผมให้ความสำคัญกับ “การศึกษาสายอาชีพ” หรือ “อาชีวศึกษา” เป็นอย่างมาก เพราะในอดีตที่ผ่านมา ผมมองว่า อาชีวศึกษา เป็นโอกาสในการพัฒนาประเทศ จวบจนมาถึงปัจจุบัน ผมก็ยังเชื่อเช่นนั้น และเห็นอย่างชัดเจนว่าอาชีวศึกษา จะเป็นคำตอบของการพลิกฟื้นเศรษฐกิจ ภายหลังจากสถานการณ์โควิดสร้างปัญหาต่อประเทศของเราอย่างสาหัส

กระนั้น การจะให้อาชีวศึกษามาทำหน้าที่ดังกล่าวนั้นได้นโยบายทางการศึกษาต้องได้รับการ “ปรับ” เพื่อ “เปิด” โอกาสสำหรับทักษะใหม่ๆ ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน และบริบทแวดล้อมทางเศรษฐกิจของบ้านเรา รวมไปถึงระบบเศรษฐกิจของโลก

หัวใจสำคัญที่จะเป็นหลักสำหรับการปรับก็คือ Comparative Advantage หรือ “ความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ” หรือถ้าจะให้เรียกเป็นภาษาชาวบ้านก็คือ “จุดแข็ง” ที่ประเทศของเรามี ซึ่งผมมองว่า มีอยู่ 3-4 เรื่องด้วยกัน เรื่องแรก คือ เรื่องเกษตร เรื่องที่ 2 คือ เรื่องอาหาร เรื่องที่ 3 คือ เรื่องหัตถกรรม และเรื่องที่ 4 คือ เรื่องการท่องเที่ยว ผมคิดว่า 4 เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ประเทศไทยมีความได้เปรียบ ดังนั้น นโยบายการศึกษาสายอาชีพ ที่จะตอบโจทย์ในการพัฒนาประเทศไทย ภายใต้สถานการณ์ในปัจจุบันนั้น ผมอยากให้โฟกัสไปที่ 4 เรื่องนี้เป็นสำคัญ เพราะถ้าเราไม่ใช้ Comparative Advantage หรือจุดแข็งของเรามาเป็นตัวนำ ทำให้ตายอย่างไรก็ไม่ชนะ(การแข่งขันทางเศรษฐกิจ) ประเทศอื่นๆ

มาลงลึกเกี่ยวกับจุดแข็งทั้ง 4 เรื่องกันสักนิด อย่างเรื่องของการเกษตร ประเทศของเรามีความหลากหลายทางชีวภาพสูงมาก เรามีอาหาร มีสมุนไพร และทราบไหมว่า เรามีจุลินทรีย์ หรือที่เรียกกันว่า โพรไบโอติกส์ (Probiotics) เป็นพันๆ ชนิด ที่ยังไม่เคยถูกนำมาใช้ ซึ่งถ้าต้องการให้การเกษตรไทยเป็นตัวยกระดับเศรษฐกิจของประเทศในแบบก้าวกระโดด เราต้องเอาอาชีวศึกษาเข้าไปดึงความรู้เช่นนี้ออกมาและนำไปพัฒนาเพื่อให้เกิดมูลค่าที่มากไปกว่าการขายเพียงแค่ผลผลิต

อีกเรื่องก็คือ วัฒนธรรม ซึ่งเป็นวิถีชีวิตจิตใจของคนไทยยกตัวอย่าง “รอยยิ้มของคนไทย” จะไปฝึกสอนให้คนสวีเดนยิ้มด้วยแววตาแบบเรานั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย และฝึกให้เข้มข้นขนาดไหน ก็ยากจะทำได้ใกล้เคียง แต่คนไทยเกิดมาสามารถยิ้มด้วยแววตาได้ทุกคน สิ่งนี้เราเรียกมันว่า SoftPower หรือ อิทธิพลทางวัฒนธรรมอันยิ่งใหญ่ของคนไทย ตรงนี้เราต้องมองว่าเป็นจุดแข็ง และจุดขาย จากนั้นก็หากระบวนการที่จะนำไปสร้างเป็นมูลค่าออกมา นอกจากนั้น เรายังมีธรรมชาติที่เป็นต่อประเทศอื่นๆ ทั้งแม่น้ำ ภูเขา ทะเล ป่าไม้ รู้ไหมว่า ประเทศไทยของเราเป็นประเทศเดียวที่ปลูกอะไรได้ตลอดทั้งปี 12 เดือนนี่ ไม่ต้องหยุดกันเลย ประเทศอื่นอย่างมาก 4 เดือนก็ต้องหยุดเพราะว่ามันหนาวมาก ทั้งหมดนี้คือข้อได้เปรียบของเรา ที่ต้องนำออกมาใช้ให้เป็น และใช้อย่างแม่นยำ

ใช่ครับ ความหมายก็คือ นโยบายต้องปรับ ทุกอย่างต้องไม่ทำแบบเดิม ทำแล้วจน ต้องไม่ทำ คำถามก็คือ แล้วทำไมถึงทำแล้วจน ยกตัวอย่าง เกษตรกร ทำไมเขาปลูกข้าวปลูกมัน ปลูกปาล์ม ปลูกข้าวโพด หรือเลี้ยงสัตว์ แล้วยังยากจน นั่นเพราะพวกเขาทำสิ่งเหล่านั้นเพื่อขายในรูปแบบผลผลิต หรือสินค้าทางการเกษตร ที่ต้องอิงกับชุมชน กลุ่ม หรือตลาดการค้า ซึ่งราคามีขึ้นมีลงตาม “ผู้กำหนดทิศทาง” นั่นก็คือกลุ่มบุคคล หรือกลุ่มธุรกิจ ที่มีอิทธิพลต่อตลาด สามารถดันราคาขึ้น หรือกดราคาลงได้ตามความต้องการ และสถานการณ์ที่คาดหวังไว้ ซึ่งแน่นอนว่า เราไม่สามารถวิ่งตามราคาตลาดที่ถูกปั่นไปมาได้ตลอด ดังนั้น เราต้องเปลี่ยนจากการขายผลผลิตเหล่านั้น ให้เป็นการค้าขายผลิตภัณฑ์ ซึ่งต้องมีองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม (Science Technology) เข้ามาเป็นเครื่องมือหลัก อาทิ เราจะไม่ขายผลผลิตในความหมายทั่วไป แต่เราจะขายสารออกฤทธิ์ที่อยู่ในผลผลิตนั้นๆ ที่อาจมีจำนวนไม่กี่มิลลิกรัม แต่มูลค่าสูงกว่าการขายผลผลิตเป็นกิโลกรัม หรือเป็นตัน มากมายหลายเท่าตัว เป็นต้น ว่ากันง่ายๆ ก็คือ สร้าง “คุณค่า” ให้เกิดขึ้นกับสินค้า จนกลายเป็น “มูลค่า” จากความต้องการของตลาดที่เกิดขึ้นเองอย่างแท้จริง หรือ การทำน้อย แต่ได้มาก ด้วยการใช้วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีเข้ามากำกับอย่างแม่นยำ

ตัวอย่างอันเป็นรูปธรรมที่ผมทำสำเร็จไปแล้วก็คือ การปลูกฟ้าทะลายโจร เมื่อก่อนบริษัทจะมาซื้อกับชาวบ้านในราคากิโลกรัมละ 30 บาท ชาวบ้านก็ขายในราคานี้มาหลายปี หลังจากที่ผม และคณะ เข้าไปหาชาวบ้าน ไปเอาฟ้าทะลายโจรมาเข้า Lab (ห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์) เพื่อหาสารแอนโดรกราโฟไลด์ (Andrographolide) จนเราพบว่า ฟ้าทะลายโจรของชาวบ้านกลุ่มนี้ มีสารแอนโดรกราโฟไลด์มากถึง 10% โดยองค์การอาหารและยา (อย.) ได้กำหนดไว้เพียง 4% เท่านั้น หลังจากเราเอาผลจากแล็บให้บริษัทได้รับทราบ เขาก็ยินดีขึ้นราคาจากกิโลกรัมละ 30 บาท เป็นกิโลกรัมละ 250 บาททันที นี่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง จากการที่เราพยายามหาว่า คุณค่าที่แท้จริงของผลผลิตของเรานั้นมันคืออะไร และพิสูจน์ว่า เรามีคุณค่าดังกล่าวนั้นอย่างครบถ้วน ซึ่งก็ต้องบอกว่าบริษัทเหล่านั้นก็ไม่ใช่ว่าจะไม่รู้ เพียงแต่ธุรกิจก็คือธุรกิจ พ่อค้าก็คือพ่อค้า เราเพียงแต่ต้องหาจุดร่วมที่ได้เปรียบของสินค้าให้เจอ ความเข้าใจ หรือข้อตกลงต่างๆ มันก็จะได้รับการยกระดับขึ้นมา

กระบวนการตามที่ได้เล่ามานี้เอง คือกระบวนการที่ควรต้องถูกบรรจุลงในนโยบายของการศึกษาสายอาชีพ หรืออาชีวศึกษา บุคลากรในสายนี้ต้องเสริมคมทักษะดังกล่าวอย่างแหลมคม เพื่อยกระดับผลิตผลราคาต่ำ ให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง เราต้องขายสารแอนโดรกราโฟไลด์ ไม่ใช่ฟ้าทะลายโจร ดังนั้น องค์ความรู้ในด้านการปลูก ว่าปลูกแบบไหนถึงจะมีสารแอนโดรกราโฟไลด์เยอะ หรือต้องเก็บผลผลิตช่วงไหน และส่วนไหนที่มีสารแอนโดรกราโฟไลด์อยู่ รวมไปถึงกระบวนการอื่นๆ ทั้งการใช้เครื่องมือสมัยใหม่ การใช้องค์ความรู้ที่มาจากการค้นคว้าวิจัย รวมไปถึงการจดจำบันทึกข้อมูลสถิติ เพื่อนำมาใช้พัฒนากระบวนการทำงานให้มีความแม่นยำมากขึ้นนั้น ล้วนมีความจำเป็นต่อการสร้างทักษะให้แก่นักเรียนนักศึกษาสายอาชีพแทบทั้งสิ้น เพื่อให้พวกเขาสามารถนำมาพัฒนาการเกษตร และเรื่องอื่นๆ ของประเทศไทย ให้กลายเป็นโอกาสทางเศรษฐกิจต่อไปในอนาคต

ด้วยแนวคิดดังกล่าวนี้ ความตั้งใจของผมก็คือ นโยบายทางด้านการศึกษาสายอาชีพ สายอาชีวะนั้น ต้องเพิ่มเติมเรื่องของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เข้าไปด้วย เพราะเมื่อใส่ 3 เรื่องนี้เข้าไป อาชีวเกษตร มันก็จะไม่ใช่อาชีวเกษตรแบบเดิมๆ แล้ว แต่จะเป็น “อาชีวเกษตรโมเลกุล” (Molecular Agriculture) ส่วนในเรื่องของคหกรรม ก็จะยกระดับเป็น อุตสาหกรรมแปรรูป หรือเทคโนโลยีอาหาร อันมีหน้าที่ในการรังสรรค์ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับอาหารออกมาสู่ตลาดในประเทศไทย และบุกไปตลาดทั่วโลก ผัดไทยที่อร่อยที่สุดของบ้านนี้ มัสมั่นที่เด็ดที่สุดของพัทลุง ถ้าขายเป็นจาน เป็นหม้อ ก็ไม่เกินร้อย แต่ถ้าเราสามารถบรรจุหีบห่อแล้วส่งไปประจำอยู่ในซูเปอร์มาร์เก็ตที่ลอนดอน ซิดนีย์ หรือเมืองอื่นๆ ทั่วโลกได้ มูลค่ามันก็จะทวีคูณขึ้นมาอย่างมหาศาล และนั่นคือศักยภาพทางการแข่งขันของเศรษฐกิจไทยที่จะก้าวกระโดดไปได้อย่างแท้จริง

แต่แน่นอนว่า กระบวนการชูจุดแข็งของสินค้า ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ตามที่นำเสนอมา อาจเป็นเรื่องยากสำหรับชาวบ้านทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นข้อจำกัดเรื่องทักษะ ความเข้าใจ รวมไปถึงเครื่องมือ แต่อาชีวศึกษาทำได้ครับ เพียงแค่ปรับนโยบาย แล้วใส่สิ่งนี้เข้าไปให้กับนักเรียนนักศึกษาในสายนี้ เราก็จะมีผู้เชี่ยวชาญในด้านการสร้างมูลค่าที่สูงขึ้นให้แก่ผลผลิตของชาวบ้านตามท้องที่ต่างๆ ออกมามากมาย รวมไปถึงในกลุ่มช่างยนต์ ช่างไฟฟ้า ฯลฯ ถ้าเราเอาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เข้าไปเติมเต็ม เราก็จะสามารถมีนักสร้างปัญญาประดิษฐ์ (AI) หรือแม้แต่คนเขียนโปรแกรมเฉพาะด้านออกมาได้ ซึ่งนี่คือการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับการศึกษาสายอาชีพ หรืออาชีวศึกษา ที่ผมคิดว่า มันควรถึงเวลาได้แล้วครับ สำหรับประเทศไทย


กนก วงษ์ตระหง่าน

Share this:

  • Email
  • Print
  • Telegram
  • Pinterest
  • Tumblr
  • WhatsApp
  • Skype
  • Pocket
  • Facebook
  • Twitter
  • LinkedIn
  • Reddit

Like this:

Like Loading...
Posted in ข่าว Like สาระ, แนวหน้า | Tagged 2565(2022), ข่าว Like สาระ, บทความพิเศษ, แนวหน้า, naewna | Leave a reply

Post navigation

← Older posts

Blogroll

  • คำไทย:ThaiWords
  • จิตรา คล้ายมนต์
  • นพ.ต่อพงศ์ คล้ายมนต์
  • พญ.อภิชญา คล้ายมนต์
  • ศาสตร์เกษตรดินปุ๋ย1
  • ศาสตร์และศิลป์ที่สอนในเมืองไทย
  • Blogspot:SoClaimon
  • Facebook:กรุงเทพฯเวนิสตะวันออก
  • Facebook:ชมรมดินปุ๋ยบนเว็บ
  • Facebook:SoClaimon
  • Google map:แผนที่ตำบล 76 จังหวัด
  • Google sites:Soil Taxonomy
  • Google sites:SootinClaimon
  • LinkedIn:sootin claimon
  • ToRaMaN's BLOG
  • Tumblr:SoClaimon
  • Twitter:SoClaimon
  • Twitter:SoilFertilizer
  • Webs:ChangChoice

BamBam Family

BamBam Family

สถิติบล็อก

  • 2,328,551 hits

Join 10,304 other followers

Follow SootinClaimon.Com on WordPress.com

Categories

Top Posts & Pages

ย้อนรอยไทยรบพม่า “ทักษิณ” ลั่นคำโอเวอร์รีแอ๊ก
โค่นประยุทธ์ “ธรรมนัส” ออกแขกลิเกพันธมิตร 33 เสียง
Thailand monitoring border after Myanmar air strikes on rebels
BTS leading to unlimited business opportunities with 3M strategies
Songkhla woos tourists with popular Hat Yai fried chicken
‘Tasto’ officially launches new packaging, using "V-Violette" and "Off-Jumpol" as presenters to reach the new generation
Ukraine wins release of 144 soldiers in biggest prisoner swap of war
ชมวิวทะเลพัทยาแบบพาโนราม่า พร้อมอิ่มเอมกับอาหารบุฟเฟ่ต์นานาชาติที่ห้องอาหารเอดจ์ (edge)
Covestro launches “Hands for a Brighter World” campaign to turn waste to value under fully circular concept
Respiratory specialist doesn’t want Covid to be declared endemic just yet

Recent Posts

  • ย้อนรอยไทยรบพม่า “ทักษิณ” ลั่นคำโอเวอร์รีแอ๊ก
  • โค่นประยุทธ์ “ธรรมนัส” ออกแขกลิเกพันธมิตร 33 เสียง

Recent Comments

ส่องโปรไฟล์นักแสดงเด… on ส่องโปรไฟล์นักแสดงเด็ก ในละคร…
دانشمندان ژاپنی انگش… on Japanese scientists invent rob…

RSS ศาสตร์เกษตรดินปุ๋ย1

  • จวก​ศาลรธน. ทำตัวเป็น ผบ.สภาฯ #ศาสตร์เกษตรดินปุ๋ย
  • Upper Thailand gets colder by 1-2 °C, more thundershowers in the South #ศาสตร์เกษตรดินปุ๋ย

Follow me on Twitter

My Tweets

Follow me on Twitter

My Tweets

ป้ายกำกับ

  • 4G
  • 7 วันรอบโลก
  • 2554(2011)
  • 2555(2012)
  • 2556(2013)
  • 2557(2014)
  • 2558(2015)
  • 2559(2016)
  • 2560(2017)
  • 2561(2018)
  • 2562(2019)
  • 2563(2020)
  • 2564(2021)
  • 2565(2022)
  • AEC
  • AEC Go On
  • aec news
  • AFTER DARK
  • AFTERMATH
  • Agriculture
  • AIR POLLUTION
  • ANALYSIS
  • AROUND THAILAND
  • ART
  • arts
  • ASEAN+
  • Asean Now
  • Asia Entertainment
  • Audio
  • AUGUST 7 REFERENDUM
  • Auto
  • AVIATION
  • BEAUTY
  • BIG IDEA
  • Biz insights
  • BizMoves
  • BURNING ISSUE
  • business
  • celebrity
  • Celebrity Gossip
  • CHARTER REFERENDUM
  • CHECK IN
  • Club Scene
  • Columns
  • CONTEMPORARY ART
  • Cookool Studio
  • Corporate
  • COURT
  • CRIME
  • CSR
  • culture
  • destination
  • dhamma
  • DHAMMAKAYA TEMPLE
  • DigitalLife
  • DROUGHT
  • DROUGHT CRISIS
  • eat-travel
  • Economics
  • ECONOMY
  • education
  • ENERGY
  • entertain
  • Entertainment
  • environment
  • EVENT
  • Event Update
  • EXCLUSIVE INTERVIEW
  • EXPORT
  • Fashion
  • Fashion Update
  • FEATURE
  • FESTIVAL DIARY
  • finance-stock
  • food
  • food & restaurants
  • GETAWAYS
  • GOOD NEWS
  • Gossip
  • health
  • HEALTH MATTERS
  • Health News
  • Hollywood star
  • Hollywood stars
  • Inter Entertainment
  • International
  • In trend
  • In trend With KIMMY
  • INVESTMENT
  • IT
  • IT Update
  • JAPAN
  • knowledge
  • komchadluek
  • lady
  • Life
  • Life & Health
  • LifeStyle
  • living
  • local
  • MALAYSIA
  • Miracle Thai Agriculture
  • Movie
  • Music
  • naewna
  • National
  • NEW CHARTER
  • NEW CONSTITUTION
  • News Feed
  • Opinion
  • OUTLOOK
  • oversea
  • people
  • Pet"s Business
  • pet care
  • PHILIPPINES
  • Photo of the week
  • Politics
  • posttoday
  • Pr-News
  • Properties Zone
  • Property
  • public health
  • Quote of the week
  • Real Estate
  • REFERENDUM
  • REFERENDUM SPECIAL
  • religious
  • RICE PLEDGING SCHEME
  • Rookies
  • Royal
  • Science Update
  • Shopping
  • SKINDEEP
  • Sleep
  • SMES CORNER
  • social
  • SOOPSIP
  • SOUTH CRISIS
  • SPECIAL FEATURE
  • SPECIAL REPORT
  • Sports
  • STAGE PREVIEW
  • STAGE REVIEW
  • star Retro
  • STARTUP
  • SURVEY
  • tasty
  • Tech
  • Tech for Life
  • technology
  • Thai Business News
  • THAILAND
  • thairath
  • The Nation
  • TOURISM
  • TRADE
  • Travel
  • Travel log
  • Travel Update
  • TV
  • Week in Review
  • What's on
  • who-what-where
  • world
  • ZogZag
  • กรมอุตุนิยมวิทยา
  • กระดานความคิด
  • กศน. ทั่วไทย
  • การบ้าน
  • การศึกษา
  • การเงิน-หุ้น
  • การเมือง
  • การเมืองรอบสัปดาห์
  • กิน-ดื่ม-เที่ยว
  • กิน-เที่ยว
  • กีฬา
  • ก่อนปิดร้าน
  • ขยายปมร้อน
  • ข่าว KU23
  • ข่าว Like สาระ
  • ข่าวประชาสัมพันธ์
  • คนดังอะราวนด์เดอะเวิลด์
  • คนรักผัก
  • คนในข่าว
  • คมชัดลึก
  • ครัวชาวบ้าน
  • คลินิกค้ำประกัน
  • ความงาม
  • ความรู้
  • ความเห็น
  • คอลั่มน์
  • คิดเป็นเทคโนฯ
  • คุณชาย ตะลอนชิม
  • คุณแหน
  • คุยกัน7วันหน
  • งานคือเงิน
  • จอดป้ายเส้นทางเศรษฐี
  • จิตใจ
  • ชวนชิม ชวนช็อป ชวนใช้ ชวนชม
  • ชักหน้า...ให้ถึงหลัง
  • ชายคาพระพิรุณ
  • ช่องทางสร้างอาชีพ
  • ซอกแซก
  • ซอกแซกอาเซียน
  • ฎีกาชาวบ้าน
  • ดนตรี
  • ดวงชะตา
  • ดวงเศรษฐี 12 ราศี
  • ดัชนีเศรษฐกิจ
  • ดาราพาเที่ยว
  • ดิจิตอลไลฟ์
  • ดูแลสุขภาพ
  • ตลาดนัดหัวเขียว
  • ตลาดสินค้าเกษตรก้าวหน้า
  • ตะลอนเที่ยว
  • ตะลุยกองทัพ
  • ต่างประเทศ
  • ทันโลก
  • ทั่วทิศถิ่น ส.ป.ก.
  • ทำกินถิ่นอาเซียน
  • ทำมาหากิน
  • ทิศทางหุ้น
  • ท็อปเท็น
  • ท่องเที่ยว
  • ท่องเที่ยวเกษตร
  • ท่องโลกเกษตร
  • ธรรมะ
  • ธรรมะจากวัด
  • บทความพิเศษ
  • บัญชีชาวบ้าน
  • บัญชีธุรกิจ
  • บันทึกไว้เป็นเกียรติ
  • บันเทิง
  • บี มาย เกสท์
  • บีมายเกสท์
  • บี มาย เกสห์
  • บุคคล
  • บุคคลแนวหน้า
  • บุคคลในข่าว
  • ปัญหาเกษตร
  • ผลิตภัณฑ์น่าซื้อ
  • ผักในบ้านของคนขี้เกียจ
  • ผู้หญิง
  • ผ่าประเด็นร้อน
  • พยากรณ์อากาศ
  • พระราชสำนัก
  • พฤกษากับเสียงเพลง
  • พันธุ์พืช
  • พืชผัก
  • ภาพข่าวสังคม
  • ภาพข่าวสังคม
  • ภาพยนต์
  • ภาพเล่าเรื่อง
  • ภูมิบ้านภูมิเมือง
  • ภูมิปัญญาท้องถิ่น
  • ภูมิภาค
  • มติชน
  • มติชนอคาเดมี
  • มองเอเชีย
  • มอนิเตอร์ร่างรัฐธรรมนูญ
  • มันมากับอาหาร
  • มุมข้าราชการ
  • มุมนี้มีนัด
  • ยานยนต์
  • ยิปซี 12 นักษัตร
  • ยิปซีพยากรณ์
  • รถยนต์
  • รอบโลก
  • รักชีวิต รักษ์สิ่งแวดล้อม
  • รักษ์เกษตร
  • รายการ LIFE VARIETY
  • รายงานพิเศษ
  • รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
  • รู้เรื่องยากับเภสัชจุฬาฯ
  • ร้านอาหาร
  • ลึกลับในสนามข่าว
  • ลุยเกษตรสุดเขตทั่วไทย
  • ลุยเกษตรสุดเขตไทย
  • ลุ่มเจ้าพระยา
  • ลูกทุ่งแนวหน้า
  • ลูกเสือที่บ้าน
  • วัฒนธรรม
  • วิถีท้องถิ่น
  • วิถีสยามมรดกวัฒนธรรมไทย
  • วิทยาการ
  • วิเคราะห์
  • ศาสนา
  • ศิลป
  • ศิลปหัตถกรรม
  • ศุกร์สุขภาพ
  • สกู๊ปพิเศษ
  • สกู๊ปเศรษฐกิจ
  • สกู๊ปแนวหน้า
  • สถานีเกษตร-สิ่งแวดล้อม
  • สรุปข่าวประจำวัน
  • สังคม
  • สัตว์เลี้ยงสวยงาม
  • สัมภาษณ์คนดัง
  • สัมภาษณ์พิเศษ
  • สาธารณสุข
  • สายตรงจากต่างแดน
  • สินค้าน่าลอง
  • สิ่งแวดล้อม
  • สุขภาพ
  • สุขภาพหรรษา
  • ส่องดาวส่องดวง
  • ส่องสหกรณ์
  • ส่องเกษตร
  • หนักเอาเบาสู้
  • หนังชนโรง
  • หนังสือเด่น
  • หน้า 24
  • หน้าต่างโลก
  • หน้ามองฟ้า เท้าหยั่งดิน
  • หมอเกษตร
  • หลากมิติเวทีทัศน์
  • หัวใจไทย
  • อาชีพคนดัง
  • อาชีพที่ไม่เหมือนเรา
  • อาหาร
  • อาหารสร้างอาชีพ
  • อาเซียน
  • อินโฟเควสท์
  • อุษาคเนย์ไม่ไหลกลับ
  • เกษตร
  • เกษตรกรคนเก่ง
  • เกษตรกรบนแผ่นกระดาษ
  • เกษตรบูรณาการ
  • เกษตรอินทรีย์และวิถีสุขภาพ
  • เกษตรเทรนด์ใหม่
  • เกษตรแถวหน้า
  • เกษตรในเมือง
  • เก็บมาเล่า
  • เขียว สวย หอม กินได้
  • เข็มทิศ SME
  • เงาหุ้น
  • เจาะประเด็นร้อน
  • เซเลบริตี้
  • เซ็กซ์
  • เติมใจ...ใส่ธุรกิจ
  • เทคโนฯ การเกษตร
  • เทคโนโลยีการประมง
  • เทคโนโลยีการเกษตร
  • เทคโนโลยีชาวบ้าน
  • เทคโนโลยีปศุสัตว์
  • เทคโนโลยีสร้างอาชีพ
  • เที่ยวตามตะวัน
  • เที่ยวทั่วโลก
  • เที่ยวทั่วไทย
  • เปรี้ยวปาก
  • เปิดฟ้าส่องโลก
  • เปิดม่าน joke opera
  • เปิดม่านการศึกษา
  • เปิดวิสัยทัศน์
  • เปิดโลกการศึกษามุสลิม
  • เยาวชนเกษตร
  • เยี่ยมบ้านคนดัง
  • เรียนรู้จากหนังสือ
  • เรื่องจากปก
  • เรื่องเล่าขนหัวลุก
  • เรื่องเล่าความสำเร็จ
  • เรื่องเล่าจากสองข้างทาง
  • เลาะรั้วอาเซียน
  • เลาะรั้วเกษตร
  • เศรษฐกิจ
  • เศรษฐกิจพอเพียง
  • เสริมไอเดีย
  • เส้นทางปฏิรูป
  • เส้นทางอาชีพ
  • เส้นทางเศรษฐี
  • แจงสี่เบีย
  • แจงสี่เบี้ย
  • แตกใบอ่อน
  • แนวหน้า
  • แนวหน้า ฟู้ด รีวิว
  • แนวหน้าฟู้ดรีวิว
  • แนวหน้าวาไรตี้
  • แนวหน้าไกด์
  • แนะนำการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน1
  • แฟชั่น
  • แวดวงแรงงาน
  • แหวกฟ้าหาฝัน
  • โซไซตี้
  • โทรทัศน์
  • โพสต์ทูเดย์
  • โรงเรียนวัดรางบัว
  • โลกมองไทย
  • โอ๊ยเล่าเรื่อง
  • ใครทำอะไรที่ไหน
  • ในประเทศ
  • ไทยรัฐ
  • ไนท์ไลฟ์
  • ไม้ดอกไม้ประดับ
  • ไม้ดีมีประโยชน์
  • ไลฟ์
  • ไลฟ์สไตล์
  • ไอที
  • ไอเดียต่างแดน
  • ไอเดียแปลก
  • RSS - Posts
  • RSS - Comments

Archives

Follow Us

Blog at WordPress.com.
  • Follow Following
    • SootinClaimon.Com
    • Join 10,304 other followers
    • Already have a WordPress.com account? Log in now.
    • SootinClaimon.Com
    • Customize
    • Follow Following
    • Sign up
    • Log in
    • Report this content
    • View site in Reader
    • Manage subscriptions
    • Collapse this bar
 

Loading Comments...
 

    %d bloggers like this: