เกษตรกรยุคอนาคต ‘เทคโนโลยี’ ต้องมา

ศาสตร์เกษตรดินปุ๋ย : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์คมชัดลึก

http://www.komchadluek.net/news/lifestyle/356700

เกษตรกรยุคอนาคต ‘เทคโนโลยี’ ต้องมา

วันที่ 24 ธันวาคม 2561 – 11:59 น.
เทคโนโลยี,ดรพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ดีอี
เปิดอ่าน 6,096 ครั้ง

อีกไม่กี่ปีจากนี้ การเกษตรอัจฉริยะ จะสร้างผลกระทบมหาศาลให้กับเศรษฐกิจการเกษตร ปิดช่องว่างระหว่างธุรกิจขนาดใหญ่และขนาดเล็ก

         ช่วงกลางปีที่ผ่านมา องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Cooperation and Development : OECD) ได้จัดเวทีใหญ่ Global Forum on Agriculture 2018 “Digital technologies in food and agriculture: reaping the benefits” เพื่อสะท้อนความสำคัญของบทบาท “เทคโนโลยี” ที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการทำเกษตรกรรมซึ่งจะ “ไม่เหมือนเดิม” อีกต่อไป และเกษตรกรที่สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีได้อย่างเข้าใจและเข้าถึง ก็จะหลุดพ้นกับดักความยากจนได้

          โดยประเด็นหนึ่งที่เน้นย้ำ ก็คือ ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นเทคโนโลยีระดับสูง หรือระดับต่ำ ก็ล้วนสามารถช่วยให้ใช้ประโยชน์จากแอพพลิเคชั่นด้านดิจิทัลได้ทั้งนั้น การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในเชิงการเกษตร ครอบคลุมตั้งแต่ การเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ใช้งาน แบ่งปันกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่การเกษตรซึ่งอยู่ห่างไกล มีอุปสรรคในการเชื่อมต่อ

          จากบริบทโลกยุคปัจจุบันที่การเชื่อมโยงถึงกันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล โทรศัพท์มือถือขนาดเล็กลง ทำงานรวดเร็วขึ้น ราคาถูกลง และมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ที่ผ่านมาเราจะเห็นภาพ “ธุรกิจ” ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเหล่านี้ แต่ปัจจุบันภาคการเกษตร ก็กำลังเกาะติดความได้เปรียบด้วยเทคโนโลยีและเครื่องมือดิจิทัลใหม่ๆ มากรายขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกรรุ่นใหม่ พวกเขาสามารถพยากรณ์ปริมาณน้ำในการเกษตร ปริมาณการใช้ปุ๋ย หรือวางแผนการจัดการพื้นที่และการเพาะปลูกได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการทำปศุสัตว์

+++เกษตรอัจฉริยะ เทคโนโลยีที่ “ต้อง” จับตา

          สถาบันวิจัย BIS Research ซึ่งเป็นผู้ให้บริการข้อมูลเชิงลึกสำหรับเทคโนโลยีใหม่ๆ เปิดเผยรายงานฉบับใหม่ ชื่อว่า Global Smart Farming Market คาดการณ์แนวโน้มตลาดการเกษตรอัจฉริยะว่าจะขยายตัวได้ถึง 23.14 พันล้านดอลลาร์สหร้ฐ ภายในปี ค.. 2022 สะท้อนสัญญาณที่สดใสด้วยอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) ที่อยู่ในระดับสูงถึง 19.3% ปัจจัยขับเคลื่อนการเติบโตนี้ มาจากความต้องการเพิ่มผลผลิตของเกษตรกร การเติบโตของการใช้เทคโนโลยีไอซีทีในการทำเกษตร และความต้องการที่สูงขึ้นสำหรับเทคโนโลยีการเกษตรที่ฉลาดต่อสภาพภูมิอากาศ (climate-smart agriculture)

          พร้อมทั้งคาดการณ์ว่า อีกไม่กี่ปีจากนี้ การเกษตรอัจฉริยะ จะสร้างผลกระทบมหาศาลให้กับเศรษฐกิจการเกษตร ปิดช่องว่างระหว่างธุรกิจขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ปรากฎการณ์นี้จะขยายวงทั้งในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว และประเทศกำลังพัฒนา

          ปัจจุบัน ประเทศจีนและญี่ปุ่น รุกหนักกับการใช้สมาร์ทโฟน และระบบ IoT มาเพิ่มความเก่งของโซลูชั่นการเกษตรแม่นยำ (precision agriculture) ขณะที่ รัฐบาลหลายประเทศ ก็ตระหนักถึงความจำเป็นและความได้เปรียบของเทคโนโลยีด้านนี้ ผลักดันโครงการนำร่องส่งเสริมเทคนิคในการพยากรณ์ที่แม่นยำสำหรับการเกษตร เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตของตลาดในอนาคต

การเกษตรแม่นยำโตแรง

          ตัวเลขเมื่อปีที่ผ่านมา ระบุว่า โซลูชั่นระบบฮาร์ดแวร์ มีสัดส่วนมากกว่า 72% ของตลาดการเกษตรอัจฉริยะทั่วโลก แอพพลิเคชั่นด้านการเก็บเกี่ยวผลผลิตการเกษตรที่แม่นยำ ได้รับความนิยมสูงมาก มีส่วนแบ่งตลาดมากกว่า 31% ตัวอย่างแอพพลิเคชั่นด้านนี้ ได้แก่ การวิเคราะห์น้ำในดิน (precision irrigation), การคาดการณ์และตรวจวัดผลผลิต (yield monitoring and forecasting), การให้ปุ๋ย/ยาฆ่าแมลง (variable rate), การสอดส่องพืชผล (crop scouting) และการบันทึกและการจัดเก็บข้อมูล เป็นต้น

          อีกปัจจัยสนับสนุนการทำการเกษตรรูปแบบใหม่ๆ ซึ่งจะได้ผลยิ่งขึ้นถ้านำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย ก็เนื่องมาจากการเติบโตของพื้นที่เมือง และความต้องการที่เพิ่มขึ้นของผลผลิตทางการเกษตรที่สดใหม่ตลอดปี โดยไม่ถูกจำกัดกับฤดูกาลผลิตแบบวิถีเกษตรเดิมๆ เหล่านี้ทำให้เห็นการทำเกษตรในร่ม (indoor farming) มากขึ้น

          ทั้งนี้ ถ้ามองในภาพรวมทั่วโลก ภูมิภาคอเมริกาเหนือ ถือเป็นผู้นำตลาดเกษตรอัจฉริยะระดับโลก และมีความต้องการทางการตลาดสูงมาก ขณะที่ เม็กซิโก เป็นประเทศที่ได้รับการคาดหมายว่าจะเป็นตลาดที่เติบโตที่สุดในช่วง ปีจากนี้

          สำหรับเอเชียแปซิฟิก ถูกยกให้เป็นตลาดที่มีอัตราเติบโตเร็วที่สุด ในช่วงปี ค.. 2017 – 2022 มีปัจจัยขับเคลื่อน ได้แก่ ขนาดประชากรเมืองเพิ่มขึ้น สัดส่วนการใช้อินเทอร์เน็ตในการบริหารจัดการพื้นที่เกษตร และการส่งเสริมการลงทุนจากรัฐบาล ที่สำคัญยังได้แรงหนุนจาก ประเทศใหญ่ในภูมิภาคอย่าง จีน และอินเดีย ที่จะหนุนให้ขยับเป็นผู้นำด้านเกษตรอัจฉริยะในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า

IoT-เซ็นเซอร์ พระเอกเกษตรยุคดิจิทัล

          เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง (IoT) มีส่วนสำคัญในการสร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว (disrupte) ให้กับอุตสาหกรรมการเกษตร “ในเชิงบวก” และยังครอบคลุมไปถึงอุตสาหกรรมอาหาร โดยมีรายงานที่จัดทำโดย Cisco ประมาณการณ์ไว้ว่า มูลค่าตลาด IoT จะขยับขึ้นไปสูงถึง 14.4 ล้านล้านดอลลาร์สหร้ฐ ด้วยเทคโนโลยีนี้ จะทำให้เกิดปริมาณข้อมูลมหาศาลจากกระบวนการทำการเกษตรที่จัดเก็บผ่านอุปกรณ์เซ็นเซอร์จำนวนมหาศาลที่ติดตั้งใช้งานในพื้นที่การเกษตร

          ข้อมูลเหล่านี้ยังรวมถึงภาพถ่ายต่างๆ ที่ส่งตรงจากพื้นที่การเกษตรผ่านเซ็นเซอร์ ช่วยให้เกษตรกรสามารถเกาะติดพืชผลได้ทุกที่ ทุกเวลา ข้อมูลต่างๆ จากเซ็นเซอร์จะถึงมือเกษตรกรได้แบบเรียลไทม์ ดังนั้นเมื่อเกิดปัญหาก็สามารถรับมือได้อย่างทันการณ์ ยกตัวอย่างเช่น ทำให้ทราบว่าเวลานี้ พืชผลที่ปลูกไว้ต้องการน้ำ หรือการบำรุงรักษาอื่นๆ

ดีแทคดีอี หนุนเกษตรกรเข้าถึงดิจิทัล

          นางอเล็กซานดรา ไรช์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจโทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทคกล่าวว่า ดีแทค มุ่งมั่นในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลและการสื่อสาร เพื่อเสริมสร้างศักยภาพสังคมตามวิสัยทัศน์Empowering societies สอดคล้องกับโครงการนโยบายประชารัฐของรัฐบาล มุ่งพัฒนาสู่สังคมดิจิทัล โดยอาศัยความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในการช่วยลดความเหลื่อมล้ำตามกรอบการพัฒนาของสหประชาชาติ ผ่าน2โครงการหลัก ได้แก่1.ดีแทคเน็ตอาสา โครงการที่ช่วยสนับสนุนประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลได้รับประโยชน์จากการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และการพัฒนาต่อยอดสู่สังคมดิจิทัล 2. Dtac Smart Farmerโครงการที่ช่วยเกษตรกรได้เข้าถึงข้อมูลด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล

          ทั้งนี้ Dtac Smart Farmer เป็นโครงการที่มุ่งเน้นการพัฒนากลุ่มเกษตรกร ซึ่งมีสัดส่วนประชากรถึง33%ของประชากรไทย แต่กลับสร้างรายได้ให้ประเทศเพียง10%ของจีดีพี สะท้อนถึงผลิตภาพที่ต่ำในภาคการเกษตร ทำให้ดีแทคและพันธมิตรร่วมกันคิดค้นนวัตกรรมอย่างบริการ “ฟาร์มแม่นยำ” ซึ่งเป็นการส่งตรงเทคโนโลยีล้ำสมัยอย่างดาวเทียมและบิ๊กดาต้าสู่มือเกษตรกร สามารถเข้าถึงข้อมูลระดับรายแปลง ทำให้สามารถทำการเกษตรได้อย่างแม่นยำมากขึ้น นอกจากนี้ ยังส่งเสริมให้เกษตรกรได้ใช้โซลูชัน “ฟาร์มแม่นยำ” เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตสรรพสิ่ง หรือIoTเพื่อการเกษตรที่แม่นยำขึ้น โดยเฉพาะพืชในโรงเรือน

          ท่ามกลางความท้าทายที่เพิ่มขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์ทางการเกษตร ทั้งสภาพภูมิอากาศ ภาวะผลิตภาพตกต่ำ และการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ทำให้เทคโนโลยีการสื่อสารเข้ามามีบทบาทในภาคการเกษตรมากขึ้น และนี่ถือเป็นช่วงเวลาสำคัญในการเปลี่ยนสู่การทำการเกษตรอย่างยั่งยืน” นางอเล็กซานดรากล่าว

          และเพื่อเป็นการแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าในการเสริมสร้างศักยภาพสังคมสู่การเป็นชุมชนดิจิทัล อันเป็นโมเดลในการเปลี่ยนฐานรากองเศรษฐกิจสู่ยุคดิจิทัล(Digital economy) ระหว่างวันที่ 21-23 ธันวาคมนี้ ได้มีการจัดงาน “ดีมาGetดีMarket” ซึ่งรวบรวมร้านค้าออนไลน์ต้นแบบจากทั่วประเทศจำนวนกว่า40ราย มาออกบูธ ณ ลานกิจกรรม สยามสแควร์วัน เพื่อเป็นโอกาใสให้บุคคลที่สนใจเรียนรู้ พัฒนาและต่อยอด ขยายโมเดลชุมชนดิจิทัลไปยังทั่วประเทศ

          ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีกล่าวว่า กระทรวงดิจิทัลฯ ได้ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงศึกษาธิการ รวมถึง บมจโทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทคลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการส่งเสริมเศรษฐกิจผู้ประกอบการในชุมชนท้องถิ่น อีกทั้งบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล โดยกระทรวงฯ รับหน้าที่สนับสนุนการวางโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพสู่ทุกตำบลทั่วไทย

          นับเป็นส่วนหนึ่งของโครงการระยะเร่งด่วนตามนโยบายรัฐบาลในการส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจฐานรากและเพิ่มโอกาสการสร้างรายได้ให้กับชุมชนเพิ่มโอกาสการสร้างรายได้ผ่านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ให้กับชุมชน และใช้เทคโนโลยีดิจิทัลขยายตลาดชุมชนสู่ตลาดเมือง สร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจฐานรากสู่เป้าหมายไทยแลนด์ 4.0 ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่มุ่งเน้นสร้างความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน

          ในงานดังกล่าว ทั้ง กระทรวงฯ ภายใต้ความร่วมมือโครงการนี้ ยังได้คัดเลือกสินค้าชุมชนออนไลน์เพื่อรับรางวัลสุดยอดสินค้าชุมชนออนไลน์ระดับประเทศ และในงานยังมี Smart Farmer ระดับประเทศ ราย(จาก 40 เกษตรต้นแบบที่ทำเทคโนโลยีดิจิทัลไปใช้และประสบความสำเร็จมาร่วมถ่ายทอดประสบการณ์ด้วย

ดีอี ตั้งเป้าไทยเปิดบริการ 5G รายแรกในอาเซียน

ศาสตร์เกษตรดินปุ๋ย : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์คมชัดลึก

http://www.komchadluek.net/news/lifestyle/356699

ดีอี ตั้งเป้าไทยเปิดบริการ 5G รายแรกในอาเซียน

วันที่ 24 ธันวาคม 2561 – 11:49 น.
5G,กระทรวงดีอี,กระทรวงดิจิทัลเพื่อเ,นายพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ดีอี
เปิดอ่าน 1,089 ครั้ง

โครงการทดสอบการใช้งาน 5G เปิดกว้างสำหรับผู้สนใจที่จะเข้ามาร่วมพัฒนาการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนี้ ระหว่างรอ 5G ระดับสากลจากสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ไอทียู)

          กระทรวงดิจิทัลฯ นำพันธมิตรทั้งบริษัทสื่อสารและบริการอินเทอร์เน็ต ผู้ผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคม ผู้ผลิตชิปเซ็ท 5G กลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี และ กสทช. ลงพื้นที่จริงของสนามทดสอบ 5G (5G Testbed) สมบูรณ์แบบ ในพื้นที่อีอีซี ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา สร้างความร่วมมือในรูปแบบ 5G Integration ประกาศความพร้อมเดินหน้าการทดสอบ มกราคมปีหน้า ตั้งเป้าเป็นประเทศแรกที่เปิดบริการ 5G เชิงพาณิชย์ในอาเซียนปี 2563

          นายพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) กล่าวว่า ความคืบหน้าของโครงการทดสอบระบบ 5G ในพื้นที่ทดสอบ (5G Testbed) ในพื้นที่อีอีซี ว่าในเดือนมกราคม 2562 ผู้ผลิตอุปกรณ์ทุกราย จะเริ่มนำเข้าอุปกรณ์ของตัวเอง เข้ามาติดตั้งสำหรับการทดสอบการใช้งาน 5G (Use Cases) อาทิ Tele Medicine, Smart Manufacturing, Smart Bus ตลอดจน Autonomous Vehicle เป็นต้น ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา

          “จากการที่กระทรวงร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้นำภาคเอกชน ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์ 5G รายสำคัญของโลก ได้แก่ หัวเว่ย อีริคสัน โนเกีย และ Dassault Systèmes ผู้พัฒนาแพลตฟอร์มสำหรับเทคโนโลยี 3 มิติจากฝรั่งเศส เข้าเยี่ยมชมพื้นที่ ผู้ผลิตอุปกรณ์ทุกรายได้คัดเลือกจุดติดตั้งที่เหมาะสมกับการทดสอบการใช้งาน 5G บนอุปกรณ์ของตัวเอง โดยจะทยอยดำเนินการตั้งแต่มกราคม ปีหน้าเป็นต้นไป”

          ขณะเดียวกัน เพื่อให้เป็นการบูรณาการทำงานร่วมกัน ในรูปแบบ 5G Integration อย่างสมบูรณ์แบบ เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม จึงได้นำผู้ให้บริการโทรคมนาคมรายหลักของไทย ได้แก่ AIS , DTAC , True , TOT และ CAT พร้อมกับ Intel ผู้ผลิตชิปเซ็ตชั้นนำ และ ZTE อีกหนึ่งผู้ผลิตอุปกรณ์ 5G รายสำคัญ ลงพื้นที่จริงเพื่อการพัฒนาสนามทดสอบ 5G (5G Testbed) สมบูรณ์แบบที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชาด้วย

          นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมที่จะดำเนินการคู่ขนานกันไปคือ การเรียกประชุมกลุ่มผู้ใช้ประโยชน์จาก 5G (Use Cases) ในสาขาต่างๆ ได้แก่ โรงพยาบาล/ผู้ให้บริการด้านสาธารณสุข, อุตสาหกรรมในพื้นที่อีอีซี, คมนาคม เพื่อเชื่อมโยงกับการทดสอบการใช้งาน Smart Bus และ สมาร์ทซิตี้ เป็นต้น คาดว่าจะดำเนินการทดสอบได้อย่างเต็มรูปแบบภายในไตรมาสแรก ปี 2562

          “กระทรวงดิจิทัลฯ มีบทบาทการเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้กับการทดสอบการใช้ประโยชน์จาก 5G ทั้งในเรื่องการจัดเตรียมสถานที่เพื่อเป็นศูนย์ทดสอบ การเป็นผู้รับรองอุปกรณ์ที่จะนำเข้ามาติดตั้งว่าเป็นไปเพื่อกการวิจัยและพัฒนา (R&D) เพื่อให้ผู้ผลิตสามารถนำอุปกรณ์เข้ามาได้โดยสะดวก ล่าสุด ยังประสานงานกับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่ เพื่อให้ทำเรื่องขอรับการจัดสรรคลื่นความถี่ที่จะนำมาใช้ใน 5G Testbed แห่งนี้จาก กสทช. ซึ่งจะเป็นหน่วยงานจัดสรรคลื่นทดสอบ โดยขอไป 2 ย่านความถี่ ได้แก่ ย่าน 3.5 GHz และ 26 GHz ตามที่เอกชนเสนอความต้องการมา” ดร.พิเชฐ กล่าว

          ดร.พิเชฐ กล่าวเสริมว่า โครงการทดสอบการใช้งาน 5G เปิดกว้างสำหรับผู้สนใจที่จะเข้ามาร่วมพัฒนาการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนี้ ระหว่างรอ 5G ระดับสากลจากสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ไอทียู) ซึ่งประกาศมาว่าจะสมบูรณ์ในปี 2563 ดังนั้น จึงตั้งเป้าหมายว่า การจัดตั้งศูนย์ทดสอบนี้จะช่วยเตรียมความพร้อมเมื่อถึงเวลาการใช้จริงในอนาคต อันจะทำให้เกิดการลงทุนที่มีประสิทธิภาพ คุ้มค่า และไม่ซ้ำซ้อน รวมทั้งสร้างความตื่นตัวให้กับผู้ที่มีความประสงค์จะใช้ประโยชน์อีกด้วย

          ปัจจุบันเอกชนที่แสดงความสนใจเข้ามาแล้ว แบ่งเป็น 2 กลุ่มหลัก ได้แก่ 1.ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ คือกลุ่มการจัดหาและให้บริการ และ 2.ผู้ผลิตอุปกรณ์ ซึ่งก็คือกลุ่มที่จะขายอุปกรณ์สำหรับการติดตั้งโครงข่ายให้บริการ

          จากการที่ภาครัฐและเอกชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการลงพื้นที่เพื่อผลักดันเพื่อให้เกิดความพร้อมสำหรับเทคโนโลยี 5G สำหรับประเทศไทย ทั้งนี้ 5G จะมีความเร็วในการรับส่งข้อมูล ดีกว่า 4G ถึง 20 เท่า มีความล่าช้าของการรับส่งข้อมูลต่ำมาก (Latency time) ดีกว่า 4G ถึง 10 เท่า ในขณะเดียวกันสามารถรองรับอุปกรณ์สื่อสารได้ถึง 1 ล้านอุปกรณ์ต่อพื้นที่ 1 ตารางกิโลเมตร ซึ่งจะรองรับอุตสาหกรรมแห่งอนาคต เมืองอัจฉริยะ และการใช้ชีวิตยุคใหม่ ตลอดจนการช่วยสร้างนวัตกรรมอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน

          ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2561 นายพันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธานการประชุมคณะทำงานเตรียมการและทดสอบเทคโนโลยี 5G โดยได้หารือกับคณะทำงานฯ ซึ่งประกอบด้วย สมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ผู้ประกอบการโทรคมนาคม ผู้ผลิตอุปกรณ์ สำนักงาน กสทช. สำนักงาน EEC ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สมาคมสมาพันธ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งประเทศไทย เป็นต้น โดยในการประชุม ได้สรุปถึงแนวทางความร่วมมือที่สำคัญ ดังนี้

          (1) ร่วมดำเนินการทดสอบเทคโนโลยี 5G ในภาคสนาม (Field trials) ที่รองรับการทดสอบแบบ end to end และการใช้โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมร่วมกัน บนหลักการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน มีการเปิดรับผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม ผู้ผลิตอุปกรณ์และเทคโนโลยีที่หลากหลาย เพื่อร่วมกันทดสอบใช้งาน (Use Cases) ที่เหมาะสมและคาดว่าจะมีการนำมาใช้ประโยชน์ในประเทศไทย โดยเร็ว อาทิ การทดสอบ 5G สำหรับการใช้ในภาคอุตสาหกรรม ด้านสุขภาพ และการขนส่ง เป็นต้น

          (2) สนับสนุนการพัฒนาศูนย์การทดสอบเทคโนโลยี 5G (Testbed) ในพื้นที่ EEC ทั้งในรูปแบบการร่วมทดสอบ ความร่วมมือในการศึกษาวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับเทคโนโลยี 5G การจัดกิจกรรมทางวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้ ตลอดจนการพัฒนาบุคลากรด้านต่างๆ เพื่อสนับสนุนการใช้ประโยชน์เทคโนโลยี 5G สำหรับประเทศไทย

          มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา มีสถานที่ตั้งโครงสร้าง 5G มีห้องปฏิบัติการ และมีบุคลากรทั้งอาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษา และเป็นสถานที่ตั้งใน EEC ที่เหมาะสมในการทดสอบ 5G ครั้งใหญ่นี้

          อนึ่ง รายงานข่าวจาก บมจ. โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) กล่าวว่า ในการประชุมหารือแนวทางการจัดตั้งศูนย์ทดสอบ 5G ในพื้นที่อีอีซี ดีแทค เตรียมนำเสนอแนวคิดการทดสอบการใช้ประโยชน์เทคโนโลยีนี้ ใน 3 เรื่อง ได้แก่ 1.การต่อยอดการประยุกต์ใช้ IoT กับการเกษตร 2.การพัฒนาโซลูชั่นใหม่ๆ เพื่อสร้างระบบนิเวศน์ (ecosystem) ของอุตสาหกรรมโดยรวม และ 3.นำการเรียนรู้จากต่างประเทศมาประยุกต์ใช้ในประเทศไทย เนื่องจากบริษัท เทเลนอร์กรุ๊ป ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของดีแทค มีประสบการณ์ที่ได้รับมอบหมายจากสหภาพยุโรป ให้ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานให้กับโครงการใหม่ในการบุกเบิกและเร่งผลักดันให้เทคโนโลยี 5G เกิดขึ้นทั่วทวีปยุโรป ชื่อโครงการ 5G Verticals INNovation Infrastructure (5G-VINNI) เกิดขึ้นโดยความร่วมมือของพันธมิตรจำนวน 23 ราย ซึ่งประกอบไปด้วย ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ สถาบันการศึกษา และผู้ประกอบการจากภาคอุตสาหกรรม

7 อาชีพอนาคตไกล “ไม่ตกงาน”

ศาสตร์เกษตรดินปุ๋ย : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์คมชัดลึก

http://www.komchadluek.net/news/lifestyle/355928

7 อาชีพอนาคตไกล “ไม่ตกงาน”

วันที่ 17 ธันวาคม 2561 – 12:53 น.
ไอที,เทคโนโลยี
เปิดอ่าน 7,128 ครั้ง

ไม่ว่าเทคโนโลยีจะ “ล้ำ” ไปไกลแค่ไหน แต่ยังมีบางสาขา “อาชีพ” ที่มีแต่มนุษย์เท่านั้น จึงจะสามารถทำได้ดีและเป็นที่ต้องการมากกว่าหุ่นยนต์หรือเอไอ

          ในยุคที่เทคโนโลยีเริ่มมีอำนาจเหนือชีวิตมนุษย์และธุรกิจมากขึ้น ตามความสามารถและความชาญฉลาดที่พัฒนาได้อย่างไร้ขีดจำกัด ซึ่งเห็นชัดเจนในบางเทคโนโลยีอย่างเข่น ปัญญาประดิษฐ์ หรือเอไอ (Artificial Intelligence) และหุ่นยนต์ (Robotics) จนเกิดกระแสความหวาดวิตกว่าจะเป็นภัยคุกคามที่ทำให้หลายอาชีพต้องตกงาน

          อย่างไรก็ตาม ขอบอกว่าอย่าเพิ่งกังวลกันมากเกินไป เพราะไม่ว่าเทคโนโลยีจะ “ล้ำ” ไปไกลแค่ไหน แต่ยังมีบางสาขา “อาชีพ” ที่มีแต่มนุษย์เท่านั้น จึงจะสามารถทำได้ดีและเป็นที่ต้องการมากกว่าหุ่นยนต์หรือเอไอ โดยเว็บไซต์ http://www.salary.com ได้จัดอันดับ อาชีพที่ “มีอนาคต” ไม่ว่าโลกใบนี้จะถูก disrupt ด้วยเทคโนโลยีรุนแรงแค่ไหนก็ตาม

สาขาการดูแลสุขภาพ

          ในหลายประเทศกำลังเผชิญปรากฎการณ์หนึ่งร่วมกันคือ การเข้าสู่ “สังคมสูงวัย” เทคโนโลยีด้านการแพทย์ดีขึ้น คุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น คนมีความรู้เรื่องการดูแลตัวเองมากขึ้น ทั้งหมดนี้ทำให้ประชากรโลกมีแนวโน้มอายุยืนยาวขึ้น แต่เป็นธรรมดาของโลกเช่นกันที่ว่ายิ่งสูงวัยขึ้นเท่าไร สังขารย่อมเสื่อมลงเป็นธรรมดา โรคภัยไข้เจ็บเข้ามาเยือนโดยง่าย ดังนั้นอาชีพที่จะมีความต้องการเพิ่มขึ้นตามไปด้วยก็คือ อาชีพในสาขาที่เกี่ยวกับสุขภาพ ตั้งแต่ระดับบุคลากรทางการแพทย์อย่างหมอ พยาบาล นักกายภาพบำบัด ครอบคลุมไปถึงการให้บริการช่วยเหลือผู้ป่วยตามบ้าน และเภสัชกร

สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ

          ยิ่งเทคโนโลยีพัฒนาล้ำหน้ามากเท่าไร ความต้องการแรงงานที่มีทักษะด้านไอที หรือเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) ก็เพิ่มตามไปด้วย หรืออาจกล่าวได้ว่าเทคโนโลยีใหม่ๆ สร้างให้เกิดอาชีพใหม่ๆ โดยเฉพาะแรงขับเคลื่อนจากความแพร่หลายของการใช้งานคอมพิวเตอร์และมือถือสมาร์ทโฟน สำหรับการทำงาน ทำธุรกิจ และการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ดังนั้นแน่ใจได้ว่าอาชีพโปรแ กรมเมอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์และข้อมูล และผู้ดูแลระบบไอที (Admin) จะยังมี “ช่องว่าง” ในตลาดแรงงานรอรับเสมอ

          แต่ทั้งนี้ ตลาดแรงงานไอทีในยุคใหม่ก็จำเป็นต้องมีทักษะที่สูงขึ้นเพื่อให้ตามทัน หรือรู้ทันแนวโน้มการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่ๆ ด้วย ได้แก่ ทักษะด้านการวิเคราะห์ข้อมูล โดยเฉพาะในยุคที่ “ข้อมูล (Data)” กลายเป็นสินทรัพย์ทางธุรกิจที่มีมูลค่าสูง (ถ้าใช้เป็นความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการคิดแก้ปัญหา เป็นต้น

สาขาพลังงานทางเลือก

          แม้โลกใบนี้ยังบริโภคน้ำมันและก๊าซเป็นพลังงานหลัก แต่พลังงานที่ผลิตได้จากแหล่งทางเลือกอื่นๆ ซึ่งได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ พลังงานลม พลังงานน้ำ พลังงานจากความร้อนใต้พิภพ (geothermal power) และพลังงานแสงอาทิตย์ เหล่านี้กำลัง “เปิดโอกาส” ให้กับตำแหน่งงานอีกมากมาย ตั้งแต่ระดับคนดูแลเครื่องจักร ผู้จัดการโรงไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานทางเลือก วิศวกร และพนักงานการตลาดและขาย

กฎหมายระหว่างประเทศ

          การขยายตัวของธุรกิจและการค้าที่ไม่จำกัดอยู่แค่ภายในประเทศใดประเทศหนึ่งอีกต่อไป ทำให้องค์กรต่างๆ มองหา “บุคลากร” ที่มีการศึกษา มีประสบการณ์ และมีทักษะครบเครื่องเรื่องการเจรจาต่อรองในด้านข้อกฎหมายระหว่างประเทศ ภาษี กฎระเบียบในการทำงาน และกฎระเบียบสิ่งแวดล้อมของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ เป็นต้น และชื่อสาขาอาชีพนี้ก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นกฎหมายระหว่างประเทศ ดังนั้น ข้อที่ห้ามลืมก็คือ คนที่จะ “รุ่ง” ในอาชีพนี้นอกจากความเก่งกาจด้านข้อกฎหมายแล้ว ยังต้องมีทักษะการสื่อสารภาษาที่ และอาจรวมไปถึงภาษาที่ 3, 4 ,5 อีกด้วย เรียกได้ว่ายิ่งเก่งหลายภาษา ยิ่งมีแต่คนแย่งซื้อตัวไปร่วมงาน

สาขาการสร้างสรรค์คอนเทนท์

          ปัจจุบันนี้เป็นยุคของการทำตลาดบ้านพื้นฐานของความรู้ มากกว่าแค่การขายให้จบๆ ไป ดังนั้น “มือเขียน” จึงเป็นที่ต้องการอย่างยิ่ง เพื่อสื่อสารสิ่งที่บริษัทเจ้าของสินค้าหรือบริการต้องการจะบอกกับลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย หรือว่าที่ลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิผล ผ่านช่องทางต่างๆ ได้แก่ บล็อก จดหมายข่าว บทความบนเว็บไซต์ สมุดปกขาว และรายงานพิเศษ เป็นต้น ที่สำคัญนักสร้างสรรค์คอนเทนท์ ควรต้องมีความรู้เฉพาะทางเกี่ยวกับประเภทสินค้า/บริการที่ต้องการนำเสนอด้วย

สาขาการตลาด

          การแข่งขันในโลกธุรกิจการค้าที่เพิ่มสูงขึ้นตามปริมาณการค้าโลก องค์กรธุรกิจต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อหาวิธีการทางการตลาดใหม่ๆ สร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง ดังนั้น อาขีพนักการตลาด จึงยังเป็นที่ต้องการอยู่อย่างไม่มีที่สิ้นสุด แต่ทั้งนี้นักการตลาดที่จะมี “ที่ยืน” อย่างมั่นคงในโลกการค้ายุคใหม่ ต้องเป็นคนที่เกาะติดกับแนวโน้มและความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้อย่างทันการณ์ เพื่อกำหนดกลยุทธ์ออกมารับมือได้อย่างทันท่วงที และชิงความได้เปรียบในสนามแข่งขัน

สาขานักวิเคราะห์การเงิน

          สภาพเศรษฐกิจที่ “คาดเดา” ได้ยากขึ้นทุกที อนาคตทางการเงินของแทบทุกประเทศบนโลกใบนี้ที่ “คำพยากรณ์” เริ่มลดความแม่นยำลงเรื่อยๆ ปรากฎการณ์เหล่านี้เรียกร้องคำแนะนำและการวางแผนทางการเงินที่มีประสิทธิภาพ อาชีพนักวิเคราะห์และนักวางแผนด้านการเงิน จึงทวีความสำคัญยิ่งขึ้น แน่นอนว่านี่เป็นอาชีพมาแรง เงินดี แต่ก็ต้องตระหนักด้วยว่าคุณพร้อมแบกรับความเครียดแค่ไหน

กำลังคนยุคดิจิทัลแบบไหน ที่ประเทศไทยต้องการ

เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา บริษัท โรเบิร์ต วอลเตอร์ หนึ่งในบริษัทที่ปรึกษาด้านการสรรหาบุคลากรระดับมืออาชีพชั้นนำของโลก ได้เปิดเผยข้อมูล “ผลการสำรวจเงินเดือน ประจำปี 2019 คาดการณ์ทักษะแรงงานดิจิทัลที่ประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความต้องการ” พบว่า จากผลกระทบของการเข้าสู่ยุคดิจิทัล ที่ทำให้ภูมิภาคนี้มีบทบาทสำคัญในโลกธุรกิจยุคดิจิทัล ส่งผลให้มีความต้องการแรงงานที่มีทักษะด้านไอทีจำนวนมาก โดยเฉพาะในสาขาที่กำลังเติบโต ได้แก่ เอไอบิ๊กดาต้า และไซเบอร์ซิเคียวริตี้ ขณะที่อีกสาขาซึ่งเป็นที่ต้องการไม่แพ้กันคือ ด้านเทคโนโลยีและการทำอีคอมเมิร์ซ

          เมื่อเจาะลึกข้อมูลการสำรวจในส่วนของประเทศไทย พบว่า แนวโน้มที่กำลังเกิดขึ้นในภูมิภาคนี้ ก็ส่งแรงกระเพื่อมถึงประเทศไทยเช่นกัน โดยเฉพาะความต้องการจ้างงาน “คนไทย” ที่มีประสบการณ์และทักษะในระดับ “สากล” ทั้งด้านภาษาและความรู้ด้านเทคโนโลยี เพราะปี 2019 จะเป็นปีแห่งการเปลี่ยนธุรกิจสู่รูปแบบดิจิทัล ซึ่งขับเคลื่อนการทำธุรกิจให้ก้าวเข้าสู่ยุคโลกการค้าแบบไร้พรมแดนอย่างแท้จริง

          สำหรับไฮไลท์ผลสำรวจเงินเดือนประเทศไทยปี 2019 มีข้อที่น่าสนใจ ได้แก่ ความต้องการธุรกิจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพเพิ่มขึ้น จากปัจจัยที่ประชากรสูงวัยเพิ่มขึ้น และความมีชื่อเสียงของประเทศไทยในฐานะศูนย์กลางด้านการแพทย์ระดับภูมมิภาคความต้องการมืออาชีพที่สามารถบูรณาการเทคโนโลยีมาแรงแห่งยุคอย่าง บิ๊กดาต้าบล็อกเชน และเอไอเข้าด้วยกัน เพื่อกำหนดเป็นกรอบการทำงานในการพัฒนาธุรกิจให้กับองค์กรได้บุคลากรที่มีทักษะครบเครื่องสำหรับการทำงานในยุคที่ทุกสิ่งทุกอย่างเชื่อมต่อผ่านมือถือ (Mobile-first) จะเป็นที่ต้องการและมีอำนาจต่อรองเรื่องเงินเดือนสูง โดยเฉพาะถ้าสามารถตกผลึกเป็นกลยุทธ์ที่ผสานทักษะด้านไอทีและความเข้าใจทางธุรกิจเข้าด้วยกัน

          องค์กรธุรกิจในประเทศไทยมีความต้องการนักวิเคราะห์และนักวางแผนด้านการเงิน คลอดจนคู่ค้าทางธุรกิจสูงขึ้น เพื่อให้สอดรับกับการลดกระบวนการทำงาน และการปรับเข้าสู่รูปแบบการทำงานอัตโนมัติเพิ่มขึ้นความต้องการผู้บริหารที่มีมาตรฐานสูงในอุตสาหกรรมส่งออกที่สำคัญของไทย และมีบทบาทการบริหารจัดการโครงการที่ใช้เทคโนโลยี เช่น อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง หรือไอโอที (Internet of Things), แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซกระตุ้นให้ประเทศไทยมีความต้องการนักการตลาดที่มีทักษะด้านดิจิทัล และมีวิสาหกิจในรูปแบบบีทูบี (Business to Business) มากขึ้น ทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางภูมิภาค

          ธุรกิจค้าปลีกต้องการมืออาชีพที่มีทักษะด้านดิจิทัลเพิ่มขึ้น ขณะที่ตลาดสินค้าแบรนด์หรูก็ยังไม่เสื่อมมนตร์ ทำให้พนักงานขายในกลุ่มนี้ยังเป็นที่ต้องการอยู่บางสาขาอาชีพอาจมีแนวโน้มการปรับเงินเดือนเพิ่มสูงขึ้นถึง 40% โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อยู่ในตำแหน่งที่เกี่ยวกับการจัดซื้อ (procurement ) และห่วงโซ่อุปทานเฉพาะด้าน

          ผลการสำรวจฉบับนี้ ยังระบุถึงปัจจัย ข้อหลัก ที่กำหนดความพึงพอใจในการทำงานในปี 2019 ได้แก่ ความสมดุลในชีวิตและการทำงาน ค่าตอบแทน ผลตอบรับ และการสนับสนุนจากผู้บริหาร ตลอดจนการฝึกอบรม และการได้รับโอกาส ขณะที่ แรงจูงใจข้อสำคัญสุดในการเปลี่ยนงาน ก็คือ ความก้าวหน้าในอาชีพการงาน ทั้งการปรับเพิ่มเงินเดือน/สวัสดิการที่ดีขึ้น รวมไปถึงความสมดุลในชีวิตการทำงานที่ดีกว่าเดิม

สมาร์ท ไฮเวย์ เทคโนโลยีขับเคลื่อนการจราจรรับเมืองอัจฉริยะ

ศาสตร์เกษตรดินปุ๋ย : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์คมชัดลึก

http://www.komchadluek.net/news/lifestyle/355925

สมาร์ท ไฮเวย์ เทคโนโลยีขับเคลื่อนการจราจรรับเมืองอัจฉริยะ

วันที่ 17 ธันวาคม 2561 – 12:46 น.
ไอที,เทคโนโลยี,AI,สมาร์ทซิตี้
เปิดอ่าน 585 ครั้ง

ASEAN Digital Minister Retreat Meeting โดยจะจัดขึ้นที่จังหวัดภูเก็ต ในช่วงเดือนเมษายน ปีหน้า มีประเด็นเร่งด่วน 6 ด้าน หนึ่งในนั้นก็คือ หัวข้อ “เมืองอัจฉริยะ”

          ในยุคที่ประเทศทั่วโลก “ตื่นตัว” เรื่องการสร้างเมืองอัจฉริยะ หรือสมาร์ท ซิตี้ โดยในส่วนของภูมิภาคอาเซียน ก็ได้มีการจัดตั้งเครือข่ายสมาร์ทซิตี้อาเซียน 26 แห่ง ซึ่งในจำนวนนี้ แห่งเป็นจังหวัดในประเทศไทย ได้แก่ กรุงเทพฯ ชลบุรี และภูเก็ต เป็นความสืบเนื่องจากการเห็นพ้องของประเทศอาเซียนเมื่อการประชุมอาเซียนซัมมิทครั้งที่ 32 ที่ประเทศสิงคโปร์ และในปี 2562 ที่ประเทศไทยจะขึ้นรับตำแหน่งประธานอาเซียน ทางกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเตรียมเป็นเจ้าภาพจัดประชุม

          ASEAN Digital Minister Retreat Meeting โดยจะจัดขึ้นที่จังหวัดภูเก็ต ในช่วงเดือนเมษายน ปีหน้า เพื่อหารือแนวทางการขับเคลื่อนดิจิทัลของอาเซียนในระดับชุดโครงการ (action programs) มีประเด็นเร่งด่วน ด้าน หนึ่งในนั้นก็คือ หัวข้อ “เมืองอัจฉริยะ” หรือสมาร์ท ซิตี้

          แนวโน้มดังกล่าว เป็นหนึ่งในปัจจัยหนุนการเติบโตให้กับตลาด Smart Highway ซึ่งมีการนำเทคโนโลยีมาใช้บริหารจัดการระบบการจราจร การเดินทางและเส้นทางถนนสายต่าง รวมถึงทางด่วนให้ “ชาญฉลาด” ยิ่งขึ้น ให้ข้อมูลที่สามารถใช้ในการบริหารจัดการเส้นทางได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ลดระยะเวลาเดินทาง ลดการใช้พลังงาน และลดมลภาวะทางอากาศ โดยมีข้อมูลจาก Mordor Intelligence คาดการณ์ว่าตลาดนี้จะขยายตัวจากมูลค่า 19.89 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อปี 2560 เป็น 54.11 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2566 และมีอัตราเติบโตเฉลี่ยต่อปี 18.15%

          ข้อมูลฉบับดังกล่าว ระบุอีกว่า โครงการโครงสร้างพื้นฐานของเส้นทางหลวงสายใหม่ๆ จะมองถึงการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น บางประเทศอย่างเช่น อินเดีย เมื่อปีที่ผ่านมามีโครงการลักษณะนี้ที่เกิดจากความร่วมมือในรูปแบบรัฐเอกชน (PPP) มากถึง 783 โครงการที่เกี่ยวกับการสร้างสะพานและถนน ด้วยตัวเลขการลงทุนโดยรวมประมาณ 74.63 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ประเทศมหาอำนาจอย่าง อเมริกา ก็โหมการลงทุนด้านนี้เช่นกัน คาดหมายว่าจะมีตัวเลขเพิ่มจาก 91 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2559 เป็นมากกว่า 99.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2563

+++ระบบการจัดการจราจรอัจฉริยะ “มาแน่”

          และเมื่อ Smart Highway มา ที่ต้องเกิดขึ้นคู่ขนานกันไปก็คือ ระบบจราจรอัจฉริยะ (Smart Traffic) นั่นเอง เพราะไม่ว่าถนนหนทางจะเพิ่มมากขึ้นแค่ไหน แต่ปริมาณการจราจรและความแออัดบนท้องถนน ก็ยิ่งเพิ่มขึ้นในอัตรารวดเร็วกว่า โดยเฉพาะในแทบทุกเมืองใหญ่ทั่วโลกต่างก็กุมขมับกับปัญหานี้ไม่ต่างกัน ดังนั้น ถนนสายใหม่ๆ (หรืออาจรวมถึงสายเก่าต่างก็หันมามองถึงการติดตั้งระบบบริหารจัดการจราจรอัจฉริยะมากขึ้นเรื่อยๆ เทคโนโลยีนี้เป็นการผสานการใช้ประโยชน์จากระบบระบุตำแหน่งบนพื้นโลกด้วยอุปกรณ์จีพีเอส หรือดาวเทียม (GNSS/GPS) กับเทคโนโลยีใหม่ต่างๆ

          เมื่อช่วงไตรมาสแรกปี 2560 ซิสโก้ หนึ่งในบริษัทด้านไอทีและระบบเครือข่ายชั้นนำของโลก ได้ทำงานร่วมกับ Davra Networks ทำการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากเซ็นเซอร์และแหล่งข้อมูลต่างๆ แบบเรียลไทม์ เพื่อปรับปรุงความสะดวกในการเดินทาง หรือใช้บริการขนส่งสาธารณะ (mobility) และความปลอดภัยลดความแออัดของปริมาณการจราจร ตลอดจนปรับปรุงการบริหารจัดการการจราจรในเมืองสวินดัน (Swindon) ทางตอนใต้ของอังกฤษ เป็นการทำงานร่วมกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งบริษัทไอทีรายใหญ่หลายราย โดยมีการปรับปรุงระบบจัดการการจราจรบนเส้นทางสายหลักๆ ของเมือง เพื่อสามารถให้ข้อมูลเรียลไทม์กับชาวเมืองนี้ และอัพเดทเส้นทางที่รวดเร็วกว่าให้ผู้ใช้ถนนสามารถหลบเลี่ยงการจราจรติดขัดได้ ผลลัพธ์ที่ได้คือ เพิ่มการใช้ถนนอย่างปลอดภัยได้มากขึ้น

+++อาลีบาบาชี้เทคโนโลยีเอไอช่วยพัฒนาเมืองอัจฉริยะ

          เมื่อไม่นานนี้มีผลการศึกษาจัดทำโดยบริษัท อาลีบาบา คลาวด์ ซึ่งเป็นหนีงในธุรกิจของกลุ่มอาลีบาบา ยักษ์อีคอมเมิร์ซ เบอร์ ของโลก พูดถึง แนวโน้มหลักด้านปัญญาประดิษฐ์ หรือเอไอ (Artificial Intelligence) โดยหนึ่งใน “แนวโน้ม” ที่ถูกระบุถึง ก็คือ การพัฒนาของเมืองอัจฉริยะ เพื่อนำเทคโนโลยีมาใช้แก้ปัญหาความต้องการด้านต่างๆ ของประชากร โดยเฉพาะคนเมือง เช่น น้ำ ไฟฟ้า การขนส่งที่สะดวกรวดเร็ว และอากาศปลอดมลพิษ ซึ่งถือเป็นความท้าทายของหน่วยงานรัฐด้านการปกครองของหลายประเทศ โดยเฉพาะยังต้องคำนึงถึงทรัพยากรที่มีจำกัด เทคโนโลยีที่จะช่วยปลดล็อคปัญหาเหล่านี้ ก็คือ เอไอบิ๊กดาต้า และไอโอที (IoT)

          ผลการศึกษานี้ยังระบุว่า เมืองใหญ่ทั่วโลกกำลังเติบโตขึ้นๆ ในอัตราที่ส่งสัญญาณอันตราย โดยอ้างอิงข้อมูลคาดการณ์ของสหประชาชาติว่า ภายในปี 2593 ประชากร ใน ของโลก จะเข้ามาอยู่ในเมือง โดยภูมิภาคของโลกที่น่าเป็นห่วง ก็คือ เอเชีย และแอฟริกา ซึ่งจะเห็นปรากฎการณ์นี้ชัดเจนในช่วงทศวรรษหน้า

          นอกจากนี้ ปัญหาที่ส่งผลกระทบกับชีวิตประจำวันซึ่งประชากรตามเมืองใหญ่ๆ ต้องเจอแน่นอน ก็คือ การจราจรแออัด จากดัชนีการวัดการจราจรตามเมืองต่างๆ ทั่วโลกของ TomTom Index บ่งชี้ว่า ใน 10 เมืองใหญ่สุดของโลก ที่ต้องเผชิญกับปริมาณการจราจรมากขึ้นเรื่อยๆ ล้วนเป็นประเทศในเอเชีย อีกทั้งยังมีแรงเหวี่ยงจากธรรมชาติสที่ทำให้ปัญหาย่ำแย่ลงไปอีก ได้แก่ ฝนตกหนักในหน้ามรสุมที่ทำให้เกิดน้ำท่วม เป็นต้น

          ปัญหาการจราจรติดขัด และการลดอุบัติเหตุบนท้องถนน กลายเป็นความท้าทายที่ซับซ้อนสำหรับผู้บริหารและนักวางผังเมือง การบำรุงรักษาประจำวันของโครงสร้างพื้นฐานการจราจรขนาดใหญ่ของการขนส่งมวลชน (Mass Infrastructure) ครอบคลุมถึง รถโดยสาร รถไฟ สัญญาณไฟจราจร ป้ายสัญลักษณ์ต่างๆ บนถนน/เส้นทาง เป็นต้น อีกปัญหาที่ผู้บริหารจัดการเส้นทางจราจรต้องรับมือ ก็คือ การช่วยให้พนักงานสามารถรับมือกับการให้บริการสาธารณะที่หลากหลายตอบโจทย์ผู้ใช้ถนน การแก้ปัญหา/ตอบสนองอย่างเร่งด่วน และการบังคับใช้กฎหมายในบางประเด็นใหญ่ๆ

+++ดอนเมืองโทลเวย์ใช้เอไอช่วยจัดการจราจร

          ดร.ศักดิ์ดา พรรณไวย รองกรรมการผู้จัดการ บมจทางยกระดับดอนเมือง บริษัทเอกชนผู้รับสัมปทานและให้บริการทางยกระดับที่รู้จักกันในชื่อ “ดอนเมืองโทลเวย์” เส้นทาง 21.9 กิโลเมตร กล่าวว่า บริษัทได้ใช้งบประมาณ 300 ล้านบาท เพื่อพัฒนาปรับปรุงระบบบริหารจัดการจราจร ภายใต้ชื่อโครงการ Smart Project ระยะเวลาดำเนินงาน ปี (ปี 2561-2563) โดยเป็นระบบบริหารการจราจรที่ทันสมัยอัตโนมัติ

          โครงการนี้มีปรัชญาในการดำเนินการ โดยคำว่าSmartย่อมาจากSafety – ความปลอดภัย, Manageble– สามารถบริหารจัดการได้, Accurate –ข้อมูลที่ได้จากระบบอัจฉริยะต้องมีความถูกต้อง, Reliableเชื่อถือได้ ทันเวลา ตรงเวลา ส่วนตัวอักษร Tเป็นkeywordคือTraffic Control System.เนื่องจากว่าเราบริหารจัดการทางด่วน และเราดำเนินการมา 30ปีแล้ว ซึ่งระยะเวลาดังกล่าว ระบบทาง ระบบเทคโนโลยีต่างๆ เปลี่ยนแปลงไปและทันสมัยมากขึ้น ทางบริษัทจึงมีแผนใช้ระบบบริหารจัดการที่ตรงกับวัตถุประสงค์การดำเนินงาน จึงใช้ทั้ง คำนี้ในปรัชญาเข้ามาทำงาน”

          ในโครงการ Smart Projectเป็นการติดตั้งระบบอัตโนมัติ ทั้งที่เป็นกล้องวงจรปิด (ซีซีทีวีและกล้องอัจฉริยะ ที่มีทั้งตัวกล้องซีซีทีวี และระบบซอฟต์แวร์ที่เป็นเอไอ (Artificial Intelligence) เพื่อช่วยในการบริหารจัดการจราจร โดยยกตัวอย่างความชาญฉลาด เช่น เมื่อเกิดอุบัติเหตุ หรือรถจอดบนทาง หรือของตกหล่น ปกติจะใช้กล้องซีซีทีวีดู เมื่อทางมีเยอะขึ้น กล้องมีเยอะขึ้น และต้องใช้คนบริหารจัดการตลอด24 ชัวโมงทุกวัน ก็ต้องใช้เวลาระยะหนึ่งในการตรวจสอบ กว่าจะเจอของที่ตกหล่น แต่ถ้าเป็นกล้องที่ติดตั้งเอไอ ใช้เวลาเพียง3-5วินาที ดังนั้นถ้ารถจอด รถเสีย เพียงแค่3-10วินาที ก็สามารถหาจุดพบและส่งเจ้าหน้าที่ไปประสานงานช่วยเหลือได้เร็วขึ้น อีกส่วนหนึ่งในกรณีเกิดอุบัติเหตุ ระบบนี้จะช่วยdetectได้อย่างอัตโนมัติ

          ถามว่าช่วยใครได้บ้าง ช่วยลูกค้า2ส่วน ส่วนแรกคือ ประชาชนผู้ใช้บริการ อันนี้ผลโดยตรงเลย คือเมื่อเกิดอุบัติเหตุบนทาง หรือรถเสียบนทาง เราก็จะเข้าช่วยเหลือได้เร็วขึ้น ลูกค้าอีกส่วนก็จะเป็นลูกค้าภายในของเรา ซึ่งก็คือพนักงานของเรา จะทำงานได้รวดเร็วขึ้น เนื่องจากมีระบบอุปกรณ์ที่ทันสมัยมากขึ้น”

          ความคืบหน้าการดำเนินงาน ปีนี้ติดตั้งโครงสร้างพื้นฐานและระบบงานหลังบ้านปี 2562ติดตั้งกล้อง เอไอ และป้ายอัจฉริยะ ซึ่งจะมีบอกระยะเวลาในการเดินทางถึงจุดหมายปลายทาง ใช้ข้อมูลของตัวระบบเอไอ ที่จะประมวลผลที่ศูนย์ควบคุม ส่งผ่านเครือข่ายการสื่อสาน (Comunicaiton Network) ที่เป็นไฟเบอร์ออปติกไปตามจุดต่างๆ ตามแผนติดตั้ง 5-10 จุด

          และปี 2563 จะเริ่มใช้งานและทดสอบความถูกต้อง จำนวนกล้อง ความถี่จะใกล้เคียงกับญี่ปุ่นคือติดตั้งทุกระยะ 300-500เมตรทั้งไปและกลับ จากปัจจุบันทุกระยะ1กิโลเมตร ตามมาตรฐานของทางด่วน มีระบบdetectอัตโนมัติและแจ้งเตือนเจ้าหน้าที่พนักงานโดยตรง เร็วขึ้น ลดระยะเวลา 5-10นาที เป็นการmonitor สถานะแบบเรียลไทม์ โดยระบบจะเป็นแบบอัตโนมัติผนวกกับเอไอ ทั้งนี้ จะไม่มีการลดคน แต่จะใช้ทักษะของคนในการดำเนินการช่วยเหลือ ส่วนการจัดการก็ให้ระบบคอมพิวเตอร์จัดการ

          ผู้บริหารดอนเมืองโทลเวย์ สรุปทิ้งท้ายว่า “ความคาดหวังต่อการใช้ระบบนี้คือ ช่วยบรรเทาปัญหาการจราจร บริหารจัดการให้การจราจรมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยใช้โนว์ฮาวที่มีอยู่ในด้านระบบริหารจัดการ ผนวกเข้ากับเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้า ออกแบบระบบอัจฉริยะให้สอดคล้องกับการบริหารจัดการของเรา”

‘3 เทคโนโลยี’ กำหนดธุรกิจปี 2562

ศาสตร์เกษตรดินปุ๋ย : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์คมชัดลึก

http://www.komchadluek.net/news/lifestyle/354413

‘3 เทคโนโลยี’ กำหนดธุรกิจปี 2562

วันที่ 3 ธันวาคม 2561 – 05:00 น.
ไอที,5จี,ดิสรัปทีฟ เทคโนโลยี
เปิดอ่าน 1,242 ครั้ง

ที่น่าสนใจก็คือ ทุกแนวโน้มเทคโนโลยีที่เขาพูดถึงล้วนแต่เป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัว หรือกำลังจะเกิดขึ้นแน่ๆ

ปฏิเสธไม่ได้ว่า การทำธุรกิจทุกวันนี้จะอาศัยเพียงความเก่งและเฮง “ไม่พอ” อีกต่อไปแล้ว เพราะถ้าอยากเป็นผู้ชนะในสังเวียนการค้า ผู้ประกอบการหรือองค์กรธุรกิจนั้นๆ จำเป็นต้อง “รู้ทัน-ตามทัน” เทคโนโลยีด้วยเพราะไม่เพียงจะใช้ประโยชน์ในการเพิ่มประสิทธิภาพหรือความเก่ง แต่ยังเพิ่ม “ความได้เปรียบ” ให้สามารถล้ำหน้าคู่แข่ง หรือนำเสนอสินค้า-บริการใหม่ๆ ที่จะกระตุ้นให้ “ลูกค้า” อยากใช้ อยากจ่ายเงินซื้อ ดังนั้นคงไม่เกินเลยไปนักหากจะบอกว่า อีกบทบาทของเทคโนโลยีในโลกธุรกิจใหม่ ก็เปรียบเสมือนเทพพยากรณ์แห่ง “ยุคดิสรัปทีฟ เทคโนโลยี” นั่นเอง

          ไม่นานมานี้ เว็บไซต์เทคเรดาห์ (www.techradar.com) ได้นำเสนอบทความน่าสนใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีมาแรง ซึ่งจะเข้ามากำหนดภูมิทัศน์ใหม่ให้กับการทำธุรกิจในปี 2562 จากมุมมองของ นิก ออฟฟิน (Nick Offin)” หัวหน้าฝ่ายการตลาด การขาย และปฏิบัติการของโตชิบา ที่น่าสนใจก็คือ ทุกแนวโน้มเทคโนโลยีที่เขาพูดถึงล้วนแต่เป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัว หรือกำลังจะเกิดขึ้นแน่ๆ และมีผู้บริโภคทั่วโลกตั้งตารออยู่

          เทคโนโลยีที่กำลังมาแรงในมุมมองของผู้บริหารบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ระดับโลกคนนี้ เป็นการผสานกันของความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคลาวด์, อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง หรือไอโอที (IoT), เทคโนโลยีเครือข่ายและเทคโนโลยีเสมือนจริง รวมไปถึงการเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจสู่ดิจิทัล (Digital Transformation) ซึ่งตกผลึกมาเป็น 3 เทคโนโลยีที่จะมีบทบาทสำคัญสำหรับธุรกิจในปี 2562

+++5จี ไม่ต้องรออีกต่อไป

         โดดเด่นและเป็นที่จับตามองมากที่สุดตั้งแต่ปีหน้าเป็นต้นไป คงต้องยกพื้นที่ให้กับเทคโนโลยีสื่อสารไร้สาย 5จี เพราะหลายประเทศทั่วโลก “เอาจริง” กับการเดินหน้าทดสอบไปก่อนระหว่างรอสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ไอทียู) กำหนดมาตรฐานย่านความถี่ที่ชัดเจนและเป็นที่สิ้นสุดออกมา แน่นอนว่าแม้การทดสอบต้องใช้เงินลงทุนพอสมควร แต่ไม่มีใครลังเล เพราะยิ่งการทดสอบได้ผลเท่าไหร่ ก็จะนำมาประยุกต์ใช้ในเชิงพาณิชย์ในการให้บริการจริงได้เร็วขึ้น และตอบโจทย์ ลูกค้าได้ตรงเป้ายิ่งขึ้น

          “ความเหนือกว่า” ของเทคโนโลยี 5จีในโลกธุรกิจยุคใหม่ที่ถูกขับเคลื่อนด้วยดิจิทัล ก็คือ องค์กรต่างๆ จะมีความได้เปรียบจากความสามารถ 5จี ในด้านโซลูชั่น IoT ซึ่งจากการคาดการณ์ของบริษัท อีริคสัน หนึ่งในบริษัทเทคโนโลยืสื่อสารไร้สายใหญ่สุดของโลก ระบุว่าภายในปี 2565 ทั่วทั้งโลกจะมีจำนวนอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต และคุยกันเองได้ (ToT) มากถึง 18 พันล้านชิ้น และ 70% ของจำนวนดังกล่าวจะใช้เทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ในการทำงาน

+++ข้อมูลปลอดภัยด้วยการประมวลผลปลายทาง (Edge Computing)

           เอดจ์ คอมพิวติ้ง (Edge Computing) ถือเป็นเทรนด์ใหม่ที่น่าสนใจ โดยจะมีการแบ่งโหลดการประมวลผลไปไว้ที่อุปกรณ์ปลายทาง แทนที่จะรวมโหลดทั้งหมดจากศูนย์กลางบนคลาวด์ตามรูปแบบ Cloud Computing แบบเดิม ช่วยลดปริมาณข้อมูลที่ต้องส่งรับจากอุปกรณ์ปลายทาง (Edge) กับคลาวด์ได้อย่างมาก

         ในเว็บไซต์ www.enterpriseitpro.net อธิบายเกี่ยวกับเทคโนโลยีนี้ให้เข้าใจได้ง่ายๆ ว่า ตัวอย่างการใช้งานที่เห็นได้ชัด ได้แก่ IoT ซึ่งอุปกรณ์กลุ่มดังกล่าวมักจัดเก็บข้อมูลที่กระจายตามตำแหน่งที่ตั้งต่างๆ ผ่านตัวเซ็นเซอร์ ซึ่งปกติมักส่งข้อมูลเข้ามาศูนย์กลางผ่าน WAN อย่างเช่น เครือข่ายโทรศัพท์ หรือวีพีเอ็นผ่านอินเทอร์เน็ต การรวมศูนย์ประมวลผลข้อมูลไว้หนึ่งเดียวนั้นจำเป็นในบางกรณี แต่ก็หลายกรณีที่ไม่จำเป็นต้องรวบรวมข้อมูลทั้งหมดจากทุกที่เพื่อประมวลผลเช่นกัน บางครั้งถ้าตัวเซ็นเซอร์สามารถประมวลผลข้อมูลด้วยตัวเอง แล้วส่งแค่ผลลัพธ์มาให้ส่วนกลางก็จะช่วยประหยัดทั้งแบนด์วิธ และเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวมเป็นอย่างมาก

          ขณะที่ บทความของเทคเรดาห์ ก็บอกว่าความแรงและเร็วของสัญญาณคลื่น 5จี ผนวกกับความแพร่หลายของจำนวนอุปกรณ์ IoT ที่ได้อานิสงค์จากความสามารถของเทคโนโลยี 5จี จึงช่วยให้องค์กรธุรกิจ สามารถบริหารจัดการ “ข้อมูล” ได้อย่างมีประสิทธิภาพควบคู่กับมีความปลอดภัย

          เรียกได้ว่าเป็นการลดข้อกังวลเดิมๆ เกี่ยวกับปัญหาความปลอดภัยข้อมูล ที่ก่อนหน้านี้เคยความเสี่ยงพุ่งจากช่องโหว่ด้านความปลอดภัยของอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีการใช้งานเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและโลกโซเชียลกันอย่างขาดความระแวดระวัง

          ที่ผ่านมา ผลสำรวจผู้ที่มีอำนาจการตัดสินใจด้านไอทีในยุโรป 62% ระบุว่า การลงทุนเรื่องความปลอดภัยของข้อมูล มีความสำคัญเร่งด่วนลำดับต้นๆ ในช่วง 12 เดือนจากนี้ นอกจากนี้ ในรายงานภัยคุกคามทางไซเบอร์ ประจำปี 2561 ที่จัดทำโดย SonicWall ก็บอกว่า อุปกรณ์ IoT คือสนามรบแห่งใหม่ของความปลอดภัยข้อมูล

+++อุตสาหกรรม 4.0 แจ้งเกิดเต็มตัว

          ผู้บริหารรายนี้มองว่า  อุตสาหกรรม 4.0 เป็นกลุ่มแรกที่ตะหนักถึงข้อได้เปรียบที่ตามมากับเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยเฉพาะการติดปีกความสามารถให้กับพนักงานด้วยสารพันโซลูชั่นด้านเทคโนโลยี ยกตัวอย่างเช่น พนักงานโกดังสินค้าและโลจิสติกส์ สามารถสแกนบาร์โค้ดสินค้า หรือหีบห่อบรรจุสินค้าได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ และเบาแรง ด้วยการใช้ “แว่นตาอัจริยะ” เป็นเครื่องทุ่นแรงในการหยิบและสแกน (pick-by-vision ) โดยไม่จำเป็นต้องหยิบขึ้นมาสแกนเป็นชิ้นๆ อย่างแต่ก่อน อีกทั้งเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการคลังสินค้า (Inventory) ได้อย่างชัดเจน.

          อีกอุตสาหกรรมและอีกเทคโนโลยีที่หลายคนอาจคิดไม่ถึงว่าจะมารวมร่างกันได้ในยุคอุตสาหกรรม 4.0 ก็คือ บล็อกเชน (Blockchain ) กับอุตสาหกรรมยานยนต์ ปัจจุบันมีค่ายรถยนต์รายใหญ่ของโลกอย่าง โตโยต้า ที่กำลังเกาะตอดเทรนด์การพัฒนารถยนต์ไร้คนขับ โดยสถาบันวิจัยโตโยต้า ได้ร่วมมือกับเอ็มไอที มีเดีย แล็บ ( MIT Media LAB) เพื่อนำเทคโนโลยีบล็อกเชน มาประยุกต์ใช้ โดยบล็อกเชนจะเก็บข้อมูลที่ได้จากผู้ผลิตรถยนต์และผู้ใช้งานรถยนต์กว่าพันล้านข้อมูล มาวิเคราะห์และปรับปรุงความปลอดภัยของเทคโนโลยีรถยนต์ไร้คนขับให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อีกทั้งลดระยะเวลาในการพัฒนาอีกด้วย สถาบันวิจัยของโตโยต้า ยังได้ร่วมมือกับบริษัทสตาร์ทอัพเล็กๆ หลายราย เช่น BigchainDB ในเรื่องนี้เช่นกัน

          การ์ทเนอร์ บริษัทวิจัยตลลาดไอทีชั้นนำ คาดการณ์ว่า บล็อกเชนจะเข้ามามีส่วนสร้างมูลค่าทางธุรกิจได้ถึง 3.1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2573 พร้อมแนะนำว่าธุรกิจต่างๆ ควรรีบคิดแต่เนิ่นๆ ว่าจะนำเทคโนโลยีนี้มาใช้เป็นประโยชน์ได้อย่างไรบ้าง

+++5จี ครองตลาด 1.5 พันล้านเครื่องปี 67

          รายงาน “อีริคสัน โมบิลิตี้ รีพอร์ต” ฉบับประจำเดือนพฤศจิกายน 2561 เปิดเผยตัวเลขคาดการณ์โทรศัพท์มือถือ 5จีว่า จะมีจำนวนสูงถึง 1.5 พันล้านเครื่อง ภายในปี 2567 คิดเป็นสัดส่วน 40% ของจำนวนโทรศัพท์เคลื่อนที่ในตลาด ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าเป็นระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ซึ่งเติบโตเร็วสุดในประวัติวิวัฒนาการของเทคโนโลยีนสื่อสารแบบเคลื่อนที่ อีกทั้งยังหนุนการเติบโตให้กับตลาดอุปกรณ์ IoT อีกด้วย โดยคาดว่าจะมีจำนวนอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่าน 5จื ทะลุหลัก 4 พันล้านชิ้นภายในปีดังกล่าวเช่นกัน การขยายตัวหลักๆ มาจากการใช้งานในแถบเอเชียตะวันออก

          ปัจจัยสนับสนุนอื่นๆ สำหรับความเฟื่องฟูของ 5จีที่จะเกิดขึ้นในปีหน้า และชัดเจนเต็มตัวในปี 2563 ก็คือ การที่มีการแสดงท่าทีจากไอทียูแล้วว่า สเปคตรัมความถี่ที่จัดสรรให้จะช่วยให้เกิดความประหยัดในด้านค้นทุนการติดตั้งเครือข่าย นวัตกรรมของโซลูชั่นใหม่ๆ สำหรับการติดตั้งที่สามารถนำสเปคตรัมที่มีอยู่ และโครงสร้างพื้นฐานเดิมมาใช้ใหม่ (reuse)

          ในรายงานฉบับนี้ยังเปิดเผยตัวเลขยอดผู้ใช้มือถือทั่วโลก ณ สิ้นสุดไตรมาส 3 ปี 2561 มีจำนวน 5.6 พันล้านคน โดยมีการใช้งานรวมประมาณ 7.9 พันล้านเลขหมาย สัดส่วน 60% เป็นสมาร์ทโฟน ด้านจำนวนมือถือที่เพิ่มขึ้นเฉพาะไตรมาส 3 อยู่ที่ 120 ล้านเลขหมาย ประเทศที่เป็นผู้นำการเพิ่ม 3 อันดับแรก ได้แก่ จีน 37 ล้านเลขหมายอินเดีย 31 ล้านเลขหมาย และอินโดนีเซีย 13 ล้านเลขหมาย

คลอดบริการ 5จี สะเทือนถึงดาวเทียม

ศาสตร์เกษตรดินปุ๋ย : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์คมชัดลึก

http://www.komchadluek.net/news/lifestyle/353604

คลอดบริการ 5จี สะเทือนถึงดาวเทียม

วันที่ 26 พฤศจิกายน 2561 – 10:38 น.
5G,ดาวเทียม,ไอที,เทคโนโลยี,เปิดเสรีตลาดดาวเทียม,โครงสร้างพื้นฐาน,อินเทอร์เน็ต,อินเทอร์เน็ตไทย,คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เปิดอ่าน 3,337 ครั้ง

ในส่วนของผู้ให้บริการดาวเทียมทั่วโลก ก็กำลังเตรียมใจกับการแข่งขันบนอวกาศที่คาดว่าจะทวีความรุนแรงขึ้นในอนาคตอันใกล้

ระหว่างในประเทศไทย กำลังคึกคักรอรับ (การทดสอบบริการมือถือ 5จี และโอเปอเรเตอร์ใหญ่ก็เริ่มทยอยประกาศชิงพื้นที่ข่าวกันไปแล้ว แต่ในระดับโลกมีข่าวที่น่าสนใจอย่างมาก และสร้างความแปลกใจอย่างไม่คาดคิดถึงความสัมพันธ์ระหว่าง 5จี (ระบบสื่อสารภาคพื้นดินและดาวเทียม (ระบบสื่อสารบนท้องฟ้าโดยเมื่อไม่นานนี้กลุ่มผู้ให้บริการดาวเทียมทั่วโลกประกาศร่วมเป็นพันธมิตร เพื่อการป้องกันการใช้งานแถบความถี่ 3.7-4.2 GHz ซึ่งหน่วยงานกำกับดูแลด้านโทรคมนาคมของประเทศสหรัฐอเมริกา ที่รู้จักกันในชื่อว่า FCC (Federal Communications Commission) ได้มีมติให้ศึกษาสำหรับบริการ 5จี

          เหตุที่ทำให้ผู้ประกอบการดาวเทียม ซึ่งที่ผ่านมาทำธุรกิจกันอย่างเงียบสงบต้องออกโรงประท้วง และเกิดการรวมกลุ่มในชื่อ The C-Band Alliance หรือ CBA ซึ่งประกอบด้วยผู้ให้บริการดาวเทียมรายใหญ่ Intelsat, SES, Eutelsat และ Telesat เพราะปัจจุบันคลื่นความถี่ย่านดักงกล่าง ตรงกับคลื่นความถี่สำหรับบริการดาวเทียมในย่านความถี่ C-Band สำหรับการส่งสัญญาณวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ไปยังผู้ใช้บริการมากกว่า 100 ล้านรายทั่วประเทศสหรัฐอเมริกา

          และแม้แต่ในประเทศไทย ทุกวันนี้ผู้ชมทีวีดาวเทียมหลักๆ ก็ยังใช้จานรับสัญญาณขนาดใหญ่เพื่อรับย่านความถี่นี้เช่นกัน สัญญาณไปยังผู้ใช้บริการมากกว่า 100 ล้านรายทั่วประเทศสหรัฐอเมริกา

          จึงได้เกิดการรวมกลุ่มในชื่อ The C-Band Alliance หรือ CBA ประกอบไปด้วยผู้ให้บริการดาวเทียมรายใหญ่ Intelsat, SES, Eutelsat และ Telesat ที่มีจุดยืนเดียวกันในการให้บริการ C-Band บนคลื่นความถี่เดิม

          ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ก็ออกมายอมรับเช่นกันว่า ได้พิจารณาคลื่นความถี่ย่านที่มีความเป็นไปได้ในการนำมาใช้ในเรื่องของ 5จี เบื้องต้นได้เสนอคลื่นความถี่ในย่านหลัก คลื่น ได้แก่ ย่านความถี่ 3.4-3.6 GHz, 26-28 GHz และ 7-9 GHz โดยจากนี้จะร่วมมือกันทดสอบคลื่นย่านต่างๆ ว่าส่งสัญญาณรบกวนกับบริการเดิมที่มีอยู่หรือไม่ เช่น สัญญาณดาวเทียมโดยเฉพาะในย่านความถี่ C-Band โดยกำหนดระยะเวลาไว้ราว 6-9 เดือน เพื่อให้ได้คลื่นความถี่ย่านที่เหมาะสมกับการใช้เทคโนโลยี 5G สำหรับประเทศไทย

          กระทรวงดิจิทัลฯ เปิดเวทีเสวนากิจการดาวเทียมในยุค Disruption และธุรกิจรูปแบบใหม่ สอดรับนโยบายให้ดาวเทียมต่างชาติเข้าตลาดไทยได้ หวังกระตุ้นการลงทุน รองรับธุรกิจในอนาคต ด้านบริษัทผู้ให้บริการประกันภัยดาวเทียมระดับโลก มั่นใจนโยบายนี้ช่วยหนุนจีดีพีประเทศขยายตัว จากการเพิ่มโอกาสคนในชนบทเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ทั่วถึง

สงครามน่านฟ้าระอุดาวเทียมใหม่จ่อยิงนับหมื่นดวง

          นอกจากสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างเทคโนโลยี 5จี และฟากดาวเทียมกำลังเด่นชัดขึ้น ในส่วนของผู้ให้บริการดาวเทียมทั่วโลก ก็กำลังเตรียมใจกับการแข่งขันบนอวกาศที่คาดว่าจะทวีความรุนแรงขึ้นในอนาคตอันใกล้ จากตัวเลขคาดการณ์จำนวนดาวเทียมใหม่ๆ ที่จะจ่อยิ่งสู่ท้องฟ้าภายใน 10 ปีข้างหน้า เดิมคาดไว้แล้ว 3,300 ดวง แต่ล่าสุด FCC เพิ่งอนุมัติเพิ่มไปอีก 8,000 ดวง เป็นการเร่งอัตราความเร็วของจำนวนดาวเทียมที่จะออกมาให้บริการใหม่ ซึ่งสาเหตุที่ความสามารถสร้างดาวเทียมทำได้ง่ายและเร็วขึ้นกว่าอดีต ก็เป็นจากแรงกระทบของ Disruptive Technology นั่นเอง

          โดยในประเทศไทยเองก็เกาะติดเทรนด์นี้อย่างใกล้ชิด และเริ่มปรับกฎเกณฑ์ที่จะชิงความได้เปรียบและประโยชน์จากเทรนด์ใหม่นี้

          นางวรรณพร เทพหัสดิน ณ อยุธยา รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีกล่าวว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีสมัยใหม่ทำให้กิจการดาวเทียมยุคปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และสร้างบริการและโอกาสธุรกิจใหม่ๆ จากเดิมที่บริการส่วนใหญ่มาจากดาวเทียมที่มีวงโคจรประจำ (Geostationary Satellite Orbit: GSO) ในปัจจุบัน แนวโน้มของโลกมุ่งไปสู่การลงทุนในบริการที่เกิดจากดาวเทียมแบบวงโคจรไม่ประจำที่ (Non-Geostationary Satellite Orbit: NGSO) เช่น ดาวเทียมวงโคจรต่ำ (Low Earth Orbit: LEO) และดาวเทียมวงโคจรระยะปานกลาง (Medium Earth Orbit: MEO) ที่มีขนาดเล็กและสามารถส่งขึ้นไปบนฟ้าได้ครั้งละหลายพันดวง ดาวเทียมเหล่านี้สามารถให้บริการได้หลากหลาย เช่น การส่งสัญญาณอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง การส่งผ่านข้อมูลความเร็วสูง การส่งสัญญาณโทรทัศน์ด้วยเทคโนโลยีภาพที่คมชัดมากขึ้น รวมถึงการสำรวจ การนำทาง และการถ่ายภาพที่มีความชัดเจนในระดับสูงมาก

          ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำให้ดาวเทียม NGSO สามารถให้บริการส่งสัญญาณอินเทอร์เน็ตและข้อมูลแบบความเร็วสูง (Low Latency) ซึ่งทำให้ภาคพื้นดินสามารถรับสัญญาณได้ในเวลาต่ำกว่าเสี้ยววินาที การรับส่งข้อมูลที่รวดเร็วในระดับที่ไม่มีดาวเทียมสมัยก่อนทำได้ ดาวเทียม NGSO จึงเป็นเครื่องมือทำให้เกิดธุรกิจใหม่ๆ ที่ต้องใช้การรับส่งสัญญาณอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาด อาทิ ยานยนต์ไร้คนขับ (Unmanned Aerial Vehicle: UAV) การส่งอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในที่ทุรกันดารเพื่อให้คนที่อยู่นอกเมืองเข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และโดรนสำรวจในพื้นที่ที่เข้าถึงยาก เป็นต้น”

          ในส่วนของประเทศไทย รัฐบาลเตรียมพร้อมรับแนวโน้มใหม่นี้ และล่าสุดคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ผ่านความเห็นชอบ (ร่างแนวทางการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกิจการดาวเทียมวงโคจรประจำที่ (Geostationary-Satellite Orbit : GSO) ตามที่คณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ ได้มีมติเห็นชอบ เพื่อมุ่งเน้นให้ประเทศไทยมีนโยบายที่กำหนดแนวทางในการรักษาตำแหน่งวงโคจรและข่ายงานดาวเทียมของประเทศที่ชัดเจน เป็นไปตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 60 ที่กำหนดให้ รัฐต้องรักษาไว้ซึ่งคลื่นความถี่และสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมอันเป็นสมบัติของชาติ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชน

          และเห็นชอบ (ร่างนโยบายการพิจารณาอนุญาตให้ดาวเทียมต่างชาติให้บริการในประเทศ (Landing Right) เนื่องจากที่ผ่านมา ประเทศไทยยังไม่มีนโยบายอนุญาตให้ใช้งานดาวเทียมต่างชาติในเชิงพาณิชย์ ในขณะที่ผู้ประกอบการและผู้ใช้งานดาวเทียมสื่อสารมีความต้องการใช้งานดาวเทียมต่างชาติเพิ่มมากขึ้น ซึ่งขั้นตอนต่อจากนี้คือ รอนำเสนอเข้า ครมและรับมติมาดำเนินการต่อโดยออกเป็นประกาศหรือเป็นนโยบาย

          รองศาสตราจารย์สุธรรม อยู่ในธรรม กรรมการกำกับกิจการพลังงาน คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน กล่าวว่า ประเทศไทยควรเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับประเด็นเรื่องนโยบายความถี่ (Spectrum) ที่ประเทศใหญ่ๆ ของโลกอย่างเช่น สหรัฐอเมริกา และยุโรป เริ่มมีการกำหนดนโยบายเพื่อรองรับอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 5จี ที่จะเป็นตัวขับดันเศรษฐกิจของโลกในอนาคตอันใกล้

 

ดาวเทียมหนุนจีดีพีประเทศโต

          ด้านนาย Jan Schmidt หัวหน้ากลุ่มธุรกิจอวกาศ บริษัท Swiss Re Corporate Solutions จำกัด กล่าวว่า จากผลการศึกษาพบว่าปัจจุบันยังมีคนอีก 3.5 พันล้านคนทั่วโลก ที่ยังไม่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ ขณะที่มีการประมาณการณ์ว่า ถ้าประเทศใดสามารถทำให้ประชากรเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้มากขึ้น 10% จะสร้างการเติบโตให้กับจีดีพีของประเทศอีก 1.5%

          นโยบายเปิดเสรีตลาดดาวเทียมของประเทศไทยมีความสำคัญกับประเทศ เพราะโครงสร้างพื้นฐานด้านดาวเทียม เป็นสิ่งที่จะช่วยให้คนทั่วทุกส่วนของประเทศที่สายไฟเบอร์ออฟติกเข้าไม่ถึง สามารถเชื่อมต่อกับทั้งโลกด้วยอินเทอร์เน็ต เข้าถึงการศึกษา การเกษตรเชิงพยากรณ์ บริการสาธารณสุข และโอกาสทางธุรกิจ เป็นต้น อีกทั้งกฎหมายที่เปิดกว้าง จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันของไทย และเร่งความเร็วในการบรรลุนโยบายไทยแลนด์ 4.0”

ส่องสเตตัส 5จี ในเวทีโลก

ศาสตร์เกษตรดินปุ๋ย : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์คมชัดลึก

http://www.komchadluek.net/news/lifestyle/352744

ส่องสเตตัส 5จี ในเวทีโลก

วันที่ 19 พฤศจิกายน 2561 – 10:17 น.
5G,กระทรวงดิจิทัล,ดีอี,รมวดีอี,พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รมวดิจิทัลฯ
เปิดอ่าน 1,050 ครั้ง

ทวีปเอเชีย คืออีกหมุดหมายสำคัญของเทคโนโลยี 5จี ด้วยปัจจัยหนุนทั้งจากขนาดประชากรรวมกันที่เกิดครึ่งหนึ่งของโลก

         ปี 2563 ประเทศไทยจะได้ใช้เทคโนโลยีสื่อสารไร้สายใหม่ล่าสุดคือ 5จี ตามเป้าหมายของรัฐบาล แต่ในระดับโลกแล้วจะทวีความน่าตื่นเต้นขึ้นอย่างชัดเจนตั้งแต่ปี 2562 ซึ่งเตรียมถูกยกให้เป็น “เป็นปีแห่ง 5จี” เพราะผู้ผลิตสมาร์ทโฟนเตรียมปรับสายการผลิตให้รองรับความสามารถใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นได้จากความล้ำของ 5จี ขณะที่ในฝั่งผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งรวมถึงองค์กรรัฐซึ่งทำหน้าที่ขับเคลื่อนนโยบาย ต่างก็เร่งไฟเขียวให้มีการทดสอบการใช้งานนำร่องกันตั้งแต่ปีนี้แล้ว ขณะที่ บริษัทเทเลคอมยักษ์ใหญ่ของเกาหลี ได้แก่ โคเรีย เทเลคอม ก็ประกาศแผนความพร้อมส่งบริการถึงมือผู้บริโภคในอนาคตอันใกล้

          ความโดดเด่นของ 5จีที่เหนือชั้นกว่า 4จี ตามคำอธิบายของ “เอก จินดาพล” ผู้อำนวยการและผู้เชี่ยวชาญพิเศษฝ่ายกลยุทธ์เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสาร ของดีแทค ถึงประสบการณ์จาก 5จี ที่จะดีขึ้นว่า แบ่งเป็น เรื่อง ได้แก่

          1.แบนวิธสูงกว่า 4จี ถึง 10 เท่า คือมีความเร็วในระดับ Gbps ซึ่งหนึ่งในประโยชน์ด้านความเร็วในการใช้งาน ช่วยให้ผู้ใช้สามารถสตรีมมิงวีดีโอความละเอียดระดับ 4K ได้ภายในระยะไม่กี่วินาที 2.ใช้ระยะเวลาในการับส่งชุดข้อมูล (Latency) ต่ำ ทำให้การตอบสนองต่อการสื่อสารหรือรับส่งข้อมูลทำได้รวดเร็ว และ 3.ปริมาณเชื่อมต่อ มีศักยภาพในการเตรียมรองรับอุปกรณ์ที่คาดว่าในอนาคตจะมีปริมาณสูงมาก

          ทางด้านสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ไอทียูหน่วยงานกำกับดูแลคลื่นความถี่สำหรับกิจการสื่อสารของโลก ได้เริ่มส่งสัญญาณเตือนผู้เล่นในอุตสาหกรรมนี้ว่า “ความเร็ว” ในการรับส่งข้อมูล 5จี ต้องไม่ต่ำกว่า 21Gbp สำหรับการดาวน์โหลด และ 10 Gbps สำหรับการอัพโหลด ส่วนค่า latency สูงสุดกำหนดไว้ที่ นาที

+++5จี มี(ทดสอบ)ที่ประเทศใดบ้าง

          เว็บไซต์ไลฟ์ไวร์ http://www.lifewire.com ได้ทำการอัพเดทข้อมูลความพร้อมของเทคโนโลยี 5จีทั่วโลกไว้อย่างน่าสนใจ โดยล่าสุดมีจำนวนประเทศในลิสต์นี้แล้ว จำนวน 23 ประเทศ ครอบคลุมทุกทวีปของโลก ไม่เว้นแม้กระทั่งแอฟริกา ซึ่งมีผู้ให้บริการรายใหญ่ระดับโลกที่เข้าไปลงทุนให้บริการมือถือ เริ่มนำร่องการทดสอบ 5จี ในประเทศเลโซโทแล้ว

          ไลฟ์ไวร์ ได้จัดหมวดหมู่พื้นที่มีการทดสอบบริการในเทคโนโลยี 5จี ไว้เป็นรายทวีป ได้แก่ ทวีปอเมริกาเหนือ มีประเทศสหรัฐ เริ่มนำร่องการทดสอบแล้วในส่วนบรอดแบนด์ 5จี บางเมือง และจะขยายไปยังมือถือและการใช้งานที่บ้าน ช่วงปลายปีนี้ และต้นปีหน้า ขณะที่อีก ประเทศในภูมิภาคนี้ ได้แก่ แแคนาดา เม็กซิโก ก็ไม่ยอมน้อยหน้าเช่นกัน โดย Rogers Communications ผู้ให้บริการในแคนาดา เตรียมเปิดสนามทดสอบการใช้งานในมหาวิทยาลัยบริติชโคลัมเบีย ต้นปีหน้าอีกด้วย

          ส่วนทวีปอเมริกาใต้ ทั้งชิลี อาร์เจนติน่า และบราซิล เมื่อรวมขนาดจำนวนประชากรเข้าด้วยกัน เป็นตลาดที่ใหญ่พอตัว ดังนั้นน่าจะเห็นการใช้งานอย่างแพร่หลายได้ไม่ยากตั้งแต่ปลายปี 2562

          ทวีปยุโรป ก็ได้รับการคาดหมายว่าจะเปิดบริการ 5จีได้ภายในปี 2563 แน่นอน ที่มีความพร้อมแล้วได้แก่ ประเทศนอร์เวย์ เยอรมนี อังกฤษ สวิตเซอร์แลนด์ สเปน ฟินแลนด์ และรัสเซีย ซึ่งมีตัวเลขคาดการณ์จากสมาคม GSMA ว่า โครงข่าย 5จี จะเข้าถึงประชากรชาวรัสเซียมากกว่า 80% ภายในปี 2568

          นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มประเทศโอเชียเนีย ซึ่งประเทศหมู่เกาะหลักๆ ของภูมิภาคนี้จะเริ่มมีการทดสอบในวงจำกัดในปีหน้า และพร้อมให้บริการเต็มตัวปี 2563 ขณะที่ประเทศพี่ใหญ่ของกลุ่มนี้อย่าง ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ก็ไม่หลุดผังบริการ 5จีอย่างแน่นอน

+++เอเชีย คึกคักรับเทคโนโลยี 5จี

          แน่นอนว่า ทวีปเอเชีย คืออีกหมุดหมายสำคัญของเทคโนโลยี 5จี ด้วยปัจจัยหนุนทั้งจากขนาดประชากรรวมกันที่เกิดครึ่งหนึ่งของโลก และความ “เอาจริง” ของบรรดาผู้ให้บริการท้องถิ่น (แต่เป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ในระดับโลก)

          ชื่อต้นๆ ที่ต้องพูดถึงเรื่องเทคโนโลยีสื่อสาร คือ เกาหลีใต้ ซึ่งถูกจับตามองว่าจะเห็นความแพร่หลายของโครงข่าย 5จี ได้ตั้งแต่ปี 2562 โดยเอสเค เทเลคอม เริ่มนำร่องการทดสอบบริการแล้วเมื่อปี 2560 และประสบความสำเร็จกับการใช้งานในพื้นที่ทดสอบ K-City ขณะที่คู่แข่งอย่าง โคเรีย เทเลคอม ก็มีความร่วมมือกับอินเทล สำหรับการเปิดโชว์เคส 5จีอย่างยิ่งใหญ่ในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูหนาว 2018 ที่เมืองพย็องชัง

          อีก ตลาดสำคัญของเอเชีย ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และอินเดีย ก็เกาะติดเตรียมโดดเข้าสู่ 5จี อย่างมั่นใจเช่นกัน โดยเฉพาะกระทรวงอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ (MIIT) ของจีน ประกาศชัดว่า พร้อมนำร่องเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ทันทีที่มีการประกาศมาตรฐานแรกออกมา และไชน่า ยูนิคอม ซึ่งเป็นผู้ให้บริการที่ถือหุ้นโดยรัฐบาลจีน ก็เตรียมลุยโครงการนำร่อง 5จี ใน 16 เมืองทั่วประเทศ

          ในเอเชีย ยังมีอีก ประเทศที่เกาะติดเตรียมความพร้อมเพื่อเปิดให้บริการ 3จี ในปี 2563 ได้แก่ อินโดนีเซีย คูเวต และการ์ตา ซึ่งรายหลังนี้เริ่มทำงานในเรื่องนี้มาตั้งแต่ปี 2559 โดยเชื่อว่าผู้ให้บริการรายใหญ่ของที่นี่ Ooredoo จะเป็นรายแรกของโลกที่เปิดให้บริการ 5จี เชิงพาณิชย์

ไทย’ เตรียมทดสอบ 5จี นำร่องอีอีซี ม.เกษตร และสำนักงาน กสทช.

          หันกลับมาดู “สเตตัส” ของประเทศไทยในเรื่องเทคโนโลยี 5จี ตั้งแต่ช่วงครึ่งปีหลังนี้เป็นต้นมาเริ่มเห็นการขยับของเจ้าภาพหลักทั้งในส่วนของนโยบายการขับเคลื่อนและการสนับสนุนอย่าง กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีและส่วนของการกำกับดูแลจัดสรรคลื่นความถี่ อย่างคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

อัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย” ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี)

          โดยเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา “อัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย” ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะทำงานเตรียมการและทดสอบเทคโนโลยี จี ได้มีความเห็นร่วมกันในการตั้งกลุ่มพันธมิตร จี (5G Alliance) ของประเทศไทยแล้ว และเบื้องต้นให้มีการพิจารณาทำการทดสอบ จี ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซีโดยแบ่งเป็น ส่วน คือ 5G Testbed Lab และ 5G Field Trial

          เหตุผลที่เลือกอีอีซี เป็นพื้นที่ในการทดสอบ เพราะเป็นพื้นที่ซึ่งได้รับการออกแบบให้เป็น World-Class Economic Zone รองรับการลงทุนอุตสาหกรรมแห่งอนาคต เหมาะกับการทดสอบการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่นี้ โดยมี Use Cases ที่เป็นไปได้ เช่น สมาร์ทโลจิสติกส์ ท่าเรืออัจฉริยะ และสมาร์ทเฮลธ์แคร์ เป็นต้น

          สำหรับกลุ่ม 5G Alliance จะประกอบด้วยพันธมิตรที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่หน่วยงานกำกับดูแล ผู้ให้บริการโทรคมนาคม ผู้ให้บริการเทคโนโลยี ผู้ให้บริการโซลูชั่น ผู้ใช้บริการในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ สถาบันการศึกษา และสมาคมด้านโทรคมนาคม ซึ่งในส่วนของผู้ให้บริการเทคโนโลยีนั้น ซัพพลายเออร์ระบบโครงข่ายโทรคมนาคมไร้สายระดับโลก และผู้ผลิตชิปเบอร์ ของโลกต่างก็ไม่พลาดโอกาสนี้ ไม่ว่าจะเป็น หัวเว่ย เทคโนโลยี ,อีริคสันควอคอมพ์อินเทลโนเกีย นอกจากนี้ยังมีผู้ประกอบการโทรคมนาคมรายหลักทุกรายของไทย

“พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์” รมว.ดิจิทัลฯ

          และในวันที่ 23 .นี้ “พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์” รมว.ดิจิทัลฯ ก็มีนัดประชุมร่วมกับผู้บริหารมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา ซี่งจะถูกใช้เป็นพื้นที่ในการทดสอบ 5G โดยจะเชิญชวนให้เอกชนนำเข้าอุปกรณ์มาติดตั้งทดสอบการใช้งานในห้องสภาพแวดล้อมที่เป็นปฏิบัติการ (Testbed Lab) ร่วมไปกับการทดสอบแบบสภาพแวดล้อมการใช้บงานจริง (Field Trial) ในพื้นที่อีอีซี

          ส่วนการเตรียมการด้านคลื่นความถี่ กสทชได้จัดเตรียมคลื่นไว้ให้ ย่านความถี่ คือ คลื่นความถี่ 24-29 กิกะเฮิร์ตซ์ ซึ่งช่วงคลื่นดังกล่าวมีการใช้งานของเอกชนอยู่ จะต้องไปดำเนินการเพื่อให้ได้ข้อสรุป และอีกช่วงคลื่น คือ 3.3-4.2 กิกะเฮิร์ตซ์

          ทั้งนี้ ผู้บริหารของสมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย ได้พูดถึงงบประมาณในการทดสอบ 5จี ของประเทศไทยว่า กระทรวงดีอีได้ขออนุมัติงบประมาณจากรัฐบาลจำนวน 350 ล้านบาท โดยเป็นงบผูกพัน ระยะแรกได้งบประมาณ 130 ล้านบาท ซึ่งถือว่าค่อนข้างน้อยถ้าเทียบกับของประเทศอื่นๆ

          นอกเหนือจากการทดสอบ 5จี ซึ่งมีกระทรวงดีอี เป็นเจ้ภาพแล้ว ในส่วนของ กสทชก็ไม่ปล่อยมือจากโอกาสนี้เช่นกัน โดยก่อนหน้านี้ได้ร่วมลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนงร่วมกัน หรือ LoI (Letter of Intent)

          กับองค์กร The Fifth Generation Mobile Communication Promotion Forum (5GMF) แห่งประเทศญี่ปุ่น เพื่อสร้างความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนแนวทางในการสนับสนุนให้เกิดการใช้งานเทคโนโลยีสื่อสาร 5จี ของทั้ง ประเทศ

          สำหรับศูนย์ทดสอบ 5จี ของ กสทชจะปรับปรุงพื้นที่กว่า 400 ตารางเมตร ของสำนักงาน กสทชพหลโยธิน ซอย เพื่อทำโครงการ NBTC FIRST จากการให้ความร่วมมือของผู้ผลิตอุปกรณ์ โดยจะนำคลื่นความถี่ย่าน 3.5 และ 28 กิกะเฮิรตซ์ มาทดลองใช้ภายในพื้นที่สำนักงานเป็นที่แรก

ไร่กาแฟออร์แกนิกส์+ไอที@บ้านขุนลาว

ศาสตร์เกษตรดินปุ๋ย : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์คมชัดลึก

http://www.komchadluek.net/news/lifestyle/351801

ไร่กาแฟออร์แกนิกส์+ไอที@บ้านขุนลาว

วันที่ 11 พฤศจิกายน 2561 – 12:47 น.
กาแฟ,เทคโนโลยี,กาแฟออร์แกนิก
เปิดอ่าน 1,519 ครั้ง

กิจการของวิสาหกิจชุมขนชุมชนกาแฟอินทรีย์รักษาป่า ได้มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนาระบบการผลิต ส่งเสริมความยั่งยืนและสร้างความมีส่วนร่วมของชุมชนร่วมกัน

ห่างไกลจากตัวอำเภอเมืองเชียงรายมากกว่า 100 กิโลเมตร ลึกเข้าไปในหุบเขาอุทยานแห่งชาติขุนแจ ตำบลแม่เจดีย์ใหม่ อำเภอเวียงป่าเป้า มีหมู่บ้านเล็กๆ ขนาด 321 ครัวเรือน ชื่อว่า “บ้านขุนลาว” ซึ่งเป็นหนึ่งในจุดปักหมุดในการลงพื้นที่ของเจ้ากระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ก่อนการเข้าร่วมประชุม ครม. สัญจรครั้งล่าสุด ณ จังหวัดเชียงราย เมื่อปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา

          หนึ่งในเหตุผลที่ ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รมว. กระทรวงดิจิทัลฯ เลือกหมู่บ้านขุนลาว ไว้ในแผนการเดินทางตรวจราชการครั้งนี้ ก็คือ เป็นพื้นที่ซึ่งมีการติดตั้งโครงการเน็ตประชารัฐ เพื่อลดช่องว่างในการเข้าถึงดิจิทัลให้กับคนในพื้นที่ห่างไกล ที่สำคัญยังมองถึงโอกาสที่โครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงจะถูกนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ กับกิจการของวิสาหกิจชุมขนชุมชนกาแฟอินทรีย์รักษาป่า ซึ่งได้มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนาระบบการผลิต ส่งเสริมความยั่งยืนและสร้างความมีส่วนร่วมของชุมชนร่วมกันอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ

          การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในโครงการนี้ สอดคล้องกับแนวทางการขับเคลื่อนของรัฐบาลในการสร้างความตระหนักให้เกิดการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญในการปฏิรูปประเทศไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน ซึ่งหนึ่งในยุทธศาสตร์หลักของกระทรวงดิจิทัลฯ คือ การสร้างสังคมคุณภาพที่ทั่วถึงและเท่าเทียมด้วยเทคโนโลยี เพื่อประชาชนทุกกลุ่มจะสามารถได้รับโอกาสเท่าเทียมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเกษตรกร ผู้ที่อยู่ในชุมชนห่างไกล ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาสและคนพิการ โดยเพิ่มความเข้าใจและมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้เกิดประโยชน์อย่างสร้างสรรค์

          “อภิรุณ คำปิ่นคำ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 7 ซึ่งก่อนหน้านี้เป็นที่รู้จักของนักเดินทางที่ตามรอยกาแฟออร์แกนิก ซึ่งได้รับรางวัลการันตีว่าเป็นกาแฟ อินทรีย์ชนะเลิศระดับประเทศ ประจำปี 2556/2557 เข้าไปถึงร้านกาแฟ Mivana Organic Forest Coffee กลางหุบเขา ว่าเป็นบาริสต้า อันดับ 1 ของชมรมกาแฟบ้านขุนลาว บอกว่า ปัจจุบันวิสาหกิจชุมชนกาแฟอินทรีย์รักษาป่า มีพื้นที่ปลูกกาแฟอินทรีย์ทั้งหมด 9,141 ไร่ มีสมาชิกในส่วนของหมู่ที่ 7 เข้าร่วมแล้ว 43 ครัวเรือน จาก 176 ครัวเรือน ที่ผ่านมามีผลผลิตกาแฟรวมกันสูงถึง 40 ตันกะลา และร่วมกันดูแลผืนป่าในสวนกาแฟราว 1,200 ไร่ ซึ่งถือเป็นป่าต้นแม่น้ำ 3 สาย

+++เติมเทคโนโลยีใส่แก้วกาแฟ(ป่า)

          วิสาหกิจชุมชนกาแฟอินทรีย์รักษาป่า ได้รับความสนับสนุนแอพพลิเคชั่นการตรวจรับรองมาตรฐานภายใน Internal Control System (ICS) บนแพลตฟอร์มคลาวด์ “ไมโครซอฟท์ อาซัวร์” จากบริษัทไมโครซอฟท์ และบีทามส์ โซลูชั่น ช่วยพนักงานประหยัดระยะเวลา และขั้นตอนในการตรวจรับรองมาตรฐานอินทรีย์ของกระบวนการและผลผลิตกาแฟลงอย่างมาก เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการระบบการตรวจสอบ

          โอม ศิวะดิตถ์ ผู้บริหารด้านนโยบายภาครัฐ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด เล่าถึงการเข้ามาร่วมสนับสนุนโครงการกาแฟอินทรีย์รักษาป่าของบ้านขุนลาวว่า เมื่อปลายปี 2559-2560 ไมโครซอฟท์มีไอเดียโครงการ “คลาวด์สาธารณะเพื่อประโยชน์สาธารณะ (Public Cloud for Public Good)” จึงคุยกับบริษัท บีทามส์ โซลูชั่นส์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่มีการทำงานซีเอสอาร์อยู่แล้ว และทราบว่าได้คุยกับมูลนิธิสายใยแผ่นดินเรื่องออร์แกนิกอยู่ เพราะจะทำให้ชาวบ้านมีรายได้สูงขึ้น 15% เมื่อเทียบกับราคารับซื้อกาแฟทั่วไป

          อีกทั้งโครงการนี้ยังมีการผันเงินบางส่วน ให้กับกลุ่มสมาชิกเพื่อพัฒนาชุมชน และสร้างประโยชน์อื่นๆ ตามมา ได้แก่ ด้านสุขภาพ ป่าต้นน้ำ ระบบนิเวศน์ เห็นได้ชัดที่บ้านขุนลาว ก็คือ ปลาบู่ทราย ซึ่งเป็นปลาพื้นถิ่นและหายากกลับคืนมา หลังชาวบ้านที่นี่ร่วมกันปลูกกาแฟวิถีธรรมชาติ

          โดยไมโครซอฟท์ เข้ามาสนับสนุนระบบคลาวด์ อาซัวร์ และแท็บเล็ต Surface Pro สำหรับเจ้าหน้าที่ซึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพของแปลงกาแฟสมาชิกวิสาหกิจ ให้ได้ครบถ้วนตามมาตรฐานที่กำหนดในการรับซื้อกาแฟออร์แกนิก กระบวนการจัดเก็บข้อมูลทั้งหมดทำเป็นแอพพลิเคชั่น ข้อมูลทั้งหมดวิ่งขึ้นไปบนคลาวด์

          “แอพฯ ใช้งานได้ทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ เน็ตประชารัฐเข้ามาช่วยตรงนี้ได้ เพราะถ้ามีอินเทอร์เน็ตทั่วถึง ก็จะทำให้ที่ทำงานแบบออฟไลน์ สามารถส่งต่อไปที่ระบบส่วนกลางได้รวดเร็วขึ้น ผู้บริหารองค์กรมี dashboard ดูข้อมูลอายุและจำนวนต้นกาแฟในแต่ละแปลงของสมาชิก ก็จะสามารถประเมินผลผลิตได้

          นายสุชาติ อิ่มบัญชร ซีอีโอ บริษัท บีทามส์ โซลูชั่นส์ จำกัด กล่าวว่า โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของการทำซีเอสอาร์ของบริษัทตามแนวคิดที่ต้องการ “สร้างโอกาสให้กับคนชายขอบ” โดยเข้ามาสนับสนุนการพัฒนา ออกแบบ และติดตั้งแอพพลิเคชั่น Internal Control System (CIS) หรือการตรวจรับรองมาตรฐานภายในแบบครบวงจร รวมถึงการปรับปรุงและบำรุงรักษาระบบ

          แอพพลิเคชั่น ICS ถูกออกแบบมาให้ใช้งานได้ทั้งแบบออฟไลน์ซึ่งข้อมูลจะถูกเก็บไว้ในมือถือสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต และเมื่อออนไลน์ข้อมูลจะถูกส่งไปเก็บบนคลาวด์ การนำเทคโนโลยีมาใช้ในครั้งนี้ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและลดการใช้กระดาษ ในกระบวนการผลิตกาแฟตามมาตรฐาน IFOAM ซึ่งเป็นระบบที่พัฒนาขึ้นโดยสหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (International Federation of Organic Agriculture Movements – IFOAM) ซึ่งจะทำการตรวจสอบย้อนกลับครอบคลุมตั้งแต่แปลงกาแฟอินทรีย์ จนไปสิ้นสุดที่กระบวนการบรรจุภัณฑ์ จากความสำเร็จลดจำนวนเอกสารจาก 43 เอกสารเหลือ 22 เอกสาร และลดเวลาจาก 5 วันเหลือ 74 นาที

          “โครงการนี้คือหนี่งในไฮไลท์ของการตอกย้ำบทบาทสำคัญของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ที่สามารถสัมผัสได้จริงในพื้นที่ด้วยคนในพื้นที่จริงๆ และเป็นส่วนผสมที่ลงตัวระหว่างประชาชนกับดิจิทัล ในวิถีไทย ซึ่งครอบคลุมทั้งอัตลักษณ์ และการเกษตร”

+++กาแฟเปลี่ยนโลก (ให้ดีกว่าเดิม)

          เดิมชาวบ้านส่วนใหญ่ของบ้านขุนลาว มีอาชีพหลักคือทำเกษตรไร่ชาอัสสัม สำหรับทำเมี่ยงอาหารกินเล่น พื้นถิ่นของภาคเหนือ แต่หลังจากมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในกระบวนการตรวจสอบคุณภาพกาแฟออร์แกนิก ซึ่งเป็นผลผลิตการเกษตรที่มีส่วนสำคัญในการร่วมรักษาพื้นที่ป่า อีกทั้งมีราคาสูง และการปลูกไม่ยุ่งยาก ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนมาปลูกกาแฟเป็นหลัก

          เพราะหนึ่งในคุณลักษณะสำคัญของกาแฟออร์แกนิก นอกเหนือจากการปลอดสารเคมีในทุกระบวนการแล้ว ก็คือ ต้องเป็นกาแฟที่ปลูกใต้ร่มไม้ และเสริมความหลากหลายด้วยการปลูกพืชชนิดอื่นๆ แซมไว้ในไร่กาแฟ โดยมีข้อตกลงร่วมกันว่า สมาชิกวิสาหกิจชุมขนชุมชนกาแฟอินทรีย์รักษาป่าบ้านขุนลาว ต้องปลูกพืชเศรษฐกิจอื่นๆ 50 ต้น / พื้นที่ปลูกกาแฟ 1 ไร่ เพื่อเพิ่มความหลากหลาย

          โครงการนี้ ได้ดำเนินการผลิตกาแฟอาราบิก้าด้วยระบบวนเกษตรอินทรีย์ เพื่อรักษาผืนป่าต้นน้ำและสิ่งแวดล้อม สร้างความยั่งยืนของชุมชนเกษตรกรในพื้นที่ป่าต้นน้ำ และในภาพรวมทั้งโครงการครอบคลุมทุกหมู่บ้านมีเกษตรกรเข้าร่วมแล้วใม่น้อยกว่า 350 ครอบครัว ใน 9 หมู่บ้าน ช่วยอนุรักษ์และฟื้นฟูป่ากว่า 8,000 ไร่ ใน 3 ป่าต้นน้ำของอุทยานขุนแจและลำน้ำกก โดยมีเป้าหมายขยายพื้นที่ให้ได้ 20,000 ไร่ ภายในปี 2568

เปิด 10 เทรนด์เทคโนโลยียุทธศาสตร์ปี 2019

ศาสตร์เกษตรดินปุ๋ย : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์คมชัดลึก

http://www.komchadluek.net/news/lifestyle/350894

เปิด 10 เทรนด์เทคโนโลยียุทธศาสตร์ปี  2019

วันที่ 4 พฤศจิกายน 2561 – 17:00 น.
การ์ทเนอร์,10 แนวโน้มเทคโนโลยีมาแรงปี 2019,Top 10 Strategic Technology Trends For 2019,IoT,เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์,สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย,ดรธนารักษ์ ธีระมั่นคง
เปิดอ่าน 2,994 ครั้ง

หลังปี 2021 บทบาทของเอไอ จะเปลี่ยนมาสู่การเป็นเครื่องมือสร้างรายได้ใหม่ จากการเพิ่มยอดขายของบริการที่มีอยู่เดิม  และสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ

เวียนกลับอีกครั้ง สำหรับคาดการณ์แนวโน้มเทคโนโลยีสำหรับปีต่อไปซึ่งคนทั่วโลกเฝ้ารอคอยจากบริษัทวิจัยการตลาดไอทีระดับโลก “การ์ทเนอร์” กับรายงาน 10 แนวโน้มเทคโนโลยีมาแรงสำหรับปี 2019 หรือ  Top 10 Strategic Technology Trends For 2019 จากเวทีงานประชุมใหญ่ประจำปีของการ์ทเนอร์ ที่จัดเป็นประจำในช่วงเดือนตุลาคม

          ความโดดเด่นของคาดการณ์แนวโน้มในรายงานฉบับนี้ ก็คือ การ์ทเนอร์  ทุกเทคโนโลยีที่ถูกนำมาระบุถึงต้องสามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือ “เชิงกลยุทธ์” เพิ่มศักยภาพให้กับการทำธุรกิจได้อย่างยาวนานต่อไปอีกไม่ต่ำกว่า ปี  สำหรับแนวโน้ม 10 เทคโนโลยีเชิงกลยุทธ์ที่จะเกิดขึ้นในปีหน้า มีดังนี้

อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่งทำงานร่วมกัน (Autonomous Things)

แนวโน้มที่เริ่มเป็นจริงแล้วจากความสามารถและความแพร่หลายของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือเอไอ (Artificial Intelligence : AI) ช่วยให้อุปกรณ์อัจฉริยะต่างๆ ที่เป็น Internet of Things (IoT) สามารถเชื่อมโยงถึงกันและทำงานร่วมกันเป็นเครือข่ายในวงกว้างได้ นอกจากนี้  เอไอ ยังเพิ่มมันสมองให้กับสิ่งของอัจฉริยะต่างๆ อย่างเช่น หุ่นยนต์  เครื่องบินไร้คนขับ (โดรน) และยานพาหนะไร้คนขับ ให้สามารถสื่อสารและมีปฏิกริ ยาโต้ตอบกับคน รวมถึงสภาพแวดล้อมรอบข้างได้อย่างเป็นธรรมชาติมากยิ่งขึ้น

การวิเคราะห์ข้อมูลโดยปัญญาประดิษฐ์ (Augmented Analytics)

การใช้ปัญญาประดิษฐ์มาช่วยวิเคราะห์ข้อมูลจะเป็นที่นิยมมากขึ้น ใช้เครื่องจักรในการเรียนรู้และแปลงข้อมูลที่มีการสร้างขึ้นในที่ต่างๆ หรือมีการแชร์กันโดยอัตโนมัติ มาสู่เครื่องมือเพื่อช่วยในการตัดสินใจขององค์กร และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานให้ใช้ประโยชน์ได้สูงสุด โดยข้อมูลเหล่านั้น ไม่จำเป็นต้องให้ผู้เชี่ยวชาญด้านข้อมูล อย่างนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล และนักวิเคราะห์ทำให้ หรือพูดได้ว่าต่อไปนี้ทุกคนสามารถเป็นนักวิทยาศาสตร์ได้ โดยการ์ทเนอร์ทำนายเอาไว้ว่าภายในปี 2020 จะมีคนกลุ่มนี้ที่เรียกว่า Citizen Data Scientist  จำนวนเพิ่มขึ้ถึง 5 เท่า

การพัฒนาที่ขับเคลื่อนด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AI-Driven Development)

องค์กรมีความต้องการใช้ประโยชน์จากเครื่องมือทางธุรกิจและเทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนด้วยเอไอ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งรวมถึงเทคโนโลยีที่ยังอยู่ระหว่างการพัฒนา การพัฒนาเครื่องมือที่ใช้งานง่าย และทำให้นักพัฒนาแอพพลิเคชั่น สามารถนำเอไอ ไปเสริมในแอพพลิเคชั่นของตนได้  ซี่งความต้องการในส่วนนี้จะมากกว่าส่วนที่มาจากนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลซะอีก ทั้งนี้ การ์ทเนอร์ คาดการณ์ไว้ว่า ภายในปี 2020 จะมีโครงการพัฒนาแอพพิลเคชั่นใหม่ๆ ราว 40% จะต้องมีนักพัฒนาร่วมด้านเอไอ (AI co-developers) ร่วมทีมอยู่ด้วย

ดิจิทัล ทวิน (Digital Twins)

เว็บไซต์ www.techtalkthai.com ให้คำนิยามภาษาไทยของ Digital Twin ไว้อย่างเข้าใจง่ายว่า คือการนำข้อมูลจากวัถตุหรือระบบในโลกจริงไปนำเสนอแบบครบถ้วนทุกมิติในโลกดิจิทัล แนวโน้มนี้เกิดขึ้นมาระยะเวลาหนึ่งแล้ว และยังมีแนวโน้มได้รับความนิยมมากขึ้นตามความเฟื่องฟูของ IoT  โดยเฉพาะการนำไปใช้ประโยชน์สำหรับองค์กรธุรกิจต่างๆ เพื่อให้สามารถส่งมอบ “คุณค่า” ที่ลูกค้าต้องการได้อย่างรวดเร็ว โดยมีผลสำรวจจากการ์ทเนอร์ ระบุว่า เกือบครึ่งขององค์กรที่มีการนำ IoT เข้ามาใช้ในปีนี้ มีแผนจะติดตั้งเทคโนโลยีดิจิทัลทวินเข้าไปด้วย  และมีประมาณการณ์ว่าตัวเลขนี้จะเพิ่มขึ้นอีก 3 เท่า ภายในปี 2020

เอดจ์คอมพิวติ้งจะเก่งขึ้น (Empowered Edge)

ระบบคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า Edge computing ซึ่งช่วยให้การประมวลผลข้อมูล การจัดเก็บข้อมูล และการส่งคอนเทนท์ เข้าไปใกล้จุดต้นทาง หรือพื้นที่จัดเก็บข้อมูลทำได้รวดเร็วขึ้นได้มากยิ่งขึ้น  การ์ทเนอร์ มองว่าในอีก 5 ปีข้างหน้า เอดจ์ คอมพิวติ้ง  จะถูกขับเคลื่อนการทำงานด้วย IoT และมีความสามารถล้ำหน้ายิ่งขึ้น ด้วยการติดตั้งอุปกรณ์อัจฉริยะเข้าไป ได้แก่ ชิปเอไอที่ได้รับการออกแบบเฉพาะ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลรุ่นใหม่ และการประมวลผลด้วยเทคโนโลยี 5จี เป็นต้น

ประสบการณ์จากโลกดิจิทัล (Immersive Experience)

แนวโน้มความแรงของเทคโนโลยีนี้ จะหนุนเสริมกับทิศทางการตลาดยุคใหม่ ที่พร้อมสร้างประสบการณ์ให้กับลูกค้าได้ครบทุกมิติ ไม่ว่าจะในโลกจริง หรือบนโลกดิจิทัล  การสร้างประสบการณ์ที่เรียกว่า immersive experience ก็คือ การขนเอาทุกวิธีการและกลยุทธ์ที่จะลบหรือเบลอภาพเทคโนโลยี ไม่ให้มากั้นขวางโลกจริงกับโลกดิจิทัลออกจากกัน เทคโนโลยีของแพลตฟอร์มการสนทนา อย่างเช่น แชทบอท จะเข้ามาเปลี่ยนวิธีการที่มนุษย์โต้ตอบกับโลกดิจิทัล ไปสู่รูปแบบใหม่ ได้แก่ เทคโนโลยีเสมือนจริง (Virtual Reality)  การรวมสภาพแวดล้อมจริงกับภาพเสมือน 3 เข้าด้วยกันให้ผู้ใช้มองผ่านกล้อง (Augmented Reality)  หรือการแสดงภาพ 3 มิติได้ในพื้นที่จริง (Mixed Reality)  เหล่านี้จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการรับรู้ต่อโลกดิจิทัลของคน  ทำให้เกิดวิธีการสื่อสารและโต้ตอบรูปแบบใหม่ระหว่างผู้ใช้งานกับเทคโนโลยี

บล็อกเชน (Blockchain)

บล็อกเชน ได้รับความเชื่อมั่นใน “คำมั่น” ที่ว่าจะเข้ามาเปลี่ยนโฉมอุตสาหกรรม ด้วยจุดแข็งเรื่องความน่าเชื่อถือของการรวมศูนย์  ทำให้เกิดความโปร่งใส และลดอุปสรรคในระบบนิเวศน์ทางธุรกิจ ผู้บริหารระดับสูงด้านข้อมูลสารสนเทศ (CIO) หลายคน เริ่มมองบล็อกเชน และประเมินถึงศักยภาพ ปัจจุบันมีบริษัทขนาดใหญ่บางราย เดินหน้าโครงการนำร่องเกี่ยวกับบล็อกเชนแล้ว  ไม่ว่าจะเป็นยักษ์ใหญ่วงการค้าปลีกอย่างวอล์มาท หรือบริษัทเดินเรือขนส่งสินค้าระดับโลกอย่าง Maersk

พื้นที่อัจฉริยะ (Smart Spaces)

การ์ทเนอร์ ให้คำจำกัดความของ พื้นที่อัจฉริยะ ไว้ว่า คือสภาพแวดล้อมทางกายภาพหรือดิจิทัล ซึ่งมนุษย์และเทคโนโลยี สามารถมีปฏิสัมพันธ์กันได้มากขึ้น ด้วยเทคโนโลยีแบบเปิด การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต การทำงานร่วมกัน และระบบนิเวศน์อัจฉริยะ แนวโน้มการเติบโตของ “พื้นที่อัจฉริยะ” เห็นได้ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ผ่านเทคโนโลยีสมาร์ทซิตี้ ห้องทำงานดิจิทัล สมาร์ทโฮม และโรงงาน โรงงานที่เป็นการเชื่อมโยงระหว่างเครื่องจักร เซ็นเซอร์ และซอฟต์แวร์ เป็นต้น (Connected Factory)

ความเป็นส่วนตัวและจริยธรรมบนโลกดิจิทัล

ยิ่งโลกเคลื่อนเข้าไปสู่ความเป็นดิจิทัลมากเท่าไร ประเด็นความกังวลเกี่ยวกับจริยธรรมและความเป็นส่วนตัว ก็ยิ่งเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ทั้งในระดับตัวบุคคล องค์กร และรัฐบาล ทั้งนี้ การ์ทเนอร์ คาดการณ์ว่า ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าจะเห็นความสำคัญเพิ่มขึ้นในเรื่องของ ระเบียบกฎเกณฑ์ต่างๆ การบรรเทาความเสี่ยง  และค่านิยม

ควอนตัม คอมพิวติ้ง (Quantum Computing)

การทำงานของควอนตัม คอมพิวติ้ง คือการนำคุณสมบัติของ ‘”อะตอม” มาใช้ในการประมวลผล  เพิ่มความรวดเร็วกว่าคอมพิวเตอร์ทั่วไปมหาศาล และอีกมุมหนึ่งก็คือ เท่ากับการมีสมองที่ทำงานได้เร็วขึ้น ทำให้คอมพิวเตอร์เรียนรู้ได้ไวขึ้น หรือพูดได้ว่าปัญญาประดิษฐ์จะฉลาดล้ำอย่างก้าวกระโดด

นักพัฒนาสามารถสร้างและทำให้แอพพลิเคชั่นต่างๆ ของควอดตัมผ่านคลาวด์ ผู้บริหารระดับ CIO  ของหลายองค์กร จึงกำลังเกาะติดเทคโนโลยีนี้อย่างใกล้ชิด จึงเชื่อว่าน่าจะเห็นการใช้ประโยชน์ที่เป็นรูปธรรมได้ในราวปี 2022 หรือ 2023

โลกยุคใหม่หมุนรอบ “เอไอ

ข้อสังเกตที่เห็นชัดเจนขึ้นเกี่ยวกับแนวโน้มเทคโนโลยีมาแรงสำหรับปีหน้า ก็คือ หลายเทคโนโลยี  “มาแรงขึ้น” และ “มีความสามารถสูงขึ้น”ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ (เอไอ) ซึ่งเปรียบเสมือนมันสมองที่แฝงตัวอยู่อย่างเงียบๆ และมีคุณค่า

การ์ทเนอร์ จัดทำรายงานขนาดของตลาดเอไอในภาพรวมทั่วโลก ระบุว่า จะมีมูลค่าทางธุรกิจจะเติบโตจาก 1.2ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐปีนี้ ไปแตะหลัก 3.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2022

จอห์น-เดวิด เลิฟล็อค รองประธานฝ่ายวิจัย ของการ์ทเนอร์ บอกว่า เอไอ จะยังคงครองตำแหน่งเป็นเทคโนโลยีที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ (disruptive technology) ต่อเนื่องไปอีกไม่ต่ำกว่า 10 ปี เพราะอานิสงค์จากพลังการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ บิ๊กดาต้าที่ขยายตัวไม่หยุดทั้งในแง่ ปริมาณข้อมูล (volume),  ข้อมูลที่มีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว (velocity) และข้อมูลมีความหลากหลาย อีกทั้งยังได้แรงหนุนจากความก้าวหน้าของโครงข่ายประสาทสำหรับการเรียนรู้เชิงลึก  (Deep Neural Networks : DNNs)

โดยในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า บทบาทสำคัญในเบื้องต้นของเอไอ จะเป็นงานเกี่ยวกับการสร้างประสบการณ์ลูกค้า โดยเฉพาะการพัฒนาด้านการมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า รวมถึงการช่วยลดต้นทุนผ่านการเพิ่มประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม หลังปี 2021 บทบาทของเอไอ จะเปลี่ยนมาสู่การเป็นเครื่องมือสร้างรายได้ใหม่ จากการเพิ่มยอดขายของบริการที่มีอยู่เดิม  และสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาด

สมาคมปัญญาประดิษฐ์ MOU สถาบันการศึกษา แห่ง

          ศ.ดรธนารักษ์ ธีระมั่นคง สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย (เอไอเอที) กล่าวว่า สมาคมฯ ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกัน (เอ็มโอยู) ระหว่างสมาคมปัญญาประดิษฐ์ กับสถาบันการศึกษา 4 แห่ง ซึ่งมีมุมมองไปในทิศทางเดียวกันในเรื่องการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ของประเทศไทย

ทั้งนี้ นับเป็นก้าวแรกของการผนึกความร่วมมือสนับสนุน และส่งเสริมกิจกรรมสร้างความรู้และสร้างเทคโนโลยีด้านปัญญาประดิษฐ์ ให้เผยแพร่ในวงกว้าง นำไปสู่การทำงานด้านการวิจัยและพัฒนา ที่มีประโยชน์ต่อประเทศชาติ

          โดยสถาบันการศึกษาทั้ง แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง มหาวิทยาลัยบูรพาวิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และวิทยาลัยนวัตกรรมดิจิทัลและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยรังสิต ยังมีความตกลงกับสมาคมฯ เรื่องการจัดทำหนังสือตำราเรียนด้านปัญญาประดิษฐ์ฉบับมัธยมปลายและบุคคลทั่วไปร่วมกัน

“พ.ร.บ.ไซเบอร์ฯ” อีกมุมที่ทุกคนต้องรู้

ศาสตร์เกษตรดินปุ๋ย : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์คมชัดลึก

http://www.komchadluek.net/news/lifestyle/349750

“พ.ร.บ.ไซเบอร์ฯ” อีกมุมที่ทุกคนต้องรู้

วันที่ 27 ตุลาคม 2561 – 08:00 น.
กฎหมาย,รายงานพรบไซเบอร์,พรบไซเบอร์
เปิดอ่าน 2,045 ครั้ง

รัฐบาลได้รับรายงานเกี่ยวกับอาชญากรรมทางไซเบอร์ประมาณ 10,000 กรณีในแต่ละปี ครอบคลุมหลักๆ ได้แก่ การฟอกเงิน การพนันออนไลน์

ต่อเนื่องมาข้ามสัปดาห์ กับ ข่าวร่าง พ..ว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ซึ่งเผชิญพายุซัดจากเสียงต้านที่มุ่งโจมตี “จุดอ่อน” ในบางมาตรา จนทำให้ “สาระ” ของความสำคัญและความจำเป็นของกฎหมายด้านนี้ สำหรับทุกประเทศที่อยู่บนแผนที่โลกในยุคดิจิทัล ซึ่งความเสี่ยงภัยสามารถเข้ามาประชิดคนในทุกระดับได้แค่ปลายนิ้ว และในเสี้ยววินาที เพราะแม้กระทั่งรายงานจากเจมัลโต้ เมื่อไม่นานนี้ก็ระบุไว้ชัดเจนว่าทุกๆ วินาทีจะมีการเจาะข้อมูลของชาวโซเชียลมากถึง 291 รายการ ขณะที่ ผลการศึกษาที่ไมโครซอฟท์ ร่วมจัดทำกับบริษัท ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน ก็สะท้อนความเสียหายอีกมุมที่น้อยคนจะคาดถึงของภัยไซเบอร์ว่า “ทำให้คนตกงานเพิ่มขึ้น”

เว็บไซต์ http://www.welivesecurity.com เคยเผยแพร่รายงานเรื่อง “ความท้าทายและความซับซ้อนของการออกกฎหมายด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Challenges and implications of cybersecurity legislation)” ที่สะท้อนชัดถึงบริบทของเส้นทางวิบากที่หลายประเทศต้องเผชิญกว่าจะถึงวันทำคลอด พ..ไซเบอร์ฯ ออกมาใช้งาน

สถานการณ์ความจำเป็นของ กฎหมายไซเบอร์ ก็เนื่องมาจากทุกวันนี้ เทคโนโลยีได้สร้างผลกระทบไปในทุกมิติ และทุกระดับของสังคมมากขึ้นเรื่อยๆ การทำกิจกรรมต่างๆ เกิดขึ้นผ่านมือถือ เครือข่ายออนไลน์ นำไปสู่ยุคที่มนุษย์ติดต่อเชื่อมโยงกันผ่านอินเทอร์เน็ตอยู่ตลอดเวลา (Hyperconnectivity) เป็นปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงภัยทางไซเบอร์ในอัตราสูงขึ้นๆ ทำให้มีความจำเป็นที่ต้องมีสร้างความคุ้มครองปกป้องข้อมูลจากความเสี่ยงภัยทางไซเบอร์

อีกปัจจัยที่ทำให้ภัยคุกคามทางไซเบอร์เข้าถึงคนในวงกว้าง และครอบคลุมทุกระดับของสังคมรวดเร็วขึ้ย เป็นผลจากการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ใช้ง่ายและมีราคาถูก ทำให้คนทั่วโลกสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างไร้ขีดจำกัด สร้างผลกระทบที่อาจถึงขั้นร้ายแรง เช่น การรั่วไหลของข้อมูลที่สำคัญ หรือข้อมูลที่มีชั้นความลับอันอาจส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และความมั่นคงของชาติ

 

กรณีศึกษาจากสหรัฐ รัฐเอกชนแบ่งปันข้อมูล

ปัจจุบัน สหรัฐอเมริกา ประเทศที่เรียกได้ว่าเปิดกว้างและสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีในการสื่อสารแบบสุดๆ ยังต้องมีการออกกฎหมายในชื่อ Cyber Security Act 2015 ตั้งแต่ปลายปี 2558 ออกมารับมือภัยเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นทางไซเบอร์ โดยรวางแนวทางและมาตรการ ที่เรียกว่า Cybersecurity National Action Plan (CNAP) ไว้อย่างครอบคลุม ไม่ว่า จะเป็นการสร้างความตระหนัก การคุ้มครองข้อมูลปัจเจกบุคคล และความปลอดภัยทางสังคม จุดเด่นของกฎหมายฉบับนี้คือ สร้างความมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐและเอกชนในการแลกเปลี่ยนข้อมูล เพื่อให้สามารถ “รับมือ” ภัยคุกคามได้อย่างทันการณ์

กลไกหนึ่งที่เป็นทางเลือกสำคัญในการเพิ่ม ความปลอดภัย คือ การใช้ การตรวจสอบข้อมูลส่วนตัวแบบซับซ้อน (multi-factor authentication) ซึ่งเป็นมาตราการทั้ง แบบเทคโนโลยี และการตรวจสอบโดยการซักถามจากผู้ให้บริการ ดำเนินการควบคู่กับสร้างให้ประชาชนมีสำนึกถึงความปลอดภัยในการยอมให้มีตรวจสอบข้อมูล โดยการถาม การกรอก ให้มากขึ้น โดยไม่เคืองผู้ให้บริการ

ระบบนี้ ได้มีการสร้างเครือข่ายพันธมิตรร่วมปฏิบัติการ (National Cyber Security Alliance) ซึ่งล้วนแต่เป็นยักษ์ใหญ่ในโลกออนไลน์และโซเชียล ได้แก่ กูเกิล เฟซบุ๊ก ดรอปบ็อกซ์ และไมโครซอฟท์ รวมทั้ง บริษัทที่ให้บริการทางการเงิน ได้แก่ มาสเตอร์การ์ด วีซ่า เพย์พาล และเวนโม (Venmo)

เมื่อปี 2560 ยังมีการระดมงบประมาณกว่า 19,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อกิจการด้านความ ปลอดภัยทางไซเบอร์ เพิ่มเติม รับมือความรุนแรงของอาชญากรรมทางไซบอร์ซึ่งสูงขึ้นต่อเนื่อง เช่น การล้วงข้อมูลของ Yahoo และ Equifax การแพร่ระบาดของไวรัส WannaCry ที่อาละวาดแพร่กระจายไปไม่ต่ำกว่า 90 ประเทศทั่วโลก

 

กฎหมายเก่าไม่ทันเกมวายร้ายไซเบอร์

          เมื่อกลางปี 2560 บริษัทกฎมายระดับโลก เบเคอร์แอนด์แมคเคนซี่ ออกรายงานถึงสถานการณ์ความมั่นคงไซเบอร์ของมาเลเซียว่า การที่ยังไม่มีกฎหมายด้านความมั่นคงไซเบอร์ แม้จะมีความพยายามผลักดันก่อนหน้านี้ ทำให้คณะกรรมการเตรียมความพร้อมด้านไซเบอร์แห่งชาติ (National Cyber Security Agency : NCSA) ที่จัดตั้งขึ้นมารับผิดชอบด้านนี้โดยตรง ต้องไปใช้กฎหมายเดิมที่เกี่ยวข้อง อย่างเช่น พ..การสื่อสารและมัลติมีเดีย ค..1998 กฎหมายหมิ่นประมาท ค.. 1957 และกฎหมายยุยงการปลุกปั่น ค.. 1948 เพื่อต่อสู้กับภัยคุกคามทางไซเบอร์ ซึ่งนับว่าไม่เพียงพออย่างยิ่ง เพราะล้วนเป็นกฎหมายที่ล้าหลัง และตามไม่ทันความก้าวหน้าของเทคโนโลยีใหม่

          ขณะที่ รัฐบาลมาเลเซียเองก็ต้องทำงานอย่างหนักเพื่อรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์ โดยเปิดเผยว่ารัฐบาลได้รับรายงานเกี่ยวกับอาชญากรรมทางไซเบอร์ประมาณ 10,000 กรณีในแต่ละปี ครอบคลุมหลักๆ ได้แก่ การฟอกเงิน การพนันออนไลน์ การระดมเงินทุนสนับสนุนของกลุ่มก่อการร้าย เป็นต้น และเมื่อราวกลางปีที่ผ่านมา ไมโครซอฟท์ เปิดเผยรายงานวิจัย “ภาพรวมภัยคุกคามทางไซเบอร์ในเอเชีย แปซิฟิกการปกป้ององค์กรในโลกยุคดิจิทัล” ซึ่งจัดทำร่วมกับบริษัท ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน ว่าภัยไซเบอร์ สร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจให้กับมาเลเซีย 12.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 4% ของจีดีพี และนำไปสู่การตกงานในอัตรา ต่อ 5

          รายงานฉบับเดียวกันนี้ ยังเปิดเผยความเสียหายทางเศรษฐกิจในประเทศไทย ที่เป็นผลกระทบมาจากความปลอดภัยทางไซเบอร์ว่า สามารถส่งผลถึง 2.86 แสนล้านบาท หรือเท่ากับ 2.2 % ของจีดีพีประเทศ ซึ่งคิดเป็นมูลค่า 14,360 ล้านล้านบาท

          อีกทั้งพบว่า องค์กรขนาดใหญ่แต่ละแห่งในประเทศไทยอาจเผชิญความเสียหายทางเศรษฐกิจถึง 408 ล้านบาท จากการจู่โจมเพียงครั้งเดียว ซึ่งมีมูลค่าสูงกว่าความเสียหายขององค์กรธุรกิจขนาดกลางถึง 450 เท่า และในปีที่ผ่านมา กว่า ใน ขององค์กร (ประมาณ 60%) จำเป็นต้องทำการปลดพนักงานเนื่องจากภัยคุกคามทางไซเบอร์

          สำหรับองค์กรไทยแล้วภัยจากการถูกโจมตีทางไซเบอร์ที่มีผลกระทบสูงสุด และใช้เวลาแก้ไขฟื้นฟูนานที่สุด คือ การเลียนแบบตัวตนของแบรนด์ในโลกออนไลน์ การขโมยข้อมูล และการทำลายข้อมูล

 

สถานะล่าสุด พ...ไซเบอร์ของไทย

          ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีกล่าวว่า กระทรวงฯ อยู่ระหว่างจัดทำรูปแบบการจัดตั้งคณะทำงาน ฝ่าย เพื่อร่วมหารือ พิจารณาข้อขัดข้อง และนำเสนอทางออกร่วมกัน สำหรับร่าง พ..ว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.. …. ซึ่งได้มีการเปิดรับความคิดเห็น และพบว่าสังคมยังมีความกังวลในบางเรื่อง โดยคาดว่าคณะทำงานชุดนี้จะจัดตั้งได้ภายใน สัปดาห์ คาดหมายว่าแนวทางนี้จะนำไปสู่เป้าหมายที่ทำให้ พ...ไซเบอร์ เป็นที่ยอมรับ

          โดยล่าสุดมีรายงานข่าวระบุว่า มีความคืบหน้าของคณะทำงาน ฝ่ายชุดนี้แล้ว และเตรียมเปิดเวทีร่วมประชุมระดมสมองและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกันในเร็วๆ นี้

          แนวทางดังกล่าวเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วม คณะทำงาน ฝ่าย จะประกอบด้วย ภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ภาคธุรกิจหรือตัวแทนฝ่ายเอกชนที่เกี่ยวข้อง และภาคประชาสังคม ซึ่งอาจครอบคลุมถึงนักวิชาการที่มีความเชี่ยวชาญ และสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)

          โดยในส่วนของภาคธุรกิจ ที่เตรียมเชิญเข้ามาร่วมในคณะทำงานชุดนี้ ครอบคลุมทุกกลุ่มซึ่งมีความเสี่ยงว่าหากได้รับผลกระทบจากภัยคุกคามไซเบอร์ ก็จะส่งผลกระทบในภาพรวมถึงประชาชนด้วย ได้แก่ สมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย กลุ่มสถาบันการเงิน ภาคขนส่ง สายการบิน พลังงาน และสาธารณสุข เป็นต้น

          พูดถึง พ...ไซเบอร์ ความกังวลที่ผ่านมาที่เราเห็นตามสื่อ ทางกระทรวงฯ รับฟัง และเมื่อสังคมกำลังกังวลอยู่บางเรื่อง เราก็จะรีบเคลียร์ก่อน ยังไม่นำเสนอเข้าสู่การพิจารณาในระดับต่อไป โดยกระบวนการขั้นตอนที่เราจะเคลียร์ ณ วันนี้ คือ นำความคิดเห็นที่เปิดรับทั้งจากเวทีรับฟังความคิดเห็น และทางเว็บไซต์ ซึ่งประมวลเกือบเสร็จแล้ว และจัดหมวดหมู่ เพื่อนำมาใช้ประกอบการทบทวนร่างกฎหมายที่ทำมา” ดร.พิเชฐกล่าว

          หลังจากผ่านกระบวนการนำเสนอทางออกร่วมกันของคณะทำงาน ฝ่ายข้างต้น ก็จะนำร่าง พ..ไซเบอร์ ที่ผ่านความเห็นชอบร่วมกันทุกฝ่าย เสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อส่งเวียนขอรับทราบความเห็นของหน่วยงานต่างๆ จากนั้นจึงนำเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งขั้นตอนนี้ใช้เวลาอีกหลายเดือน อย่างไรก็ตามไม่มีเงื่อนจำกัดด้านระยะเวลา เนื่องจาก รมวกระทรวงดีอี ย้ำว่าพร้อมที่จะให้ความสำคัญกับเรื่องความถูกต้องและความเหมาะสมของการออกกฎหมายฉบับนี้