‘ไทย-ญี่ปุ่น’ประชุมแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีด้านการชลประทาน-การระบายน้ำ ครั้งที่ 5

#SootinClaimon.Com : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์แนวหน้า

https://www.naewna.com/local/712579

'ไทย-ญี่ปุ่น'ประชุมแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีด้านการชลประทาน-การระบายน้ำ ครั้งที่ 5

‘ไทย-ญี่ปุ่น’ประชุมแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีด้านการชลประทาน-การระบายน้ำ ครั้งที่ 5

วันอังคาร ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566, 15.15 น.

ไทย-ญี่ปุ่น ประชุมแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีด้านการชลประทานและการระบายน้ำ ครั้งที่ 5

ที่กรมพัฒนาชนบท กระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมงญี่ปุ่น กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน พร้อมด้วย นายสุริยพล นุชอนงค์ รองอธิบดีกรมชลประทาน  และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง  เข้าร่วมประชุมการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีด้านการชลประทานและการระบายน้ำ ญี่ปุ่น-ไทย ครั้งที่ 5  หรือ (The 5th Japan-Thailand Irrigation and Drainage Technology Exchange) โดยมี นายชินจิ อาเบะ (Mr.Shinji ABE) รองอธิบดีกรมพัฒนาชนบท กระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมงญี่ปุ่น และนายฮิโรมิจิ คิตาดะ (Mr.Hiromichi KITADA) ผู้อำนวยการสำนักงานความร่วมมือต่างประเทศเพื่อการปรับปรุงที่ดิน ร่วมให้การต้อนรับ 

เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในประเด็นความพยายามลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อตอบสนองต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความปลอดภัยของเขื่อน และอ่างเก็บน้ำใต้ดิน (Underground reservoir) 

โดย กรมชลประทาน และกรมพัฒนาชนบท ประเทศญี่ปุ่น ได้ลงนามร่วมกันในบันทึกการหารือ ว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีด้านการชลประทานและการระบายน้ำ (Record of Discussions in the field of Irrigation and Drainage Technology Exchange: ROD) เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2559 และตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ทั้งสองฝ่ายได้จัดการประชุมการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีด้านการชลประทานและการระบายน้ำอย่างต่อเนื่องทุกปี เพื่อผลักดันและขับเคลื่อนการดำเนินงานความร่วมมือระหว่างกัน.

ปลัดฯถกเรียวสุเกะร่วมมือด้านเกษตร

#SootinClaimon.Com : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์แนวหน้า

https://www.naewna.com/local/712448

วันอังคาร ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566, 06.00 น.

นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนายเรียวสุเกะ โอกาวะ (Ryosuke Ogawa) ผู้ช่วยรัฐมนตรีด้านการต่างประเทศ กระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมงญี่ปุ่น พร้อมด้วย น.ส.นฤมล สงวนวงศ์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงเกษตรฯ และผู้เกี่ยวข้อง ร่วมประชุมหารือระดับสูงด้านอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร ระหว่างกระทรวงเกษตรฯ-กระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมงญี่ปุ่น (MAFF) ครั้งที่ 3 ที่โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กทม. เพื่อแลกเปลี่ยนนโยบายสำคัญ และเสริมสร้างความร่วมมือด้านการเกษตรและอาหาร

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มีการหารือถึงประเด็นที่โลกให้ความสำคัญในปัจจุบัน อาทิ ความร่วมมือในการปฏิรูประบบการเกษตรและอาหาร การส่งเสริมการเกษตรยั่งยืน การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การอนุรักษ์และการใช้ผลิตภัณฑ์จากป่าไม้อย่างยั่งยืน รวมทั้งการส่งเสริมการปรับใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตรอัจฉริยะ นอกจากนี้ ได้มีพิธีลงนามบันทึกการหารือ (Record of Discussion) ของโครงการทดสอบประสิทธิภาพชุดอุปกรณ์พวงมาลัยอัตโนมัติในพื้นที่ประเทศไทย เพื่อขับเคลื่อนและพัฒนาเกษตรอัจฉริยะในประเทศไทย ระหว่างกรมการข้าว กับบริษัท ท็อปคอน คอร์ปอเรชั่น (Topcon) ประเทศญี่ปุ่น

“ในการประชุมดังกล่าว ทั้งสองฝ่ายได้แสดงความมุ่งมั่นที่จะยกระดับความร่วมมือ เพื่อเป็นการเร่งรัดการพลิกโฉมระบบการเกษตรและอาหารอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อเป็นการแก้ไขสถานการณ์โลกในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภัยพิบัติ โรคระบาดในพืชและสัตว์ และความมั่นคงทางอาหาร ที่ผ่านมา ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรฯ ได้เน้นย้ำกับทุกๆ หน่วยงานถึงความจำเป็นที่จะต้องบูรณาการการดำเนินงานของทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้แก่คนรุ่นต่อไป โดยหัวใจสำคัญคือการแก้ปัญหาโลกร้อน ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ” นายประยูร กล่าว

‘อลงกรณ์’ย้ำสร้างโอกาส พัฒนาผลผลิตแปรรูปสัตว์น้ำ

#SootinClaimon.Com : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์แนวหน้า

https://www.naewna.com/local/712449

‘อลงกรณ์’ย้ำสร้างโอกาส  พัฒนาผลผลิตแปรรูปสัตว์น้ำ

‘อลงกรณ์’ย้ำสร้างโอกาส พัฒนาผลผลิตแปรรูปสัตว์น้ำ

วันอังคาร ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566, 06.00 น.

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษา รมว.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า รัฐบาลมีความเป็นห่วงความเดือดร้อนของประชาชน จึงเร่งหาแนวทางก้าวข้ามวิกฤตและใช้เป็นโอกาสในทุกด้าน เช่น การเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติตามนโยบายของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรฯ ปล่อยปลาตะเพียน 2 แสนตัว ลงสู่แม่น้ำเพชรบุรี รวมทั้งการสนับสนุนองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่นกว่า 2,800 องค์กร ใน 50 จังหวัด อีกทั้ง จ.เพชรบุรี สนับสนุนงบประมาณองค์กรละ 1 แสนบาท พัฒนาต่อยอดการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร สร้างแบรนด์ เดินหน้าการตลาดแนวใหม่ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ รังสรรค์เมนูเด็ดเพชรบุรี สร้างมูลค่าเพิ่ม เสริมการท่องเที่ยวสนับสนุน Soft Power เติมรายได้แก้ปัญหาหนี้สินเน้นการพัฒนาชุมชน เพื่อชุมชน พร้อมหนุน “ปลาเวียน” ปลาประจำ จ.เพชรบุรี ที่กรมประมง สามารถพัฒนาเพาะพันธุ์ได้แล้วมีความสวยงามอย่างมาก สามารถเข้าสู่ตลาดปลาสวยงามที่กำลังเติบโตช่วยสร้างอาชีพรายได้ใหม่ให้ประชาชน

ในโอกาสนี้ นายอลงกรณ์ ได้นำผู้เข้าร่วมกิจกรรมปล่อยปลาตะเพียนลงสู่แม่น้ำเพชรบุรี และเยี่ยมชมผลผลิตเกษตรกร อาทิ อาหารแปรรูป อาหารสดหลากชนิด พร้อมทั้งส่งมอบพันธุ์ปลาให้ผู้แทนทุกชุมชนได้นำไปปล่อยในแหล่งน้ำธรรมชาติเพื่อเป็นประโยชนแก่ประชาชนต่อไป

ด้าน นางวันเพ็ญ มังศรี รอง ผวจ.เพชรบุรี กล่าวว่า ขอบคุณทุกฝ่ายที่เห็นความสำคัญ สนับสนุนให้เกษตรกรและประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมสร้างความตระหนักถึงคุณค่าการฟื้นฟูแหล่งน้ำ ด้วยการเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำในแม่น้ำเพชรบุรี และแหล่งน้ำธรรมชาติ การปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำจืดนับเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยให้ทรัพยากรน้ำและสัตว์น้ำให้มีความอุดมสมบูรณ์ ให้มีประชากรสัตว์น้ำเพิ่มมากขึ้น ช่วยส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

สำหรับงาน “กิจกรรมเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติและสร้างการรับรู้สู่เกษตรกรด้านประมงจังหวัดเพชรบุรี” มีการจัดกิจกรรมเพื่อเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำลงในแม่น้ำเพชรบุรีและแหล่งน้ำธรรมชาติ ตลอดจนการสร้างการรับรู้สู่เกษตรกร ชาวประมง และประชาชนเกี่ยวกับงานด้านประมง ตามนโยบาย รมว.เกษตรฯ ในการเสริมสร้างให้ประชาชนตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรสัตว์น้ำ และมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำ และช่วยเหลือเกษตรกรชาวประมงที่ประสบปัญหาในการประกอบอาชีพด้านประมง โดยเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายผลผลิตสัตว์น้ำ ช่วยเหลือเกษตรกรและชาวประมงได้มีพื้นที่ในการจำหน่ายสินค้าสัตว์น้ำเพิ่มมากขึ้น มีรายได้เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพ ทั้งนี้ ภายใต้กิจกรรมภายในงาน มีการสนับสนุนพัฒนาทักษะการขาย การแปรรูป และการบรรจุภัณฑ์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมการประกอบอาชีพให้เกิดความมั่นคงในระยะยาว

กรมชลฯกางแผนพัฒนาลุ่มน้ำ’คลองเปลี่ยน’ บรรเทาท่วม-แล้ง’สิชล’

#SootinClaimon.Com : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์แนวหน้า

https://www.naewna.com/local/712469

กรมชลฯกางแผนพัฒนาลุ่มน้ำ'คลองเปลี่ยน' บรรเทาท่วม-แล้ง'สิชล'

กรมชลฯกางแผนพัฒนาลุ่มน้ำ’คลองเปลี่ยน’ บรรเทาท่วม-แล้ง’สิชล’

วันจันทร์ ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566, 21.57 น.

เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2566 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และคณะ ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าการแก้ไขปัญหาพื้นที่ประสบอุทกภัยซ้ำซากบริเวณคลองเปลี่ยน พื้นที่รอยต่อตำบลเปลี่ยนและตำบลเทพราช อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมี นายชูชาติ รักจิตร รองอธิบดีกรมชลประทาน พร้อมด้วย นายก่อพงศ์ เจ้ยแก้ว ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 15 นายพิทักษ์พงษ์ ติ๊บแก้ว ผู้อำนวยการโครงการชลประทานนครศรีธรรมราช และผู้เกี่ยวข้อง ร่วมลงพื้นที่ในครั้งนี้

รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า ลุ่มน้ำคลองเปลี่ยน เป็นลุ่มน้ำย่อยของลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเปลี่ยนและตำบลเทพราช อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช มีสภาพลำน้ำที่คดเคี้ยว เมื่อถึงช่วงฤดูฝนมักจะประสบปัญหาน้ำท่วม และในช่วงฤดูแล้งก็มักจะพบกับปัญหาขาดแคลนน้ำเป็นประจำ กรมชลประทาน จึงได้ดำเนินโครงการพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำคลองเปลี่ยน ด้วยการก่อสร้างฝายคอนกรีตเสริมเหล็ก เพื่อทำหน้าที่หน่วงชะลอน้ำและเก็บกักน้ำสำหรับใช้ในการอุปโภคบริโภคและการเกษตร ได้แก่ โครงการฝายวังปลาโสด ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้น เพื่อดำเนินการก่อสร้างต่อไป

ทั้งนี้ หากดำเนินการแล้วเสร็จ จะเป็นแหล่งเก็บกักน้ำเพื่ออุปโภคบริโภคและการเกษตร ช่วยบรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ำในพื้นที่ตำบลเปลี่ยนและตำบลเทพราช อำเภอสิชล พื้นที่รับประโยชน์รวม 260 ไร่ สนับสนุนน้ำเพื่ออุปโภคบริโภค จำนวน 229 ครัวเรือน อีกทั้งยังสามารถใช้เป็นทางเชื่อมในการสัญจรและการขนย้ายพืชผลทางการเกษตรของพี่น้องประชาชนระหว่าง 2 ตำบล ได้อีกด้วย

แนะเกษตรกร! ใช้‘โดรน’พ่นยาฆ่าหญ้าอย่างไรได้ผล-ไม่รบกวนเพื่อนบ้าน

#SootinClaimon.Com : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์แนวหน้า

https://www.naewna.com/local/712369

แนะเกษตรกร! ใช้‘โดรน’พ่นยาฆ่าหญ้าอย่างไรได้ผล-ไม่รบกวนเพื่อนบ้าน

แนะเกษตรกร! ใช้‘โดรน’พ่นยาฆ่าหญ้าอย่างไรได้ผล-ไม่รบกวนเพื่อนบ้าน

วันจันทร์ ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566, 15.22 น.

“สมาคมวิทยาการวัชพืช”แนะเกษตรกร ใช้”โดรน”พ่นยาฆ่าหญ้าอย่างไรได้ผล-ไม่รบกวนเพื่อนบ้าน

เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2566 เพจเฟซบุ๊ก “สมาคมวิทยาการวัชพืชแห่งประเทศไทย” ซึ่งเป็นองค์กรที่ให้ความรู้ด้านการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างปลอดภัย โพสต์ข้อความพร้อมภาพประกอบแนะนำการใช้โดรน หรืออากาศยานไร้คนขับสำหรับพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืชโดยไม่สร้างความเดือดร้อนรำคาญต่อเพื่อนบ้าน ดังนี้ “ช่วงนี้ลมแรง..พ่นยาฆ่าหญ้าในแปลงเรา แต่ละอองยา อาจไปลงแปลงเพื่อนบ้าน เปลี่ยนมาใช้หัวฉีดผสมอากาศ ช่วยลดการปลิวของละอองได้ 90-95%”

“คนรับจ้างพ่นยาฆ่าหญ้าด้วยโดรน นิยมติดตั้ง ‘หัวผ่า’ เพราะมีราคาถูกและเห็นละอองฟุ้งกระจายทำให้เกษตรกรรู้สึกพอใจ แต่ความจริงคือยิ่งฟุ้งยิ่งปลิวลมไปไกล ข้อดี เกษตรกรรู้สึกว่าพ่นยาโดนวัชพืชแล้วและราคาถูก ส่วนข้อเสีย เมื่อลมแรง ละอองสารจะไม่ตกลงบนพื้นที่เป้าหมายทำให้ประสิทธิภาพกำจัดวัชพืชต่ำ มีโอกาสสูงที่ละอองสารจะปลิวไปโดนพืชข้างเคียง และอาจต้องพ่นยาซ้ำสิ้นเปลือง”

“การใช้โดรนพ่นยาฆ่าหญ้าที่ถูกต้องควรใช้หัวผสมอากาศแบบพัดคู่ เพราะลดการฟุ้งกระจายได้ 90-95% ข้อดี กำจัดวัชพืชได้ดีกว่า ละอองสารจะปลิวไปโดนพืชข้างเคียงน้อยมาก และไม่ต้องพ่นซ้ำ ส่วนข้อเสีย ราคาแพงกว่าหัวผ่าธรรมดา 3 เท่า ใช้เวลาพ่นนานขึ้นเพราะแนวฉีดแคบลง และเกษตรกรรู้สึกเหมือนไม่ได้ฉีดยาเพราะมองไม่เห็นละอองสาร”

– 006

https://www.facebook.com/plugins/post.php?href=https%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2FWSST1977%2Fposts%2Fpfbid07i131oRZ7GRcB7eWkLEXgaGh2fxWqbgUk1MdowVDm5UuHzptKwn4e4gBPSi5YMEJl&width=500&show_text=true&height=636&appId

ชลประทานตามติด สถานการณ์น้ำทั่วประเทศ

#SootinClaimon.Com : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์แนวหน้า

https://www.naewna.com/local/712228

วันจันทร์ ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566, 06.00 น.

นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า ปัจจุบันอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำรวมกัน 56,628 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) คิดเป็นร้อยละ 74 ของความจุอ่างฯ เฉพาะ 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) มีปริมาณน้ำรวมกัน 17,778 ล้าน ลบ.ม.คิดเป็นร้อยละ 71 ของความจุอ่างฯ ภาพรวมปริมาณน้ำต้นทุนอยู่ในเกณฑ์ดี จนถึงขณะนี้มีการจัดสรรน้ำในฤดูแล้งปี 65/66 ทั้งประเทศไปแล้ว 12,730 ล้าน ลบ.ม.หรือคิดเป็นร้อยละ 46 ของแผนฯ (แผนจัดสรรน้ำทั้งประเทศ 27,685 ล้าน ลบ.ม.) เฉพาะลุ่มเจ้าพระยามีการจัดสรรน้ำไปแล้ว 4,391 ล้านลบ.ม.หรือคิดเป็นร้อยละ 49 ของแผนฯ (แผนจัดสรรน้ำลุ่มเจ้าพระยา 9,100ล้าน ลบ.ม.ด้านผลการเพาะปลูกข้าวนาปรัง ทั้งประเทศมีการเพาะปลูกไปแล้ว 8.74 ล้านไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 84 ของแผนฯ เฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยามีการเพาะปลูกไปแล้วประมาณ 6.00 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 90 ของแผนฯ สำหรับพื้นที่ลุ่มต่ำที่มีการปรับปฏิทินการเพาะปลูกเพื่อเลี่ยงผลผลิตเสียหายในฤดูน้ำหลากนั้น ปัจจุบันเพาะปลูกเต็มพื้นที่แล้ว คาดว่าจะเก็บเกี่ยวแล้วเสร็จตามแผนที่กำหนด

ทั้งนี้ ได้กำชับให้โครงการชลประทาน และสำนักเครื่องจักรกลในพื้นที่ตอนบนที่อยู่ในช่วงฤดูเพาะปลูก หมั่นตรวจสอบอาคารชลประทาน ระบบส่งน้ำ รวมไปถึงเครื่องมือ เครื่องจักร ให้มีสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ เพื่อให้สามารถส่งน้ำให้เกษตรกรได้เพาะปลูกอย่างทั่วถึง ที่สำคัญให้ทำการประชาสัมพันธ์ ขอความร่วมมือให้ทุกภาคส่วน ร่วมใจกันใช้น้ำอย่างประหยัด เพื่อให้มีปริมาณน้ำเพียงพอต่อทุกกิจกรรมไปตลอดช่วงฤดูแล้งนี้ ตามข้อสั่งการของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรและสหกรณ์

กรมข้าวร่วมเปิดตัว หน่วยงานตรวจสอบ เอกลักษณ์ข้าวหอม ยกระดับการส่งออก

#SootinClaimon.Com : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์แนวหน้า

https://www.naewna.com/local/712223

วันจันทร์ ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566, 06.00 น.

นายณัฏฐกิตติ์ ของทิพย์ อธิบดีกรมการข้าว กล่าวว่า กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดตั้ง “หน่วยตรวจสอบเอกลักษณ์พันธุกรรมข้าวหอมมะลิไทย”ภายใต้หลักการ “ตลาดนำการผลิต” ที่ศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานี โดยเป็นหนึ่งในภารกิจหลักในการยกระดับมาตรฐาน และสร้างความน่าเชื่อถือในการส่งออกข้าวไทย ด้วยการนำองค์ความรู้พื้นฐานจากงานวิจัยเกี่ยวกับฐานข้อมูลเอกลักษณ์ทางพันธุกรรมข้าวไทย (DNA Fingerprint) มาต่อยอดให้เกิดประโยชน์โดยวางแนวทางและเตรียมความพร้อมทั้งในด้านบุคลากรและห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐาน ในการตรวจสอบเอกลักษณ์พันธุกรรม (DNA) ข้าวหอมมะลิไทย ซึ่งเป็นสินค้าเกษตรส่งออกมูลค่าสูงของไทย

อธิบดีกรมการข้าว กล่าวต่อว่า การจัดตั้ง “หน่วยปฏิบัติการตรวจสอบเอกลักษณ์พันธุกรรมข้าวหอมมะลิไทย” เป็นความร่วมมือกันระหว่างกรมการข้าว และกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ อีกทั้งได้รับความร่วมมือทั้งจากภาครัฐและเอกชนอื่นๆ อาทิ สมาคมโรงสีข้าวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย สมาคมโรงสีข้าวไทย สมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ข้าวไทย และหน่วยงานในพื้นที่ เพื่อเพิ่มทางเลือกให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมข้าวไทย ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกร โรงสี และผู้ประกอบการค้าข้าว สามารถเข้าถึงบริการตรวจสอบการปลอมปนพันธุ์ข้าวด้วยเทคโนโลยีดีเอ็นเอที่ทันสมัยและแม่นยำสูง

‘ประภัตร’รุดชี้แจงโครงการสานฝันฯ

#SootinClaimon.Com : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์แนวหน้า

https://www.naewna.com/local/712226

วันจันทร์ ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566, 06.00 น.

นายประภัตร โพธสุธน รมช.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวภายหลังลงพื้นที่ชี้แจงโครงการสานฝันสร้างอาชีพ และยกระดับรายได้เกษตรกร พร้อมเยี่ยมชมแปลงปลูกฟักทองของเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการที่บ้านค้อ หมู่ 1 ต.เมืองศรีไค อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี ว่าโครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนให้กับเกษตรกร หรือบุคคลทั่วไป รวมถึงกลุ่มแรงงานในภาคการเกษตรและนอกภาคการเกษตร เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนให้กับผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้มีเงินทุนในการสร้างงานสร้างอาชีพ ประกอบอาชีพเกษตรกรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงหรือการประกอบอาชีพนอก ภาคการเกษตร ที่มีลักษณะเป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ หรืออาชีพที่มีลักษณะเป็นการลงทุนค้าขาย เพื่อเลี้ยงชีพในครัวเรือน ซึ่งใช้เงินลงทุนไม่มากนัก สร้างธุรกิจใหม่ และต้องไม่เป็นการประกอบอาชีพในลักษณะที่ทำลายสิ่งแวดล้อม หรือผิดกฎหมาย

นายประภัตร กล่าวต่อว่า ทางกรมปศุสัตว์ และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ได้ร่วมกันจัดทำโครงการ เนื่องจากการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ช่วยแก้ปัญหาให้เกษตรกร สร้างงาน สร้างอาชีพสร้างรายได้กระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวจากสถานการณ์โควิด–19 สนับสนุนเงินกู้เป็นทุนหมุนเวียน ส่งเสริมการประกอบอาชีพด้านการเกษตร เน้นอาชีพที่มีตลาดรองรับ มีการประกันราคารับซื้อผลผลิต ให้สามารถสร้างรายได้ระยะสั้น 4-6 เดือน มีผลตอบแทนเพียงพอต่อการดำรงชีพ และสามารถต่อยอดเป็นอาชีพที่มั่นคงได้ในอนาคต โดย ธ.ก.ส.ได้รับการอนุมัติวงเงินกว่า 30,000 ล้านบาท ปล่อยกู้เป็นรายบุคคล หนี้เสียสามารถกู้ได้สามารถใช้บุคคลหรือหลักทรัพย์ค้ำประกันได้ โดยจะปล่อยกู้สูงสุดรายละ 100,000 บาท/1-3 ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4 และปีที่ 4-5 ดอกเบี้ยตามปกติของธนาคาร

กรมประมงปิดอ่าวไทย 2ช่วงคุ้มครองพ่อแม่พันธุ์สัตว์น้ำ

#SootinClaimon.Com : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์แนวหน้า

https://www.naewna.com/local/712225

วันจันทร์ ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566, 06.00 น.

นายเฉลิมชัย สุวรรณรักษ์ อธิบดีกรมประมง กล่าวว่า มาตรการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำมีไข่ วางไข่ เลี้ยงตัวอ่อน บริเวณอ่าวไทยตอนกลางมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองพ่อแม่พันธุ์สัตว์น้ำเศรษฐกิจโดยเฉพาะปลาทู ให้สามารถวางไข่ แพร่ขยายพันธุ์ และคุ้มครองลูกสัตว์น้ำให้สามารถเจริญเติบโตทดแทนสัตว์น้ำที่ถูกจับไป ซึ่งเป็นมาตรการที่สำคัญของกรมประมงที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ตั้งแต่ปี 2496 และมีการปรับปรุงประกาศให้สอดคล้องกับสภาวะทรัพยากรและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง

ปัจจุบันใช้ประกาศ ฉบับลงวันที่ 31 มกราคม 2561 เรื่อง กำหนดพื้นที่ และระยะเวลาฤดูสัตว์น้ำมีไข่ วางไข่ เลี้ยงตัวอ่อน ในที่จับสัตว์น้ำบางส่วนของ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี โดยแบ่งการใช้มาตรการออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงที่ 1 วันที่ 15 กุมภาพันธ์-15 พฤษภาคม 2566 เป็นระยะเวลา 90 วัน และช่วงที่ 2 ต่อด้วยอาณาเขตตามแผนที่แนบท้ายของประกาศปิดอ่าวไทยตอนกลางและเขตต่อเนื่องปลายแหลมเขาม่องไล่ถึง อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ระหว่างวันที่ 16 พฤษภาคม–14 มิถุนายน 2566 เป็นระยะเวลา 30 วัน โดยห้ามใช้เครื่องมือที่มีผลกระทบต่อพ่อแม่พันธุ์และลูกพันธุ์สัตว์น้ำวัยอ่อน และอนุญาตให้ใช้เฉพาะเครื่องมือประมงบางชนิดของกลุ่มเรือประมงขนาดเล็กซึ่งไม่ระทบกับมาตรการปิดอ่าวไทย

อย่างไรก็ดี เพื่อไม่ให้กระทบต่อชาวประมง จึงคงใช้มาตรการปิดอ่าวไทยตอนกลาง ตามประกาศฉบับเดิม ลงวันที่ 31 มกราคม 2561 เรื่อง กำหนดพื้นที่ และระยะเวลาฤดูสัตว์น้ำมีไข่ วางไข่ เลี้ยงตัวอ่อน ในที่จับสัตว์น้ำบางส่วนของ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ทั้งนี้ กรมประมง จะมีการศึกษาอย่างต่อเนื่องและรอบด้าน เพื่อเป็นข้อมูลในการปรับปรุงมาตรการให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ดังนั้น ช่วงวันที่ 1–14 กุมภาพันธ์ 2566 (ก่อนมาตรการปิดอ่าว) จึงขอเชิญชวนให้พี่น้องชาวประมงช่วยกันคุ้มครองพ่อแม่พันธุ์ปลาทู เพื่อเปิดโอกาสให้พ่อแม่พันธุ์ปลาทูสามารถแพร่ขยายพันธุ์ได้

สุดท้ายนี้ ขอให้พี่น้องชาวประมง ระมัดระวังการทำประมงโดยให้ทำประมงเฉพาะเครื่องมือที่ประกาศให้ใช้ได้เท่านั้น เครื่องมืออื่นๆ ห้ามทำโดยเด็ดขาดหากผู้ใดฝ่าฝืนจะเป็นความผิดตามตามมาตรา 70 แห่ง พ.ร.ก.การประมง พ.ศ. 2558 ต้องระวางโทษ ปรับตั้งแต่ 5,000 บาทถึง 30 ล้านบาท ขึ้นอยู่กับขนาดของเรือประมง หรือปรับ 5 เท่าของมูลค่าสัตว์น้ำที่ได้จากการทำการประมง แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า และต้องได้รับโทษทางปกครองด้วย

‘เฉลิมชัย’นำทีมผู้บริหารกระทรวงเกษตรฯลงชุมพร รับฟังปัญหาเกษตรกร

#SootinClaimon.Com : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์แนวหน้า

https://www.naewna.com/local/712182

'เฉลิมชัย'นำทีมผู้บริหารกระทรวงเกษตรฯลงชุมพร รับฟังปัญหาเกษตรกร

‘เฉลิมชัย’นำทีมผู้บริหารกระทรวงเกษตรฯลงชุมพร รับฟังปัญหาเกษตรกร

วันอาทิตย์ ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566, 21.46 น.

“เฉลิมชัย”นำทีมผู้บริหารกระทรวงเกษตรฯลงชุมพร รับฟังปัญหาเกษตรกร พร้อมเยี่ยมชมกลุ่มเกษตรกรผลิตกล้วยหอมทองปลอดสารเคมีส่งออกไปญี่ปุ่น

เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2566 นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสกรณ์ พร้อมคณะผู้บริหาร ลงพื้นที่ตรวจราชการและพบปะเกษตรกร กลุ่มเกษตรกรทำสวนหุ่งคาวัด ต.ทุ่งคาวัด อ.ละแม จ.ชุมพร ซึ่งกลุ่มเกษตรกรทำสวนทุ่งคาวัด เป็นกลุ่มเกษตรกรที่รวมกลุ่มกันเพื่อทำการผลิตกล้วยหอมทองปลอดสารเคมีเพื่อส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่น ซึ่งรวบรวมกลุ่มผู้ที่สนใจผลิตกล้วยหอมทองปลอดสารเคมีมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2536 และได้ดำเนินงานมาถึงปัจจุบัน ซึ่งกลุ่มมีกำลังผลิตกล้วยหอมทองอยู่ที่ประมาณ 20 – 40 ตันต่อสัปดาห์

ทั้งนี้ นายเฉลิมชัย กล่าวว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีการจัดทำโครงการสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มเกษตรกร เพื่อเข้าถึงแหล่งทุนในการผลิตและการตลาด เป็นทุนหมุนเวียนในการรวบรวมผลผลิต นอกจากนี้ ยังมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาสนับสนุนปัจจัยการผลิตต่างๆ ซึ่งวันนี้ได้นำผู้บริหารกระทรวงเกษตรฯ ลงพื้นที่มารับฟังปัญหาของเกษตรกรโดยตรง ซึ่งปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว กระทรวงเกษตรฯ จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนจากกระทรวงด้านการผลิตอย่างเดียว มาช่วยในการหาช่องทางการตลาด โดยสหกรณ์ทั่วประเทศได้นำผลผลิตจากพี่น้องเกษตรกรมาจำหน่าย นอกจากนี้ ยังบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย กรมราชทัณฑ์ และสภาอุตสาหกรรม เป็นต้น เข้ามาช่วยระบายผลผลิตจากเกษตรกรด้วย และกระทรวงเกษตรฯ พร้อมที่จะสนับสนุนปัจจัยการผลิตช่วยเหลือเกษตรกรต่อไป

– 006